วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้ได้แรงบันดาลใจจากลิงค์นี้

http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 85609.html

หลังจาก จขกท. ฟังความคิดความเห็นคำแนะนำ...แล้ว เค้าเองได้ขมวดปัญหาไว้ที่ คคห. 47 ว่า

อ้างคำพูด:
ปกติดิฉันรักษาศีลห้าประจำอยู่แล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

ส่วนเรื่องเลิกทำสมาธิ หากนับเรื่องงาน ก็ลำบาก
และเรื่องฝึกสตินี้ยากจังค่ะ ในห้านาทีหลงไม่รู้กี่รอบ แต่ดิฉันไม่อยากผูกตัวเองกับการต้องเป็นคนโรคจิตไปตลอดชีวิต
ค่ายาก็แพง แถมผลกระทบยิ่งร้ายท้องผูกมากมาย และยังไม่รู้จะหายไหม เพราะทานมาครึ่งปีอาการก็ยังอยู่
ยังไงก็ต้องพยายามฝึกสติให้ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ


อ้างคำพูด:
คคห.46
ดิฉันอยากตั้งข้อสงสัยอันนึงคือดิฉันทำงานที่ต้องใช้สมาธิมากวันละแปดถึงสิบชั่วโมง มาสิบกว่าปีแล้ว อาจจะเป็นเหตุนึงที่เหมือนเราฝึกสมาธิตลอด


อ้างคำพูด:
คคห. 51
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาที่ที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนั้นรู้สึกว่าแม้ร่างกายมันยัง
ไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังว่า ว่ามีหลายความเห็นหลายคำแนะนำ ร้อยคนร้อยอย่าง ร้อยความคิด จึง

คคห. 39 จขกท.จึงขอบคุณหลายๆ

อ้างคำพูด:
ขอบคุณมากสำหรับทุกๆ ความเห็นค่ะ

แต่ว่าถ้าการฝึกสมาธิมันเสี่ยงกับการเป็นบ้า ทำไมเราถึงสนับสนุนคนให้ฝึกกันละคะ
เพราะก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าตัวเองมีเชื้อบ้าอยู่ในตัวไหม
น่าจะสนับสนุนให้ศึกษาธรรมมะให้เข้าใจก็พอแล้ว
คนที่เข้าใจธรรมมะจากการศึกษาก็พ้นทุกข์ได้ ไม่เห็นต้องมาเสี่ยงปฏิบัติ

ดิฉันไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อมาก่อนไหม แต่รู้ว่าตัวเองสุขภาพจิตดีก่อนเกิดเหตุ
แต่เคยได้ยินว่าฝึกแล้วอาจจะบ้าได้ แต่เสียดายไม่เคยคิดเลยว่ามันใกล้ตัวไป ก็ไม่ได้เคร่งเครียดอะไรในการฝึก
ทำไปตามปกติสบายสบาย จนมันผิดปกติถึงได้พยายามแก้ไขเอง นี่เองจุดหักเข้าสู้ความตาย
พอเห็นอาการทางกายหายไป แล้วดิฉันเริ่มหลงเพราะเห็นพระที่ดิฉันนับถือที่สุดในชีวิตเอาพระองค์เล็กๆใส่มาในตัวเรา
ต่อจากนั้น ก็รู้สึกไปว่าติดต่อทางจิตกับท่านตลอดเวลา... เจอมุขนี้ มือใหม่จะรับมือไหวได้ยังไง


ขออนุญาตพูดถึงท่านอโศกติ๊ดนึ่ง :b8: :b1: (จะได้มีเพื่อนคุย) คือ ท่านอโศกเนี่ยจะเอาแต่ดี เอาแต่ได้ พูดแต่สิ่งดีดีด้านเดียว คือท่านคิดว่าธรรมะจะต้องดีว่างั้น แต่หารู้ไม่ว่าจิตใจเนื่ยมีทั้งด้านบวก + ด้านลบ + (ฝ่ายดี + ฝ่ายร้าย ) แล้วแต่ว่าขณะนั้นด้านไหนมันเผยตัวมันเองออกมา

ถ้าไม่ออกมาทางกายทางวาจา มันก็คิดครุ่นอยู่ในใจ คืออยู่ภายใน แล้วนามธรรมภายในนี่แหละที่ (เรา) ต้องผจญกับมันทุกๆขณะ ขณะปฏิบัติธรรม, ปฏิบัติกรรมฐาน,หรือปฏิบัติอะไรก็ตั้งชื่อเอา

ใช่เท่านั้น ขณะ (เรา) ใช้ชีวิตปกติประจำวัน ตั้งแต่ลืมตาเช้าขึ้นมาก็ผจญกับมัน (ความคิดบวกลบ) แล้วแต่ (เรา) ไม่สังเกตเอง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

ตอนนี้ ท่านอโศกอยู่เชียงใหม่ คิดนึกถึงมณฑปเนินฆ้อสิ คิดสิคิด คิดๆ ก็เห็นภาพปรากฏทางใจ เช่น ปากทางเข้ามณฑปเนินฆ้อ...ระหว่างทางมีต้นยางพาราสองข้างทาง ถึงที่จะเห็นภาพมณฑปตั้งอยู่ตรงนั้น ภาพศาลาตั้งอยู่ตรงนั้นตรงนี้ หลังนี้เราเคยอยู่ เป็นต้น นึกเห็นภาพคนที่เคยอยู่ร่วมกัน เคยสนทนาปราศัยกัน นึกสิครับนึกดู :b1: เห็นไหม

รึท่านอโศกจะเถียง ว่ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเรื่อง (พุทธธรรม หน้า ๗๖๖)

สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

จากใจความย่อ ของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือ จำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแล
ทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้นเอง คือ

ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน 1

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ 1

ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ 1

ความนึกคิดไตร่ตรอง 1

ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้ แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม

จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็คือ สมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ พอใช้สำหรับการนี้ * (* เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)

ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วยเป็นประจำ ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และเพียรละความชั่ว กับเพียรสร้างและเพียรรักษาเสริมทวีความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง สตินี้เอง)

ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะนี้ เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ สำหรับที่นี่คือบอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พีงปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิด ใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ


ข้อความที่ว่า “ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก” แสดงถึงท่าที ที่เป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะ
ว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ


ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมสิ้นไปนั้น แสดงถึงการเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือการมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นว่า “กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความข้างบนตรงขีดเส้นใต้ มีแทรกคำถามท่านอโศกหน่อย เห็นพูดบ่อยๆ "สมมติ"

อ้างคำพูด:
....การมอง และรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นว่า “กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น



ถามความเข้าใจท่านอโศก...เห็น,หรือรู้สึกว่า "กาย" กับเห็น หรือสึกว่า "กายของเรา" "กายคน" เหมือนหรือต่างกันขอรับ (คิดดีดีก่อนตอบนะ) ถ้าว่าเหมือนๆกันแง่ไหน ถ้าว่าต่างกัน ต่างกันแง่ไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกบาลีที่สำคัญมาแปล และแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้

กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย" นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก

ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็นโดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะ หรือตลอดเวลา เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกายว่าเป็นกาย หมายความว่า

มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุม หรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่น นายนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผม ในขน ในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้น หญิงนี้ เป็นต้น

เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้” *



อาตาปี สมฺปชาโน สติมา แปลว่า "มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ" ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ *(* ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร,ม.อุ.14/258-278/181-6)

ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอ ล้า หรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น

สัมปชัญญะ คือ ปัญญา ที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด ทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

สติ คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน

วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ แปลอย่างสำนวนเก่าว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คือปลอดไร้ความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีทั้งความติดใจอยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน

อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย แปลว่า เธอมีสติดำรงตรงหน้า หรือมีสติพร้อมหน้ากับความรู้ว่า "กายมีอยู่" หรือมีกายเป็นกาย เพียงเพื่อเป็นความรู้ และแค่สำหรับระลึกเท่านั้น คือ มีสติตรงชัดต่อความจริงว่า แค่ที่ว่า มีกายเป็นกาย ไม่ใช่เลยไปเป็นสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ตัวตน ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้เพียงเพื่อเป็นความรู้ และสำหรับใช้ระลึก คือ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือ เพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุง แต่งฟ่ามเฝือไป

แม้ในเวทนา ในจิต และในธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้


อนิสฺสิโต จ วิหรติ แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือ มีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้น ต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลัก คือ ไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิง อาศัย หรือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็ รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพ ระบายสี เสริมแต่ง และกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึก จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น

น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่า จะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณว่า เป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น

อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า "ภายใน" หมายถึง ของตนเอง "ภายนอก" คือ ของผู้อื่น มติของอรรถกถานี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ? ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้น มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ" *(*อภิ.วิ.35/445-7/263-5)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง * คคห.บน

* ที.อ.2/472/ ม.อ.1/333 วิภงฺ. อ. 284 ….ข้อความว่า "กายในกาย" นี้ อรรถกถาอธิบายไว้ถึง ๔-๕ นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา ไม่ใช่ตามดูจิต หรือไม่ใช่ตามดูธรรม

ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อย ในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่าทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มี นาย ก. นาง ข. เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์หน่อยรวมออก หรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้เป็นต้น

(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

บางท่านอาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกาย ใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น คือ รู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น ทำให้เกิดราคะ บ้าง โทสะ บ้าง เป็นต้น ถ้าไม่รู้ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด

ในทางตรงข้าม เวลาไปพูดกับคนอื่น เขามีอาการโกรธ ก็ไม่รู้ว่าเขาโกรธ แล้วจะมาบอกว่าปฏิบัติสติ-ปัฏฐานได้อย่างไร และสติปัฏฐานจะใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้

การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย....

รูปภาพ

งานนี้ท่านอโศกไปไม่เป็นอีกแล้ว คงนิพพิทาเบื่อเซ็งไปอีกนาน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2016, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ กท.หลักปฏิบัติที่

viewtopic.php?f=2&t=47554


กล่าวนำนิดหน่อย

กระบวนการปฏิบัติ

๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ

ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยสังเกต ตามดูรู้ทัน) กับ

ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกต ตามดูรู้ทัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2016, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปรารภจขกท.นี่ ถ้าเค้าปฏิบัติถูกต้องมาแต่ต้น จะไม่เกิดปัญหานี้เลย

อ้างคำพูด:
แต่ว่าถ้าการฝึกสมาธิมันเสี่ยงกับการเป็นบ้า ทำไมเราถึงสนับสนุนคนให้ฝึกกันละคะ
เพราะก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าตัวเองมีเชื้อบ้าอยู่ในตัวไหม
น่าจะสนับสนุนให้ศึกษาธรรมมะให้เข้าใจก็พอแล้ว
คนที่เข้าใจธรรมมะจากการศึกษาก็พ้นทุกข์ได้ ไม่เห็นต้องมาเสี่ยงปฏิบัติ

ดิฉันไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อมาก่อนไหม แต่รู้ว่าตัวเองสุขภาพจิตดีก่อนเกิดเหตุ
แต่เคยได้ยินว่าฝึกแล้วอาจจะบ้าได้ แต่เสียดายไม่เคยคิดเลยว่ามันใกล้ตัวไป ก็ไม่ได้เคร่งเครียดอะไรในการฝึก
ทำไปตามปกติสบายสบาย จนมันผิดปกติถึงได้พยายามแก้ไขเอง นี่เองจุดหักเข้าสู้ความตาย
พอเห็นอาการทางกายหายไป แล้วดิฉันเริ่มหลงเพราะเห็นพระที่ดิฉันนับถือที่สุดในชีวิตเอาพระองค์เล็กๆใส่มาในตัวเรา
ต่อจากนั้น ก็รู้สึกไปว่าติดต่อทางจิตกับท่านตลอดเวลา... เจอมุขนี้ มือใหม่จะรับมือไหวได้ยังไง


คือกำหนดความคิด ความรู้สึก (สภาวะ, สภาวธรรม) นั่นตรงๆ เห็นอะไรสุดแล้วแต่ปุ๊บ กำหนดปั้บ เห็นปุ๊บ กำหนดปั้บ เห็นหนอๆๆๆ

การปฏิบัติ คือ การกำหนด เห็นหนอๆ คิดหนอๆ เป็นต้นนี่แหละ มันตัดกระแสความคิดนั้นๆให้ขาด ยิ่งกำหนดได้เร็ว รู้สึกตัวเร็ว (เท่ากับ สติไว)

แต่บางสภาวะก็ต้องกำหนดมากมาย (ทุกๆขณะที่มันเกิด) กว่ากระแสความคิดนั่นจะขาด (สันตติขาด - วงจรความคิดขาด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2016, 15:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
ฟุ้งและยาวเฟื้อยจนไม่รู้ว่าจะสรุปและนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างไร

เรียกว่า"ทำของง่ายให้เป็นของยาก"

บัณฑิตทั้งหลายล้วนแล้วแต่ทำของยากให้เป็นของง่าย

สรุปมาสั้นๆซิกรัชกายว่าสติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีจุดเน้น
สำคัญตรงกันทั้ง 4 ฐานอย่างไร?
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2016, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


ฟุ้งและยาวเฟื้อยจนไม่รู้ว่าจะสรุปและนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างไร

เรียกว่า"ทำของง่ายให้เป็นของยาก"

บัณฑิตทั้งหลายล้วนแล้วแต่ทำของยากให้เป็นของง่าย

สรุปมาสั้นๆซิกรัชกายว่าสติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีจุดเน้น
สำคัญตรงกันทั้ง 4 ฐานอย่างไร?


เอางี้ดิ ท่านอโศกบอกสติปัฏฐาน 4 ๆ มีอะไรบ้าง เอ้า

1.

2.

3.

4.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2016, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ฟุ้งและยาวเฟื้อยจนไม่รู้ว่าจะสรุปและนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างไร

เรียกว่า"ทำของง่ายให้เป็นของยาก"

บัณฑิตทั้งหลายล้วนแล้วแต่ทำของยากให้เป็นของง่าย

สรุปมาสั้นๆซิกรัชกายว่าสติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีจุดเน้น
สำคัญตรงกันทั้ง 4 ฐานอย่างไร?


เอางี้ดิ ท่านอโศกบอกสติปัฏฐาน 4 ๆ มีอะไรบ้าง เอ้า

1.

2.

3.

4.

:b34:
บอกให้กรัชกายสรุปสติปัฏฐาน 4 ทำให้สั้น ทำให้ง่ายมา
ไม่ใช่ให้ถาม รู้ตัวหรือเปล่า?
หรือทำไม่ได้?
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2016, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ฟุ้งและยาวเฟื้อยจนไม่รู้ว่าจะสรุปและนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างไร

เรียกว่า"ทำของง่ายให้เป็นของยาก"

บัณฑิตทั้งหลายล้วนแล้วแต่ทำของยากให้เป็นของง่าย

สรุปมาสั้นๆซิกรัชกายว่าสติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีจุดเน้น
สำคัญตรงกันทั้ง 4 ฐานอย่างไร?


เอางี้ดิ ท่านอโศกบอกสติปัฏฐาน 4 ๆ มีอะไรบ้าง เอ้า

1.

2.

3.

4.

บอกให้กรัชกายสรุปสติปัฏฐาน 4 ทำให้สั้น ทำให้ง่ายมา
ไม่ใช่ให้ถาม รู้ตัวหรือเปล่า?[/b][/color] หรือทำไม่ได้?


อ้างคำพูด:
สติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีจุดเน้น สำคัญตรงกันทั้ง 4 ฐานอย่างไร?


ท่านอโศกว่าสติปัฏฐาน มี 4 ข้อใช่ไหม ดังนั้น บอกมาสิ 4 ข้อนั้นอะไรบ้าง

1.

2.

3.

4.

ว่ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2016, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เอามาให้แล้วจับประเด็นและย่อความให้ได้เองนะ นักวิชาการกรัชกาย

2.5 สาระสำคัญของสติปัฏฐาน



2.5.1 การพัฒนาความรู้สึกตัว : หลักสำคัญของวิปัสสนา
2.5.2 การจำแนกประเภทของสติปัฏฐาน
2.5.3 ความสำคัญของการมีความเพียร มีสัมปชัญญะ และมีสติ

ว่าโดยสาระสำคัญ หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้น คือ

- ร่างกายและพฤติกรรมของร่างกาย 1
- เวทนาหรือความรู้สึกสุขทุกข์ต่าง ๆ 1
- ภาวะจิตที่เป็นไปต่าง ๆ 1
- ความคิดนึกไตร่ตรอง 1


ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดที่นี้แล้ว ก็จะช่วยให้มีความเป็นไปอย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรมในที่สุด
ความตอนท้ายของทุกหมวดที่กล่าวถึงในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ มีข้อที่น่าสังเกตอยู่ 3 ลำดับ กล่าวเป็นข้อความลักษณะอย่างเดียวกันว่า
- “ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกาย* ภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายทั้งกายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้
- “ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง”
- “อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า “กายมีอยู่ดังนี้” เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย”

* คำว่า กาย เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต และธรรม ตามแต่กรณีนั้น ๆ

จากข้อความตอนท้ายดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของสติปัฏฐานว่า นอกจากการใช้สติคอยสังเกตร่างกาย ความรู้สึก ภาวะจิต และความนึกคิดแล้ว เงื่อนไขของการสังเกตอยู่ที่การจำแนกสภาวธรรมในแต่ละหมวดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ที่ตั้ง เหตุ และวิธีการว่าควรใช้สติสังเกตอะไร และสังเกตอย่างไร

ที่ตั้งของสติเป็นอย่างไร สติในที่นี้มิใช่เป็นไปเพื่อการสังเกต ลม ฟ้า อากาศ และสิ่งแวดล้อมนอกตัว มิได้ใช้เพื่อการคิดค้นวิทยาการ หรือการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนอกตัวเราเลย ลักษณะเหล่านั้นเป็นเพียงความตั้งมั่นในระดับหนึ่ง เป็นประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพให้อยู่รอดเพื่อเผชิญกับความทุกข์ที่แฝงมาพร้อมกับความเห็นผิดเท่านั้น มิใช่เพื่อความพ้นทุกข์ของชีวิตโดยตรง
หากเป็นสติปัฏฐานโดยแท้จริงแล้ว จะมีที่ตั้งของการสังเกตค้นคว้าอยู่ที่ภายในตัวชีวิตเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากร่างกายและพฤติกรรมของตัวเราเป็นลำดับแรก เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามพระบาลีกำหนดให้สังเกตกายในกาย คำว่า กายในกาย หมายถึง การเลือกพิจารณากาย (รูป) หมวดใดหมวดหนึ่งในกายทั้งหมดที่มีถึง 14 ลักษณะ มาเป็นที่ตั้งแห่งการสังเกต เช่น เลือกหมวดอิริยาบถ ก็เป็นกายานุปัสสนาหมวดหนึ่งในกายทั้งหมด ตั้งแต่ลมหายใจ สัมปชัญญะ ฯลฯ จนถึงซากศพ

หากเลือกอิริยาบถ 4 ก็หมายถึงการพิจารณาอิริยาบถเดียวในอิริยาบถทั้งหมด เช่น หากกำลังเดินก็เป็นเพียงอาการเดิน มิใช่อาการนั่ง ยืน หรือนอน หากกำลังนั่งอยู่ก็พิจารณาอาการที่นั่ง ว่าไม่ใช่อาการเดิน ยืน หรือนอน ด้วยวิธีการเช่นนี้ความเข้าใจเดิมที่ไม่เคยคาดคิดถึงว่าจะมีส่วนประกอบย่อย ๆ ที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของร่างกาย พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดก็จะถูกพิจารณาใหม่ด้วยสติ ถึงกลุ่มก้อนความสืบเนื่องของความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ และภายใต้ความสืบเนื่องดังกล่าวสามารถกระจายเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ ที่แยกจากกันได้ ความรู้ใหม่นี้จะสร้างพลังผลักดันให้มีการสืบค้นต่อไปว่า ตัวตนที่เคยยึดนั้นมีอยู่จริงหรือไม่




ในอรรถกถาอธิบายข้อความที่ว่า กายในกาย ออกเป็นหลายนัยด้วยกัน โดยชี้ถึงความมุ่งหมายเฉพาะ เพื่อให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การตามดูกาย ส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ คือ

“ตามดูกายแต่ละส่วน ๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่ากายทั้งหมดนั้นไม่มีอะไรนอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อย ๆ ลงไป ไม่มีบุคคลเป็นเรา เป็นเขา หรือกายของเรา เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์หน่วยรวมออกหรือเป็นการเคลื่อนคลายความเป็นกลุ่มก้อนเหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วยออกจากต้นกล้วยจนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้เป็นต้น*”
(ที. อ. 2/472, ม.อ. 1/333, วิภงฺ ค.อ. 284)

ที่ว่า “เฝ้าตามดูกายในกาย” หรือ “เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ พระญาณโปนิกเถระได้วิเคราะห์ถึงเหตุที่กล่าวซ้ำ ๆ ไว้ว่า มีความมุ่งหมายให้ผู้ปฏิบัติเห็นความสำคัญของความรู้ตัวในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเฝ้าตามดูในเรื่องใดก็ต้องดำรงการเฝ้าตามดูเฉพาะเรื่องนั้น โดยไม่ปล่อยความคิดตามไปถึงขอบเขตของเรื่องอื่น เช่น เมื่อตามดูกระบวนการทางกาย (เช่น รูปเดิน) อาจจะเผลอใจไปพิจารณาถึงความรู้สึกปวดขา (เวทนา) ที่เกิดจากกระบวนการทางกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ปฏิบัติควรจะรู้ว่าตนได้พรากจากอารมณ์เดิม (กาย) แล้วไปเฝ้าตามดูเวทนา หากเป็นไปได้ควรกลับมาพิจารณาอารมณ์เดิม (กาย) เป็นต้น
เมื่อสังเกตแต่ละอาการแยกออกจากอาการทั้งหมดได้แล้ว ขั้นที่ 2 จึงพิจารณาถึง เหตุ คือ สิ่งที่ทำให้อาการเหล่านั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่ทำให้อาการเหล่านั้นสลายไป จากนั้นจึงเปรียบเทียบสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้สลายไป
พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นในสติปัฏฐานสูตรไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน 4 เธอทั้งหลายจงฟัง”
“ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร”
“ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ”
“ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนาม-รูป ความคิดดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนาม-รูป”
“ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ”
(สํ.ม. 19/819 สมุทยสูตร)

กิจกรรมของชีวิตอันประกอบด้วย ร่างกาย ภาวะจิต ความรู้สึก และความคิดนึก ไตร่ตรอง มีเหตุเฉพาะของแต่ละส่วนไม่ก้าวก่ายกัน เช่น อาหารเป็นเหตุแห่งการเกิดและการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ทางกาย ส่วนความรู้สึก (เวทนา) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการกระทบ (ผัสสะ) ระหว่างอายตนะภายในและกายตนะภายนอกเท่านั้น เวทนาจะเกิดจากอาหารโดยตรงไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้น เหตุของกรรมดีย่อมได้รับผลดี และเป็นคนละส่วนกับผลชั่ว การแก้ปัญหา (ทุกข์) อย่างได้ผล ต้องแก้ (ดับ) ที่สาเหตุเบื้องต้นเป็นส่วนสำคัญ พระสูตรในส่วนนี้เป็นการศึกษาที่มาและที่ไปของชีวิตว่า การกระทำใดเป็นผลของความสบายกายและใจ การกระทำใดสร้างความเดือดร้อนขึ้น และพยายามหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเดือดร้อนให้ได้

การยอมรับว่าชีวิตมีที่มา และจะเป็นไปอย่างไรได้บ้าง ช่วยเสริมความมั่นใจได้ว่า หากเลือกจุดหมายที่จะยุติกระบวนการเกิดของชีวิตที่เต็มไปด้วยปัญหานั้น มีอยู่วิธีเดียวคือ การละเหตุที่ทำให้เกิด เหตุที่ทำให้เกิดจะถูกละได้ก็ด้วยการกระทำเพียง 8 ลักษณะ หรือมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น การกระทำที่นอกจากลักษณะสัมมาทั้ง 8 นี้แล้ว การกระทำนอกนั้นล้วนเป็นเหตุของการเกิดทั้งสิ้น

สติปัฏฐานจึงเป็นวิธีปลดปล่อยตนเอง โดยตั้งอยู่บนรากฐานของกฎแห่งกรรม คือ การรับผิดชอบในการกระทำของตนเองว่า โดยความสำเร็จสูงสุดแล้ว ต้องเกิดจากการหยุดต้นเหตุแห่งปัญหาด้วยความพยายามและความตั้งใจของตนเอง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปฏิบัติอย่างถูกทางแล้ว จะกลับไปเชื่อถือในลัทธิการพ้นบาปโดยมีผู้รับแทน หรือการอ้อนวอนขอความกรุณาการช่วยเหลือจากพระเจ้า หรือเชื่อในการสวดอ้อนวอนภาวนาของนักบวชผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสวรรค์ (พระญาณโปนิกเถระ 2534 : 96)

ในขั้นที่ 3 อันเป็นเงื่อนไขสุดท้าย คือ ลักษณะพิเศษของวิธีการ มีความสำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งที่สังเกตได้ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของอิริยาบถทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ตลอดจนเหตุที่ทำให้อริยาบถนั้นเกิดขึ้นหรือสลายไปนั้น เป็นการสังเกตเพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้นว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้น แต่มิให้สร้างภาพลักษณ์หรือแนวคิดอื่น ๆ ขึ้นเอง (ไม่เป็นผู้อาศัยสิ่งใด) จนกระทั่งเกิดความพอใจหรือไม่พอใจในภาพลักษณ์หรือแนวคิดดังกล่าว (ไม่ยึดถือสิ่งใด ๆ ในโลก) ในเรื่องความสำคัญของการกำหนดตัวอารมณ์แท้ ๆ นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำกฎของการปฏิบัติไว้ว่า
“เมื่อเห็นก็จงแต่เพียงเห็น เมื่อได้ยินก็จงแต่เพียงได้ยิน เมื่อรู้ (กลิ่น รส สัมผัส) ก็
จงแต่เพียงรู้ เมื่อใจรู้ก็จงแต่เพียงรู้เท่านั้น”
(ม.อุ. 25/49 พาหิยสูตร)

กล่าวโดยสรุปแล้ว การเจริญสติปัฏฐาน คือ การเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนของจิตที่ยังมีอวิชชาปรุงแต่ง ไม่มีช่องทางที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้เลย


top



2.5.1 การพัฒนาความรู้สึกตัว : หลักสำคัญของวิปัสสนา

กิจกรรมสามัญที่สุดของคำว่า “ชีวิต” ทุกชีวิต ทุกชาติ ทุกภาษา ซึ่งเป็นไปในชีวิตประจำวัน คือ การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย สุขสบายบ้าง ทุกข์ เจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉย ๆ บ้าง ความรู้สึกคือ สัมผัสของการมีชีวิตอยู่ สิ่งที่เรารู้สึกเกี่ยวกับอะไรก็ตาม จะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติและพัฒนาการของจิตใจ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของความคิดจากอดีต ภาวะยุ่งเหยิงในปัจจุบันและศักยภาพที่จะมีในอนาคต เช่น การรับรู้ใด ทำให้เป็นสุข ก็ชอบใจ ติดใจในสิ่งนั้น สร้างภาพลักษณ์ให้อยากได้ อยากเสพซ้ำอีก

การรับรู้ใดที่ทำให้ทุกข์ ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น พยายามหลีกเลี่ยง กำจัดและทำลาย กระบวนการสร้างแนวคิดและภาพลักษณ์ของตัวตนนี้ดำเนินไปตลอดเวลา มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยมิได้สังเกต และที่แรงเข้มจนสังเกตได้เด่นชัด การเข้าใจความรู้สึกของตนเองจึงหมายถึง การเข้าใจปฏิกิริยาของตนที่มีต่อโลก โดยความรู้สึกจากอดีตจะสร้างรูปแบบปฏิกิริยาของเราต่อสิ่งที่เราประสบในปัจจุบัน และที่จะมีในอนาคต เช่น คนที่พกพาความโกรธไว้ในใจตลอดเวลา ไม่เคยรู้ว่าความสงบเป็นอย่างไร มักพบว่าโลกที่ตนเองเผชิญนั้นมีแต่สิ่งไม่น่าปรารถนาเต็มไปหมด จึงเห็นว่าความโกรธของตนเองมีเหตุผลกว่า จนเคยชินและเห็นความโกรธเป็นเรื่องธรรมดา เป็นต้น (เดวิด วิสคอตต์ 2532 : 1, 10)

เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ตนยึดถือไว้ ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรม นามธรรม ที่อาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เมื่อไม่รู้ (จิตตวิปลาส) เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ และการรับรู้ เป็นต้น ที่เป็นอดีตและอนาคต (สัญญาวิปลาส) ในขณะนั้น ๆ ว่าเป็นตัวตนของตน (ทิฏฐิวิปลาส) รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การถูกความรู้สึกนึกคิด (จิตตวิปลาส) อันเป็นนามธรรม ส่วนย่อยเหล่านี้หลอกลวงเข้า จึงเป็นจุดตั้งต้นของความคิดที่ผิดพลาด (สัญญาวิปลาส) ถูกบังคับให้คิดเห็น รู้สึกและทำการต่าง ๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่าเป็นตัวตน (ทิฏฐิวิปลาส) ในขณะนั้น

แต่ในหลักสติปัฏฐานได้แนะนำหลักการพัฒนาความรู้สึกตัว ซึ่งมีวิธีการเฉพาะเป็นขั้นตอนของการสังเกต มีอารมณ์เฉพาะอย่างที่เป็นตัวถูกเพ่งพิจารณา มิใช่ว่าจะใช้อารมณ์อะไรก็ได้ ทั้งนี้เป็นอุบายอย่างหนึ่ง และเป็นเหตุผลที่ช่วยเสริมความเข้าใจในการมองเห็นรูปธรรมและนามธรรมแต่ละอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา และความคิด ขณะกำลังเกิดขึ้น และสลายไปตามสภาวะของมันเอง (อนิจจัง) ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมอย่างเดียวได้ (ทุกขัง) เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบของอาการที่กำลังสืบต่อกันเป็นกระบวนการ (อนัตตา) แล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกลวงจากทิฏฐิที่วิปลาสให้ยึดถือเอาส่วนประกอบย่อยนั้นว่าเป็นตัวตนของตน และความรู้สึกเป็นตัวตนเหล่านั้นจะค่อย ๆ หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ใต้อิทธิพลของความยึดถืออีกต่อไป เข้าถึงภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น โดยนัยนี้การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการของโรคต่าง ๆ ที่มีในจิต ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดที่ก่อให้เกิดโรคของความโลภ ความโกรธหรือความหลงสามารถกำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปมเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของจิตให้หมดไป มีความปลอดโปร่งพร้อมที่จะดำรงชีวิต เผชิญหน้าและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความรู้จริง (พระราชวรมุนี (ประยุทฺธ ปยุตฺโต) 2525 : 818) วิธีการชำระจิตนี้จะกระทำใน 2 ระดับ คือ ระดับจิตสำนึก และระดับจิตใต้สำนึก*

การเฝ้าดูในส่วนแรก คือ ครั้งแรกให้สังเกตพฤติกรรม ความรู้สึก ภาวะจิต ที่รวมเป็นธรรมชาติของรูปธรรม นามธรรม ภายในตนเองก่อน ต่อมาจึงเฝ้าตามดูผู้อื่น และสุดท้ายคือเฝ้าตามดูทั้ง 2 ฝ่าย เริ่มสังเกตธรรมชาติที่ก่อตัวเป็นบุคลิกภาพในตัวเรา แต่ละคนจะมีลักษณะที่ตรงข้ามกันอยู่ในคน ๆ เดียว

J.C. Jung กล่าวถึงบุคลิกภาพของมนุษย์ไว้ 2 ลักษณะ** คือ แบบเก็บตัว (Introvert) และแบบเปิดเผย (Extrovert) ส่วนใดจะแสดงออกมากน้อยกว่ากัน ขึ้นกับรูปแบบ แนวคิด และทัศนคติของผู้นั้น ลักษณะที่ตรงข้ามหรือความขัดแย้งในตัวเองดังกล่าว ทำให้เกิดความตึงเครียดที่แสดงออกมาเป็นความพอใจและความไม่พอใจ (อภิชฌาและโทมนัส) และความตึงเครียดนี้เองจะถูกสะสมจนกลายเป็นโครงสร้างที่สลับซับซ้อนของจิต ของความคิด และพฤติกรรม ที่เรียกว่า อุปนิสัย หรือบุคลิกภาพ ถ้าไม่มีภาวะตึงเครียดก็จะไม่มีพลังงาน และเป็นผลให้ไม่มีบุคลิกภาพ (นวลละออ สุภาผล 2527 : 146) ภาวะตึงเครียด (อภิชฌาและโทมนัส) นี้ จึงเป็นตัวจักรสำคัญที่ให้พลังชีวิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตอันยาวนานไปสู่อนาคตที่ยังไม่รู้จุดหมาย




หากยังไม่ผ่านขั้นพื้นฐานของการสังเกตความกดดันภายในตนเองก่อนแล้ว ย่อมไม่สามารถพัฒนาสติและสัมปชัญญะเพื่อใช้ในการควบคุมความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทั้งภายในตนเองและขัดแย้งกับผู้อื่นด้วย ผลจากการสังเกตและกำหนดรู้เปรียบเทียบความเป็นไปทั้งภายในตนเองและภายนอก จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของลักษณะตรงข้ามที่สุดโต่งทั้ง 2 ลักษณะ โดยชดเชยในสิ่งที่ขาดไป และลดทอนในส่วนที่เกินของแต่ละแบบ จนในที่สุดก็จะเข้าสู่สภาวะสมดุลของทางสายกลาง ณ จุดภาวะที่มีการถ่วงดุลนี้ มหาสติ* จะทำกิจของการกำหนด รู้กระบวนการที่กำลังเชื่อมโยงกันอยู่อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถพิเศษในการแยกแยะส่วนของภาวะจิตออกจากความรู้สึก และแยกความรู้สึกล้วน ๆ ออกจากพฤติกรรมทางกาย ความแตกต่างของแต่ละส่วนที่ว่านี้จะไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เป็นแต่เพียงการเห็นช่วงต่อของความสัมพันธ์ที่ดำเนินมาตลอดทั้งสาย แต่ก็ไม่เปิดโอกาสให้ทัศนคติ (กิเลส) ในการตีความเข้ามาก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น เพราะมุ่งสนใจลักษณะกระบวนการมากกว่า มิได้สนใจเรื่องราวความขัดแย้งที่สำเร็จรูปจากการตีความแล้ว (อภิชฌาและโทมนัส) เมื่อไม่มีความตึงเครียด (ซึ่งเคยเป็นฟันเฟืองสำคัญ) จึงขาดพลังที่จะสร้างชีวิตขึ้นใหม่ นั่นคือ แนวโน้มของการจบชีวิตอย่างไม่ต้องเกิดอีก (พระนิพพาน) ในอนาคต และเป็นความสงบสันติสุขอย่างแท้จริง ซึ่งทุกชีวิตปรารถนาแต่ยังไม่รู้จัก


สำหรับการเฝ้าตามดูในส่วนที่ 2 จุดมุ่งหมายอยู่ที่การสังเกตสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้น สิ่งที่ทำให้สลายไป และสังเกตทั้งการเกิดขึ้นและสลายไปของอารมณ์แต่ละอย่าง ธรรมชาติของอารมณ์ต่าง ๆ จะแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวเองออกมา ความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้นี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญของการปฏิบัติ โดยการคิดใคร่ครวญ การพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและการสลายไป เป็นการปฏิเสธทฤษฎีการเก็งความจริงบางอย่าง เช่น การพิจารณาจนเห็นเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น จะปฏิเสธความเชื่อในความดับสูญ (นัตถิกทิฏฐิ) เพราะเห็นแล้วว่าความดับของสิ่งหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้นมา (ผล) ไม่ใช่ดับไปโดยสูญเปล่า จะปฏิเสธความเชื่อในความเที่ยงหรือความคงอยู่ตลอดไป (สัสสตทิฏฐิ) เพราะเห็นแล้วว่าความคิดนั้นไม่คงที่ จากความคิดอุดหนุนให้มีการกระทำ ความคิดต้องหมดไปก่อนพฤติกรรมจึงเกิดขึ้น ความคิดและพฤติกรรมเป็นคนละส่วนกัน การยอมรับทั้งการเกิดขึ้นและการสลายไป ช่วยยืนยันถึงความจริงด้านความสัมพันธ์ในแนวปัจจยาการหรือกฎการอิงอาศัยซึ่งกันและกันของปรากฏการณ์ทั้งหลายในโลกว่า ไม่มีการดลบันดาลจากใครทั้งสิ้น ชีวิตและพฤติกรรมของชีวิตต้องอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ และเหตุนั้นก็เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนลึกล้ำเกินกว่าจะมีใครสามารถเสกสรรขึ้นหรือบันดาลให้พินาศไปตามความต้องการของใครได้ เหตุของชีวิตและความทุกข์ที่นอกจากขบวนการสืบเนื่องอันยาวนานของ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม และอาหารแล้ว ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ใดทำให้ชีวิตเกิดขึ้นหรือทำลายชีวิตใครได้ (พระญาณโปนิกเถระ 2534 : 64)
ในส่วนที่ 3 คือ การเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่... ในพระสูตรบทนี้แสดงถึงผลที่จะได้รับในแง่ของวิปัสสนา กล่าวคือ ความเห็นที่ถูกต้องในสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้
“กายมีอยู่...เพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นแต่กระบวนการทางกายเท่านั้นที่กำลังดำเนินไป ไม่มีอาตมันหรือตัวตนอาศัยอยู่”
“เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เป็นการกำหนดรู้ว่ากระบวนการอะไรกำลังเกิดขึ้น สิ่งนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ หรือกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ เป็นเพียงระลึกด้วยสติที่ปราศจากอคติ ปราศจากความบิดเบือนลำเอียง ไม่ถูกแทรกแซงด้วยภาพลักษณ์ของความรู้สึกด้อย หรือความรู้สึกเขื่อง*”
“เธออยู่อย่างอิสระและไม่ยึดถือสิ่งใด เป็นท่าทีการไม่ยึดมั่น เนื่องจากหลุดพ้นจากกิเลสใหญ่ 2 อย่าง ที่เป็นเหตุให้ต้องคอยผูกพันชีวิตไว้ ได้แก่ ความเห็นผิด (ทิฏฐิ) และความทะยานอยาก (ตัณหา) นั่นคือ หลุดพ้นจากเครื่องผูกพันทั้งทางความคิดและอารมณ์ที่ไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย”

ในหนังสือ A Technique of Living Based on Buddhist Psychology Principles ของเลียวนาร์ด เอ บุลเลน กล่าวถึงวิธีการกำหนดเพียงเพื่อรู้ไว้เฉย ๆ ในลักษณะเช่นนี้ว่า

“มิได้หมายถึงการโจมตีหรือเผชิญหน้าปัญหาต่าง ๆ โดยตรง บทบาทของการกำหนดรู้เฉย ๆ คือ การสร้างฐานที่มั่นสำหรับการสังเกตและรับรู้ในปัจจุบัน เมื่อประสบการณ์จากอารมณ์และความรู้สึกที่เคยยุ่งเหยิงไม่น่าพึงปรารถนาในปัจจุบันถูกชำระให้บริสุทธิ์ (ปราศจากอคติ) สะอาดขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ความรู้สึกตัวนี้ก็จะพัฒนาขยายการปฏิบัติงานเข้าไปยังความทรงจำเกี่ยวกับประสบการณ์ทางด้านอารมณ์ที่สะสมมาจากอดีตอันยาวนานเช่นกัน การโจมตีปมต่าง ๆ ของชีวิตโดยตรงจะประสบความล้มเหลวอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่มนุษย์รู้ได้ยากที่สุด คือ ความจริงเกี่ยวกับตนเอง แต่การกำหนดรู้เฉย ๆ จะแผ่อิทธิพลแทรกผ่านเข้าไปยังส่วนลึกของหัวใจ (จิตใต้สำนึก) และชำระกันเองในระดับนั้น โดยจิตใต้สำนึกจะค่อย ๆ เปิดเผยตัวเองออก และยอมให้ควบคุมได้มากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า จะประสานกันได้และช่วยเกื้อกูลแก่แนวโน้มในการควบคุมของจิตระดับสำนึก อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับก่อนว่า ขบวนการนี้มิใช่เป็นงานในระยะเวลาเพียงอาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง แต่เป็นขบวนการที่ใช้เวลานับสิบปีทีเดียว และความจริงเป็นงานตลอดชีวิตด้วยซ้ำ”

ถ้อยคำอันเป็นคุณลักษณะพิเศษจากพระพุทธพจน์ที่พระสูตรกล่าวไว้ เกิดขึ้นจากการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ (สัมมาสัมโพธิ) ของพระพุทธองค์เท่านั้น มีความบริบูรณ์เต็มเปี่ยม ทั้งโดยความหมายและทำนองการอธิบาย ให้ความมั่นใจแก่ผู้ได้ลิ้มรสคุณสมบัติของถ้อยคำดังกล่าว จนแม้การเข้าถึงความหมายเพียงบางส่วนก็สามารถรู้สึกได้ถึงความศรัทธาที่ตนมีให้แก่พระพุทธศาสนามากขึ้น ถ้อยคำอันหนักแน่นเหล่านั้นมีลักษณะที่แท้ คือ การประสานความลึกเข้ากับความง่าย ผู้ที่บรรลุถึงความหมายดังกล่าวจะรู้สึกได้ถึงความอิ่ม ความพอในทุก ๆ ระดับของความเข้าใจ มีผลต่อพัฒนาการทางจิตใจใน 2 ลักษณะ คือ ด้านความสงบระงับ และด้านการกระตุ้นจิตสำนึก
ที่ว่าสงบระงับ เพราะทำให้หมดความสงสัย และความขัดแย้งในตัวเอง ยอมรับผิดชอบการกระทำทุกอย่างของตน และให้อภัยกับพฤติกรรมของผู้อื่นมากขึ้น กับทั้งก่อให้เกิดความรู้สึกพอใจอย่างลึกซึ้งที่จะยุติเรื่องราวต่าง ๆ ที่อาจก่อความขัดแย้งกับคนรอบข้าง
ในส่วนของการกระตุ้น คือ ความรับรู้ต่าง ๆ มีโอกาสหยั่งลงสู่ขอบเขตแห่งจิตใต้สำนึก ซี่งหมายถึงการขยายความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกล้วน ๆ ให้กว้างออกไปนั่นเอง

top




2.5.2 การจำแนกประเภทของสติปัฏฐาน

เหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานเพียง 4 อย่างเท่านั้น ไม่มากไม่น้อยกว่านี้ พระองค์ทรงกล่าวเช่นนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่เวไนยชนผู้มีจริตต่าง ๆ กัน กล่าวคือ

ผู้ที่มีพื้นนิสัยโน้มไปทางตัณหาหรือตัณหาจริต หากมีปัญญาน้อย ทางบริสุทธิ์ที่เหมาะ ก็คือ สติปัฏฐานหมวดที่เกี่ยวกับการเฝ้าตามดูกาย (กายานุปัสสนา) ที่มีลักษณะหยาบและเห็นได้ชัดเจน ส่วนผู้ที่มีพื้นนิสัยโน้มไปทางตัณหา แต่มีปัญญาคมกล้า วิธีที่เหมาะก็คือ การเฝ้าตามดูเวทนา (เวทนานุปัสสนา) ซึ่งละเอียดกว่า

สำหรับผู้ที่มีพื้นนิสัยโน้มไปทางเป็นเจ้าทฤษฎี (ทิฏฐิจริต) หากเป็นผู้มีปัญญาน้อย วิธีการที่เหมาะสมจะต้องไม่มีรายละเอียดมากนัก ซึ่งก็ได้แก่ การเฝ้าตามดูจิต (จิตตานุปัสสนา) ส่วนผู้ที่มีพื้นนิสัยเป็นเจ้าทฤษฎี และมีปัญญาคมกล้า วิธีที่เหมาะก็คือ การเฝ้าดูตามธรรม (ธัมมานุ
ปัสสนา) ซึ่งมีรายละเอียดมาก

กายและเวทนาเป็นตัวการสำคัญที่จะชักนำไปสู่ความเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของบุคคลผู้มีตัณหาจริต สำหรับบุคคลประเภทตัณหาจริตที่มีปัญญาเชื่องช้า วิธีการกำจัดกิเลสของบุคคลประเภทนี้คือ การมองเห็นความไม่สะอาด ความเป็นปฏิกูลในร่างกาย ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่หยาบกว่าในบรรดาวิธีการพื้นฐานของตัณหาด้วยกัน ส่วนบุคคลประเภทตัณหาจริตที่มีปัญญาคมกล้าย่อมมองเห็นความทุกข์ในเวทนาซึ่งเป็นอารมณ์ละเอียดได้ง่ายกว่า

ในทำนองเดียวกัน จิตและธรรมก็เป็นตัวการสำคัญที่จะชักนำให้มีการปรุงแต่งสร้างสรรค์ความคิดเห็นเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องความเที่ยงแท้ถาวรและความมีตัวตน การสละความเชื่อเกี่ยวกับความเที่ยง ความมีอยู่นั้น เหมาะกับคนทิฏฐิจริตที่มีปัญญาน้อย สามารถมองเห็นความไม่เที่ยงของจิตได้ง่ายกว่า เพราะการจำแนกประเภทของจิตมีไม่มากนัก เช่นให้สังเกตจิตประกอบด้วยราคะ ก็ดูเฉพาะจิตที่กำลังรู้อารมณ์ราคะ เป็นต้น ส่วนการถอนความเชื่อเกี่ยวกับอัตตาจะเหมาะกับจริตแบบเจ้าทฤษฎีที่มีปัญญาคมกล้ากว่า สามารถมองเห็นความไม่มีตัวตน (อนัตตา) และสามารถจำแนกประเภทของสภาวะธรรมได้อย่างละเอียดและลึกซึ้งกว่า เช่น จำแนกเป็นสัญญา ผัสสะ ฯลฯ หรือนิวรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

“กายและเวทนา นอกจากจะเป็นพื้นฐานของตัณหาแล้ว บางครั้งก็ใช้ประกอบปรุงแต่งสร้างทิฐิได้เหมือนกัน มิใช่เป็นพื้นฐานสำหรับตัณหาอย่างเดียว ส่วนจิตและธรรมนั้นไม่เฉพาะเป็นพื้นฐานสำหรับปรุงแต่งทิฐิเท่านั้น แต่สามารถเป็นพื้นฐานของตัณหาได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าในบรรดาสภาวะทั้ง 4 นั้น ส่วนใดเป็นปัจจัยที่มีกำลังแรงกว่าในการก่อให้เกิดตัณหาและทิฐิดังกล่าว จึงแยกอารมณ์ให้เด่นชัดเท่านั้น”
(ปปัญจสูทนี. ม.อ. 1/329)

top




2.5.3 ความสำคัญของการมีความเพียร มีสัมปชัญญะ และมีสติ

สิ่งสำคัญในการเจริญกรรมฐาน นอกจากความมีสติแล้ว ในการกำหนดรู้อารมณ์หนึ่ง (สิ่งที่ถูกเพ่ง) ไม่ว่าจะเป็นกาย เวทนา จิตหรือธรรม ต้องอาศัยองค์คุณอีก 2 อย่าง คือ ความเพียรและสัมปชัญญะ ทั้งสติสัมปชัญญะและความเพียร (รวมเรียกว่าผู้เพ่ง) เป็นบางส่วนขององค์มรรค คือ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ เป็นคุณสมบัติสำคัญช่วยให้บรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน เมื่อรวมพลังกันในสัดส่วนที่พอเหมาะแล้ว ผลสำเร็จย่อมเกิดขึ้น หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำให้การกำหนดรู้นั้นไม่ต่อเนื่อง ไม่ชัดเจน และมีโอกาสถูกบิดเบือนได้ง่าย



“...ดังนั้น ผู้หวังความก้าวหน้าในการพ้นทุกข์จึงต้องศึกษาให้รู้จักองค์คุณทั้ง 3 พร้อมทั้งฝึกฝนพัฒนาลักษณะทั้ง 3 ดังกล่าว ให้มีในตนเอง เพราะว่าหากไม่มีความเพียรก็จะเกิดความชะงักงันในการสังเกต ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจริญกรรมฐาน ผู้ที่ไม่มีสัมปชัญญะก็จะเกิดความสับสนในการเลือกใช้วิธีการที่ถูกต้อง หรือวิธีการหลีกเลี่ยงทางที่ผิด ส่วนผู้ที่มีสติอ่อนก็จะไม่สามารถระลึกถึงวิธีการที่ถูกและละทิ้งวิธีการที่ผิด ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ประสบความสำเร็จในการเจริญกรรมฐาน เป็นต้น”
(ปปัญจสูทนี. 1/335)
พระพุทธองค์ยกย่องถึงความเพียร สติ และสัมปชัญญะ ไว้ว่า

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเฝ้าตามดูกายในกาย (...เวทนา...จิต...ธรรม) มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ... กำจัดอภิชฌาและโทมทัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบ ในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในกายอื่นภายนอก...”
(ที.ม. 10/205 ชนวสภสูตร)

“...เมื่อเธอเฝ้าดูอยู่เช่นนั้น จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น...”
(สํ.ม. 19/724 มหาปุริสสูตร)

การพัฒนาความเพียร สติ และสัมปชัญญะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องศึกษาถึงอุปสรรค หรือสิ่งที่จะขัดขวางการพัฒนาตนเองก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคดังกล่าว หรือไม่ก็เป็นการปรับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าได้ พระพุทธองค์กล่าวถึงอุปสรรคของการพัฒนากรรมฐานไว้ว่า

“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่อาจพิจารณาเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน 1 ความเป็นผู้ชอบคุย 1 ชอบการนอนหลับ 1 ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 1 ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ 1
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่อาจเฝ้าตามดูกายในกายอยู่”
(องฺ ฉกฺก 22/388)

จะเห็นว่า การงาน การพูดคุย การชอบนอน การคลุกคลีกับหมู่คณะ ความไม่สำรวมอินทรีย์ และการไม่รู้จักประมาณในการบริโภคของตน ล้วนเป็นการให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมนอกตัว จึงทำให้ผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ไม่สามารถรวบรวมความรู้สึกตัวให้จำกัดอยู่เฉพาะการสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมที่อยู่ภายในตนเองได้ จากแนวคิดดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมอันเป็นอุปสรรคข้างต้น ในยุคสมัยต่อ ๆ มาจึงพัฒนามาเป็นห้องกรรมฐาน กฎระเบียบ และสำนักปฏิบัติธรรม ซึ่งมีอยู่มากมายเช่นทุกวันนี้ กรณีศึกษาของห้องกรรมฐานและสำนักปฏิบัติธรรม จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป





* ส่วนเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน
**จิตใต้สำนึก (Subconscious) หมายถึง ภาวะจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ มีความหมายต่างกับคำว่า จิตไร้สำนึก (Unconscious) ซึ่งหมายถึง ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกเก็บกดไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน 2525 : 229)
** J.C. Jung ศึกษาถึงระบบความสัมพันธ์ภายใน ประกอบด้วย ทัศนคติพื้นฐาน 2 ลักษณะ คือ
1. ทัศนคติหันเข้าหาตนเอง (Introversion) จะแสดงลักษณะของความไม่แน่ใจ ไม่กล้าตัดสินใจ ไตร่ตรอง สงบเสงี่ยม หลบหน้า ปกป้องตนเอง ภายในจิตใจ จะไม่มีความไว้วางใจผู้อื่นและมองดูผู้อื่นด้วยความพินิจวิเคราะห์
2. ทัศนคติหันออกจากตัวเอง (Extroversion) แสดงลักษณะสู่โลกของความจริงภายนอก ชอบออกสังคม นิสัยเปิดเผย โอ้อวด รู้จักผ่อนปรน ทำให้ปรับปรุงตนเองในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้ง่าย สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และไม่จริงจังกับความรู้สึกผิดหวัง

องค์ประกอบทั้ง 2 ลักษณะ มีความแปรผันซึ่งกันและกัน ถ้าทัศนคติหนึ่งเป็นลักษณะเด่นก็จะเข้ามาอยู่ในจิตสำนึก ในขณะที่อีกทัศนคติหนึ่งที่ด้อยกว่าจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าการรับรู้ในตัวเอง (Ego) แสดงลักษณะเปิดเผยตัวเองในการติดต่อโลกภายนอก ประสบการณ์ไร้สำนึก (Personal Unconscious) จะมีลักษณะที่หันเข้าหาตนเอง และมีพลังมากกว่าหลายเท่านัก เมื่อไรก็ตามที่ทัศนคติเด่นของการเปิดเผยได้รับความคับข้องใจในวิถีทางบางอย่าง ทัศนคติที่ถูกเก็บกดไว้คือ การหันเข้าหาตัวเองก็จะเข้ามามีบทบาทในบุคลิกภาพ และมีกำลังด้วยตัวของมันเอง เพื่อแก้ไขความคับข้องใจ เป็นต้น
* คือ สติที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นแถวเพื่อการระลึกรู้ในรูป-นาม ขณะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนไม่เปิดโอกาสให้โมหะหรืออวิชชาเข้าครอบงำความรู้สึกนึกคิดเลย สติที่เกิดได้ต่อเนื่องตลอดเวลาเช่นนี้ เรียกว่า มหาสติ ใช้กับการเจริญกรรมฐานเท่านั้น
* ทั้งความรู้สึกด้อยและความรู้สึกเขื่อง เป็นผลจากความเข้าใจว่าตัวตนมีอยู่จริง ถ้าความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนรุนแรงแล้ว ไม่ว่าจะทำ จะพูด หรือคิดอะไรก็ตาม จะรู้สึกว่าตนเป็นฝ่ายถูกเสมอ หรือเรียกว่า มีความรู้สึกเขื่องขึ้นมา เมื่อใดที่เราไม่สามารถรู้สึกถึงความถูกอันนี้ได้ ก็จะเกิดความรู้สึกด้อยและทนไม่ได้ขึ้นมาแทน (เลียวนาร์ด เอ บุลเลน 2531 : 31)

แนวคิดจากสติปัฏฐานสูตร : สาระสำคัญของสติปัฏฐานสูตร : การปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง : กลับสู่หน้าสารบัญ

Thailand Web Stat


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร