ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สังขาร 2 นัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53468
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ธ.ค. 2016, 13:21 ]
หัวข้อกระทู้:  สังขาร 2 นัย

เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อลัดตัดความเอาแค่นี้ก่อน

.........

สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์


คำว่า “สังขาร” นั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆกันไม่น้อยกว่า ๔ นัย แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ กับ สังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษา สับสนได้ง่าย

เบื้องแรกขอยกคำมาดูให้เห็นชัด

๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ธ.ค. 2016, 13:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

นำความหมายทั้ง ๒ นั้น มาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึงสภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียก ง่ายๆว่า เครื่องปรุงของ จิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียก ว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้ง ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ


๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุก็ตาม

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่าสังขารในไตรลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ และโดยองค์ธรรม

ก. โดยความหมายของศัพท์: "สังขาร" ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจ และการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงแต่งจิต หรือแปลกันง่ายๆ ว่าสิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง


นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้น ยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ
สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕ ) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (สังขารในไตรลักษณ์) คือ ความเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง "สังขาร" ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด

ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จะเห็นว่า "สังขาร" ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น

แต่ "สังขาร" ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม

อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ธ.ค. 2016, 13:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

ต่อ

จะเห็นว่า “สังขาร” ในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่)
แต่
สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์

นอกจากนั้น ธรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์คืออีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง จะเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง

เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า "สังขารขันธ์" สำหรับคำว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม
และ
ใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ "สังขตสังขาร" หรือ "สังขาร" เดี่ยวๆ สำหรับสังขารในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด

การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า "สังขาร" ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า "ปรุงแต่ง" แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น "ความคิดปรุงแต่ง" อย่างหลังเป็น "สิ่งปรุงแต่ง หรือของปรุงแต่ง"

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ธ.ค. 2016, 13:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

อ้างคำพูด:
อโศกะ
สังขาร = ปรุงแต่ง

มีสังขารอยู่ก็มีทุกข์

หมดสังขารก็หมดทุกข์

จาก
viewtopic.php?f=1&t=53331&p=402634#p402634


ลงไว้ให้ท่านอโศกได้ศึกษา :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ธ.ค. 2016, 13:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

เพื่อให้กระจ่างชัด ย้อนกลับไปทวนความแต่ต้นดู

........


สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

ในภาษาไทย มีตัวอย่างมากมายที่คำพูดหรือคำศัพท์เดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันหลายอย่าง ที่ต่างกันเล็กน้อย ยังมีเค้าความหรือลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงหรือพอเทียบเคียงกันได้ก็มี ที่ต่างกันห่างไกลจนไม่มีอะไรเทียบหรือโยงถึงกันเลย ก็มี
เช่น
"กลอน" หมายถึงคำประพันธ์ประเภทหนึ่งก็ได้ หมายถึง ไม้ชัดหรือลูกสลักประตูหน้าต่าง ก็ได้ ลูกตุ้มที่ใช้เป็นอาวุธ ก็ได้

"เขา" ที่หมายถึงเนินอันสูงขึ้นไปบนพื้นดิน และ "เขา" ที่หมายถึงส่วนของกายมีลักษณะแข็ง ที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก กล่าวได้ว่า มีลักษณะคล้ายกันอยู่บ้าง "เขา" ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม กับ "เขา" ที่เป็นชื่อนกพวกหนึ่ง คงพูดได้ยากว่ามีอะไรใกล้เคียงหรือเทียบคล้ายกันได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เข้าใจความหมายนัยต่างๆ ของถ้อยคำดีแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ใช้อยู่จนเคยชิน เมือพบคำเช่นนั้น ที่มีผู้ใช้พูดใช้เขียนในข้อความต่างๆ ตามปกติจะแยกได้ไม่ยากว่า คำนั้น ที่ใช้ในข้อความนั้น มีความหมายอย่างไร โดยมากจะเข้าใจได้ทันที ตัวอย่างเช่น

"จะเย็บผ้าได้ ก็ต้องใช้เข็ม จะสร้างบ้านใหญ่ ท่านให้ลงเข็ม"

"เขาขึ้นเขาตามล่ากวางเพื่อเอาเขา"

"หญิงชราไปในเรือเดินทะเล พอได้ยินว่า จะพบลมใหญ่ ก็จะเป็นลม"

"เขาหักพวงมาลัยหลบเด็กขายพวงมาลัย"

"อย่าทำล้อเล่น รถนี้มีแค่สองล้อ"

"พอหนังจบ เขาก็รีบคว้ากระเป๋าหนังรุดไปทำงาน"

"ตายังตาดี แต่ฟันไม่ดี"

"กาน้ำนั้นหากินในน้ำ กาน้ำนี้คนขายกาแฟใช้หากิน"

"เพราะเสียดสี จึงเสียสี"

"ร่วงโรจไม่ร่วงโรย" ดังนี้ เป็นต้น

ในภาษาบาลีก็เช่นเดียวกัน มีศัพท์มากมายที่มีความหมายหลายนัย ผู้ได้เล่าเรียนดีแล้ว แม้พบศัพท์เหล่านี้ที่ใช้ในความหมายหลายอย่างปะปนกันอยู่ ก็สามารถจับแยกและเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ไม่คุ้นเคยหรือผู้แรกศึกษาอาจสับสนงุนงงหรือถึงกับเข้าใจผิดได้

ตัวอย่างคำจำพวกนี้ ที่มาจากภาษาบาลี
เช่น
"นาค" อาจหมายถึงสัตว์คล้ายงูแต่ตัวใหญ่มาก ก็ได้ หมายถึงช้างใหญ่เจนศึกก็ได้ หมายถึงบุคคลผู้ประเสริฐก็ได้

"นิมิต" ในทางพระวินัย หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องหมายเขตที่ประชุมสงฆ์บ้าง หมายถึง อาการแสวงหาลาภในทางที่ผิดด้วยวิธีขอเขาแบบเชิญชวนโดยนัยบ้าง

แต่ในทางธรรมปฏิบัติ หมายถึง ภาพที่เห็นในใจการเจริญกรรมฐาน

"นิกาย" หมายถึง หมวดตอนในพระไตรปิฎกส่วนพระสูตร ก็ได้ หมายถึง คณะนักบวชหรือกลุ่มศาสนิกที่แบ่งกันเป็นพวกๆก็ได้

"ปัจจัย" ในทางพระวินัย หมายถึง เครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
แต่
ในทางธรรม หมายถึง เหตุ (เหตุปัจจัย) หรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น


ขอให้พิจารณาความหมายของคำศัพท์เดียวกัน ที่ต่างนัยกันออกไป เมื่อใช้ในข้อความต่างๆ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

"ภิกษุรู้รสด้วยลิ้น อร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม เธอไม่ปล่อยให้ความติดใจหรือความขัดใจเข้าครอบงำจิต ภิกษุนี้ ชื่อว่าสำรวมอินทรีย์ คือลิ้น"

"อินทรีย์คือศรัทธา มีการยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ด้วยให้เข้าถึงภาวะผ่องใสเป็นรส ประดุจดังสารส้ม หรือมีการวิ่งแล่นไปหาอารมณ์เป็นรส ภิกษุพึงเจริญอินทรีย์คือศรัทธานั้น"

คำว่า รส ก็ดี อินทรีย์ ก็ดี ในข้อความ ๒ ท่อนนี้ มีความหมายต่างกัน ในข้อความแรก รส หมายถึง สิ่งที่รู้ด้วยลิ้น หรือ สิ่งที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ

อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นเจ้าการในการรับรู้อารมณ์ กล่าวคืออายตนะภายใน

ส่วนข้อความหลัง รส หมายถึงกิจหรือหน้าที่

อินทรีย์ หมายถึงกุศลธรรมที่เป็นเจ้าการในการกำราบอกุศลธรรมที่เป็นปฏิปักษ์

"ภิกษุพึงกระทำโยคะ เพื่อบรรลุธรรมเป็นที่ปลอดภัยจากโยคะ" โยคะคำต้น หมายถึงการประกอบความเพียรในการเจริญภาวนา คือฝึกฝนพัฒนาจิตปัญญา

โยคะ คำหลัง หมายถึงธรรม คือ กิเลสที่ประกอบ คือ เทียมหรือผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในภพ

"ปุถุชน มองเห็นรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง วิญญาณบ้าง ว่าเป็นตน แต่ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น จะเป็นตนหาได้ไม่ เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว มิใช่ตนทั้งสิ้น"

สังขาร คำแรก หมายถึงเพียงขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์ ๕
แต่
สังขารคำหลังครอบคลุมความหมายของสังขตธรรมทั้งหมดที่เป็นไปตามไตรลักษณ์


คำเกี่ยวข้องที่ต้องการอธิบายในที่นี้ คือ "สังขาร" แต่ที่ได้ยกตัวอย่างคำอื่นๆ มาแสดงไว้มากมาย และได้บรรยายมาอย่างยึดยาว ก็เพื่อให้เห็นว่า

คำพูดในภาษาไทยก็ตาม ในภาษาบาลีก็ตาม ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความต่างกันเป็นสองอย่างบ้าง หลายอย่างบ้าง กว้างแคบกว่ากันบ้าง เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันบ้าง ตลอดจนตรงข้ามกันก็มีนั้น มีอยู่มากมายและเป็นของสามัญ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว มาเห็นคำว่าสังขารที่ท่านใช้ในความหมายต่างๆ หลายนัย ก็จะไม่เห็นเป็นของแปลก และจะเข้าใจมองเห็นตามได้ง่าย

เจ้าของ:  asoka [ 13 ธ.ค. 2016, 06:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

s004
กรัชกายทำให้สับสนวุ่นวายเสียเปล่า

สังขาร=ปรุงแต่ง นั้นสั้นและได้ใจความดีแล้ว เข้าใจง่าย นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ง่าย

ตราบใดที่ยังมีการสังขารอยู่ก็ย่อมจะเจอทุกข์อยู่ร่ำไป

หยุดสังขารเสีย ทุกอย่างก็หยุดหมด

หยุดคิดได้ ก็หยุดกรรม เพราะกรรมเริ่มจากคิดปรุงแต่ง
หรือมโนกรรม

อวิชชา ปัจจัยยา สังขารา

สังขาราปัจัจัยา วิญญานัง

อวิชชานิโรโธ สังขารานิโรธา

สังขารานิโรธา วิญญานังนิโรโธ

เข้าใจไหมตรงนี้ กรัชกาย

"หยุดคิดถึงรู้ แต่จะรู้ก็ต้องใช้ความคิด"
เข้าใจลำดับขั้นของโฉลกธรรมที่หลวงปู่ดุลย์กล่าวไว้นี้ไหมล่ะ กรัชกาย และเข้าใจถึงสายสัมพันธ์ของเรื่องนี้กับ

"สังขาร"....อย่างไรไหมล่ะ

s006

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ธ.ค. 2016, 08:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

asoka เขียน:

กรัชกายทำให้สับสนวุ่นวายเสียเปล่า

สังขาร=ปรุงแต่ง นั้นสั้นและได้ใจความดีแล้ว เข้าใจง่าย นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ง่าย

ตราบใดที่ยังมีการสังขารอยู่ก็ย่อมจะเจอทุกข์อยู่ร่ำไป

หยุดสังขารเสีย ทุกอย่างก็หยุดหมด

หยุดคิดได้ ก็หยุดกรรม เพราะกรรมเริ่มจากคิดปรุงแต่ง
หรือมโนกรรม

อวิชชา ปัจจัยยา สังขารา

สังขาราปัจัจัยา วิญญานัง

อวิชชานิโรโธ สังขารานิโรธา

สังขารานิโรธา วิญญานังนิโรโธ

เข้าใจไหมตรงนี้ กรัชกาย

"หยุดคิดถึงรู้ แต่จะรู้ก็ต้องใช้ความคิด"
เข้าใจลำดับขั้นของโฉลกธรรมที่หลวงปู่ดุลย์กล่าวไว้นี้ไหมล่ะ กรัชกาย และเข้าใจถึงสายสัมพันธ์ของเรื่องนี้กับ

"สังขาร"....อย่างไรไหมล่ะ


อ้างคำพูด:
อวิชชา ปัจจัยยา สังขารา

สังขาราปัจัจัยา วิญญานัง

อวิชชานิโรโธ สังขารานิโรธา

สังขารานิโรธา วิญญานังนิโรโธ


หมายถึงอะไรอะนะ :b10:

เจ้าของ:  asoka [ 13 ธ.ค. 2016, 21:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

s006
แสร้งทำเป็นไม่รู้หรือนักวิชาการใหญ่
grin s005

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ธ.ค. 2016, 21:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

asoka เขียน:

แสร้งทำเป็นไม่รู้หรือนักวิชาการใหญ่


ท่านอโศกหมายถึงอะไร ไม่เข้าใจ ลองว่าไปสิขอรับ

เจ้าของ:  asoka [ 13 ธ.ค. 2016, 21:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

แสร้งทำเป็นไม่รู้หรือนักวิชาการใหญ่


ท่านอโศกหมายถึงอะไร ไม่เข้าใจ ลองว่าไปสิขอรับ

s006
ที่ถามมานี่ยังไง

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
อวิชชา ปัจจัยยา สังขารา

สังขาราปัจัจัยา วิญญานัง

อวิชชานิโรโธ สังขารานิโรธา

สังขารานิโรธา วิญญานังนิโรโธ

s004

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ธ.ค. 2016, 21:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

แสร้งทำเป็นไม่รู้หรือนักวิชาการใหญ่


ท่านอโศกหมายถึงอะไร ไม่เข้าใจ ลองว่าไปสิขอรับ

s006
ที่ถามมานี่ยังไง

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
อวิชชา ปัจจัยยา สังขารา

สังขาราปัจัจัยา วิญญานัง

อวิชชานิโรโธ สังขารานิโรธา

สังขารานิโรธา วิญญานังนิโรโธ

s004


ที่นำรูปบาลีนั่นหมายถึงอะไร

เจ้าของ:  asoka [ 13 ธ.ค. 2016, 22:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

onion
ปัจจัยเกิดสังขาร

ปัจจัยดับสังขาร

wink

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ธ.ค. 2016, 22:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สังขาร 2 นัย

asoka เขียน:
onion
ปัจจัยเกิดสังขาร

ปัจจัยดับสังขาร




เออ ไปได้มาแต่ไหน คิกๆๆ เวนกำ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/