วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 19:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คณะทำงานของปัญญา

คำว่าสนามปฏิบัติการของปัญญาในที่นี้ หมายถึงหลักธรรมชุดที่เรียกว่า โพชฌงค์

โพชฌงค์เป็นทั้งธรรมเกื้อหนุนในการเจริญสมาธิ และเป็นที่ใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ที่สูงขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ วิชชาและวิมุตติ

โพชฌงค์มี ๗ ข้อ คือ สติ ธรรมวิจัย (ธัมมวิจยะ ก็เขียน) วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกาย เย็นใจ) สมาธิ และอุเบกขา

มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ไว้สั้นๆว่า

"เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้น จึงเรียกว่า โพชฌงค์"
(สํ.ม.19/390/104; 435/120)


อรรถกถาแปลตามรูปศัพท์ว่า องค์คุณของผู้ตรัสรู้หรือผู้จะตรัสรู้บ้าง องค์ประกอบของการตรัสรู้บ้าง
(ดู วิสุทฺธิ)3/329 สํ.อ.3/220)


ว่าโดยหลักการ โพชฌงค์เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับนิวรณ์ ๕ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องโพชฌงค์ไว้ควบคู่ไปด้วยกันกับนิวรณ์เป็นส่วนมาก โดยฐานทำหน้าที่ตรงข้ามก้น แม้คำบรรยายคุณลักษณะต่างๆ ของโพชฌงค์ ก็เป็นข้อความตรงกันข้ามกับคำบรรยายลักษณะของนิวรณ์นั่นเอง ดังเช่น

"ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ เป็นธรรมให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน"

ความที่เคยกล่าวมาข้างต้น แสดงชัดอยู่แล้วว่า นิวรณ์เป็นสิ่งที่ทำลายคุณภาพจิต หรือทำให้จิตเสียคุณภาพ ลักษณะนี้น่าจะใช้เป็นเครื่องวัดความเสื่อมเสียสุขภาพจิตได้ด้วย

ส่วนโพชฌงค์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม ก็เป็นธรรมที่ส่งเสริมคุณภาพจิต และช่วยให้มีสุขภาพจิตดี เป็นเครื่องบำรุงและวัดสุขภาพจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ ๗ นั้น มีความหมายรายข้อ ดังนี้

๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องหรือต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น

ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังมองดูพิจารณาเฉพาะหน้า * จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา *

๒. ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาวิจัยสิ่งที่สติกำหนดจับไว้ หรือธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรมหรือสิ่งที่เกื้อกุลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุดในกรณีนั้นๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ *

๓. วีริยะ ความเพียร หมายถึง ความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเห็นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่ให้หดหู่ถดถอยหรือท้อแท้

๔. ปีติ ความอิ่มใจ หมายถึง ความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีดิ์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ

๕. ปัสสัทธิ ความสงบเย็นกายใจ หมายถึง ความผ่อนคลายกายใจ สงบระงับ เรียบรื่น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย

๖. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึง ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน

๗. อุเบกขา ความเฉยดูอยู่ หมายถึงมีใจเป็นกลาง วางทีเฉย ใจเรียบสงบ นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วอยู่กับงานแล้ว ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง หรือดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้หรือที่มันควรจะเป็น หรือยังไม่ควรขวนขวาย ไม่วุ่นวาย ไม่สอดส่าย ไม่แทรกแซง

………….

อ้างอิงที่ *

* ได้แก่ สติในการเจริญสติปัฏฐานทั่วๆไป ดู ม.อุ.14/290/198 ....
* สํ.ม.19/374/99
* ม.อ. 3/552 และ สํ.อ.3/385 ให้ความหมายอย่างหนึ่งซึ่งกว้างมากว่า ธรรมวิจัย ได้แก่ ญาณ คือความหยั่งรู้หยั่งเห็นที่ประกอบร่วมอยู่กับสตินั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พาดพิงถึงนิวรณ์ธรรม ๕ ตัว ลงแทรกไว้ด้วย

ศัตรูของสมาธิ

นิวรณ์เป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิขาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง


คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า


"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"


นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ พึงระวังอย่านำมาสับสนกับสมถะ หรือสมาธิ หากพบที่ใด พึงตระหนักไว้ว่า นี้ไม่ใช่สมถะ นี้ไม่ใช่สมาธิ นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ


๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ
กับ
มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป
กับ
กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

๕. วิจิกิจฉา ความ ลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น
พูดสั้นๆว่า
คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

..........

อ้างอิงที่ *

* นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน ....ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ...ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา)

อภิชฌา = กามฉันท์

อภิชฌา = โลภะ

คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖)

(นอกนั้น ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งนิวรณ์ และโพชฌงค์ แบ่งแต่ละข้อออกเป็น ๒ ข้อย่อย รวมเป็นนิวรณ์ ๑๐ โพชฌงค์ ๑๔ คือ (สํ.ม.14/552-567/153-5)

ก. นิวรณ์ ๕ ย่อยเป็น ๑๐ ได้แก่

๑. = ๑. กามฉันท์ภายใน (ปรารภขันธ์ของตน) -- ๒. กามฉันท์ภายนอก (ปรารภขันธ์ผู้อื่น)
๒. = ๓. พยาบาทภายใน --- ๔. พยาบาทภายนอก
๓. = ๕ ถีนะ --- ๖ มิทธะ
๔. = ๗. อุทธัจจะ --- ๘. กุกกุจจะ
๕. = ๙. วิจิกิจฉาในธรรมภายใน --- ๑๐. วิจิกิจฉาในธรรมภายนอก

ข. โพชฌงค์ ๗ ย่อยเป็น ๑๔ ได้แก่

๑. = ๑. สติในธรรมทั้งหลายภายใน -- ๒. สติในธรรมทั้งหลายภายนอก
๒. = ๓. วิจัยในธรรมทั้งหลายภายใน -- ๔. วิจัยในธรรมทั้งหลายภายนอก
๓. = ๕ วิริยะทางกาย --- ๖. วิริยะทางใจ
๔. = ๗. ปีติมีวิตกมีวิจาร --- ๘. ปิติไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
๕. = ๙ กายปัสสัทธิ --- ๑๐. จิตตปัสสัทธิ
๖. = ๑๑. สมาธิมีวิตกมีวิจาร --- ๑๒. สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
๗. = ๑๓. อุเบกขาในธรรมทั้งหลายภายใน -- ๑๔. อุเบกขาในธรรมทั้งหลายภายนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกล่าวถึงอาหารและ อนาหารของนิวรณ์ และโพชฌงค์

อาหาร คือ เครื่องหล่อเลี้ยงกระตุ้นเสริม ซึ่งทำให้นิวรณ์หรือโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญไพบูลย์ อนาหาร ได้แก่ สิ่งที่ไม่หล่อเลี้ยง ไม่กระตุ้นเสริม
อาหารของนิวรณ์ ได้แก่ อโยนิโสมนสิการ อนาหาร ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
ส่วนอาหารของโพชฌงค์ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ อนาหาร ได้แก่ การขาดมนสิการ

ก. อาหารและอนาหารของนิวรณ์ ๕ มีดังนี้

๑. กามฉันท์ มีอาหารคือ อโยนิโสมนสิการ ในสุภนิมิต * อนาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในอสุภนิมิต

๒. พยาบาท มีอาหารคือ อโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิต * อนาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในเจโตวิมุตติ *

๓. ถีนมิทธะ มีอาหารคือ อโยนิโสมนสิการ ในความเบื่อ ซึมเซา เมาอาหาร ใจหดหู่ อนาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในความริเริ่ม ก้าวหน้า บากบั่น

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ มีอาหารคือ อโยนิโสมนสิการ ในภาวะหรือเรื่องที่ใจไม่สงบ อนาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในภาวะเรื่องราวที่ใจไม่สงบ

๕. วิจิกิจฉา มีอาหารคือ อโยนิโสมนสิการ ในธรรมคือเรื่องราวซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา อนาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษไม่มีโทษ ฯลฯ

ข. อาหารและอนาหารของโพชฌงค์ ๗ มีดังนี้

๑. สติ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในธรรมคือเรื่องซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสติ

๒. ธรรมวิจัย มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษไม่มีโทษ ฯลฯ

๓. วิริยะ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในความริเริ่ม ความก้าวหน้า บากบั่น

๔. ปีติ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในธรรมคือเรื่องซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปีติ

๕. ปัสสัทธิ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในกายปัสสัทธิ และจิตปัสสัทธิ

๖. สมาธิ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในสมาธินิมิต ในสิ่งที่ไม่ทำให้ใจพร่าสับสน

๗. อุเบกขา มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการ ในธรรมคือเรื่องซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

อนาหารของโพชฌงค์ ก็คือ การขาดมนสิการในสิ่งที่จะทำให้เกิดโพชฌงค์ข้อนั้นๆ

..............

อ้างอิงตามลำดับ *

* สุภนิมิต = สิ่งที่คิดหมายเอาว่าสวยงาม คือพบเห็นได้ยินสิ่งใดแล้ว ใจจับเค้ารูปลักษณะที่ชอบ กำหนดหมายหรือคิดวาดเป็นภาพที่สวยงามเอาไว้ในใจ

* ปฏิฆนิมิต = สิ่งที่คิดหมายเอาว่าเป็นการกระทบกระทั่งขัดใจ คือพบเห็นได้ยินสิ่งใดแล้ว ใจจับเค้ารูปลักษณะที่ไม่ชอบ กำหนดหมายหรือคิดวาดเป็นภาพที่มุ่งกระทบกระทั่งตน

* เจโตวิมุตติ = สิ่งที่ปลดปล่อยจิต ทำให้จิตโปร่งโล่งพ้นจากภาวะบีบคั้น ตามปกติ ในกรณีของพยาบาท ได้แก่ เมตตา แต่จะใช้อัปปมัญญาอื่นๆ ก็ได้

* ทำสิ่งต่างๆ ให้สดใส หรือให้หมดจดสละสลวย เช่น ผม ขน เล็บ ตัดให้เรียบร้อย ร่างกายอาบน้ำให้สะอาด ผ้านุ่งห่ม ซักให้สะอาด ไม่เหม็นสาบเปรอะเปื้อน ที่อยู่ ไม่ให้รกรุงรัง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ก็คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติ อรรถกถาแห่งหนึ่งว่า ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และโลกุตรธรรม ๙ แต่ถ้ามองกว้างๆ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นั่นแหละ คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ สัมโมหวิโนทนี แสดงธรรมที่ช่วยให้เกิดสติอีก ๔ อย่าง คือ สติ-สัมปชัญญะ การหลีกเว้นคนสติเลอะเลือน คบหาคนที่มีสติกำกับตัวดี และทำใจให้น้อมไปในสติสัมโพชฌงค์

ธรรมที่ช่วยให้เกิดธรรมวิจัย ท่านแสดงไว้อีก ๗ อย่าง คือ ความเป็นนักไต่ถามสอบค้น การทำสิ่งต่างๆ ให้หมดจดสดใส * การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน การหลีกเว้นคนปัญญาทราม การเสวนาคนมีปัญญา การพิจารณาเรื่องที่ต้องใช้ปรีชาลึกซึ้ง ความน้อมจิตไปในการวิจัยธรรม


ธรรมที่ช่วยให้เกิดวิริยะ ท่านแสดงไว้ ๑๑ อย่าง คือ การพิจารณาเห็นภัยต่างๆ เช่น ภัยอบาย (คอยปลุกใจตัวเองว่า ถ้าไม่พยายาม จะประสบอันตรายอย่างนั้นอย่างนี้) การมองเห็นอานิสงส์ว่า เพียรพยายามไปแล้วจะได้ประสบผลวิเศษ ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระอย่างนั้นๆ การพิจารณาวิถีแห่งการปฏิบัติว่า เป็นทางดำเนินของบุคคลยิ่งใหญ่อย่างพระพุทธเจ้าและมหาสาวก เป็นต้น เมื่อเราจะดำเนินทางนั้น มัวขี้เกียจอยู่ ไปไม่สำเร็จแน่

บอก อีก ๘ อย่างที่เหลือ ให้ครบ ๑๑ อย่างตามที่ท่านแนะนำไว้คือ ความเคารพในอาหารบิณฑบาตว่า เราจะทำให้เกิดผลมากแก่ทายกทั้งหลาย การพิจารณาความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าว่า พระองค์สรรเสริญความเพียร เราควรบูชาอุปการะของพระองค์ด้วยปฏิบัติบูชา การพิจารณาภาวะที่ตนควรทำตัวให้สมกับการที่จะได้รับมรดก คือ สัทธรรมอันยิ่งใหญ่ การบรรเทาถีนมิทธะด้วยวิธีต่างๆ เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ และทำอาโลกสัญญา เป็นต้น หลีกเว้นคนเกียจคร้าน คบหาคนขยัน พิจารณาสัมมัปปธาน และทำใจให้น้อมไปในวิริยะ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดปีติ ท่านแสดงไว้อีก ๑๑ อย่าง คือ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ระลึกถึงศีลคือความประพฤติดีงามของตน ระลึกถึงการบริจาคการให้เสียสละที่ตนได้ทำ ระลึกถึงเทวดาและเทวธรรมที่มีในตน ระลึกถึงภาวะสงบคือนิพพาน หลีกเว้นคนมัวซัวหมองเศร้า เสวนาคนแจ่มใส พิจารณาพระสูตรที่ชวนเลื่อมใส และทำใจให้น้อมไปในปีติ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดปัสสัทธิ ท่านแสดงไว้อีก ๗ อย่าง คือ เสพโภชนะอันประณีต เสพบรรยากาศที่สุขสบาย เสพอิริยาบถที่สุขสบาย ประกอบความเพียรพอปานกลาง หลีกเว้นคนมีลักษณะเครียดกระสับกระส่าย เสวนาคนที่มีลักษณะผ่อนคลายสงบ ทำให้น้อมไปในปัสสัทธิ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดสมาธิ ท่านแสดงไว้อีก ๑๑ อย่าง คือ ทำสิ่งต่างๆให้หมดจดสดใส ฉลาดในนิมิต ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม ยกจิตในเวลาที่ควรยก เมื่อใจไม่สุขสดใส ก็ทำให้ร่าเริงด้วยศรัทธาและสังเวช * เมื่อจิตดำเนินไปถูกต้องดีแล้ว ก็วางทีเฉยดู (อุเบกขา) หลีกเว้นคนใจไม่เป็นสมาธิ เสวนาคนมีใจเป็นสมาธิ พิจารณาฌานวิโมกข์ ทำใจให้น้อมไปในสมาธิ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดอุเบกขา ท่าน แสดงไว้อีก ๕ อย่าง คือ วางใจเป็นกลางในสัตว์ (ทั้งพระ ทั้งชาวบ้าน) วางใจเป็นกลางในสังขาร (ทั้งอวัยวะในตัว และข้าวของ) หลีกเว้นบุคคลที่ห่วงหวงสัตว์และสังขาร คบหาคนที่มีใจเป็นกลางในสัตว์และสังขาร ทำใจให้น้อมไปในอุเบกขา

………..


* ทำสิ่งต่างๆ ให้สดใส หรือให้หมดจดสละสลวย เช่น ผม ขน เล็บ ตัดให้เรียบร้อย ร่างกายอาบน้ำให้สะอาด ผ้านุ่งห่ม ซักให้สะอาด ไม่เหม็นสาบเปรอะเปื้อน ที่อยู่ ไม่ให้รกรุงรัง เป็นต้น


* คำว่า สังเวช ไม่พึงเข้าใจว่าสลดหดหู่ แต่หมายถึงอาการกลับได้คิด หรือเกิดแรงดลใจที่จะเร่งทำสิ่งดีงาม (ตรงกับคำว่า สมุตเตชนะ ซึ่งแปลว่า เร้าให้กล้า ตรงข้ามกับหงอยก๋อย เช่น วิสุทฺธิ. 3/299)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 05:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2016, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน
onion



สติตั้ง ปัญญาตาม...อิอิ พูดเหมือนคนสนทนากันในวงเหล้า สติตั้ง ปัญญาตาม สมาธิหนุนว่า คิกๆๆ

มวยไม่มีครู ทั้งปริยัติ ปฏิบัติอะไรไม่มีเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 02:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน
onion



สติตั้ง ปัญญาตาม...อิอิ พูดเหมือนคนสนทนากันในวงเหล้า สติตั้ง ปัญญาตาม สมาธิหนุนว่า คิกๆๆ

มวยไม่มีครู ทั้งปริยัติ ปฏิบัติอะไรไม่มีเลย

onion
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"

:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน
onion



สติตั้ง ปัญญาตาม...อิอิ พูดเหมือนคนสนทนากันในวงเหล้า สติตั้ง ปัญญาตาม สมาธิหนุนว่า คิกๆๆ

มวยไม่มีครู ทั้งปริยัติ ปฏิบัติอะไรไม่มีเลย

onion
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"

:b11:



พูดเอานั่นๆนี่ๆ นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนดับไปต่อหน้าต่อตา....มันจะนิ่งได้ยังไง เพราะจิตมันจะตายอยู่แล้ว มันเจ็บสุดประมาณยากอธิบายเป็นความรู้สึก ท่านอโศกดูตัวอย่าง

ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 07:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




1477771005854.jpg
1477771005854.jpg [ 39.41 KiB | เปิดดู 3439 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน
onion



สติตั้ง ปัญญาตาม...อิอิ พูดเหมือนคนสนทนากันในวงเหล้า สติตั้ง ปัญญาตาม สมาธิหนุนว่า คิกๆๆ

มวยไม่มีครู ทั้งปริยัติ ปฏิบัติอะไรไม่มีเลย

onion
มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"

:b11:



พูดเอานั่นๆนี่ๆ นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนดับไปต่อหน้าต่อตา....มันจะนิ่งได้ยังไง เพราะจิตมันจะตายอยู่แล้ว มันเจ็บสุดประมาณยากอธิบายเป็นความรู้สึก ท่านอโศกดูตัวอย่าง

ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

onion onion onion onion

นี่แหละลักษณะคนทำวิปัสสนาภาวนาไม่เป็นทั้งลูกศิษย์และครูผู้สอนที่เที่ยวเอาปัญหาไปโพสต์ถามลองภูมิผู้อื่นไปทั่ว

onion
เจ็บ ก็รู้ว่าเจ็บ
ปวดรวดร้าว ก็รู้ว่าปวดรวดร้าว
ทุกข์ระทมตรมใจ ก็รู้ว่าทุกข์ระทมตรมใจ
ขมิบก้น ก็รู้ว่าขมิบก้น

อะไรมันจะเกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็จงนิ่งรู้นิ่งสังเกตมันจนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา ด้วยวิริยะ ตะบะ อุตสาหะ ขันติอธิษฐานและสัจจะ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดจะทนทานได้ต่อการพิสูจน์ของญาณวิปัสสนาภาวนา คือปัญญาที่ตามรู้เห็นความเป็นจริงอันแสดงอยู่ในกายในใจ ไม่เนิ่นช้าจนขาดใจหรอก ทุกอารมณ์ความรู้สึกก็จะต้องดับไปเปลี่ยนไปด้วยอำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอแต่อย่าใส่เจตนาเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวคิดแก้ไขกระบวนการแห่งธรรมที่กำลังแสดงด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัยไปตาม ตถตานั้นๆ

เท่านั้นเอง.....ง่ายจะตาย.....วิปัสสนาภาวนา

จำบทศึกษานี้ไว้ให้ดีๆ ไปท่องจำมาให้ขึ้นใจ เจอปัญหาเมื่อไรจะได้แก้ไขได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเอาปัญหาไปเที่ยวโพสต์ถามใครต่อใครให้ขายหน้าตนเองไปทั่วอย่างนี้
ที่เป็นครูบาอาจารย์ใหญ่แต่แก้ปัญหาไม่ได้ สอนลูกศิษย์ตนเองแก้ไขปัญหาไม่เป็น

s004
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2016, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
โพชงค์ 7 เป็นสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นปัญญามรรคเพียงข้อเดียวคือ ธัมมวิจัยสัมโพชงค์

โพชงค์ เป็นองค์คุณที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นความเจริญสนับสนุนกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของสติ สมาธิ ปัญญา

สติตั้ง ปัญญาตาม ได้สมาธิเป็นผลหนุนเนื่องส่งกันขึ้นไปจนได้ถึงมรรค ผล นิพพาน



สติตั้ง ปัญญาตาม...อิอิ พูดเหมือนคนสนทนากันในวงเหล้า สติตั้ง ปัญญาตาม สมาธิหนุนว่า คิกๆๆ

มวยไม่มีครู ทั้งปริยัติ ปฏิบัติอะไรไม่มีเลย


มีสัญญาอะไรผุดขึ้นมาในจิต ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป สัญญาความจำนั้นดับไป วันข้างหน้าสัญญานั้นๆจะไม่เกิด ไม่ลุกขึ้นมากวนอีก นี่คือวิธีลบสัญญาอย่างง่ายๆ

อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆก็เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกัน

อนุสัยต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

อาสวะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

โอฆะต่างๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

การกระทำบ่อยๆ....ความเคยชิน....นิสัย....อุปนิสัย....
สันดาน......สัญชาตญาณ ก็ใช้วิธีเดียวกันขุดถอน

วิธีที่บอก กับวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 เป็นอันเดียวกัน

ลองทำดู พิสูจน์ดูแล้วจะรู้เองนะกรัชกาย.....รสริน

"นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนมันดับไป"



พูดเอานั่นๆนี่ๆ นิ่งรู้นิ่งสังเกตจนดับไปต่อหน้าต่อตา....มันจะนิ่งได้ยังไง เพราะจิตมันจะตายอยู่แล้ว มันเจ็บสุดประมาณยากอธิบายเป็นความรู้สึก ท่านอโศกดูตัวอย่าง

ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ



นี่แหละลักษณะคนทำวิปัสสนาภาวนาไม่เป็นทั้งลูกศิษย์และครูผู้สอนที่เที่ยวเอาปัญหาไปโพสต์ถามลองภูมิผู้อื่นไปทั่ว

เจ็บ ก็รู้ว่าเจ็บ
ปวดรวดร้าว ก็รู้ว่าปวดรวดร้าว
ทุกข์ระทมตรมใจ ก็รู้ว่าทุกข์ระทมตรมใจ
ขมิบก้น ก็รู้ว่าขมิบก้น

อะไรมันจะเกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ก็จงนิ่งรู้นิ่งสังเกตมันจนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา ด้วยวิริยะ ตะบะ อุตสาหะ ขันติอธิษฐานและสัจจะ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดจะทนทานได้ต่อการพิสูจน์ของญาณวิปัสสนาภาวนา คือปัญญาที่ตามรู้เห็นความเป็นจริงอันแสดงอยู่ในกายในใจ ไม่เนิ่นช้าจนขาดใจหรอก ทุกอารมณ์ความรู้สึกก็จะต้องดับไปเปลี่ยนไปด้วยอำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอแต่อย่าใส่เจตนาเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวคิดแก้ไขกระบวนการแห่งธรรมที่กำลังแสดงด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัยไปตาม ตถตานั้นๆ

เท่านั้นเอง.....ง่ายจะตาย.....วิปัสสนาภาวนา

จำบทศึกษานี้ไว้ให้ดีๆ ไปท่องจำมาให้ขึ้นใจ เจอปัญหาเมื่อไรจะได้แก้ไขได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเอาปัญหาไปเที่ยวโพสต์ถามใครต่อใครให้ขายหน้าตนเองไปทั่วอย่างนี้
ที่เป็นครูบาอาจารย์ใหญ่แต่แก้ปัญหาไม่ได้ สอนลูกศิษย์ตนเองแก้ไขปัญหาไม่เป็น




โหนวิปัสสนาอีก คิกๆ ตัวอย่างนี้บ้างสิจะโหนอะไร ดู

ตอนแรกดิฉันมีอาการผิดปกติทางกายแล้วไปถามผู้สอน แล้วได้คำตอบที่ไม่สมเหตุผลมากเลย จึงขาดความไว้ใจในตัวผู้สอน คราวนี้พอเกิดอย่างอื่นตามมาก็ไม่ได้ถามอีก

ต่อมา ทั้งตาฝาด หูแว่ว ได้ยินอะไรแบบพิเศษจากปกติ ก็คิดว่าตัวเองวิเศษ ไม่ไปถามผู้ฝึกสอนอีก

เพราะขาดความไว้วางใจ แถมหลงในสิ่งลวงนั้นแล้วด้วย เป็นหนักจนต้องไปอยู่โรงพยาบาล และก็

รักษาจนรู้ตัวและเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง

แต่ยังมีอาการอย่างนึงที่ยังไม่หายคือใจแว่ว (ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีค่ะ เพราะมันคล้ายหูแว่ว แต่

เสียงเหมือนมีคนอื่นพูดมาจากใจเรา)

กินยาตามหมอสั่งมาก็หลายเดือนก็ยังไม่หาย ยังงงอยู่ว่าเป็นไปได้อย่างไร

เสียงที่ได้ยินบอกว่า ไม่หายหรอกต้องเป็นคนจิตผิดปกติไปตลอดบ้างละ ต้องไปฝึกสมาธิต่อให้

หายบ้างละ ฟังไปก็งงไปเรื่อยค่ะ เข้าใจว่ามันเป็นอาการจิตเภทแบบที่หมอบอก

แต่ไม่รู้ว่าต้องเดินทางไปสุดวิธีรักษาแบบคนเป็นโรคจิต หรือควรกลับมาทางทำสมาธิแทน

แต่กลัวตอนที่ร่างกายผิดปกติ กลัวเป็นอีกแล้วจะไม่หายคราวนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2016, 07:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




1477868379185-240x332.jpg
1477868379185-240x332.jpg [ 30.36 KiB | เปิดดู 3424 ครั้ง ]
:b13:
ไปทั้งห้อยทั้งโหนศิษย์สาวเอาปัญหาเก่าๆของคนสติขาด สัมปชัญญะหลุดไปผุดๆโผล่ๆอยู่ในอุทธัจจะนิวรณ์ มาเที่ยวถามคนให้เปรอะอีกแล้ว

สอนลูกศิษย์ให้แก้ปัญหาด้วยตนเองไม่เป็นหรือกรัชกาย

ถ้ายังไม่เป็นงานอย่างนี้ต้องเอามาอยู่อบรมวิชาด้วยกัน สัก 2-3 สัปดาห์ละมั้งจะได้ช่วยตัวเองได้

:b13:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2016, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13:
ไปทั้งห้อยทั้งโหนศิษย์สาวเอาปัญหาเก่าๆของคนสติขาด สัมปชัญญะหลุดไปผุดๆโผล่ๆอยู่ในอุทธัจจะนิวรณ์ มาเที่ยวถามคนให้เปรอะอีกแล้ว

สอนลูกศิษย์ให้แก้ปัญหาด้วยตนเองไม่เป็นหรือกรัชกาย

ถ้ายังไม่เป็นงานอย่างนี้ต้องเอามาอยู่อบรมวิชาด้วยกัน สัก 2-3 สัปดาห์ละมั้งจะได้ช่วยตัวเองได้



อ้างคำพูด:
ถ้ายังไม่เป็นงานอย่างนี้ต้องเอามาอยู่อบรมวิชาด้วยกัน สัก 2-3 สัปดาห์ละมั้งจะได้ช่วยตัวเองได้


ไหนลองว่าไปสิ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2016, 07:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




1464338127665-240x312.jpg
1464338127665-240x312.jpg [ 33.89 KiB | เปิดดู 3410 ครั้ง ]
s004
ตาฝาด

หูแว่ว

ใจแว่ว

เข้าโรงบาล

ปฏิบัติโดยไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ทำได้จริง เป็นพี่เลี้ยง

นี่ก็ผิดปกติแล้ว ยังไม่รู้ตัวไม่เร่งแก้ไขปล่อยให้เป็นไปตามกรรมอีก อย่างนี้พี่เลี้ยงคือกรัชกายถือว่าปล่อยปละละเลยศิษย์ทำร้ายศิษย์ทั่งทางตรงและทางอ้อม

ต้องรีบแก้ไขนำมาสอบอารมณ์ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่ให้รู้วิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาและวิธีแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องเสียโดยเร็ว มิฉะนั้นจะเสียคน
onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร