วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เห็นท่านอโศกพูดบ่อยๆอริยสัจ สี่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

นี่พูดอีก

อ้างคำพูด:
อโศกะ
ไม่สมกับความเป็นนักวิชาการธรรมะเลยนะกรัชกาย

เรื่องชีวิตมีคนสอนเยอะแยะมากมายหลายสำนวนตีความไปได้มากมาย

แต่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นชี้เฉพาะเน้นตรงลงไปในเรื่องเดียวคือ อริยสัจ 4 ประการ ชาวพุทธทุกคนควรรู้ควรจดจำและพูดเป็นคำเดียวกัน มันจึงจะเกิด อุชุปฏิปันโนคือ ปฏิบัติตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะหว่านคลุมไปทั่วอย่างที่กรัชกายกำลังทำ


viewtopic.php?f=1&t=53302&p=400662#p400662

อ้างคำพูด:
เรื่องชีวิตมีคนสอนเยอะแยะมากมายหลายสำนวนตีความไปได้มากมาย


ความคิดท่านอโศกนี่บ่งบอกอะไรเรา บอกว่า ผู้พูดไม่เข้าใจพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเลยแม้แต่น้อย แม้เท่าตาเล็น (เคยเห็นตาเล็นไหม) คิกๆๆ

พูดมาได้ชีวิต.....สำนวนตีความไปได้มากมาย

แหม ... อยากไปหาที่เจียงใหม่ แล้วถามว่า ที่ท่านอโศกยังนั่งหัวโด่อยู่เนีย เพราะยังไม่ตายใช่ไหม ยังมีชีวิตอยู่ใช่ไหมหือ ว่าแล้วก็เอาไม้หน้าสามฟาดไปสามที :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำหลักมาให้ศึกษา (พุทธธรรมหน้า 846ไป)


อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมสำคัญที่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา มีข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ดังต่อไปนี้



ฐานะและความสำคัญของอริยสัจ


"ภิกษุทั้งหลาย การรู้การเห็นของเราตามเป็นจริง ครบ ๓ ปริวัฏ ๑๒ อาการ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ยังไม่บริสุทธิ์แจ่มแจ้ง ตราบใด ตราบนั้น เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่าเราบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ..." *


"ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ตรัสรู้ ไม่เข้าใจอริยสัจ ๔ ทั้งเรา และเธอ จึงได้วิ่งแล่นเร่ร่อนไป (ในชาติทั้งหลาย) สิ้นกาลนานอย่างนี้"


"ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ที่เที่ยวไปบนผืนแผ่นดินทั้งสิ้นทั้งปวง ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างนั้น กล่าวได้ว่า เป็นยอดเยี่ยม ในบรรดารอยเท้าเหล่านั้น โดยความมีขนาดใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งสิ้นทั้งปวง ก็สงเคราะห์ในอริยสัจ ๔ ฉันนั้น"


"ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุปุพพิกถาแก่อุบาลีคฤหบดี กล่าวคือ เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ โทษ ความบกพร่อง ความเศร้าหมองแห่งกาม ทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ

ครั้นทรงทราบว่า อุบาลีคฤหบดี มีจิตพร้อม มีจิตนุ่มนวล มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตปลาบปลื้ม มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกกังสิกาธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กล่าวคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"


"บุคคลครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) อยู่กับพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อการรู้ การเห็น การบรรลุ การทำให้แจ้ง การเข้าถึง สิ่งที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่บรรลุ ยังไม่กระทำให้แจ้ง ยังไม่เข้าถึง (กล่าวคือข้อที่ว่า) นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"

.........

อ้างอิงที่ *

* ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วินย. 4/16/21 และ สํ.ม.19/1670/530


สามุกกังสิกาธรรมเทศนา แปลว่า พระธรรมเทศนาที่สูงส่ง หรือที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเชิดชู หรือเป็นพระธรรมเทศนาที่พระ พุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง ไม่เหมือนเรื่องอื่นๆ ที่มักตรัสต่อเมื่อมี ผู้่ทูลถาม หรือสนทนาเกี่ยวข้องไปถึง

ขี้เกียจพิมพ์ จะตัดชื่อคัมภีร์ที่อ้างอิงออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่า เป็นลักษณะของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ การสอนความจริงที่เป็นประโยชน์ กล่าวคือ ความจริงที่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตได้

ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แม้เป็นความจริง ก็ไม่สอน และอริยสัจนี้ ถือว่าเป็นความจริงที่เป็นประโยชน์ในที่นี้ โดยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงสนพระทัย และไม่ยอมเสียเวลาในการถกเถียงปัญหา ทางอภิปรัชญาต่างๆ มีพุทธพจน์ที่รู้จักกันมากแห่งหนึ่ง ว่าดังนี้



"ถึงบุคคลผู้ใดจะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงพยากรณ์ (ตอบปัญหา ) แก่เราว่า โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่ มีที่สุด ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่าง

สัตว์หลังจากตายมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ สัตว์หลังจากตาย จะว่ามีอยู่ก็ใช่ จะว่ามีอยู่ก็ไม่ใช่ หรือว่าสัตว์หลังจากตาย จะว่ามีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ก็ใช่" ดังนี้ ตราบใด ข้าพเจ้าก็จะไม่ครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ในพระผู้มีพระภาค ตราบนั้น ตถาคตก็จะไม่พยากรณ์ความข้อนั้นเลย และบุคคลผู้นั้น ก็คงตายไปเสียก่อนเป็นแน่"


"เปรียบเหมือนบุรุษ ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่อาบยาไว้อย่างหนา มิตรสหาย ญาติสาโลหิตของเขา ไปหาศัลยแพทย์ผู้ชำนาญมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวว่า ตราบใด ที่ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักคนที่ยิงข้าพเจ้า ว่าเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรว่าอย่างนี้ ร่างสูง เตี้ย หรือปานกลาง ดำ ขาว หรือคล้ำ อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้น ข้าพเจ้าจะยังไม่ยอมให้เอาลูกศรนี้ออก ตราบนั้น

ตราบใด ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่า ธนูที่ใช้ยิงข้าพเจ้านั้น เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเป็นเกาทัณฑ์ สายที่ใช้ยิงนั้น ทำด้วยปอ ด้วย ผิวไม้ไผ่ ด้วยเอ็น ด้วยผ่าน หรือด้วยเยื่อไม้ ลูกธนูที่ใช้ยิงนั้น ทำด้วยไม้เกิดเอง หรือไม้ปลูก หางเกาทัณฑ์ เขาเสียบด้วยขนปีกแร้ง หรือนกตะกรุม หรือเหยี่ยว หรือนกยูงหรือนกสิถิลหนุ เกาทัณฑ์นั้น เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ลูกธนูที่ใช้ยิงเรานั้น เป็นชนิดไร ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้เอาลูกศรออก ตราบนั้น"


"บุรุษนั้น ยังไม่ทันได้รู้ความที่ว่านั้นเลย ก็จะต้องตายไปเสียโดยแน่แท้ ฉันใด...บุคคลนั้น ก็ฉันนั้น"


"แน่ะมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง แล้วจะมีการครองชีวิตประเสริฐ ขึ้นมาก็หาไม่ เมื่อมีทิฏฐิว่าโลกไม่เที่ยง แล้วจะมีการครองชีวิตประเสริฐขึ้นมาก็หาไม่ เมื่อทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยงก็ตาม ชาติก็ยังคงอยู่ ชราก็ยังคงอยู่ มรณะก็ยังคงมีอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ยังคงอยู่ ซึ่ง (ความทุกข์เหล่านี้แหละ) เป็นสิ่งที่เราบัญญัติให้กำจัดเสียในปัจจุบันทีเดียว ฯลฯ"


"ฉะนั้น เธอทั้งหลาย จงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ ว่าเป็นปัญหาที่พยากรณ์เถิด

อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ คือ ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะเหตุไร เราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นหลักเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน

อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ คือ ข้อว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นหลักเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มีมากมาย แต่ทรงนำมาสอนเพียงเล็กน้อย เหตุผลที่ทรงกระทำเช่นนั้น ก็เพราะสอนแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้แก้ปัญหาได้ และสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ใช้แก้ปัญหาได้นั้น ก็คือ อริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกับที่ตรัสในพุทธพจน์ข้างต้นนั้น ดังความในบาลีว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าสีสวัน ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบใบประดู่ลายจำนวนเล็กน้อย ถือไว้ด้วยฝ่ามือ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า


รูปภาพ


"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายสำคัญว่ากระไร ใบประดู่ลายเล็กน้อย ที่เราถือไว้ด้วยฝ่ามือกับใบที่อยู่บนต้นทั้งป่าสีสปาวัน ไหนจะมากกว่ากัน?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลายจำนวนเล็กน้อย ที่พระผู้มีพระภาคถือไว้ด้วยฝ่าพระหัตถ์ มีประมาณน้อย ส่วนที่อยู่บนต้น ในสีสปาวันนั่นแล มากกว่าโดยแท้


"ฉันนั้น เหมือนกันภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว มิได้บอกแก่เธอทั้งหลาย มีมากมายกว่า เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่หลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความ รู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน


"ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่า นี้ทุกข์ เราบอกว่า นี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า นี่ทุกขนิโรธ เราบอกว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะข้อนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ ข้อนี้เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ข้อนี้เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงบอก


"เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"


อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมจำเป็น ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าย้ำว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย สอนให้ชาวบ้านรู้เข้าใจอริยสัจ ดังบาลีว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ ก็ดี เหล่าชนที่พอจะรับฟังคำสอนก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ เป็นสาโลหิต ก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอริยสัจ


"ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นของแท้อย่างนั้น ไม่คลาดเคลื่อนไปได้ ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ...

"ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะ ในโลก พร้อมทั้งเทวะ ทั้งมาร ทั้งพรหม ในหมู่ประชาพร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวะและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ (เพราะเป็นสิ่งที่ที่ตถาคต ผู้เป็นอริยะ ได้ตรัสรู้ และได้แสดงไว้)" * (* สํ.ม.19/1727-8/545 (ความในวงเล็บ เป็นไขความของอรรถกถา - สํ.อ.3/411)


สำหรับความหมายของอริยสัจแต่ละข้อ พึงทราบตามบาลี ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์ พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็เป็นทุกข์ มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาที่ทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความเพลินและความติดใจ คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ การที่ตัณหานั้นแลดับไปได้ ด้วยการสำรอกออกหมดไม่เหลือ การสละเสียได้ สลัดออก พ้นไปได้ ไม่หน่วงเหนี่ยวพัวพัน


“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปดนี้แล ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ” * (* ที่มาหลายแห่ง เช่น ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นต้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความออกไปอีกเล็กน้อย

๑.ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือ สภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่างๆของมนุษย์
กล่าวให้ลึกลงไปอีก
หมายถึง
สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่ง ในรูปใดรูปหนึ่ง แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน


๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆว่า สมุทัย แปลว่า เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความอยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้จะเป็น จะไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดในรูปใดรูปหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุขชนิดที่เรียกว่า ไร้ไฝฝ้าและไม่อืดเฟ้อ


๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่ง โล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆว่า นิพพาน


๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐมีองค์ประกอบแปด คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน เช่น อดอาหาร กลั้นลมหายใจ เป็นต้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท

ทั้งอริยสัจ และปฏิจจสมุปบาท ต่างก็เป็นหลักธรรมสำคัญ

เมื่อมีผู้ถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรืออาจตอบว่า ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ คำตอนทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้

ข้อควรทราบก็คือ คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้ว ก็ถูกต้องด้วยกัน และมีความหมายลงกันได้ เป็นอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ และอริยสัจก็มีความหมายครอบคลุมปฏิจจสมุปบาท

เรื่องนี้ เป็นอย่างไร พึงพิจารณาเริ่มตั้งแต่หลักฐานที่มาในคัมภีร์


คัมภีร์วินัยปิฎก (วินย.4/1-7/1-8) เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ กำลังทรงเสวยวิมุตติสุขและพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาททั้งโดยอนุโลม (กระบวนการเกิดทุกข์) และโดยปฏิโลม (กระบวนการดับทุกข์) ตลอดเวลา ๑ สัปดาห์ ครั้นสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์แล้ว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อไป ทรงพระดำริว่า

“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์รื่นเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก กล่าวคือ ...นิพพาน


ส่วนในพระสูตร (ม.มู12/317-326/317-333...) เมื่อปรากฏข้อความเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนนี้ ก็จะเล่าความแนวเดียวกัน เริ่มแต่พุทธดำริที่เป็นเหตุให้เสด็จออกผนวช การเสด็จออกผนวช การศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส การบำเพ็ญและการละเลิกทุกรกิริยา การทรงกลับเสวยพระกระยาหาร แล้วบรรลุฌานและตรัสรู้ วิชชา ๓

ในตอนตรัสรู้ จะมีข้อความที่ตรัสเล่าว่า

“ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข...มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริบูรณ์อยู่”

“เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากสิ่งมั่วหมอง นุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก (วิชชาที่ ๑)...

ได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ ก็มองเห็นหมู่สัตว์ที่จุติอุบัติอยู่ (วิชชาที่ ๒)...

ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ (วิชชาที่ ๓)“




ต่อจากนี้ ก็จะมีคำบรรยายพุทธดำริ ในการที่จะทรงประกาศธรรม ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับ ในวินัยปิฎก ที่ยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้นนั้น


จะเห็นว่า วินัยปิฎกเล่าเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ ระยะเสวยวิมุตติสุข เริ่มแต่พิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท จึงทรงดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ที่ได้ตรัสรู้


ส่วนพระสูตร เล่าเหตุการณ์ก่อนตรัสรู้เป็นลำดับมาจนถึงตรัสรู้วิชชา ๓ แล้วข้ามระยะเสวยวิมุตติสุขทั้งหมดไป มาลงที่พุทธดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เช่นเดียวกัน


ผู้ถือเอาความตอน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ในวินัยปิฎก และพุทธดำริปรารภการประกาศธรรม ทั้งในวินัยปิฎก และในพระสูตร ย่อมกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท


ส่วนผู้พิจารณาในพระสูตร เฉพาะเหตุการณ์ตอนตรัสรู้วิชชา ๓ และจับเฉพาะวิชชาที่ ๓ อันเป็นตัวการตรัสรู้แท้ๆ (เฉพาะวิชชา ๒ อย่างแรกยังนับไม่ได้ว่าเป็นการตรัสรู้ และไม่จำเป็นสำหรับนิพพาน) ก็ได้ความหมายว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ


อย่างไรก็ดี คำตอบทั้งสองนั้น แม้จะถูกต้องทั้งคู่ แต่ก็มีความหมายบางอย่างที่เป็นพิเศษกว่ากันและขอบเขตบางแง่ที่กว้างขวางกว่ากัน ซึ่งควรจะทำความเข้าใจ เพื่อมองเห็นเหตุผล ในการแยกแสดงเป็นคนละหลัก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายที่ตรงกันของหลักใหญ่ทั้งสองนั้น มองเห็นได้ง่าย เพื่อความรวบรัด ขอให้ดูหลักอริยสัจ เทียบกับหลักปฏิจจสมุปบาท ดังนี้

๑. สมุทยวาร: อวิชชาเกิด => สังขารเกิด => ฯลฯ => ชาติเกิด => ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส เกิด

๒. นิโรธวาร: อวิชชาดับ => สังขารดับ => ฯลฯ => ชาติดับ => ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ดับ


ข้อ ๑. คือ ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร แสดง กระบวนการเกิดทุกข์ เท่ากับรวมอริยสัจข้อ ๑ (ทุกข์) และ ๒ (สมุทัย) ไว้ในข้อเดียวกัน
แต่
ในอริยสัจ แยกเป็น ๒ ข้อ เพราะแยกเอาท่อนท้าย (ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ฯลฯ) ที่เป็นผลปรากฏ ออกไปตั้งต่างหาก เป็นอริยสัจข้อแรก ในฐานะเป็นปัญหาที่ประสบ ซึ่งจะต้องแก้ไข แล้วจึงย้อนกลับมาหาท่อนที่เป็นกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ข้อที่ ๒ ในฐานะเป็นการสืบสาวหาต้นเหตุของปัญหา

ข้อ ๒ . คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร แสดง กระบวนการดับทุกข์ เท่า กับ อริยสัจข้อที่ ๓ (นิโรธ) แสดงให้เห็นว่า เมื่อแก้ปัญหาถูกต้องตรงสาเหตุแล้ว ปัญหานั้นจะดับไปได้อย่างไรตามแนวทางของเหตุปัจจัย


แม้ว่าโดยตรง ปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ จะตรงกับอริยสัจข้อที่ ๓ แต่ก็ถือว่ากินความรวมถึงอริยสัจข้อที่ ๔ ได้ด้วย เพราะกระบวนการดับสลายตัวของปัญหา ย่อมบ่งชี้แนวทางดำเนินการ หรือวิธีการทั่วไป ที่จะต้องลงมือปฏิบัติ ในการจดการแก้ปัญหานั้นไปด้วยในตัว กล่าวคือชี้ให้เห็นว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ณ จุดใดๆ


เมื่อสรุปอริยสัจ ให้เหลือน้อยลงอีก ก็ได้ ๒ ข้อ คือ


-ฝ่ายมีทุกข์ (ข้อ ๑ และ ๒) กับ

-ฝ่ายหมดทุกข์ (ข้อ ๓ และ ๔)


ปฏิจจสมุปบาท ๒ นัยนี้ ในที่บางแห่ง เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับ คือ

-ปฏิจจสมุปบาท สมุทัยวาร ถือเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๒ (สมุทัย)

-ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร เป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๓ (นิโรธ) * (*สํ.นิ.16/251-252/126-127เป็นต้น)

แต่ในคำจำกัดความข้างต้น แสดงเฉพาะตัณหาอย่างเดียว ว่าเป็นสมุทัย และการดับตัณหา ว่าเป็นนิโรธ ทั้งนี้ เพราะตัณหาเป็นกิเลสตัวเด่น เป็นตัวแสดงที่ปรากฏชัด หรือเป็นขั้นออกโรงแสดงบทบาท จึงจับเอาเป็นจุดที่พุ่งความสนใจ

อย่างไรก็ดี กระบวนการที่พร้อมทั้งโรง รวมถึงหลังฉาก หรือหลังเวทีด้วย ย่อมเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนแง่ที่ปฏิจจสมุปบาท กับ อริยสัจ พิเศษ หรือแปลกจากกัน พอสรุปได้ ดังนี้

๑. หลักธรรมทั้งสอง เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

- ปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริง ตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

- อริยสัจ เป็นหลักความจริง ในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้นคว้า และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ


โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติการแสวงหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้า
เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ พบว่ามีทางแก้ไข ไม่หมดหวัง จึงกำหนรายละเอียด หรือจุดที่ต้องแก้ไข และกำหนดเป้าหมายใช้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการนั้น


แล้วโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอน เพื่อให้ผู้รับคำสอนทำความเข้าใจอย่างมีระเบียบ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอน และการประพฤติปฏิบัติของผู้รับคำสอน


ส่วนปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และเป็นเนื้อหาทางวิชาการ ที่จะต้องศึกษา ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทบทวนหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ


๒. ข้อที่แปลก หรือพิเศษกว่ากัน อย่างสำคัญ อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับอริยสัจ ข้อที่ ๓ และ ๔ (นิโรธ และ มรรค) กล่าวคือ


ก. เมื่อเทียบกับอริยสัจ ข้อ ๓ (นิโรธ) จะเห็นว่า

ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร กล่าวถึงนิโรธด้วยก็จริง แต่มุ่งแสดงเพียงกระบวนการเข้าถึงนิโรธ ไม่ได้มุ่งแสดงสภาวะของตัวนิโรธ หรือนิพพานเอง ด้วยเหตุนี้ ในพุทธดำริ เมื่อจะทรงประกาศธรรม จึงแยกธรรมทีทรงพิจารณาเป็น ๒ ตอน คือ

- ตอนแรก กล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท อย่างข้างต้น

- ต่อจากนั้น มีพุทธดำริต่อไปอีกว่า "แม้อันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน"

นี้แสดงว่า ทรงแยกธรรมที่ตรัสรู้เป็น ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท กับ นิโรธ นิพพาน


ส่วนอริยสัจ ข้อที่ ๓ คือ นิโรธ มุ่งแสดงตัวสภาวะของนิโรธเป็นสำคัญ แต่มีความหมายเล็งไปถึงกระบวนการเข้าถึงนิโรธแฝงอยู่ด้วย


ข. แม้ว่า ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร จะกินความรวมถึงอริยสัจ ข้อ ๔ คือ มรรค ด้วย แต่ก็ยังไม่ให้ผลในทางปฏิบัติชัดเจน เพราะ

- ปฏิจจสมุปบาท แสดงแต่ตัวกระบวนการล้วนๆ ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติเท่านั้น มิได้ระบุลงไปให้ชัดเจนว่า สิ่งที่จะต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะต้องทำอย่างไร กระบวนการอย่างนั้นจึงจะเกิดขึ้น มีลำดับขั้นการปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกลวิธีต่างๆ ในการกระทำ คือ ไม่ได้จัดวางระบบวิธีการไว้โดยเฉพาะ เพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผล เหมือนแพทย์รู้วิธีแก้ไขโรค แต่ไม่ได้สั่งยาและวิธีปฏิบัติในการรักษาไว้ให้

- ส่วนในอริยสัจ มีหลักข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งจัดขึ้นไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติของมนุษย์โดยเฉพาะ ให้เป็นสัจจะข้อหนึ่งต่างหาก ในฐานะข้อปฏิบัติที่พิสูจน์แล้ว ยืนยันได้ว่านำไปสู่จุดหมายได้แน่นอน

อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค นี้ แสดงหลักความประพฤติปฏิบัติไว้อย่างละเอียดกว้างขวางพิสดาร ถือว่าเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติ หรือระบบจริยธรรมทั้งหมด ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง หรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ


เมื่อเทียบหลักอริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท ถือว่า

- ปฏิจจสมุปบาท เป็น มัชเฌนธรรมเทศนา คือ หลักธรรมที่แสดงเป็นกลางๆ หรือธรรมสายกลาง ตามที่ธรรมชาติเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน ครอบคลุมอริยสัจ ๓ ข้อแรก

- ส่วนอริยสัจ ข้อที่ ๔ มรรค เป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง สำหรับมนุษย์ที่จะปฏิบัติ เพื่อให้ผลเกิดขึ้นแก่ตนโดยเป็นไปตามธรรมดานั้น เป็นเรื่องส่วนพิเศษ ซึ่งท่านจัดแถมให้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ ที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ นัย คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน กับ อริยสัจ ๔

ทั้งสองนัย ว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ


๑. ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่มประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้ลึกซึ้ง ยากยิ่งนักที่สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ
การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้ หรือพูดให้สัมพันธ์กับนัยที่สองว่า เป็นส่วนแก่นแท้ของอริยสัจ เป็นด้านธรรมชาติและธรรมดาของมัน เป็นตัวแท้ๆ ล้วนๆ ของธรรม ซึ่งเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง

๒.อริยสัจ ๔ ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และในคราวทรงแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา
การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า อริยสัจ ๔ คือ ธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะที่จัดเข้าลำดับเป็นกระบวนการขั้นตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้สอนเข้าใจง่าย และปฏิบัติได้ผล


พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน เป็นแต่ธรรมล้วนๆตามธรรมชาติ

ส่วนอริยสัจ ๔ คือ ธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือที่นำเสนอในเชิงที่เอื้อต่อความเข้าใจ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์


พร้อมนั้นก็พูดได้ว่า อริยสัจ ๔ คือธรรมทั้งหมด มีจุดซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่ปฏิจจสมุปบาท และนิพพานเท่านั้น

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาท และนิพพานแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจพุทธธรรมทั้งหมด (คือ รวมทั้งอริยสัจ ๔ ด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
อ้างคำพูด:
"ฉันนั้น เหมือนกันภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว มิได้บอกแก่เธอทั้งหลาย มีมากมายกว่า เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่หลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความ รู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน


"ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่า นี้ทุกข์ เราบอกว่า นี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า นี่ทุกขนิโรธ เราบอกว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะข้อนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ ข้อนี้เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ข้อนี้เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงบอก


"เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"


อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมจำเป็น ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าย้ำว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย สอนให้ชาวบ้านรู้เข้าใจอริยสัจ ดังบาลีว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ ก็ดี เหล่าชนที่พอจะรับฟังคำสอนก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ เป็นสาโลหิต ก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ"

:b4:
ทำดีแล้วนี่กรัชกายที่ไปสรรหาค้นคว้าก้อปปี้มามากมายเรื่องของอริยสัจ 4

ทีนี้คงแจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองแล้วนะว่า ทำไมพระบรมศาสดาจึงทรงชี้ตรงไปเฉพาะในเรื่องอริยสัจ 4

ไม่มีตรงไหนที่ทรงบอกว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอจงมาศึกษาเรื่องของชีวิตกันเถอะ"

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:


"ฉันนั้น เหมือนกันภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว มิได้บอกแก่เธอทั้งหลาย มีมากมายกว่า เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่หลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความ รู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน


"ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่า นี้ทุกข์ เราบอกว่า นี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า นี่ทุกขนิโรธ เราบอกว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะข้อนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ ข้อนี้เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ข้อนี้เป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงบอก


"เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"


อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมจำเป็น ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าย้ำว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย สอนให้ชาวบ้านรู้เข้าใจอริยสัจ ดังบาลีว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ ก็ดี เหล่าชนที่พอจะรับฟังคำสอนก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ เป็นสาโลหิต ก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ"
:b4:
ทำดีแล้วนี่กรัชกายที่ไปสรรหาค้นคว้าก้อปปี้มามากมายเรื่องของอริยสัจ 4

ทีนี้คงแจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองแล้วนะว่า ทำไมพระบรมศาสดาจึงทรงชี้ตรงไปเฉพาะในเรื่องอริยสัจ 4

ไม่มีตรงไหนที่ทรงบอกว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอจงมาศึกษาเรื่องของชีวิตกันเถอะ"



ถามที่ กท.โน่น

viewtopic.php?f=1&t=53302&p=400733#p400733

หลบมานี่ จึงนำมาถามที่นี่อีก ดูสิจะหลบไปไหน :b32:


อ้างคำพูด:
อโศกะ
บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างหน้าตาเฉย
มีสูตรไหนบ้างที่ตรัสว่าธรรมะที่พระองค์ทรงสอนเป็นเรื่องชีวิต

พระพุทธเจ้าทรงสอนชี้ชัดลงไปในเรื่องทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีดับเหตุทุกข์

เรื่องชีวิตมันมีประเด็นมากเกินไป หากไม่ชี้ชัดย่อมทำให้เบลอและงงงวย กรัชกายอย่ามาพยายามชักใบให้เรือเสียเลยนะเป็นบาปมหันต์


อ้างคำพูด:
กรัชกายถาม

ถามนะตอบชัดๆ

ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ มันเกาะอยู่ที่ก้อนหินหรือต้นไม้ใบหญ้า หรืออยู่ที่ชีวิตนี่

ข้อไหน 1 หรือ 2

1. ทุกข์ที่ก้อนหิน

2. ทุกข์ สมุทัย อยู่ที่คนที่ชีวิตนี้


จะไปหาทุกข์ สมุทัย ที่ก้อนหินหรือบนฟ้าคงได้รู้กันก็คราวนี้แหละ :b32:

ถ้าหลบไม่ตอบอีก จะตีหน้าแข้งด้วยไม้หน้าสาม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจในอริยสัจ

สิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับอริยสัจ คือการรู้และทำหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้อให้ถูกต้อง ในการแสดงอริยสัจ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจแต่ละข้อสัมพันธ์ตรงกันกับหน้าที่ หรือกิจต่ออริยสัจข้อนั้น จึงจะชื่อว่าเป็นการแสดงอริยสัจ และเป็นการปฏิบัติธรรมโดยชอบ
มิฉะนั้น จะทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งในความเข้าใจ และการประพฤติปฏิบัติ


แม้แต่ความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น เห็นว่า พระพุทธศาสนาสอนให้มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น ก็เกิดจากการไม่เข้าใจเรื่องกิจในอริยสัจนี้ด้วย


กิจในอริยสัจ คือ หน้าที่อันจะพึ่งทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง หรือหน้าที่ต่ออริยสัจข้อนั้นๆ มี ๔ อย่าง ตามบาลีว่า * (* มาในธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นต้น)

๑.ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ *(*ควรรู้เท่าทัน)

๒.ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ

๓. ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ ทุกขนิโระอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง

๔.ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรเจริญ



จับมาเรียงให้ดูง่าย ดังนี้

๑. ปริญญา การกำหนดรู้ หรือรู้เท่าทัน เป็นกิจในทุกข์ หมายถึง การศึกษาให้รู้จัก ให้เข้าใจสภาวะที่เป็นทุกข์ ตามที่มันเป็นของมัน
พูดง่ายๆ ว่า การทำความเข้าใจปัญหา และกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน จัดเป็นขั้นเริ่มต้น ที่จะช่วยให้การดำเนินการขั้นต่างๆ ไป เป็นไปได้ และตรงปัญหา

๒.ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย หมายถึง การกำจัดเหตุแห่งทุกข์ ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป
พูดง่ายๆ ว่า การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา


๓. สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ หมาย ถึง การประจักษ์แจ้ง หรือบรรลุถึงภาวะดับทุกข์
พูดง่ายๆ ว่า การเข้าถึงภาวะที่แก้ไขปัญหาได้เสร็จสิ้น ภาวะหมดปัญหา หรือภาวะปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ


๔. ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค แปลตามตัวอักษรว่า การทำให้มีให้เป็นขึ้น คือ ทำให้เกิดขึ้น และเจริญเพิ่มพูนขึ้น
หมายถึง การฝึกอบรมพัฒนาตามข้อปฏิบัติของมรรค การลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีที่จะกำจัดเหตุแห่งทุกข์
พูดง่ายๆ ว่า การกระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย หรือการกำหนวางรายละเอียดวิธีปฏิบัติแล้วลงมือแก้ไขปัญหา

กิจทั้ง ๔ นี้ เป็นข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง และเสร็จสิ้น ในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง ให้ตรงข้อกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2016, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการปฏิบัติจริงนั้น การจะทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ต้องอาศัยความรู้ หรือญาณ การรู้กิจในอริยสัจ เรียกว่า กิจญาณ (บาลี ๓ กิจฺจญาณ) เมื่อเอาญาณมาเชื่อมโยงอริยสัจแต่ละข้อ เข้ากับกิจของมัน ก็จะเห็นเห็นลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการสำหรับแก้ปัญหาได้ทุกระดับ ดังนี้

๑. กิจญาณ ใน ทุกข์ (รู้ว่าทุกข์ พึงปริญญา) คือ รู้ สภาวะที่เป็นทุกข์ รู้สภาพอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ รู้ตำแหน่งแห่งที่ของทุกข์ ซึ่งจะต้องตามสภาพที่แท้จริงของมัน (คือ ไม่ใช่รู้ตามที่เราเอยากให้มันเป็น หรือตามที่เราเกลียดชังมัน เป็นต้น)

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นแถลง หรือสำรวจปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจ และรู้ขอบเขต

๒. กิจญาณ ใน สมุทัย (รู้ว่าสมุทัย พึงปหาน) คือ รู้สิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งจะต้องกำจัดเสีย

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นสืบค้น วิเคราะห์ และวินิจฉัยข้อมูลของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป

๓. กิจญาณ ใน นิโรธ (รู้ว่านิโรธ พึงสัจฉิกิริยา) คือ รู้ภาวะดับทุกข์ ซึงจะต้องทำให้ประจักษ์แจ้ง

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นเล็งรู้ภาวะหมดปัญหา ที่เอาเป็นจุดหมาย ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ โดยรู้เข้าใจอยู่ว่า การเข้าถึงจุดหมายนั้น จะสำเร็จ หรือเป็นไปได้อย่างไร

๔. กิจญาณ ใน มรรค (รู้ว่านิโรธ พึงภาวนา) คือ รู้มรรคา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งจะต้องฝึกฝนปฏิบัติพัฒนาเจริญเดินหน้าไป

ถ้าจัดเป็นขั้นได้แก่ ขั้นกำหนดวาง หรือรับทราบวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดทั้งหลายในการแก้ไขกำจัดสาเหตุของปัญหานั้น ซึ่งจะต้องลงมือปฏิบัติ หรือดำเนินการต่อไป


พูดให้ง่าย คือ รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเราคืออะไร ทุกข์นั้นเกิดจากอะไร เราต้องการหรือพึงต้องการผลสำเร็จอะไร และจะเป็นไปได้อย่างไร เราจะต้องทำอะไรบ้าง

กิจญาณนี้ เป็นอย่างหนึ่ง ในญาณ ๓ ที่เกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ซึ่งให้เป็นเกณฑ์สำหรับวัดความตรัสรู้ กล่าวคือ เมื่อใดรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง ด้วยญาณครบทั้ง ๓ (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ รายการ) แล้ว เมื่อนั้น จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจ หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2016, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ญาณ ๓ นั้น เรียกชื่อเต็มว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ ๓ หรือปริวัฏ ๓ แห่งญาณทัศนะ หมายถึง การหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ กล่าวคือ

๑. สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง ตามที่เป็นๆว่า
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
หรือว่า
ทุกข์ คืออย่างนี้ๆ
เหตุแห่งทุกข์ คือ อย่างนี้ๆ
ภาวะดับทุกข์ คืออย่างนี้ๆ
ทางแก้ไขดับทุกข์ คือ อย่างนี้ๆ

สัจญาณ ในอริยสัจ ครบ ๔ ข้อ ก็เป็นอันครบ ๑ รอบ เป็น ปริวัฏ ๑


๒.กิจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้หน้าที่ที่จะต้องทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า
ทุกข์ควรกำหนดรู้
สมุทัยควรละเสีย เป็นต้น ดังได้อธิบายแล้ว

กิจญาณ ในอริยสัจ ครบ ๔ ข้อ ก็เป็นอันครบอีก ๑ รอบ เป็นอีก ปริวัฏ ๑


๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่า กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้น ได้ทำเสร็จแล้ว คือ รู้ว่า
ทุกข์ควรกำหนดรู้ ก็ได้กำหนดรู้แล้ว
สมุทัยควรละ ก็ได้ละแล้ว
นิโรธควรทำให้แจ้ง ก็ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
มรรคควรปฏิบัติ ก็ได้ปฏิบัติแล้ว

กตญาณ ในอริยสัจ ครบ ๔ ข้อ ก็เป็นอันครบอีก ๑ รอบ เป็นอีก ปริวัฏ ๑


โดยนัยนี้ ญาณ ๓ นั้น ก็เป็นไปในอริยสัจ ๔ ญาณละ ๑ รอบ จึงรวมเป็น ๓ รอบ (๓ ปริวัฏ) เรียกเต็มว่า ญาณทัศนะ มีปริวัฏ ๓

เมื่อแจกนับอย่างละเอียด ปริวัฏ (วนรอบ) ๓ นี้ แต่ละรอบ ก็คือเป็นไปในอริยสัจ ๔ ครบทุกข้อ จึงรวมเป็น ๑๒ รายการ

เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มีอาการ ๑๒ จึงพูดให้เต็มว่า ญาณทัศนะ มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๑๒


พระพุทธเจ้าทรงมีญาณทัศนะตามเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ ครบปริวัฏ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ ได้ความรู้แจ้งครบ ๑๒ รายการแล้ว จึงปฏิญาณตนได้ว่า ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว

หลักญาณทัศนะ มีอาการ ๑๒ หรือ ความรู้ครบ ๑๒ รายการนี้ ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบความสำเร็จในการปฏิบัติการแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง

………..

ญาณ ๓ นี้มาในธัมมจักกัปปวัตนสูตร (เขียนเต็มเลียนบาลี เป็น สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 111 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร