ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53225
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 ต.ค. 2016, 09:38 ]
หัวข้อกระทู้:  ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

ฐานะของความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

จากหนังสือเล่มนี้หน้า ๖๐๗

https://encrypted-tbn0.gstatic.com/imag ... KzoAzwz7g2

หากจะศึกษาพุทธธรรม ควรมองสังเกตที่ ตา หู ฯลฯ ที่เชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมแล้วใช้โยนิโสมนสิการอาจจะเห็นธรรม

รูปภาพ

แต่ถ้ามองไกลคิดไกลถึงโลกต่างดาวถึงอังคารหรือคิดมองลงในนรก จะเห็นเพียงภาพซึ่งเกิดจากจินตนาการทางจิต

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 ต.ค. 2016, 09:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

ฐานะของความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

คนเรานี้ จะมีความสุขอย่างแท้จริง ก็ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง คือ จะต้องปฏิบัติถูกต้องต่อชีวิตของตนเอง และต่อสภาพแวดล้อม ทั้งทางสังคม ทางธรรมชาติ และทางวัตถุโดยทั่วไป รวมทั้งเทคโนโลยี คนที่รู้จักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ย่อมมีชีวิตที่ดีงาม และมีความสุขที่แท้ จริง ซึ่งหมายถึงการมีความสุขที่เอื้อต่อการเกิดมีความสุขของผู้อื่นด้วย

อย่างไรก็ตาม การ ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง หรือการปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลาย อย่าง ที่กล่าวมานี้ เป็นการพูดแบบรวมความ ซึ่งถ้าจะให้เห็นชัดเจน จะต้อง แบ่งซอยออกไปเป็นการปฏิบัติถูกต้องในกิจกรรมส่วนย่อยต่างๆ ของการดำเนิน ชีวิตนั้นมากมาย หลายแง่หลายด้าน

ดังนั้น เพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงควรกล่าวถึงการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้าน ทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง นั้น หรือกระจายความหมายของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นออกไป ให้เห็น การปฏิบัติถูกต้องแต่ละแง่แต่ละด้าน ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตที่ ถูกต้องนั้น

การดำเนินชีวิตนั้น มอง ในแง่หนึ่งก็คือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้อยู่รอด หรือการนำชีวิตไปให้ ล่วงพ้นสิ่งบีบคั้นตัดขัดคับข้อง เพื่อให้เป็นอยู่ได้ด้วยดี การดำเนิน ชีวิตที่มองในแง่นี้ พูดอย่างสิ้นๆก็คือ การแก้ปัญหาหรือการดับ ทุกข์ ผู้ที่แก้ปัญหาได้ถูกต้อง ล่วงพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี ก็ย่อมเป็น ผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ โดยนัย นี้ การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักแก้ ปัญหา หรือเรียกง่ายๆว่า แก้ปัญหาเป็น

มองอีกแง่หนึ่ง การดำเนินชีวิตของคนเรา ก็คือ การประกอบกิจกรรมหรือทำการต่างๆ โดยเคลื่อนไหวแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ถ้าไม่แสดงออกมาภายนอก ก็ทำอยู่ภายใน เป็นพฤติกรรมของจิตใจ พูดรวมๆ ว่า ทำ พูด คิด หรือใช้คำศัพท์ว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีชื่อรวมเรียกว่า กรรมทางไตรทวาร

ในแง่นี้ การดำเนินชีวิต ก็คือ การทำกรรมทั้ง ๓ ประการ ผู้ที่ทำกรรม ๓ อย่างนี้ได้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมดำเนิน ชีวิตไปได้ด้วยดี ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักทำ รู้จักพูด รู้จักคิด เรียกง่ายๆว่า คิดเป็น พูดเป็น (หรือสื่อสารเป็น) และทำเป็น (รวมทั้งผลิตเป็น)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 ต.ค. 2016, 09:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

ในแง่ต่อไป การดำเนินชีวิตของคนเรา ถ้าวิเคราะห์ออกไป จะเห็นว่า เต็มไปด้วย เรื่องของการรับรู้ และเสวยรสของสิ่งรู้หรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งผ่านเข้ามา หรือปรากฏทางอายตนะ ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งต้องกาย และรู้อารมณ์ใน ใจ หรือ หู ฟัง ดม ชิม ลิ้ม ถูกต้อง/สัมผัส และคิดหมาย

ท่าที และปฏิกิริยาของบุคคลในการรับรู้อารมณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต จิตใจและวิถีชีวิตหรือชะตากรรมของเขา ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีของความยินดี ยินร้าย หรือชอบชัง วงจรของปัญหาก็จะตั้งต้น แต่ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีแบบบันทึกข้อมูล และเห็นตามเป็นจริง หรือมองตามเหตุปัจจัย ก็จะนำไปสู่ปัญญาและการแก้ปัญหา

นอกจากท่าทีและปฏิบัติในการรับรู้แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่านั้น ก็คือ การเลือกรับรู้อารมณ์ หรือเลือกอารมณ์ ที่จะรับรู้ เช่น เลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองความอยาก หรือเลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองปัญญาส่งเสริมคุณภาพชีวิต

เมื่อมองในแง่นี้ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี จึงหมายถึงการรู้จักรับรู้ หรือรับรู้ เป็น ได้แก่ รู้จัก (เลือก) ดู รู้จัก (เลือก) ฟัง รู้จัก (เลือก) ดม รู้จัก (เลือก) ลิ้ม รู้จัก (เลือก) สัมผัส รู้จัก (เลือก) คิด เรียกง่ายๆว่า ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ชิมเป็น สัมผัสเป็น และ คิดเป็น

ยังมีแง่ที่จะมองได้ต่อไปอีก การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ในความหมายอย่างหนึ่ง ก็คือ การเข้าไป เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย เพื่อถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น

จะเห็นชัดว่า สำหรับ คนทั่วไปส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตจะมีความหมายเด่นในแง่นี้ คือ การที่ จะได้เสพหรือบริโภค คนทั่วไปส่วนมาก เมื่อจะเข้าไปเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับ สภาพแวดล้อมทางสังคมก็ตาม ทางวัตถุก็ตาม ก็มุ่งที่จะได้จะเอาประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งจากบุคคลหรือสิ่งเหล่านั้น เพื่อสนองความประสงค์ หรือ ความปรารถนาของตน พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เพื่อต้องการสนองความประสงค์หรือ ความปรารถนาของตน จึงเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคล หรือ สิ่งทั้งหลายอย่างนั้นๆ

แม้แต่การดำเนินชีวิตในความหมายของการรับรู้ในข้อก่อนนี้ ว่า ที่จริงก็แบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านรับรู้ เช่น เห็น ได้ ยิน เป็นต้น กับ ด้านเสพ เช่น ดู ฟัง เป็นต้น ความหมายด้านที่สอง คือ การเสพที่ให้ดูเป็น ฟังเป็น เป็นต้น ก็มีนัยที่รวมอยู่ในความหมายข้อนี้ด้วย

การปฏิบัติที่ถูกต้องในการเสพหรือบริโภคนี้ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะกำหนด หรือปรุงแต่งวิถีชีวิต และทุกข์สุขของมนุษย์ ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จัก เสพ รู้จักบริโภค ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทาง สังคม ก็หมายถึงการรู้จักคบหา รู้จักเสวนา ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ก็หมายถึงการรู้จักกิน รู้จักใช้ เรียกง่ายๆ ว่า กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนาเป็น คบคนเป็น


จะเห็นว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดีนั้น ครอบคลุมถึงการปฏิบัติถูกต้องที่เป็น ส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตนั้น มากมายหลายแง่หลายด้านด้วยกัน กล่าวโดย สรุป คือ

ก) ในแง่ของการล่วงพ้นปัญหา ได้แก่ แก้ปัญหาเป็น

ข) ในแง่ของการทำกรรม ได้แก่ คิดเป็น พูดเป็น/สื่อสารเป็น ทำเป็น

ค) ในแง่ของการรับรู้ ได้แก่ ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ลิ้มเป็น สัมผัสเป็น คิดเป็น

ง) ในแง่ของการเสพหรือบริโภค ได้แก่ กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนา-คบหาเป็น

การปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆ ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิต อย่างที่กล่าวมานี้ รวมเรียก การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือการ รู้จักดำเนินชีวิต พูดได้สอดคล้องกับถ้อยคำที่ใช้ข้างต้นว่า ดำเนิน ชีวิตเป็น และชีวิตที่ดำเนินอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นชีวิตที่ดีงาม ตามนัยแห่งพุทธธรรม

รูปภาพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 ต.ค. 2016, 10:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฐานะความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

บรรดาการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆเหล่านี้ อาจพูดรวบรัดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนิน ชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ เช่น

ในแง่ของการรับรู้ ความ คิดเป็นจุดศูนย์รวม ที่ข่าวสารข้อมูลทั้งหมดไหลมาชุมนุม เป็นที่ วินิจฉัย และนำข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปปรุงแต่งสร้างสรรค์และไร้การต่างๆ

ในแง่ของกรรม คือ ใน แง่ของระบบการกระทำ ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแสดงอกทาง กาย และวาจา ที่เรียกว่าการพูดและการกระทำ และเป็นศูนย์ บัญชาการ ซึ่งกำหนดหรือสั่งบังคับให้พูดจาและให้ทำการไปตามที่คิดหมาย


ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองนั้น ความคิดเป็นศูนย์กลาง โดย เป็นจุดประสานเชื่อมต่อระหว่างระบบการรับรู้ กับระบบการทำกรรม กล่าว คือ เมื่อรับรู้เข้ามาโดยทางอายตนะต่างๆ และเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลข่าว สารมาคิดปรุงแต่งแล้ว ก็วินิจฉัยสั่งการโดยแสดงออกเป็นการกระทำทางกาย หรือวาจา คือพูดจา และเคลื่อนไหวทำการต่างๆต่อไป

พูดรวมๆได้ว่า การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือ คิดเป็น เป็นศูนย์ กลางที่บริหารการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นหัวหน้าที่ชี้ นำ นำทาง และควบคุมการปฏิบัติถูกต้องในแง่อื่นๆทั้งหมด

เมื่อคิดเป็นแล้ว ก็ช่วยให้พูดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ช่วยให้ดูเป็น ฟังเป็น กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น และคบหาเสวนาเป็น ตลอดไปทุกอย่าง คือ ดำเนินชีวิตเป็นนั่นเอง จึง พูดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำที่ชัดพา หรือเปิดช่องไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

ลักษณะสำคัญที่เป็นตัวตัดสินคุณค่าของการรู้จักทำ หรือทำเป็น ก็คือความพอดี และในกรณีทั่วๆไป “รู้จัก-” และ “ -เป็น” กับ “-พอดี” ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกัน

การรู้จักทำ หรือทำอะไรเป็น ก็คือ ทำสิ่งนั้นๆ พอเหมาะพอดีที่จะให้ เกิดผลสำเร็จที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ หรือทำแม่นยำ สอดคล้อง ตรง จุด ตรงเป้า ที่จะให้บรรลุจุดหมายอย่างดีที่สุด โดยไม่เกิดผลเสียหาย หรือข้อบกพร่องใดๆ เลย

พุทธธรรมถือเอาลักษณะที่ไร้โทษ ไร้ทุกข์ และเหมาะเจาะที่จะให้ถึงจุดหมายนี้เป็นสำคัญ จึงใช้คำว่า พอดี เป็นคำหลัก ดังนั้น สำหรับคำว่า ดำเนินชีวิตเป็น จึงใช้คำว่า ดำเนินชีวิตพอดี คือ ดำเนินชีวิตพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายแห่งการเป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์มีความสุขที่แท้จริง

การดำเนินชีวิตพอดี หรือการปฏิบัติพอดี เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม กล่าวคือ มรรค หรือ อริยมรรค ที่ แปลสืบๆ กันมาว่า มรรคอันประเสริฐ คือทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม ล้ำเลิศ ปราศจากพิษภัยไร้โทษ นำสู่เกษมศานติ์ และความสุขที่สมบูรณ์

พูทธธรรมแสดงหลักการว่า การที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง หรือมีชีวิตที่ดีงามได้นั้น จะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งได้แก่กระบวนการที่เรียกว่า การศึกษา พูดอย่างสั้นที่สุดว่า มรรคจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยสิกขา

การคิดถูกต้อง รู้จัก คิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำของชีวิตที่ดีงาม หรือมรรคฉันใด การฝึกฝนพัฒนาความคิดที่ถูกต้อง ให้รู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็เป็นตัวนำของการศึกษา หรือสิกขา ฉันนั้น

ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน คือการศึกษา เพื่อให้มีชีวิตดีงามนั้น การฝึกฝนความรู้จักคิด หรือ คิด เป็นซึ่งเป็นตัวนำ จะเป็นปัจจัยชักพาไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนความเชื่อถือถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำของชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำในกระบวนการของการศึกษานั้น ก็คือ สาระสำคัญของการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลางของกระบวนการพัฒนาคน ที่เรียกว่าการศึกษา นั่นเอง

การรู้จักคิด หรือ คิดเป็นนั้น ประกอบด้วยวิธีคิดต่างๆหลายอย่าง การฝึกฝนพัฒนาความ รู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็คือการฝึกฝนพัฒนาตน หรือการฝึกฝนพัฒนาบุคคล ตามแนวทางของวิธีคิดเหล่านั้น หรือ เช่นนั้น

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/