วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 20:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุสฺสูรเสยฺยํ อาลสฺยํ จณฺฑิกฺกํ ทีฆโสตฺติยํ
เอกสฺสทฺธานคมนํ ปรทารูปเสวนํ
เอตํ พฺราหฺมณ เสวสฺสุ อนตฺถํ เต ภวิสฺสติ.

การนอนตื่นสาย ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความดุร้าย ๑ การผัดวันประกันพรุ่ง ๑
การเดินทางไกลคนเดียว ๑ การเข้าไปเสพภรรยาของคนอื่น ๑
ดูกรพราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่างนี้เถิด ความฉิบหายจักมีแก่ท่าน.


อญฺชนานํ ขยํ ทิสฺวา อุปจิกานญฺจ อาจยํ
มธูนญฺจ สมาหารํ ปณฺฑิโต ฆรมาวเส.

บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตา ความก่อขึ้นของปลวกทั้งหลาย
และการประมวลมาแห่งแมลงผึ้งทั้งหลายแล้ว พึงอยู่ครองเรือนได้.


อุฏฺฐานวโต สตีมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.


ยศย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่ผู้มีความขยัน ผู้มีสติ
ผู้มีการงานสะอาด ผู้มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.


อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเตน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณํุ อคฺคีว สนฺธมํ
.

บุคคลผู้มีปรีชาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์แม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้ลุกเป็นกองใหญ่ได้ ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.


ความหิวเป็นโรค อย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตรู้เนื้อความนั้นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.


อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาตี นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติมีความคุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.


ยสฺมึ มโน นิวีสติ จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ
อทิฏฺฐปุพฺพเก โปเส กามํ ตสฺมึปิ วิสฺสเส
ปุพฺเพ ว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํว ยโถทเก.


ใจย่อมจดจ่อ และแม้จิตก็ย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด
เขาพึงสนิทสนมในบุคคลนั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็นโดยแท้
ความรักนั้น ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ ด้วยการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือนดอกบัวเกิดในน้ำได้ เพราะอาศัยเปืยกตมและน้ำ ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรสํ ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.

ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น สุคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.


ธรรมแล ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว
ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อชฺเชว กิจฺจํ อาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว

น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา

เอวํ วิหาริ มาตาปึ อโหรตฺตมตนฺทิตํ

ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ สนฺโต อาจิกฺขเต มุนี.


ความเพียรเครื่องเผากิเลส ควรทำในวันนี้ทีเดียว ใครพึงรู้ได้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่า ความผัดเพี้ยนด้วยความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้น ไม่มีเลย มุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ตลอดกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ.


อปฺปํ วต ชีวิตํ อิทํ โอรํ วสฺสสตาปิ มียติ
โย เจปิ อติจฺจ ชีวติ อถโข โส ชรสาปิ มียติ.


ชีวิตนี้น้อยหนอ สัตว์ย่อมตายหย่อนแม้กว่า ๑๐๐ ปี
แม้หากผู้ใดเป็นอยู่เกิน (๑๐๐ ปี) ไป เขาย่อมตาย แม้เพราะชราโดยแท้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึงของตน บุคคลอื่นใครเล่าจะพึงเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลหาได้โดยยาก.


อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณมญฺญตรํ ยามํ ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.


ถ้าบุคคลรู้ตัวว่าเป็นที่รัก พึงรักษาตัวนั้นให้เป็นอันรักษาด้วยดี
บุคคลผู้เป็นบัณฑิตพึงประคับประคองตัวตลอดยามทั้ง ๓ ยามใดยามหนึ่ง.


อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ วชิรํ วมฺหยํ มณึ.


บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด
ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชรย้ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หิน ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปาปญเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.


ถ้าคนพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ
ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.


ปุญญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญฺสฺส อุจฺจโย.


ถ้าคนพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ
พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญ นำสุขมาให้.


ปริเวกรสํ ปิตฺวา รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรสํ ปิวํ.

บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสพระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบ
ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ มรตี มโน.


บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตเสียจากความชั่ว
เพราะเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในความชั่ว.


มาวมญฺเญถ ปาปสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ

อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ

ปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.



บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญนิดหน่อย จักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาที่ละหยาดได้ฉันใด
นักปราชญ์สั่งสมบุญอยู่แม้ทีละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบุญได้ ฉันนั้น.


ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.


หากแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม

ที่กล่าวนั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป

ต่อนี้ พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า

“กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด”

“สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา”

“การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ”

ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ,

กุศล (มักหมายถึงโลกียกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก, เช่น โภคสมบัติ)

บางที หมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้” และ

มีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข” (บุญ ในพุทธพจน์นี้ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

พระพุทธเจ้า ตรัสสอนให้ศึกษาบุญ (ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺยขุ.อิติ 25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า

"ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญ ของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"


คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอันมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล


พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208)



บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้คติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง


บำเพ็ญ ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้แก่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยสฺส ปตีโต สุมโน วิปากํ ปฏิเสวติ.


บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี
ย่อมเสวยผลของกรรมใด กรรมนั้นแล อันบุคคลกระทำแล้ว เป็นกรรมดี.


น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ วิปากํ ปฏิเสวติ.


บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวยผลของกรรมใด
กรรมนั้น อันบุคคลกระทำแล้ว เป็นกรรมไม่ดี.


ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปหียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.


บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล
บุคคลนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เปรียบเหมือนดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.


โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ภายหลังกลับไม่ประมาท
ผู้นั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เปรียบเหมือนดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจานชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก
การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก.


อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ


คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก
เนื้อทั้งหลายของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่.


อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุโณ ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.

ชาวโลกนี้เป็นคนบอด ในโลกนี้น้อยคนจะเห็นแจ้งได้
น้อยคนจะไปในสวรรค์ เหมือนนกที่หลุดพ้นจากตาข่าย ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สทฺธาธนํ สีลธนํ หิรี โอตฺตปฺปิยํ ธนํ

สุตธนญฺจ จาโค จ ปญฺญา เว สตฺตมํ ธนํ

ยสฺส เอตา ธนา อตฺถิ อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา

อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ.



ทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑ ทรัพย์คือศีล ๑ ทรัพย์คือหิริ ๑ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ๑ ทรัพย์คือสุตะ ๑ ทรัพย์คือจาคะ ๑ ปัญญาแล เป็นทรัพย์ที่ ๗ ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่ว่างเปล่า.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร.

จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขาให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศที่โจรเห็นโจร หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวรทำแก่กันนั้น.


น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.

มาดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.


ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ
วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว.


จิตเป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก
นักปราชญ์ ย่อมกระทำจิตให้ตรง เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจร ยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ ๕ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน เปรียบเหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉันนั้น.


ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโต
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหนํ.


การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี
(เพราะ) จิตที่ฝึกแล้วเป็นเหตุนำสุขมาให้.


สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

บุคคลผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้ยากแสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะ) จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้.

ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.


ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โย จ คาถา สตํ ภาเส อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย ยํ กตฺวา อุปสมฺมติ
โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม.

ก็ผู้ใด พึงกล่าวคาถาตั้ง ๑๐๐ ซึ่งไม่ประกอบด้วยบทที่มีประโยชน์
บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า
ผู้ใด พึงชนะมนุษย์พันหนึ่งคูณด้วยพันหนึ่ง (หนึ่งล้าน) ในสงคราม ผู้นั้น หาชื่อว่าเป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่
ส่วนผู้ใด พึงชนะตนคนเดียวได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม.


อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ยา จายํ อิตรา ปชา
อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส นิจฺจํ สญฺญตจาริโน
เนว เทโว น คนฺธพฺโพ น มาโร สห พฺรหฺมุนา
ชิตํ อปชิตํ กยิรา ตถารูปสฺส ชนฺตุโน.

ตนนั้นแล บุคคลชนะแล้ว ประเสริฐกว่า ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย เพราะเมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์ เทวดา คนธรรพ์ มาร พร้อมทั้งพรหม พึงทำความชนะของสัตว์เห็นปานนั้นให้กลับแพ้ไม่ได้เลย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิทฺธี ยทา โหติ มหคฺฆโส จ
นิทฺทายิตา สมฺปริวตฺตสายี
มหาวราโหว นิวาปปุฏฺโฐ
ปุนปฺปุนํ คพฺภมุเปติ มนฺโท.

ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง
และมักนอนหลับกระสับกระส่าย
เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขาเลี้ยงด้วยอาหาร
ในกาลนั้น เขาเป็นคนเซื่องซึม ย่อมเข้าห้องบ่อยๆ.


มนุชสฺส สทา สตีมโต
มตฺตํ ชานโต ลทฺธโภชเน
ตนุกสฺส ภวนฺติ เวทนา
สณิกํ ชีรติ อายุ ปาลยํ

คนผู้มีสติทุกเมื่อ
รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้วนั้น
ย่อมมีเวทนาเบาบาง
อาหารที่บริโภคแล้ว เลี้ยงอายุอยู่ ค่อยๆย่อยไป.


บาลี "ภาษาอันรักษาไว้ ซึ่งพุทธพจน์" ภาษาที่ใช้ทรงจำ และจารึกรักษาพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่า ได้แก่ ภาษามคธ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคหิสฺสามิ โยนิโส
หตฺถี ปภินฺนํ วิย องฺกุสคฺคาโห.

เมื่อก่อน จิตนี้เที่ยวจรไป ตามอารมณ์ที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ ตามความสบาย
วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้างข่มช้างตกมันฉะนั้น.

อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.


เธอทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่งช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้นจากหล่มได้ ฉะนั้น.

อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารํุ นมยนฺติ ตจฺฉิกา
อตฺตนา ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.


ก็คนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ
ช่างศรย่อมดัดลูกศร
ช่างไม้ย่อมถากไม้
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมฝึกตนเอง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร