วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท. นี้จะเอาบทความสั้นๆบ้าง ยาวๆแล้วท่านอโศกไม่เข้าใจ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.


ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ความสุข ย่อมตามเขาไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น.


มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเนน ภาสตี วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ.

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจชั่วร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ทุกข์ย่อมตามเขาไป เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เปรียบเหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ตัวเทียมแอกไปอยู่ ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ

๑. กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย

๒. วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา

๓. มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ


ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดี มี ๓ คือ

๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย

๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา

๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ


มนะ ใจ

มนัส ใจ

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

มโน ใจ

มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ

๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา

๒. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา

๓. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบตามคลองธรรม


มโนทุจริต ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง

๑. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา

๒. พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย

๓. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม


มโนกรรม การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจะเอาของเขา
ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น

มโนทวาร ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือ สำหรับคิดนึกต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กึสุ ฆตฺวา สุข เสติ กึสุ ฆตฺวา น โสจติ
กิสฺสสฺสุ เอกธมฺมสฺส วธํ โรเจสิ โคตม.

บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงอยู่เป็นสุข บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงไม่เศร้าโศก
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ชอบใจ ซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ จึงเป็นธรรมอันเอก.


โกธํ ฆตฺวา สุข เสติ โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมเณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ ฆตฺวา น โสจติ.

บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธอันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลนั้น ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.


อธิเจตโส อปฺปมชฺชโต
มุนิโน โมนปเถสุ สิกฺขโต
โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน
อุปสนฺตสฺส สทา สตีมโต.


ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคล ผู้มีจิตมั่นคง ผู้ไม่ประมาท
เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในทางแห่งโมนปฏิบัติ ผู้คงที่ ผู้สงบระงับแล้ว ผู้มีสติทุกเมื่อ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โย เว อุปฺปติตํ โกธํ รถํ ภนฺตํว ธารเย
ตมหํ สารถี พฺรูมิ รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน.


ผู้ใดแล พึงสะกดความโกรธที่พลุ่งขึ้น เหมือนคนห้ามรถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น
เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นนายสารถี ส่วนคนนอกนี้ เป็นเพียงผู้ถือเชือก.


อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธํุ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ.


พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โย ปาณมติปาเปติ มุสาวาทญฺจ ภาสติ

โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ปรทารญฺจ คจฺฉติ

สุราเมรยปานญฺจ โย นโร อนุยุญฺชติ

อิเธวเมโส โลกสฺมึ มูลํ ขนติ อตฺตโน

เอวํ โภ ปุริส ชานาหิ ‘ปาปธมฺมา อสญฺญตา’

มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ
.


ชนใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑ กล่าวมุสาวาท ๑ ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ในโลก ๑ ถึงภรรยาของผู้อื่น ๑ อนึ่ง ชนใด ย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย ๑ ชนนั้น ชื่อว่า ขุดรากเง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว บุรุษผู้เจริญ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า บุคคลผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว ความโลภ และสภาพมิใช่ธรรมะจงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตวนิกาย หมู่สัตว์

สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์ เป็นต้น” สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก
ในบาลี เพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น
ไทย มักเพ่งเอาดิรัจฉาน

(รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ = จำง่ายๆ คือ ผู้ติดข้องใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่า สัตว์)

จะศึกษาธรรมะควรวางภาษาไทยก่อนแล้วไปศึกษาภาษาของเขาจึงจะพอเข้าใจภาษาธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมตฺตนา

โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา ว อตฺตโน คติ

ตสฺมา สํยม อตฺตานํ อสฺสํ ภทฺทรํว วาณิโช.


เธอจงเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาตนนั้นด้วยตน
ดูกรภิกษุ เธอนั้น มีสติ คุ้มครองตนได้แล้ว จักอยู่สบาย
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแหละเป็นคติของตน
เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตน เหมือนพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น.


อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺฐานมลา ฆรา

มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ ปมาโท รกฺขโต มลํ
.

มนต์ทั้งหลายมีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนทั้งหลาย มีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยสา ว มลํ สมุฏฺฐาย
ตทุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
เอวํ อติโธนจารินํ
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.


สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดกินเหล็กนั่นแหละ ฉันใด
กรรมทั้งหลายของตน ย่อมนำบุคคล ผู้มักประพฤติล่วงปัญญาที่ว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น.



เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา.

เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัดล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน
ทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง.

เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงเรียกว่า โธนา.

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... &preline=0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุขา มตฺเตยฺยตา โลเก อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา

สุขา สามญฺญตา โลเก อโถ พฺรหฺมญฺญตา สุขา

สุขํ ยาว ชรา สีลํ สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา

สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ ปาปานํ อกรณํ สุขํ.

ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดานำสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดานำสุขมาให้
ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะนำสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พรหมนำสุขมาให้
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วนำสุขมาให้
การใด้เฉพาะซึ่งปัญญานำสุขมาให้ การไม่ทำบาปทั้งหลายนำสุขมาให้.



มาตาเปติภรํ ชนฺตํุ กุเล เชฏฺฐาปจายินํ
สณฺหํ สขิลสมฺภาสํ เปสุเณยฺยปฺปหายินํ
มจฺเฉรวินเย ยุตฺตํ สจฺจํ โกธาภิภํุ นรํ
ตํ เว เทวา ตาวตึสา อาหุ สปฺปุริโส อิติ.


ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงดูมารดาบิดา ผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
ผู้กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ผู้ละวาจาส่อเสียด
ผู้ประกอบในการกำจัดความตระหนี่ ผู้มีวาจาสัตย์ ผู้ข่มความโกรธได้นั่นแลว่า เป็นสัตบุรุษ.


อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.


ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น โส สพฺเพสุ ฐาเนสุ ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถีปิ ปณฺฑิตา โหติ ตตฺถ ตตฺถ วิจกฺขณา.

บุรุษนั้น จะเป็นบัณฑิตในที่ทุกสถานก็หาไม่
แม้สตรี ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ก็เป็นบัณฑิตได้ในที่นั้นๆ.


สหสฺสมฺปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ไซร้
บทที่เป็นประโยชน์บทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.


สหสฺสมฺปิ เจ ถาคา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

หากคาถาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่มีประโยชน์ไซร้
บทคาถาบทเดียว ที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ม.ค. 2017, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อปฺปํ วา พหํุ วา ภาสสฺสุ อตฺถญฺเญว เม พฺรูหิ

อตฺเถเนว เม อตฺโถ กึ กาหสิ พฺยญชนํ พหํุ.



ขอท่านจงกล่าวธรรมจะมากหรือน้อยก็ตาม จงบอกเฉพาะใจความเท่านั้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการเฉพาะใจความเท่านั้น ท่านจักทำพยัญชนะให้มากไปทำไม.


เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํุ ตถาคโต

เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ.

ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และเหตุแห่งความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.


........

คาถาแรกอุปติสสะกล่าว คาถาที่ ๒ พระอัสสชิกล่าว ครั้งพบกันครั้งแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ‘สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง’
เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.


สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ‘สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์’
เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.


สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ‘(สิ่ง) ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา’
เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม


ธรรมบท บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม, ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่งจัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถา


ธรรมวินัย ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ วินัย = เครื่องควบคุมกาย และวาจา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.

บุคคลใด ย่อมปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนไว้ ทำภายหลัง บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนภายหลัง เปรียบเหมือนมาณพผู้หักกิ่งไม้กุ่มอยู่ ฉะนั้น.


อุฏฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน
ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต
สํสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต
ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.


ก็ บุคคลใด ยังหนุ่มแน่น แต่ไม่ขยันในการที่ควรขยัน
เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ
เกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา.


อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา
สารญฺจ สารโต ญตฺวา อสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา.

ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron