วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 12:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 219 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2016, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
student
ใช่ครับเป็นชีวิตของคนๆหนึ่งเฉพาะไป


ครับขอบคุณมากๆ

ต่อไป กรัชกายจะสงเคราะห์ (ชีวิต) ที่ท่านแจกแจงใช้ในแง่ปฏิบัติเช่น สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น กับ ชีวิตสำหรับเรียนรู้คือหลักขันธ์ 5 เป็นต้น (จำแนกโดยความเป็นอายตนะ...ได้อีก) เท่าที่จัดลงกันได้

พิจารณาดูครับ


สติปัฏฐาน มี 4

1. กายานุปัสสนา
2. เวทนานุปัสสนา
3. จิตตานุปัสสนา
4. ธัมมานุปัสสนา

ขันธ์ มี 5

1. รูปขันธ์ = กายานุปัสสนา

2. เวทนาขันธ์ = เวทนานุปัสสนา

3. สัญญาขันธ์

4. สังขารขันธ์ (2 ข้อที่เหลือ= ธัมมานุปัสสนา)

5. วิญญาณขันธ์ = จิตตานุปัสสนา

หนึ่งชีวิตของบุคคลของใครของมัน ซึ่งเขาต้องเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติกันเอาเอง คุณ student เห็นด้วยไหม ไม่เห็นด้วยตรงไหน ค้านได้เต็มที่เลยครับ อย่าเกรงใจ :b1:


ผมเห็นด้วย

แต่ผมไม่กล้าที่จะออกความเห็น
เพราะมีความลึกซึ้งของธรรมอยู่ในนั้น
เกินสติปัญญาของผมที่จะบ่งชี้ลงไป



ขอบคุณนะครับ

ถามอีกนิดคุณ student ปฏิบัติสติปัฏฐาน (เป็นหลักธรรมหมวดหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม) เพื่อประโยชน์ใดครับ :b10:


ประโยชน์ในการฝึกธรรมในหมวดใดหมวดหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม ไม่เฉพาะสติปัฏฐาน ยังมีอีกหลายหมวดที่ศึกษาไปพร้อมๆกัน ก็เพื่อละความเห็นที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับสัจธรรมความจริง เพื่อความสุขในปัจจุบัน ละความยึดติดในกิเลสทั้งหยาบและละเอียดตามลำดับ เพื่อขัดเกราศีลในชีวิตประจำวันของเราเอง



จะยกตัวอย่างตามที่คุณ student อ้างบ่อยๆ คือ อินทรีย์ 5 ๆ เป็นสังขารเป็นนามธรรม (= ธัมมานุปัสสนา) สมมติว่า คุณ student ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 (ข้อ) คุณปฏิบัติแต่ละข้อๆอย่างไร เช่น

กายานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา


สติปัฏฐานทั้ง4 สามารถที่จะเข้าไปพิจารณาถึงเหตุปัจจัย
ธรรมที่ปรากฏคือเหตุปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ คือสังขตะธรรม
เหตุปัจจัยเหล่านี้คือความเป็นสามัญลักษณะ คือทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา

การปฎิบัติแต่ละข้อ ก็คือเหมือนกันหมดในเรื่องของการตั้งสติพิจารณาความเป็นสามัญลักษณะและสังขตะธรรม คือความเป็นเหตุปัจจัยในเรื่องภพ หรือกรรม ต่อลักษณะของการพิจารณาจะมีการพิจารณาในหมวดของขันธ์5 เช่น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานพิจารณากายในกายนอก กายนอกคือสิ่งที่เรามองเห็นทุกวัน แขนขา ความหนุ่มความแก่ ความเจ็บความตาย กายในก็คือตับใต ใส้พุง หัวใจ เลือด ที่ประกอบกันต่างๆ ให้เห็นถึงโทษเหล่านั้น เช่น โทษของการเกิดมา(ภพ) แล้วพิจารณาไม่ให้เกิดความยึดถือเป็นโลภะ โทสะ โมหะ และมีความเห็นที่ผิดจากความจริงคือโทษของมิจฉาทิฏฐิ

ในหมวดเวทนานุปัสสนาก็จะตั้งสติพิจารณาความเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจความบีบคั้นทางจิตใจความบีบคั้นทางร่างกายว่าเป็นเพียงเหตุปัจจัย เป็นสามัญลักษณะ เป็นสังขตะธรรม ให้เห็นโทษในเวทนาเหล่านั้นและละความยึดถือไม่ให้เกิดโลภะโทสะโมหะ และละความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

จิตตานุปัสสนาคือตั้งสติรู้ความหมายแห่งการตื่น คือการไม่ตกภวังค์ การรู้ว่าตื่นรู้ การไม่สับสนระหว่างสภาวะที่ตื่นอยู่กับสภาวะของการตกภวังค์ ให้ลงในเหตุปัจจัยแห่งสามัญลักษณะและเป็นสังขตะธรรม

ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือมีสติพิจารณาธรรมทั้งปวงเช่นอารมณ์ต่างๆรักโลภโกรธหลงเป็นโทษไม่ควรยึดถือเพราะเป็นเหตุแห่งการสานต่อเชื้อของโลภะโทสะโมหะ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง คือสังขตะธรรมครับ


(คำตอบ) วิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ข้อ ของคุณ student นั่นบอกอะไร คือ บอกว่า

แบบที่คุณ student ว่านี้ เรียกว่าคิดนึกเอา...ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอะไรก็ว่าไป :b1:

แต่ตัวอย่างที่กรัชกายนำมาที่นี่ที่นั่น เป็นการลงมือทำทำสติปัฏฐาน 4 ภาคสนาม รบกับข้าศึกคือกิเลส จะออกชื่อโลภะ โทสะ โหะหรือชื่ออะไรสุดแล้วแต่ เป็นการเผชิญหน้ากับมัน

สรุปสั้นๆว่าทั้งสองวิธีนี้ต่างกันเหมือนสัญลักษณ์เหรียญอยู่คนละด้านคือ ด้านหัวด้านหนึ่ง ด้านก้อยด้านหนึ่งคนละด้านกันแล.

หรือเปรียบให้ชัดอีก ก็วิธีของคุณ student เหมือนคนนั่งคิด นอนนึกถึงสัตว์ร้ายในดงใหญ่มีเสือ เป็นต้นอยู่ที่ห้อง อืมมมรึงๆอย่าให้กรูเจอะนะ เจอะที่ไหนจะจับฆ่าเสียที่นั่น ....พอเข้าป่าได้ยินเสือร้อง ยังมิทันตั้งสติมิทันตั้งนะโมเลยตัวสั่นงันหงกขนลุกขนพองแล้ว (เสือเปรียบได้กับกิเลสน้อยใหญ่)

แต่ ตย. ที่กรัชกายนำมาเหมือนคนที่เข้าป่าล่าเสือ (เสือคือกิเลสน้อยใหญ่) เจอะแล้วก็สู้กับมัน ทำลายมัน แต่กว่าจะฆ่ามันได้แต่ละตัวๆ ก็เล่นเอาเราเกือบแย่ หรือท้อถอยไปเหมือนกันแล.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2016, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นภาพวางตัวอย่างเทียบไว้ใกล้ๆ


ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วก จนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีก ซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่

ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการ กระทำ

หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2016, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอยู่ในลานธรรมจักรมานานหลายปี

คุณกรัธกายก็ยังไม่รู้จักแนวปฎิบัติผม

แล้วคุณกรัธกายกำลังจะบอกว่า

เข้าไปอ่านบทความสั้นๆ 1หน้ากระดาษแล้วสามารถสอบอารมณ์ บุคคลคนนั้นได้

ถึงขั้นเข้าวิปัสสนา อย่างนั้นเหรอครับ?

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2016, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมอยู่ในลานธรรมจักรมานานหลายปี

คุณกรัธกายก็ยังไม่รู้จักแนวปฎิบัติผม

แล้วคุณกรัธกายกำลังจะบอกว่า

เข้าไปอ่านบทความสั้นๆ 1หน้ากระดาษแล้วสามารถสอบอารมณ์ บุคคลคนนั้นได้

ถึงขั้นเข้าวิปัสสนา อย่างนั้นเหรอครับ?



อ้างคำพูด:
คุณกรัธกายก็ยังไม่รู้จักแนวปฎิบัติผม


ก็คุณพูดอยู่ คคห.บนนั่นไง :b1:

แล้วกรัชกายก็พูดว่า วิธีปฏิบัติสติปัฏฐานตามนัยคุณ student กับ วิธีปฏิบัติสติปัฏฐานกับตัวอย่างที่ยกมา ว่าต่างกัน เหมือนอยู่กันคนละด้าน แค่นี้ :b1:

ที่คุณ student ว่า

อ้างคำพูด:
สติปัฏฐานทั้ง 4 สามารถที่จะเข้าไปพิจารณาถึงเหตุปัจจัย
ธรรมที่ปรากฏคือเหตุปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ คือสังขตะธรรม
เหตุปัจจัยเหล่านี้คือความเป็นสามัญลักษณะ คือทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา

การปฎิบัติแต่ละข้อ ก็คือเหมือนกันหมดในเรื่องของการตั้งสติพิจารณาความเป็นสามัญลักษณะและสังขตะธรรม คือความเป็นเหตุปัจจัยในเรื่องภพ หรือกรรม ต่อลักษณะของการพิจารณาจะมีการพิจารณาในหมวดของขันธ์ 5 เช่น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายในกายนอก กายนอกคือสิ่งที่เรามองเห็นทุกวัน แขนขา ความหนุ่มความแก่ ความเจ็บความตาย กายในก็คือตับใต ใส้พุง หัวใจ เลือด ที่ประกอบกันต่างๆ ให้เห็นถึงโทษเหล่านั้น เช่น โทษของการเกิดมา(ภพ) แล้วพิจารณาไม่ให้เกิดความยึดถือเป็นโลภะ โทสะ โมหะ และมีความเห็นที่ผิดจากความจริงคือโทษของมิจฉาทิฏฐิ

ในหมวด เวทนานุปัสสนา ก็จะตั้งสติพิจารณาความเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจความบีบคั้นทางจิตใจความบีบคั้นทางร่างกายว่าเป็นเพียงเหตุปัจจัย เป็นสามัญลักษณะ เป็นสังขตะธรรม ให้เห็นโทษในเวทนาเหล่านั้นและละความยึดถือไม่ให้เกิดโลภะโทสะโมหะ และละความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

จิตตานุปัสสนา คือตั้งสติรู้ความหมายแห่งการตื่น คือการไม่ตกภวังค์ การรู้ว่าตื่นรู้ การไม่สับสนระหว่างสภาวะที่ตื่นอยู่กับสภาวะของการตกภวังค์ ให้ลงในเหตุปัจจัยแห่งสามัญลักษณะและเป็นสังขตะธรรม

ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือมีสติพิจารณาธรรมทั้งปวงเช่นอารมณ์ต่างๆรักโลภโกรธหลงเป็นโทษไม่ควรยึดถือเพราะเป็นเหตุแห่งการสานต่อเชื้อของโลภะโทสะโมหะ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง คือสังขตะธรรมครับ



หรือคุณมีแนวปฏิบัตินอกจากที่กล่าวแล้วอีก ก็ยินรับฟังนะครับ ว่ามา :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2016, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆ
ตั้งแต่เริ่มต้น

จะปฎิบัติในทางอานาปานสติ

แล้วมีเรื่องของอริยสัจ4ในเรื่องทุกข์ แล้วมาพิจารณาพระไตรลักษณ์
จนเริ่มเข้ามาในทางมรรคมีองค์8

ไปเรื่อยๆจนมาเรื่องโพธิปักขิยธรรม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2016, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มาพิจารณาในทางปฎิบัติ

การที่เราจะเจ้าไปกำหนดรู้สภาวะทุกข์ที่เป็นปัจจัยแห่งขันธ์5

ก็ต้องมีพื้นฐานการปรับตัวเอง

นั่นคือหลักโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่หนุนให้เกิดการบรรลุธรรม

บรรลุธรรมในที่นี้คือการที่วิชชาเกิด

แต่ในขั้นต้นคือการกำหนดรู้ทุกข์

พุทธบริษัท4ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องความเห็น ความเห็นเรื่องทุกข์นั้นพุทธทั้งหลายรู้ดี ไม่มีข้อคัดค้าน

ไม่เหมือนลัทธิอื่นที่ต้องมาเริ่มปรับความเห็นใหม่ตั้งแต่ต้น

ดังนั้นพุทธทุกคนมีความเห็นในเรื่องทุกข์ว่าเป็นสัจธรรมตามอริยสัจ4 ความเห็นในเรื่องอัตตานั้นยังต้องแก้ไขจึงต้องมีธรรมะที่เป็นเครื่องประกอยความเพียร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2016, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
มาพิจารณาในทางปฎิบัติ

การที่เราจะเจ้าไปกำหนดรู้สภาวะทุกข์ที่เป็นปัจจัยแห่งขันธ์5

ก็ต้องมีพื้นฐานการปรับตัวเอง

นั่นคือหลักโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่หนุนให้เกิดการบรรลุธรรม

บรรลุธรรมในที่นี้คือการที่วิชชาเกิด

แต่ในขั้นต้นคือการกำหนดรู้ทุกข์

พุทธบริษัท4ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องความเห็น ความเห็นเรื่องทุกข์นั้นพุทธทั้งหลายรู้ดี ไม่มีข้อคัดค้าน

ไม่เหมือนลัทธิอื่นที่ต้องมาเริ่มปรับความเห็นใหม่ตั้งแต่ต้น

ดังนั้นพุทธทุกคนมีความเห็นในเรื่องทุกข์ว่าเป็นสัจธรรมตามอริยสัจ4 ความเห็นในเรื่องอัตตานั้นยังต้องแก้ไขจึงต้องมีธรรมะที่เป็นเครื่องประกอยความเพียร



:b1: พูดไปทำไมมี นี่ทุกข์ไหม เป็นทุกข์ในอริยสัจไหมว่า =>



ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วก จนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีก ซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่

ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการ กระทำ

หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2016, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
. 2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด


ผู่ปฎิบัติมีความเห็นว่าเป็นทุกข์

ก็นี่แหละพุทธ ไม่ต้องไปปรับความเห็นในเรื่องนี้

ถึงได้ยกโพธิปักขิยธรรมมาให้พิจารณา จุดมุ่งหมายแห่งโพธิปักขิยธรรมคือวิชชา

ในเมื่อยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่รู้ว่ามันทุกข์ แต่หาเหตุดับทุกข์ยังไม่เจอ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
หัวข้อว่าทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของชีวิต (สภาวะทุกข์)
ทุกข์เป็นสภาวะที่เกิดจากความไม่รู้เป็นหนึ่งในอริยสัจจ์สี่
พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาเพื่อให้รู้ว่าไม่รู้จักทุกข์ค่ะ
เพราะถ้ารู้จักทุกข์แล้วจะไม่ทุกข์ไปตามความไม่รู้ของตน
เข้าใจความจริงตามคำสอนตรงเหตุปัจจัยที่มีทำให้รู้ทุกข์
ทุกข์มีสภาวะเดียวตามคำสอนคือทุกข์เพราะไม่รู้ว่าไม่รู้ค่ะ
ก็กิจในอริยสัจจ์สี่คือรู้ทุกข์ ละสมุทัย ถึงมรรค ผล นิพพาน
:b8:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 219 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 139 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร