วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 19:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2016, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2017, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเพณี ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย


ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกายภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2017, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรินิพพานบริกรรม การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อน แล้วเสด็จปรินิพพาน


ปริปุจฉา การสอบถาม, การค้นคว้า, การสืบค้นหาความรู้


ปริเยสนา การแสวงหา มี ๒ คือ

๑. อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่มีทุกข์

๒. อริยปริเยสนา แสวงหาอย่างประเสริฐ ตนมีทุกข์ แต่แสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่นิพพาน
สำหรับคนทั่วไป ท่านอธิบายว่า มิจฉาอาชีวะ เป็นอนริยปริเยสนา สัมมาอาชีวะ เป็นอริยปริเยสนา


ปริโยสาน ที่สุดลงโดยรอบ, จบ, จบอย่างบริบูรณ์


ปริวัฏฏ์ หมุนเวียน, รอบ, ญาณทัสสนะ มีปริวัฏฏ์ ๓ หรือเวียนรอบ ๓ ในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละข้อโดยสัจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวม ๔ ข้อเป็น ๑๒ เรียกว่า มี อาการ ๑๒


ปริวารยศ ยศคือ (ความมี) บริวาร ความเป็นใหญ่โดยบริวาร


ยศ ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ, ในภาษาไทย มักได้ยินคำว่า เกียรติยศ ซึ่งบางครั้งมาคู่กับ อิสริยยศ และอาจจะมี ปริวารยศ หรือ บริวารยศ มาเข้าชุดด้วย รวมเป็น ยศ ๓ ประเภท


ปริเทวะ ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ


ปริพาชก นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาพวกหนึ่งในชมพูทวีป ชอบสัญจรไปในที่ต่างๆสำแดงทรรศนะทางศาสนาปรัชญาของตน เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปริพพาชก (ถ้าเป็นนักบวชเพศหญิง เป็นปริพพาชิกา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริวาส “อยู่รอบ” อยู่ครบ, อยู่จบ, อยู่ปรับตัวให้พร้อม, อยู่พอจนได้ที่, บ่มตัว, อบ, หมกอยู่ 1. ในพระวินัย แปลกันมาว่า “อยู่กรรม” หรืออยู่ชดใช้, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับการออกจากครุกาบัติ) ฯลฯ 2. ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา ท่านนำคำว่า “ปริวาส” ตามความหมายสามัญข้างต้นมาใช้อธิบายธรรม เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นตั้งแต่เรื่องพื้นๆ ไปจนถึงหลักธรรมที่ลึกซึ้ง เช่น อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้ว มีปริวาส คือการค้างรวมกันอยู่ในท้องจนย่อยเสร็จ,

การอบเครื่องใช้หรือที่อยู่อาศัยด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้ เป็นต้น ก็เป็นปริวาส

การเรียนมนต์โดยอยู่กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับมนต์นั้น เช่น สาธยายพิจารณา ทำความเข้าใจ จนจบรอบหรือเข้าถึง เรียกว่ามนตปริวาส

ในสมถภาวนา ผู้เจริญฌาน จะก้าวจากอุปจารสมาธิขึ้นสู่ปฐมฌาน หรือก้าวจากฌานที่ต่ำกว่าขึ้นสู่ฌานชั้นที่สูงขึ้นไป คือมีองค์ฌานชั้นที่สูงต่อขึ้นไปนั้นปรากฏ โดยอยู่จนรอบอัปปนาสมาธิ (หรือบ่มอัปปนาสมาธิจนได้ที่) เรียกว่าอัปปนาปริวาส

ในการเจริญวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติจะยังมรรคยังให้เกิดขึ้น โดยอยู่จนรอบวิปัสสนา (หรือบ่มวิปัสสนาจนได้ที่) เรียกว่าวิปัสสนาปริวาส

ในทำงานของจิต ซึ่งดำเนินไปโดยจิตขึ้นสู่วิถีและตกภวังค์แล้วขึ้นสู่วิถีและตกภวังค์ เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปนั้น ช่วงเวลาที่จิตอยู่ในภวังค์จนขึ้นสู่วิถีอีก เรียกว่าภวังคปริวาส

(บุคคลทั้งหลายมีภวังคปริวาส หรือช่วงพักภวังค์นี้ ยาวหรือสั้น เร็วหรือช้าไม่เหมือนกัน ผู้ที่มีภวังคปริวาสสั้นรวดเร็ว จะรับรู้และคิดการต่างๆได้แคล่วคล่องรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าทำอะไรๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น พระพุทธเจ้าทรงมีภวังคปริวาสชั่ววิบแวบ แม้จะมีผู้ทูลถามปัญหาพร้อมกันหลายคน ก็ทรงทราบความได้ทันทีหมดและทรงจัดลำดับตอบได้เหมาะจังหวะแก่ทุกคน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริสทูสโก ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจนประหลาด ศีรษะโตหรือหลิมเหลือเกินเป็นต้น


ปริสวิบัติ เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัท หมายถึงเมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ


ปริสสมบัติ ความพร้อมมูลแห่งบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือ ไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่างประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)


ปริสัญญุตา ความรู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไปจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดเช่นนี้เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)

ปริสุปัฏฐาปกะ ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์คือพ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ปกครองหมู่ สงเคราะห์บริษัทได้

ปลงบริขาร มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะมรณภาพ เพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)


ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว


ปลงอาบัติ แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ, ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุอื่น, แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย, ให้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้


ปัจจุทธรณ์ ถอนคืน, ยกเลิก, ถอนอธิษฐาน คือ ยกเลิกบริขารเดิมที่อธิษฐานไว้ เช่น ได้อธิษฐานสบง คือ ตั้งใจกำหนดสบงผืนหนึ่งไว้ให้เป็นสบงครอง ภายหลังจะไม่ใช้สบงผืนนั้นเป็นสบงครองอีกต่อไป ก็ถอนคืนสบงนั้น คือยกเลิกการอธิษฐานเดิมนั้นเสีย เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง


ปวัตตมังสะ เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ


ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม โดยเฉพาะที่คั้นจากลูกไม้ (รวมทั้งเหง้าพืชบางชนิด) น้ำคั้นผลไม้ (จัดเป็นยามกาลิก) มีพุทธานุญาตปานะ ๘ อย่าง (นิยมเรียกเลียนเสียงคำบาลีว่า อัฏฐบาน หรือน้ำอัฏฐบาน) พร้อมทั้งน้ำคั้นพืชต่างๆ


ปวารณา 1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ 2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือนได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรีชา ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความกำหนดรู้


ปลงตก พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขารแล้ววางใจเป็นปกติได้


ปริวิตก ความคิดนึก, คำนึง, ไทยใช้หมายความว่า นึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย


ปสาทะ ความเลื่อมใส, ความชื่นบานผ่องใส, ความเชื่อถือมั่นใจ, ความรู้สึกยอมรับนับถือ, ความเปิดใจรับ, อาการที่จิตเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขัดข้องขุ่นมัว โดยเกิดความรู้สึกชื่นชมนิยมนับถือ ต่อบุคคลหรือสิ่งที่พบเห็นสดับฟังหรือระลึกถึง, มักใช้คู่กับศรัทธา


ปหานะ ละ, กำจัด, การละ, การกำจัด, เช่น ละตัณหา, กำจัดกิเลส, กำจัดบาปอกุศลธรรม


ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสังขารได้


ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง


ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน, หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ


ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น


ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์, สัญญามีลักษณะจำได้ เป็นต้น


ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (พระธรรม) อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภคเท่านั้นจึงจะรู้รส ผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้


ปัจจันตชนบท ถิ่นแคว้นชายแดนนอกมัชฌิมชนบทออกไป, ปัจจันติมชนบท ก็ใช้


ปัจจันตประเทศ ประเทศปลายแดน, แว่นแคว้นชายแดน, ถิ่นแดนชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศหรือมัชฌิมชนบท

ปัจจัย 1. เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุเครื่องหนุนให้เกิด, 2 . ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยารักษาโรค)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปมาทะ ความประมาท, ความขาดสติ, ความเลินเล่อ, ความเผอเรอ, ความเผลอ, ความผัดเพี้ยน, ความปล่อยปละละเลย, ความชะล่าใจ, เทียบ อัปปมาทะ


ปัจฉาสมณะ พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เป็นศัพท์คู่กับ ปุเรสมณะ พระนำหน้า


ปัจฉิมชาติ ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้าย ไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีก เพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว


ปัจฉิมโอวาท คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”


ปัญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา, เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ


ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา” หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน


ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผลและทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป


ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง


ปัญหา คำถาม, ข้อสงสัย, ข้อติดขัดอัดอั้น, ข้อที่ต้องคิดต้องแก้ไข


ปัญจพิธกามคุณ กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่ารักน่าใคร่น่าชอบใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปาง ครั้ง, คราว, เมื่อ, เรียกพระพุทธรูปเฉพาะครั้งนั้นๆ โดยมีรูปลักษณะเป็นพระอิริยาบถหรือท่า ที่สื่อความหมายถึงเหตุการณ์เฉพาะครั้งนั้นๆ ว่าเป็นปางชื่อนั้นๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ พระพุทธรูปปางไสยาสน์


ปาพจน์ “คำเป็นประธาน” หมายถึงพระพุทธพจน์ ซึ่งได้แก่ธรรมและวินัย


ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก, พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรัก ความปรารถนาดี เช่น พูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
ปริสัญญุตา ความรู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไปจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดเช่นนี้เป็นต้น


ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบ ควรใช้ ควรสอนอย่างไร


ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกา
มาวจรและรูปาวจร)


ปุริสเมธ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ จักจักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งของผู้ปกครองบ้านเมือง


ปริสสัพพนาม คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห, ศัพท์ ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น


เปรต 1. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว 2. สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่า ปิตติวิสัย หรือเปตติวิสัย (แดนเปรต) ได้รับคามทุกข์ทรมานเพราะอดอยาก ไม่มีจะกิน แม้เมื่อมี ก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก


ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประหาณ ละ, กำจัด, การละ, การกำจัด, เป็นรูปที่เขียนอย่างสันสกฤต เขียนอย่างบาลีเป็น ปหาน (บางทีเขียนผิดเป็น ประหาร)

ประหาร การตี, การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ, ฆ่า, ทำลาย

(ผู้ศึกษาพุทธธรรมจำไว้อย่างแม่นมั่นว่า ภาษาบาลี เขามีความหมายเฉพาะของเขา ก็เหมือนกับภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่ภาษาไทยเรา ถ้าเราไปเอาคำศัพท์แสงของเขามาพูดมาใช้แล้วมาด้นมาเดามาว่าเอาเอง นั่นผิดแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 11:57 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2023, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:33 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร