วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึงภิกษุรูปเดียว

มนุษย์ "ผู้มีใจสูง" ได้แก่ คนผู้มีมนุษยธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน

สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์ เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กวฬิงการาหาร อาการคือคำข้าว ได้แก่ อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ (ข้อ ๑ ในอาการ ๔)

กายกรรม การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น

กาย กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม, เช่น สัตวกาย (มวลสัตว์) พลกาย (กองกำลังทหาร) รถกาย (กองทหารรถ) ธรรมกาย (ที่รวมหรือที่ชุมนุมแห่งธรรม) ๑. ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางที เรียกเต็มว่า รูปกาย ๒. ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก เช่น ในคำว่า "กายปัสสัทธิ" (ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก) บางทีเรียกเต็มว่า นามกาย

(แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึงนามขันธ์หมดทั้ง ๔ คือ ทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก)

นอกจากความหมายพื้นฐาน ๒ อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง เช่น ในคำว่า "กายสัมผัส" (สัมผัสทางกาย) หมายถึงกายอินทรีย์ที่รับรู้โผฏฐัพพะคือสิ่งต้องกาย,

ในคำว่า "กายทุจริต" (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึงกายทวารที่ใช้ทำกรรม คือ เคลื่อนไหวแสดงออก และทำการต่างๆ,

ในคำว่า "กายสุข" (สุขทางกาย) หมายถึงทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งคู่ กับ เจโตสุข หรือสุขทางใจ ,

ในคำว่า "กายภาวนา" (การพัฒนากาย) หมายถึง อินทรีย์สังวร คือ ความรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลดีในการใช้ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่, เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป,

คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" แปลว่า "ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด"

จะต่ออีกก็ได้ว่า "สุขิตา โหนตุ ญาตโย" แปลว่า "ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด"


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมวาท ผู้ประกาศหลักกรรม หรือผู้ถือหลักกรรม เช่น ยืนยันว่ากรรม คือ การกระทำมี และมีผลจริง ว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตน และเป็นไปตามกรรมนั้น ว่าการกระทำเป็นเครื่องตัดสินความดีเลวสูงทราม (มิใช่ชาติกำเนิดตัดสิน) ว่าการกระทำเป็นเหตุปัจจัยให้สำเร็จผล (มิใช่สำเร็จด้วยการอ้อนวอนดลบันดาล หรือแล้วแต่โชค) เป็นต้น

หลักการแห่งกรรม, การถือหลักกรรม พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เอง (องฺ.ติก. 20/577/369) ว่าทรงเป็น กรรมวาท (ถือหลักหรือกฎแห่งการกระทำ)
กิริยวาท (ถือหลักการอันให้กระทำ) และ
วิริยวาท (ถือหลักความเพียร)

บางทีกล่าวถึงพระกิตติคุณของพระพุทธเจ้า (เช่น ที.สี.9/182/147) ว่า ทรงเป็นกรรมวาที กิริยวาที (คือเป็น กรรมวาท และกิริยาวาท นั่นเอง ต่างกันเพียงว่า กรรมวาท กิริยวาท เป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์ของบุคคล และคำนามแสดงหลักการ ส่วนกรรมวาที และกิริยวาที เป็นคุณศัพท์อย่างเดียว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กสิณ “ทั้งหมด” “ทั้งสิ้น” “ล้วน” วัตถุที่เป็นอารมณ์อย่างเดียวล้วนในการเจริญกัมมัฏฐาน เช่น ถ้าใช้ปฐวี คือ ดิน ก็เป็นปฐวีอย่างเดียวล้วน ไม่มีอย่างอื่นปน จึงเรียก “ปฐวีกสิณ”

ตามที่เรียกกันบัดนี้ แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่, เป็นชื่อของกรรมฐานที่ใช้วัตถุของล้วน หรือสีเดียวล้วน สำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔ วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจ และเจริญปัญญา (นิยมเขียน กรรมฐาน)

กัมมัฏฐาน ๒ (โดยหลักทั่วไป) คือ

๑. สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการทำใจให้สงบ, วิธีฝีกอบรมเจริญจิตใจ

๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝีกอบรมเจริญปัญญา

กัมมัฏฐาน ๒ (โดยการปฏิบัติ) คือ

๑. สัพพัตถกกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พึงต้องการในที่ทั้งปวง หรือพึงใช้เป็นฐานของการเจริญภาวนาทุกอย่าง, กรรมฐานที่เป็นประโยชน์ในทุกกรณี ได้แก่ เมตตา มรณสติ และบางท่านว่า อสุภสัญญาด้วย

๒. ปาริหาริยกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่จะต้องบริหาร (ประจำตัว) คือ กรรมฐานข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม ที่เลือกว่าเหมาะกับตน เช่นว่า ตรงกับจริตแล้ว หรือกำหนดเอาเป็นข้อที่ตนจะปฏิบัติเพื่อก้าวสู่ผลที่สูงขึ้นไปๆแล้ว ต่อแต่นั้นก็จะต้องเอาใจใส่จัดปรับบำเพ็ญตลอดเวลาเพื่อให้ก้าวหน้าไป และได้ผลดี, ทั้งนี้หมายความว่าผู้ปฏิบัติทุกคนพึงปฏิบัติกรรมฐานตั้ง ๒ ข้อ เนื่องจากสัพพัตถกกัมมัฏฐานจะช่วยเป็นเพื่อเกื้อหนุนต่อปาริหาริยกัมมัฏฐาน โดยผู้ปฏิบัตินั้น พอเริ่มต้น ก็เจริญเมตตาต่อประดาภิกษุสงฆ์และหมู่ชนตลอดถึงเทวดาในถิ่นใกล้รอบตัวจนทั่วสรรพสัตว์ เพื่อให้ใจอ่อนโยนต่อกัน และมีบรรยากาศร่มเย็นเป็นมิตร พร้อมกันนั้นก็เจริญมรณสติ เพื่อให้ใจห่างจากทุจริตไม่คิดถึงอเนสนา และกระตุ้นเร้าใจให้ปฏิบัติจริงจัง ไม่ย่อหย่อน ส่วนอสุภสัญญาก็มาช่วยให้โลภะหรือราคะเข้ามาครอบงำไม่ได้ เพราะจะไม่ติดใจแม้แต่ในทิพยารมณ์ แล้วก็มุ่งหน้าไปในปาริหาริยกัมมัฏฐานของตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กสิณ “ทั้งหมด” “ทั้งสิ้น” “ล้วน” วัตถุที่เป็นอารมณ์อย่างเดียวล้วนในการเจริญกัมมัฏฐาน เช่น ถ้าใช้ปฐวี คือ ดิน ก็เป็นปฐวีอย่างเดียวล้วน ไม่มีอย่างอื่นปน จึงเรียก “ปฐวีกสิณ”

ตามที่เรียกกันบัดนี้ แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่, เป็นชื่อของกรรมฐานที่ใช้วัตถุของล้วน หรือสีเดียวล้วน สำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ
ภูตกสิณ ๔ ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔ วาโย ลม

วรรณกสิณ ๔ ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจ และเจริญปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศล ๑. “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ” “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง" "ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา"

สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี (กุศลธรรม), กรรมดี (กุศลกรรม)

ตามปกติ กุศล กับ บุญ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ แต่ กุศล มีความหมายกว้างกว่า คือ กุศล มีทั้งโลกิยะ (กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร) และ โลกุตระ
ส่วน บุญ โดยทั่วไปใช้กับโลกิยกุศล ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ มักต้องมีคำขยายกำกับไว้ด้วย เช่นว่า "โลกุตรบุญ"

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า บุญ มักใช้ในความหมายที่แคบกว่า หรือใช้ในขั้นต้นๆ หมายถึงความดีที่ยังประกอบด้วยอุปธิ (โอปธิก) คือ ยังเป็นสภาพปรุงแต่งที่ก่อผลในทางพอกพูน ให้เกิดสมบัติ อันได้แก่ความพรั่งพร้อม เช่น ร่างกายสวยงามสมบูรณ์ และมั่งมีทรัพย์สิน

แต่กุศล ครอบคลุมหรือเลยต่อไปถึง นิรูปธิ (ไร้อุปธิ) และเน้นที่นิรูปธินั้น คือ มุ่งที่ภาวะไร้ปรุงแต่ง ความหลุดพ้นเป็นอิสระ โดยไปถึงนิพพาน,

พูดอีกอย่างง่ายๆ เช่นว่า บุญ มุ่งเอาความสะอาดหมดจดในแง่ที่สวยงามน่าชื่นชม แต่ กุศล มุ่งถึงความสะอาดหมดจดในแง่ที่เป็นความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรติดค้าง ปลอดโปร่ง โล่ง ว่าง เป็นอิสระ,

ขอให้ดูตัวอย่างที่ บุญ กับ กุศล มาด้วยกันในคาถาต่อไปนี้ (ขุ.อิติ.25/262/290)

กาเยน กุสลํ กตฺวา วาจาย กุสลํ พหุํ

มนสา กุสลํ กตฺวา อปฺปมาณํ นิรูปธึ ฯ

ตโต โอปธิกํ ปุญฺญํ กตฺวา ทาเนน ตํ พหุํ

อญฺเญปิ มจฺเจ สทฺธมฺเม พฺรหฺมจริเย นิเวสย


(ท่าน จงทำให้มาก ทั้งด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ซึ่งกุศล อันประมาณมิได้ (อัปปมาณ แปลว่า มากมาย ก็ได้ เป็นโลกุตระ ก็ได้) อันไร้ อุปธิ (นิรูปธิ) แต่นั้น ท่านจงทำบุญ อันระคนอุปธิ ให้มาก ด้วยทาน แล้วจง (บำเพ็ญธรรมทาน) ชักจูงแม้คนอื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจริยะ)

คาถานี้ แม้จะเป็นคำแนะนำแก่เทวดา ก็ใช้ได้ทั่วไป คือเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะอยู่เป็นคฤหัสถ์ว่า ในด้านแรกคือด้านหลัก ให้ทำกุศล ที่เป็นนิรูปธิ ซึ่งเป็นการศึกษาหรือปฏิบัติเพื่อให้ได้สาระของชีวิต โดยพัฒนาตนให้เป็นอริยชน โดยเฉพาะเป็นโสดาบัน จากนั้น อีกด้านหนึ่ง ในฐานะเป็นอริยชน ก็ทำความดี หรือ กรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่มีผลในทางอุปธิ เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาของมัน และที่เป็นเรื่องสามัญในสังคมคฤหัสถ์ได้ ไม่เสียหาย เพราะเป็นผู้มีคุณความดีที่เป็นหลักประกันให้เกิดแต่ผลดีทั้งแก่ตนเองและแก่ สังคมแล้ว, ตรงข้ามกับ อกุศล เทียบ บุญ ๒. บางแห่ง (เช่น ขุ.เถร.26/170/268) กุศล หมายถึง ความเกษม, ความปลอดภัย, สวัสดิภาพ, ความหวังดี, ความมีเมตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายคตาสติ, กายสติ สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

กายทวาร ทวารคือกาย, กายในฐานเป็นทางทำกรรม, ทางกาย

กายทุจริต ประพฤติชั่วด้ายกาย, ประพฤติชั่วทางกาย, มี ๓ อย่าง คือ ๑ ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ (สัตว์เดิมหมายมนุษย์) ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม

กายสุจริต ประพฤติชอบด้ายกาย, ประพฤติชอบทางกาย, มี ๓ อย่าง คือ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

กายปัสสัทธิ ความสงบรำงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น (ข้อ ๕ ในวิญญาณ ๖)

กายสังขาร ๑. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายประโยค การประกอบทางกาย, การกระทำทางกาย

กายสัมผัส สัมผัสทางกาย, อาการที่กาย โผฏฐัพพะ และกายวิญญาณประจวบกัน

กายสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพราะการที่กาย โผฏฐัพพะ และ กายวิญญาณประจวบกัน

กายิกสุข สุขทางกาย เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

กาลเทศะ เวลาและประเทศ, เวลา และสถานที่

กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เฉพาะเหตุการณ์ หรือเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษ ไม่ใช่ให้ได้เตลอดเวลา, ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เดิม (องฺ.ปญฺจก.22/36/44) มี กาลทาน ๕ คือ

อาคันตุกทาน (ทานแก่ผู้มาจากต่างถิ่น)

คมิกทาน (ทานแก่ผู้จะไปจากถิ่น)

คิลานทาน (ทานแก่ผู้เจ็บไข้)

ทุพภิกขทาน (ทานในยามมีทุพภิกขภัย)
และ
ทานคราวข้าวใหม่ มีผลไม้ใหม่ จัดให้แก่ท่านผู้มีศีลเป็นปฐม, ปัจจุบันนี้ มักใช้ในความหมายว่าทานที่ให้ได้เฉพาะภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่มีการให้นอกเวลา หรือนอกเทศกาล เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไป ทำไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ ่ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์,

กิเลส ๑๐ (ในบาลีเดิม เรียกว่า กิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ,

กิเลสพันห้า (กิเลส ๑,๕๐๐) เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์รุ่นหลังจากพระไตรปิฎก เริ่มปรากฏในชั้นอรรถกถา ซึ่งกล่าวไว้ทำนองเป็นตัวอย่าง โดยระบุชื่อไว้มากที่สุดเพียง ๓๓๖ อย่าง ต่อมาในคัมภีร์ชั้นหลังมาก อย่างธัมมสังคณีอนุฎีกา จึงแสดงวิธีนับแบบต่างๆ ให้ได้ครบจำนวน เช่น กิเลส ๑๐ * อารมณ์ ๑๕๐ = ๑,๕๐๐ (อารมณ์ ๑๕๐ ได้แก่ อรูปธรรม ๕๗ และรูปรูป ๑๘ รวมเป็น ธรรม ๗๕ เป็นฝ่ายภายใน และฝ่ายภายนอก ฝ่าย ละเท่ากัน รวมเป็น ๑๕๐)

อนึ่ง ในอรรถกถา ท่านนิยมจำแนก กิเลส เป็น ๓ ระดับ ตามลำดับขั้นของการละด้วยสิกขา ๓ (เช่น วินย.อ.1/22 ฯลฯ) คือ

๑. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย และวาจา เช่น เป็นกายทุจริต และวจีทุจริต ละด้วย ศีล (อธิศีลสิกขา)

๒. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ ๕ ในกรณีที่จะข่มระงับไว้ ละด้วยสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๓. อนุสัยกิเลส กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันยังไม่ถูกกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ได้แก่ อนุสัย ๗ ละด้วยปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

ทั้งนี้ บางแห่งท่านแสดงไว้โดยอธิบายโยงกับพระไตรปิฎก คือ กล่าวว่า อธิศีลสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระวินัยปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละวีติกกมกิเลส, อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระสุตตันตปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละปริยุฏฐานกิเลส, อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระอภิธรรมปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละอนุสัยกิเลส

กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

กิเลสธุลี ธุลีคือกิเลส, ฝุ่นละอองคือกิเลส

กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสวัฏฏ์ วนคือกิเลส, วงจรส่วนกิเลส, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน

กัมมวัฏฏ์ วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏ์ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2016, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดี คือ เกิดจากกุศลมูล

กรรมบถ “กรรมอันเป็นทาง” กรรมดีหรือกรรมชั่ว ซึ่งแรงถึงขั้นที่เป็นทางให้เกิดในสุคติหรือทุคติ เช่น มุสาวาท คือ เจตนาพูดเท็จถึงขั้นทำลายตัดรอนประโยชน์ของผู้อื่น (เช่นเป็นพยานเท็จ) จึงเป็นกรรมบถ

ถ้าไม่ถึงขั้นอย่างนี้ ก็เป็นกรรมเท่านั้น ไม่เป็นกรรมบถ,

มีคำอธิบายแบบครอบคลุมด้วยว่า กรรมทั้งหลายทั่วไป ชื่อว่าเป็นกรรมบถ เพราะเป็นทางแห่งสุคติ และทุคติ และเป็นทางแห่งความสุขความทุกข์ของผู้ที่เกิดในคตินั้นๆ, กรรมบถ แยกเป็น กุศลกรรมบถ ๑๐ และอกุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ทางแห่งความดี, ทำทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ

ก. กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี - เว้นจากทำลายชีวิต ๒. อทินนาทานา เวรมณี - เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี - เว้นจากประพฤติผิดในกาม

ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่

๔. มุสาวาท เวรมณี - เว้นจากพูดเท็จ ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี - เว้นจากพูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี - เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อนภิชฌา - ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. อพยาบาท - ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบตามคลองธรรม เทียบอกุศลกรรมบถ ดูกรรมบถ

กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

กุศลบุญจริยา ความประพฤติที่เป็นบุญเป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

กุศลมูล รากเหง้าของกุศล ต้นเหตุของความดี มี ๓ อย่าง คือ ๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ) ๒. อโทสะ ไม่คิประทุษร้าย (เมตตา) ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา) เทียบ อกุศลมูล

กุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นกุศล , ความนึกคิดที่ดีงาม มี ๓ คือ ๑ เนกขัมมวิตก - ความตรึกปลอดจากกาม ๒. อพยาบาทวิตก - ความตรึกปลอดจากพยาบาท ๓. อวิหิงสาวิตก - ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2016, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกตุมาลา รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า

เกษม ปลอดภัย, พ้นภัย, สบายใจ

เกษมจากโยคธรรม ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียบแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก

โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตราย หรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย, ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก

โกลังโกละ “ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล” หมายถึงพระโสดาบัน ซึ่งจะต้องไปเกิดอีก ๒-๓ ภพ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต

โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นแค้น

โกสัชชะ ความเกียจคร้าน

กาสาวพัสตร์ ผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมน้ำฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ

กาลเทศะ เวลาและประเทศ, เวลาและสถานที่

กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในการประกอบกิจนั้นๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น (ข้อ ๕ ในสัปปริสธรรม ๗)

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

กุกกุจจะ ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่น ว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2016, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b27:
ขยันโพสต์มากค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2016, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายกรรม การกระทำทางกาย

๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา

๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่าง คือ

หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่

๑ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในปัจจุบันคือ ในภพนี้

๒. อุปปัชชเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า

๓. อปราปริยเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในภพต่อๆไป

๔. อโหสิกรรม - กรรมเลิกให้ผล

(อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งไม่ได้โอกาสที่จะให้ผลภายในเวลาที่จะออกผลได้ เมื่อผ่านล่วงเวลานั้นไปแล้ว ก็ไม่ให้ผลอีกต่อไป (อโหสิกรรมนี้ ความจริงเป็นคำสามัญ แปลว่า "กรรมได้มีแล้ว" แต่ท่านนำมาใช้เป็นคำศัพท์เฉพาะในความหมายว่า "มีแต่กรรมเท่านั้น วิบากไม่มี" ดูวิสุทธิ. 3/223 ย่อจาก ขุ.ปฏิ. 31/523/414 มิใช่แปลว่า เลิกให้ผล หรือให้ผลเสร็จแล้ว อย่างที่แปลแบบให้เข้าใจกันง่ายๆ ตามสำนวนที่เคยชิน)

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่

๕. ชนกกรรม - กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด

๖. อุปัตถัมภกกรรม - กรรมสนับสนุน คือ เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม

๗. อุปปีฬกกรรม - กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาลงหรือสั้นเข้า

๘. อุปฆาตกกรรม - กรรมตัดรอน คือ กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่

๙. ครุกรรม - กรรมหนักให้ผลก่อน

๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม - กรรมทำมากหรือกรรมชินให้ผลรองลงมา

๑๑. อาสันนกรรม - กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มีสองข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น

๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม - กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2017, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม

แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
ว่าโดยสาระ กรรมก็คือเจตนา หรือเจตนานั่นเองเป็นกรรม,

การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว
เทียบกิริยา

กิริยา 1. การกระทำ หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงอย่างกว้างๆ หรืออย่างเป็นกลางๆ ถ้าเป็น "กิริยาพิเศษ" คือ เป็นการกระทำ ซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ก่อให้เกิดวิบาก ก็เรียกว่า กรรม,
การกระทำ ซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่ก่อวิบาก เช่น การกระทำของพระอรหันต์ ไม่เรียกว่า กรรม แต่เป็นเพียงกิริยา (พูดให้สั้นว่า เจตนาที่ก่อวิบาก เป็นกรรม, เจตนาที่ไม่ก่อวิบาก ถ้าไม่ใช่เป็นวิบาก ก็เป็นกิริยา)

2. ในภาษาไทย มักหมายถึงอาการแสดงออกทางกายในเชิงมารยาท บางทีใช้ควบคู่กันว่า กิริยามารยาท 3. ในทางไวยากรณ์ ได้แก่ คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนาม หรือสรรพนาม, ในไวยากรณ์ไทย บางทีกำหนดให้ใช้รูปสันสกฤตว่า กริยา แต่ในบาลีไวยากรณ์ โดยทั่วไป ใช้รูปบาลี คือ กิริยา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร