วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2017, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตจำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ..." แปลว่า "เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม..."

https://scontent.fbkk6-2.fna.fbcdn.net/ ... e=590A9197


อกุศลเจตนา เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว

กุศลเจตนา เจตนาที่เป็นกุศล, ความตั้งใจดี, ความคิดดี


อทินนาทาน มีองค์ ๕ คือ ๑. ของผู้อื่นหวงแหน ๒. รู้อยู่ว่าเขาหวงแหน ๓. จิตคิดจะลัก ๔. มีความพยายาม ๕. ลักของได้ด้วยความพยายามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.พ. 2017, 17:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2017, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กติกา (ในคำว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์) ข้อตกลง. ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่ง มีส่วนได้รับแจกด้วย ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์” ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย


กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตามอกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิ่งลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน


กรรมวาท ผู้ประกาศหลักกรรม หรือผู้ถือหลักกรรม เช่น ยืนยันว่ากรรม คือ การกระทำมี และมีผลจริง ว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตน และเป็นไปตามกรรมนั้น ว่าการกระทำเป็นเครื่องตัดสินความดีเลวสูงทราม (มิใช่ชาติกำเนิดตัดสิน) ว่าการกระทำเป็นเหตุปัจจัยให้สำเร็จผล
(มิใช่สำเร็จด้วยการอ้อนวอนดลบันดาล หรือแล้วแต่โชค) เป็นต้น หลักการแห่งกรรม, การถือหลักกรรม

พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เอง (องฺ.ติก. 20/577/369) ว่าทรงเป็น กรรมวาท (ถือหลักหรือกฎแห่งการกระทำ) กิริยวาท (ถือหลักการอันให้กระทำ) และวิริยวาท (ถือหลักความเพียร)

บางที กล่าวถึงพระกิตติคุณของพระพุทธเจ้า (เช่น ที.สี.9/182/147) ว่า ทรงเป็นกรรมวาที กิริยวาที (คือเป็น กรรมวาท และกิริยาวาท นั่นเอง ต่างกันเพียงว่า กรรมวาท กิริยวาท เป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์ของบุคคล และคำนามแสดงหลักการ ส่วนกรรมวาที และกิริยวาที เป็นคุณศัพท์อย่างเดียว)


กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2017, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวันหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน ณ เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆอีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่าบริวารกฐิน)


กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้ว บอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
ฯลฯ
(กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ขึง” คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” กรานกฐิน ก็คือ “ขึงไม้สะดึง” คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง) เขียนกราลกฐิน บ้างก็มี


กัปปิยะ สมควร, ควรแก่สมณะที่จะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือ พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ


กัปปิยกุฎี เรือนเก็บของที่เป็นกัปปิยะ


กัปปิยภัณฑ์ ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ, สิ่งของ ที่สมควรแก่สมณะ


กัปปิยภูมิ ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด


อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศ ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันแต่ต้นว่าจะทำเป็นกัปปิยกุฎี ในเวลาที่ทำ พอช่วยกันยกเสาหรือตั้งฝาทีแรก ก็ร้องประกาศให้รู้กันว่า “กัปปิยกุฎี กโรม” ๓ หน (แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2017, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กตเวทิตา ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน


กตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน


กตัญญูกตเวทิตา ความเป็นคนกตัญญู


กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน

แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน, กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน,

ความกตัญญูกตเวที ว่าโดยขอบเขต

แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวที ต่อบุคคล ผู้มีคุณความดี หรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง
กตัญญูกตเวที ต่อบุคคล ผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง


บุพการ 1. “อุปการก่อน” การช่วยเหลือเกื้อกูลที่ริเริ่มทำขึ้นก่อนเอง โดยมิได้คำนึงถึงเหตุเก่าเช่นว่าเขาเคยทำอะไรให้เราไว้ และมิได้หวังข้างหน้าว่าเขาจะให้อะไรตอบแทนเรา (ในคำว่า บุพการี) 2. ความเกื้อหนุนช่วยเหลือโดยถือเป็นสำคัญอันดับแรก, การอุปถัมภ์บำรุงเกื้อกูลนับถือรับใช้ที่ทำโดยตั้งใจให้ความสำคัญนำหน้าหรือก่อนอื่น (เช่นในข้อ ๕ แห่งสมบัติของอุบาสก ๕)


บุพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น


บุคคลหาได้ยาก ๒ คือ 1. บุพการี 2. กตัญญูกตเวที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัป, กัลป์ กาลกำหนด, กำหนดอายุของโลก, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน, ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาล ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น, กำหนดอายุของมนุษย์หรือสัตว์จำพวกนั้นๆ ในยุคนั้นๆ เรียกเต็มว่า “อายุกัป” เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

ที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นข้อควรรู้ที่พอแก่ความเข้าใจทั่วไป
หากต้องการรู้ละเอียด พึงศึกษาคติโบราณ ดังนี้

กัป มี ๔ อย่าง ได้แก่

๑. มหากัป กัปใหญ่ คือ กำหนดอายุของโลก อันหมายถึงสกลพิภพ

๒. อสงไขยกัป กัปอันนับเวลามิได้ คือ ส่วนย่อย ๔ แห่งมหากัป ได้แก่

๑) สังวัฏฏกัป (เรียกเต็มว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป) กัปเสื่อม คือ ระยะกาลที่โลกเสื่อมลงจนถึงวินาศ

๒) สังวัฏฏฐายีกัป (สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป) ระยะกาลที่โลกพินาศแล้วทรงอยู่

๓) วิวัฏฏกัป (วิวัฏฏอสงไขยกัป) กัปเจริญ คือ ระยะกาลที่โลกกลับเจริญขึ้น

๔) วิวัฏฏฐายีกัป (วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป) ระยะกาลที่โลกเจริญแล้วทรงอยู่

ครบรอบ ๔ อสงไขยกัปนี้ เป็นมหากัปหนึ่ง

๓. อันตรกัป กัปในระหว่าง ได้แก่ ระยะกาลที่หมู่มนุษย์เสื่อมจากส่วนใหญ่พินาศแล้ว ส่วนที่เหลือเจริญขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นจนถึงอสงไขย แล้วกลับเสื่อมทรามลง อายุสั้นลงๆ จนเหลือเพียงสืบปีแล้วพินาศ ครบรอบนี้เป็นอันตรกัปหนึ่ง ๖๔ อันตรกัปเช่นนั้น เป็น ๑ อสงไขยกัป

๔. อายุกัป กำหนดอายุของสัตว์จำพวกนั้นๆเช่น อายุกัปของมหาพรหมเท่ากับ ๑ อสงไขยกัป

โดยทั่วไป คำว่า “กัป” ที่มาโดดๆ มักหมายถึงมหากัป แต่หลายแห่งหมายถึงอายุกัป เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นอย่างดีแล้ว หากทรงจำนง (เจตนา) จะทรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปก็ได้ “กัป” ในที่นี้ หมายถึงอายุกัป คือจะทรงพระชนม์อยู่จนครบกำหนดอายุของคนในยุคนั้นเต็มบริบูรณ์ คือ เต็ม ๑๐๐ ปี หรือเกินกว่านั้น ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัลปนา 1. ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด 2. ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย


กรรมวาจา คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑

กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ในการอุปสมบท


กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้


กระหย่ง (ในคำว่า นั่งกระหย่ง) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้งสองรับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง ก็ได้ บางแห่งว่า หมายถึงนั่งยองๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาหาร ปัจจัยนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต มี ๔ คือ

๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว

๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ

๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา

๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ

รูปภาพ

กวฬิงการาหาร อาการคือคำข้าว ได้แก่ อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ


ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือ เป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณกระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง


มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจ (=เจตนา)เป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (กายกรรม,วจีกรรม, มโนกรรม)

วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ วิญญาณเป็นอาหาร คือ เป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดี ก็ได้ ชั่ว ก็ได้ แต่โดยทั่วไปหมายถึงฉันทะที่เป็นกุศล หรือกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายอกุศล


กามฉันท์, กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป เป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ข้อ 1 ในนิวรณ์ 5)


กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กาม มี 2 อย่าง คือ 1. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ 2. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕


กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ


กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม


ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิ หรือสัสสตทิฏฐิ


วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ คือ ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ


กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ 4 มนุษยโลก และ สวรรค์ 6 ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี รวมเป็น 11 ชั้น


กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามสมบัติ สมบัติคือกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์


กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์


กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นอย่างหนึ่งในที่สุดสองข้าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค 1 อัตตกิลมถานุโยค 1


กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ 6 (จะแปลว่า สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)


กามาทีนพ โทษแห่งกาม, ข้อเสียของกาม


กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่ กามคุณ 5 นั่นเอง 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม


กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทุกสิ่งทุกอย่างประดามีที่เป็นไปในกามภพ ตั้งแต่อเวจีมหานรกถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี


กามาสวะ อาสวะคือกาม, กิเลสดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่


กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด


กามสังวร ความสำรวมในกาม, การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กัลยาณชน คนประพฤติดีงาม, คนดี


กัลยาณธรรม ธรรมอันดี, ธรรมดีงาม, ธรรมของกัลยาณชน


กัลยาณปุถุชน คนธรรมดาที่มีความประพฤตดี, ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง


กัลยาณมิตตตา ความมีกัลยาณมิตร, ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว


กัลยาณมิตรธรรม ธรรมคือคุณสมบัติของกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรธรรม ๗


กัลยาณมิตร “มิตรผู้มีคุณอันบัณฑิตพึงนับ” เพื่อนที่ดี


เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตาหรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ท่านเรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียม และเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้

บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดจนพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า "มิตรดีงาม" กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ

๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา

๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ

๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุง ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ

๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี

๕. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์

๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งขึ้นไป

๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวงไหลไม่สมควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจในอริยสัจจ์ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง คือ ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง หรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค



กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือรู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ควรเจริญ คือควรปฏิบัติ


กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรค ควรเจริญ ได้เจริญ คือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว



กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ


กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ถึงภาวะที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว) จัดเป็นปัญญาที่ถูกต้องในระดับสามัญ (ยังไม่เป็นอธิปัญญา) และเป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตญาณ ก็เขียน


กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว, เป็นคำผูกขึ้นภายหลัง โดยจัดไว้ในชุด สัทธา ๔ ส่วนในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทั้งหลาย มีแต่ กัมมัสสกตาญาณ


กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้ อยู่ในเขตประเทศเนปาล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ก.พ. 2017, 15:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2017, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุล ตระกูล, ครอบครัว, วงศ์, หมู่ชนที่ร่วมพงศ์พันธุ์เดียวกัน, เผ่าชน, ในความหมายที่ขยายออกไป หมายถึงหมู่ชนที่ร่วมสังกัด หรือขึ้นต่อการปกครองเดียวกัน เช่น ในคำว่า “กุลบดี” ซึ่งบางทีหมายถึงหัวหน้าสถาบันการศึกษา


กุลทูสก “ผู้ประทุษร้ายตระกูล” หมายถึงภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆดด้วยอาการอันผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่น ให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น


กุลมัจฉริยะ “ตระหนีตระกูล” ได้แก่ หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงตระกูลอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น


กุลปสาทกะ ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส


กุลุปกะ, กุลูปกะ “ผู้เข้าถึงสกุล” พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภืและเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว


กุลธิดา ลูกหญิงผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี


กุลบุตร ลูกชายผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี


กุลสตรี หญิงมีตระกูลมีความประพฤติดี, สตรีที่มีคุณความดีสมควรแก่ตระกูล, สตรีเจ้าบ้าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2017, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิริยาอาขยาต เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในใน ภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของประธาน เช่น คจฺฉติ (ย่อมไป) ปรินิพฺพายิ (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น


กิริยากิตตกะ (กิริยากิตก์) เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค บ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยค บ้าง และใช้เป็นคุณบท บ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น


กุปปธรรม “ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้” หมายถึงผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่ยังไม่ชำนาญ อาจเสื่อมได้ เทียบ อกุปปธรรม

อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบ คือผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัติจะไม่เสื่อมเลย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหมด


กีสาโคตรมี พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆเพื่อหายากแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบาย (คือพระองค์ให้นางไปเที่ยวขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาทำยาชุบชีวิตลูก) และทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี
วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางจีวรเศร้าหมอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2017, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกศล,1. โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ

1.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ

2. อปายโกศล ความฉลาดในทางเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม

3. อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ

โกศล 2. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่ มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล มีนครหลวงชื่อ สาวัตถี บัดนี้ เรียก sahet-Mahet (ล่าสุด รื้อฟื้นชื่อในภาษาสันสกฤตขึ้นมาใช้ว่า Sravasti ศราวัสตี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2017, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูลหัวหน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชป็นปริพาชกในสำนักของสญชัย ก็ยังใช้ชื่อว่ โกลิตะ ต่อมาภายหลังคือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่าโมคคัลลานะ หรือพระมหาโมคคัลลานะ


สารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์ เรียก อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ
มีน้องชาย ๓ คน ชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด

เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้งสองคนไปเที่ยวดูมหรสพ ที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่ง ไปดูแล้ว เกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้ไปบวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชก แต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย

จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอน ได้ฟังคำย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะ แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกเป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน

เมื่อบวชแล้ว ได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตร ได้ฟังธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฎ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา

ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น

ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน เมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านได้เดินทางไปโปราดมารดาของท่าน ซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิ ให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้วปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้ว พระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา

พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี

พระสารีบุตรมีคุณธรรมและจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น เป็นผู้มีความกตัญญูสูง ดังได้แสดงออกเกี่ยวกับพระอัสสชิ (นอนหันหัวไปทางที่ พระอัสสชิพำนักอยู่) และราธพราหมณ์ (ระลึกถึงบิณฑบาตหนึ่งทัพพีและรับเป็นอุปัชฌาย์แก่ราธะ) สมบูรณ์ด้วยขันติธรรมต่อคำว่ากล่าว (ยอมรับคำแนะนำแม้ของสามเณร ๗ ขวบ) เป็นผู้เอาใจใส่อนุเคราะห์เด็ก (เช่น ช่วยเอาเด็กยากไร้มาบรรพชา มีสามเณรอยู่ในปกครองดูแล ซึ่งเก่งกล้าสามารถหลายรูป) และเอาใจใส่คอยดูแลภิกษุอาพาธ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 102 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร