วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะ สิ่งสำหรับกำหนดรู้, เครื่องกำหนดรู้, อาการสำหรับหมายรู้, เครื่องแสดงสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าต่างจากอีกสิ่งหนึ่ง, คุณภาพ, ประเภท


ลักษณะ ๓ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวตน


ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ๓ ประการ ได้แก่

๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้

๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน (คนไทยนิยมพูดสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์

ลักษณะ ทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะ คือ สังขาร และอสังขตะ คือ วิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ

ลักษณะเหล่านี้ เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม

ในพระไตรปิฎก หลักนี้ชื่อว่า ธมฺมนิยามตา

ส่วน ไตรลักษณ์และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลัคน์ เวลาในดวงชาตาคนเกิดและในดวงทำการมงคล


ลัทธิ ความเชื่อถือ, ความรู้และประเพณีที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา


ลาสิกขา ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าภิกษุด้วยกัน หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ แล้วสละเพศภิกษุเสีย ถือเอาเพศที่ ปฏิญญานั้น, ละเพศภิกษุสามเณร, สึก


ลิขิตโก, ลิขิตกะ “ผู้ถูกเขียนไว้” หมายถึงโจรที่ทางการมีประกาศบอกไว้ เช่นว่า “พบในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น” โจรหรือคนร้ายที่ทางการบ้านเมืองมีประกาศหรือหมายสั่งทำนองนี้ ไม่พึงให้บวช


ลิงค์ เพศ, ในบาลีไวยากรณ์มี ๓ อย่าง คือ ปุงลิงค์ เพศชาย, อิตถีลิงค์ เพศหญิง นปุงสกลิงค์ มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง


ไตรลิงค์ สามเพศ หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์ กล่าวคือ

ปุงลิงค์ เพศชาย

อิตถีลิงค์ เพศหญิง

นปุงสกลิงค์ มิใช่เพศชาย และหญิง,

คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ


สังเกตตัวอย่างคำบาลีเป็นสามลิงค์ นิพฺพุโต เป็นปุงลิงค์ ถ้าประธานเป็นอิตถีลิงค์ก็เป็น นิพพุตา ตัวอย่างนี้

นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา
นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปติ.


พระราชกุมารผู้เช่นนี้ เป็นพระราชโอรสของพระมารดาพระบิดาและ
เป็นพระสวามีของพระนางใดๆ ท่านเหล่านั้นเย็นใจแน่แล้ว.

"นิพฺพุต" รากศัพท์เดียวกับคำว่า นิพพาน ซึ่งแปลว่า ดับ,(ดับกิเลส) เย็น, เย็นใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกธาตุ แผ่นดิน, จักรวาลหนึ่งๆ


โลกนาถ ผู้เป็นที่พึ่งของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า


โลกบาล ผู้คุ้มครองโลก, ผู้เลี้ยงรักษาโลกให้ร่มเย็น, ท้าวโลกบาล ๔


โลกบาลธรรม ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อยสงบสุข ไม่เดือดร้อนสับสนวุ่นวาย มี ๒ คือ

๑. หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว

๒.โอตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว


โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น


โลกวิทู (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงรู้แจ้งโลก คือทรงรู้แจ้งสภาวะแห่งโลก คือ สังขารทั้งหลาย ทรงรู้อัธยาศัยสันดานของสัตวโลกที่เป็นไปต่างๆ ทำให้บำเพ็ญพุทธกิจได้ผลดี


โลกัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก, ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆเป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้เพื่อประโยชน์สุขชุมชนภายหลังตลอดกาลนาน


โลกาธิปไตย ความถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมหรือเสียงกล่าวว่าของชาวโลกเป็นสำคัญ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ จะทำอะไรก็มุ่งจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม


โลกามิษ เหยื่อแห่งโลก, เครื่องล่อ ที่ล่อให้ติดอยู่ในโลก, เครื่องล่อใจให้ติดในโลก ได้แก่ ปัญจพิธกามคุณ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ โลกามิส ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูขปฏิบัติ ประพฤติปอน, ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม (หมายถึงของเก่าเรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)


ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆง่ายๆ


เลศ 1. อาการ ลักษณะหรือข้อเทียบเคียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อผูกเรื่องใส่ความ 2. ในภาษาไทยโดยทั่วไป หมายถึงอาการที่แสดงอย่างมีความหมายซ่อนเร้นให้รู้กันในที มักใช้ควบคู่กับ “นัย” ว่า เลศนัย


เลียบเคียง พูดอ้อมค้อมหาทางให้เขาถวายของ


โลก แผ่นดินที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย, โลก ๓ คือ

๑. สังขารโลก โลกคือสังขาร

๒.สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

๓. โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน

อีกนัยหนึ่ง

๑. มนุษยโลก โลกมนุษย์

๒. เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖

๓. พรหมโลก โลกของพระพรหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ม.ค. 2017, 19:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลาภ ของที่ได้, การได้


โลกธรรม ธรรมที่มีประจำโลก, ธรรมดาของโลก, ธรรมที่ครอบงำสัตวโลก และสัตวโลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์


โลภ ความอยากได้ (ข้อ ๑ ในอกุศลมูล ๓)


โลภเจตนา เจตนาประกอบด้วยโลภ, จงใจคิดอยากได้, ตั้งใจจะเอา


โลลโทษ โทษคือความโลเล, ความมีอารมณ์อ่อนไหว โอนเอนไปตามสิ่งเย้ายวนอันสะดุดตาสะดุดใจ


ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ได้แก่ หวงผลประโยชน์ พยายามกีดกันผู้อื่นไม่ให้ได้


ลาภานุตตริยะ การได้ที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ได้ดวงตาเห็นธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกิยะ, โลกียะ, โลกีย์ เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพสาม, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร คู่กับ โลกุตระ


โลกุดร, โลกุตตระ, โลกุตระ พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้งสาม (พจนานุกรม โลกุตร)


โลกียฌาน ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้


โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด คู่กับโลกุตรธรรม


โลกุตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑


โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือ ความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่างแรก คือ ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ


โลกุตรวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกุตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้วไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ


โลกียสุข ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดจนถึงฌานสุข และวิปัสสนาสุข


โลกียภูมิ ภูมิที่เป็นโลกียะ ได้แก่ สามภูมิแรก ในภูมิ ๔, บางทีเรียกรวมกันว่า “ไตรภูมิ” ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ส่วนภูมิที่สี่ เป็นโลกุตรภูมิ


โลกุตรปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก


โลกุตรภูมิ ขั้นที่พ้นจากโลก, ระดับจิตใจของพระอริยเจ้า (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ อีก ๓ ภูมิ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)


โลกุตตรสุข, โลกุตรสุข ความสุขอย่างโลกุตระ, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขเนื่องด้วยมรรค ผล นิพพาน


โลกุตตมาจารย์ อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เถรวาท “วาทะของพระเถระ” (หมายถึงพระเถระผู้รักษาธรรมวินัยนับแต่ปฐมสังคายนา) พระพุทธศาสนาที่สืบมาแต่ยุคแรกสุด ซึ่งถือตามหลักธรรมวินัยที่พระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป ได้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางเป็นแบบแผนไว้เมื่อ ๓ เดือนหลังพุทธปรินิพพาน ได้แก่ พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา


ถาวรวัตถุ สิ่งของที่มั่นคง ได้แก่ ของที่สร้างด้วยอิฐ ปูน หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น


ลุมพินีวัน ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งในสี่แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก Rummindei อยู่ที่ปาเตเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง)


ไถยจิต จิตคิดจะลัก, จิตคิดขโมย, จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย


ถีนะ ความหดหู่, ความท้อแท้ใจ


ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม, ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม, ความง่วงเหงาซึมเซา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 85 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron