วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจชีวิต ตอน ชีวิตคืออะไร ? ที่ ๒ ลิงค์นี้แล้ว

viewtopic.php?f=1&t=52543


viewtopic.php?f=1&t=52608


และกับตอน ชีวิตเป็นอย่างไร ที่นี่แล้ว (ยาวลงพอเห็นเค้า)

viewtopic.php?f=1&t=52626



หัวข้อนี้ ตอน ชีวิตเป็นไปอย่างไร ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตเป็นไปอย่างไร ?

ปฏิจจสมุปบาท การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆจึงเกิดมี

ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

ฐานะและความสำคัญ

ปฏิจจสมุปบาท แปลพอให้ได้ความหมายในเบื้องต้นว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายโดยอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น หรือการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมา

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย

พุทธพจน์แสดงปฏิจจสมุปบาทในรูปของกฎธรรมชาติว่า ดังนี้

"ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คืออิทัปปัจจยตา"

"ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่าย และจึงตรัสว่า จงมาดูสิ"

"เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ"

"ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา คืออิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมานี้แล เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท"


ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จะเห็นได้จากพุทธพจน์ว่า

"ผู้ใด เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นปฏิจจสมุปบาท"

"ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกตามที่มันเป็นอย่างนี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่าเป็นผู้มีทิฏฐิสมบูรณ์ ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ ก็ได้ ผู้ลุถึงสัทธรรมนี้ ก็ได้ ว่าผู้ประกอบด้วยเสขณาณ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชา ก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้ว ก็ได้ พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะ ก็ได้"

"สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดทางดำเนินถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรแก่การยอมรับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่า ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทวนช่วงนี้อีกที

มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท

ความจริง ธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่ หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ
ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายศัพท์ข้างบน (กันโฮฮับนำไปด้นเดาเอาเอง) :b1:


อิทัปปัจจยตา เป็นชื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท แปลตามตัวอักษรว่า การประชุมปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ หรือ ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย ในคัมภีร์ชั้นรองลงมา บางทีเรียกอีกชื่อหนึ่่่่่่่่่่่่่งว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย

ตถตา ภาวะที่เป็นอย่างนั้น

อวิตถตา ภาวะที่่ไม่คลาดจากการเป็นอย่างนั้น

อนัญญถตา ภาวะที่่ไม่เป็นอย่างอื่น

(ตถตา เป็นต้นนี่ ก็ได้แก่ อริยสัจ ๔ นั่นเอง)

อาลัย ความผูกพัน ความยึดถือ สิ่งที่ติดเพลิน สภาพพัวพันอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก

............

เมื่อรู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทก็รู้เข้าใจเข้าถึงอริยสัจ ๔ เมื่อรู้อริยสัจเข้าถึงอริยสัจ ๔ ก็เข้าใจปฏิจจสมุปบาท เมื่อเข้าถึงเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ก็รู้เข้าใจไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะเคยมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์ และได้ตรัสว่าตอบ ดังนี้

"น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลย พระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ"


"อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง จึงขมวดเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ไปไม่ได้"


ผู้ศึกษาพุทธประวัติแล้ว คงจำพุทธดำริเมื่อครั้งตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนเสด็จออกประกาศพระศาสนาได้ว่า ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงประกาศธรรม ดังความในพระไตรปิฎกว่า


"ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้"

"ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย ยืนดีอยู่ในอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัย สำหรับหมู่ประชาผู้เริ่งรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัยเช่นนี้ ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท

"แม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน

"ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ่งต่อเรา ข้อนั้น ก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา"
(วินย. 4/7/8 ม.มู.12/321/323)


พุทธดำริตอนนี้ กล่าวถึงหลักธรรม ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นการย้ำทั้งความยากของหลักธรรมข้อนี้ และความสำคัญของหลักธรรมนี้ ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และจะทรงนำมาสั่งสอนแก่หมู่ประชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรรก ตรรกะ (ตักกะ) ความตรึก, ความคิด

ตถตา ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎ ปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตา


อุปธิ สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส, ๑. ร่างกาย ๒. สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร

อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ
๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป
๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 15:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.พ. 2015, 21:06
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง



ตามที่คุณสุชาวดีคิด มีตัวอย่างเทียบ

อ้างคำพูด:
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก ทีนี้ก็จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย


ส่ิ่งที่คนเราได้กระทำในแต่ละวันๆ ทั้งชีวิต ทางกาย (กายกรรม) บ้าง ทางวาจา (วจีกรรม) บ้าง ทางใจ (มโนกรรม) บ้าง มีทั้งกุศลเจตนา อกุศลเจตนา (กิเลส กรรม วิบาก = วัฏฏะ 3) สำเร็จแล้ว ผลแห่งการกระทำมันก็หมกๆตกตะกอนอยู่ในใจ (อนุสัย)
เมื่อมีเหตุปัจจัยให้มันโผล่มันก็โผล่ขึ้นทำให้เดือนร้อนใจ ถ้าเป็นผลแห่งการกระทำสิ่งดีๆ มันก็โผล่ขึ้นมาให้ชื่นใจ

นี่คือชีวิตที่คนเรายืมธรรมชาติมาใช้ ใช้ในนามส่วนตัว ต่างคนต่างใช้ บางคนใช้ดีทะนุถนอม ใช้อย่างรู้คุณค่าของชีวิต ใช้ไปทางสุจริต บางคนใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ใช้ไปทำทุจริต ใช้จนลืมตาย ใช้จนตัว ตาย มองกว้างมองออกไปในสังคมมนุษย์จะเห็นชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงหลักให้สังเกตอีกหน่อย (โยงให้ถึงอริยสัจ ๔ ด้วย)


ตัวบทและแบบความสัมพันธ์ ในหลักปฏิจจสมุปบาท

พุทธพจน์ ที่เป็นตัวบทแสดงหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น แยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ที่แสดงเป็นกลางๆ ไม่ระบุชื่อหัวข้อปัจจัย อย่างหนึ่ง กับที่แสดงเจาะจงระบุชื่อหัวข้อปัจจัยต่างๆ ซึ่งสืบทอดต่อกัน โดยลำดับเป็นกระบวนการ อย่างหนึ่ง

อย่างแรก มักตรัสไว้นำหน้าอย่างหลัง เป็นทำนองหลักกลาง หรือหลักทั่วไป ส่วนอย่างหลัง พบได้มากมาย และส่วนมากตรัสไว้ล้วนๆ โดยไม่มีอย่างแรกอยู่ด้วย อย่างหลังนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นหลักแจงหัวข้อ หรือขยายความ เพราะแสดงรายละเอียดให้เห็น หรือเป็นหลักประยุกต์ เพราะนำเอากระบวนการธรรมชาติมาแสดงให้เห็นความหมายตามหลักทั่วไปนั้น

อนึ่ง หลักทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างแบ่งออกได้เป็น ๒ ท่อน คือ ท่อนแรกแสดงกระบวนการเกิด ท่อนหลังแสดงกระบวนการดับ เป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ๒ นัย

ท่อนแรกที่แสดงกระบวนการเกิด เรียกว่า สมุทัยวาร และถือว่าเป็นการแสดงตามลำดับ จึงเรียกว่าอนุโลมปฏิจจสมุปบาท เทียบในอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ คือ ทุกขสมุทัย

ท่อนหลังแสดงกระบวนการดับ เรียกว่า นิโรธวาร และถือว่าเป็นการแสดงย้อนลำดับ จึงเรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท เทียบในอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ คือ ทุกขนิโรธ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


แสดงตัวบททั้ง ๒ อย่าง ดังนี้

๑) หลักทั่วไป

ก. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

อิมสฺสุปปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ข. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)


๒) หลักแจงหัวข้อ หรือ หลักประยุกต์

ก. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะะจึงมี

ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้


ข. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ

สงฺขารนิโรโธ สังขารจึงดับ

สงฺขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฌนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ย่อมดับ

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้


ขอให้สังเกตว่า คำสรุปปฏิจจสมุปบาทนี้ บ่งว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้น และดับไปแห่งความทุกข์ ความข้อนี้ เป็นคำสรุปส่วนมากของหลักปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏในที่ต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับแต่สาระ ปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นการแสดงกระบวนการเกิดทุกข์ กับ กระบวนการดับทุกข์ พอแล้ว :b1: รายละเอียดปลีกย่อย พื้นฐานทางภาษาบาลีต้องมี ถ้าไม่มีก็ :b32: ก็แบบพี่โฮของน้องๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



ศาสนาแมวเกิดแล้วที่นี่ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=52497


ศาสนาโฮฮับก็เกิดแล้วที่นี่ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=52642&start=30


ศาสนาแมวก็ของแมวชัด เช่นการผสมพันธ์แบบแมวๆ

ส่วนศาสนาโฮฮับเป็นลูกครึ่งลูกผสม คือว่า เอาศัพท์ทางศาสนาเค้ามาใช้แล้ว ตัวเองมาบัญญัติความหมายใหม่ (พูดไปเสียใหม่) จึงเรียกลูกครึ่งลูกผสม มีโฮฮับเป็นศาสดา คิกๆๆ :b32:

เจริญพวงล่ะทีนี้ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



พุทธศาสนิกชนในเมืองไทย มีไม่น้อยที่เข้าใจว่า การงานที่ทำๆกันอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่ธรรมะ เป็นโลกียะ โลกกีแยะอะไรของเขาไม่รู้ :b32: พูดแล้วขำ

มาดูคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะกันเป็นอุทาหรณ์

viewtopic.php?f=1&t=52201


พุทธพจน์ที่ตรัสสอนในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์มาดูเป็นตัวอย่าง

“ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก สามจำพวกไหน ? คือคนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา”

บุคคลตาบอดเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน กับทั้งไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด

บุคคลตาเดียวเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว

บุคคลสองตาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน อีกทั้งมีดวงตาชนิดที่ช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่าบุคคลสองตา

“คนตาบอด ตาเสีย มีแต่กาลีเคราะห์ร้ายทั้งสองทาง คือโภคทรัพย์อย่างที่ว่า ก็ไม่มี คุณความดี ก็ไม่ทำ

“อีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่าตาเดียว เที่ยวเสวงหาแต่ทรัพย์ถูกธรรมก็เอา ผิดธรรมก็เอา ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมยคดโกง หรือโกหกหลอกลวงก็ได้ เขาเป็นคนเสวยกามที่ฉลาดสะสมทรัพย์ แต่จากนี้ ไปนรก คนตาเดียวย่อมเดือดร้อน

“ส่วนคนที่เรียกว่าสองตา เป็นคนประเสริฐ ย่อมแบ่งปันทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยความขยัน จากกองโภคะที่ได้มาโดยชอบธรรม ออกเผือแผ่ มีความคิดสูง ประเสริฐ มีจิตใจแน่วแน่ ย่อมเข้าถึงสถานะดีงาม ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก

“พึงหลีกเว้นคนตาบอดและคนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบหาแต่คนสองตา ผู้ประเสริฐ”

(องฺ.ติก.20/468/162)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สุชาวดี เขียน:
:b8: :b8: :b8: ธรรมของพระพุทธองค์งดงาม(สุชาวดีเป็นคนหัวช้าอ่านและจำได้น้อยๆยังซึมซาบขนาดนี้) ตามความเห็นแล้ว ชีวิตนี้น่ากลัวมากๆค่ะ ไม่รู้เคยทำอะไรไว้บ้าง แม้แต่ การที่จะเจอการ เจ็บ ป่วย ตาย ทำได้คือหาทางพึ่งพาให้ทุกข์ทรมารน้อยลง


ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ครับ มันเป็นเนื้อหาในตำราเรียนของเด็ก ที่พ่อแม่จับบวช
เพราะไม่มีทุนให้เรียนแบบเด็กชาวบ้านทั่วไปครับ

ตำราที่ว่าแต่งโดยท่านปยุต พระนักวิชาการที่แต่งตำราให้กับวิทยาลัยสงฆ์
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมหรอกครับ

ใครเรียนดีก็ได้ชื่อเสียงหน้าตา พวกเปรียญทั้งหลายส่วนใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งพัดยศ
เป็นหน้าเป็นตาให้วงศ์ตระกูล......เรื่องทางโลกียะทั้งนั้นครับ :b13:



แม้แต่สัมมาทิฏฐิ ยังมีสองอย่าง คือโลกียสัมมาทิฏฐิ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ชาวพุทธแยกออกเข้าใจชัดไหม นี่ปัญหาความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าในสังคมพุทธปัจจุบัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร