ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52603
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 16:03 ]
หัวข้อกระทู้:  ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

กล่าวถึงกันบ่อยเหมือนกัน :b1:

รูปภาพ



เลือกที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว :b14: ดูแล้วโยงให้ถึงอริยสัจจ์ด้วย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 16:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด) การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม , สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา,

มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้

๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี

๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

๗.เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

๘.ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี

๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี

๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม

เอวมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 16:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ปฏิจจสมุปบาทที่ธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กันไปตามลำดับอย่างนี้ แสดงทุกขสมุทัย คือ ความขึ้นแห่งทุกข์ จึงเรียกว่า สมุทัยวาร (พึงสังเกตว่า คำว่า สมุปบาท กับ สมุทัย มีความหมายเหมือนกันว่า ความเกิดขึ้นพร้อม) เมื่อทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้


การที่จะดับทุกข์ ก็คือดับธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ดังนั้น ท่านจึงแสดงกระบวนธรรมแบบที่ตรงข้ามไว้ด้วย คือ ปฏิจจสมุปบาทที่ธรรมอันเป็นปัจจัยดับต่อๆกันไป (เริ่มตั้งแต่ว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ) เป็นการแสดงทุกขนิโรธ คือ ความดับแห่งทุกข์ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบ นิโรธวาร

ปฏิจจสมุปบาทนี้ บางทีเรียกชื่อเต็มเป็นคำซ้อนว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท (ภาวะที่อันนี้ๆ มีเพราะอันนี้ๆเป็นปัจจัย หรือประชุมแห่งปัจจัยเหล่านี้ๆ กล่าวคือการที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม)

ในคัมภีร์ท้ายๆ ของพระสุตตันตปิฎก และในพระอภิธรรมปิฎก มีคำเรียกปฏิจจสมุปบาท เพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ (อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน) เนื่องจากปฏิจจสมุปบาทแสดงอาการที่ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันต่อเนื่องไปเป็นวงจร หรือหมุนเป็นวงวน และเมื่อมองต่อขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ก็เห็นสภาพชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เร่ร่อนว่ายวนเวียนไปในภพภูมิต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ก็ได้เกิดมีคำเรียกความเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทนั้นว่า “วัฏฏะ” (สภาพหมุนวน) บ้าง “สังสาระ” (การเที่ยวเร่ร่อนไป) บ้าง “สังสารวัฏฏ์” (วงวนแห่งการเที่ยวเร่ร่อนไป) บ้าง ตลอดจนคำในชั้นอรรถกถา ซึ่งบางทีเรียกปฏิจจสมุปบาท “ภวจักร” และ “สังสารจักร”


ในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าเองก็ตรัสไว้ว่าเป็นธรรมลึกซึ้งนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้พยายามชี้แจงโดยจัดองค์ ๑๒ ของปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นกลุ่มเป็นประเภทและเป็นช่วงๆ คือ องค์ที่ ๑ อวิชชา องค์ที่ ๘ ตัณหา และองค์ที่ ๙ อุปาทาน สามอย่างนี้เป็น กิเลส

องค์ที่ ๒ สังขาร และองค์ที่ ๑๐ ภพ สองอย่างนี้เป็น กรรม

องค์ที่ ๓-๗ วิญญาณ นามรูป สฬสยตนะ ผัสสะ เวทนา และองค์ที่ ๑๑-๑๒ ชาติ ชรามรณะ เจ็ดองค์นี้เป็น วิบาก

เมื่อมองตามกลุ่มหรือตามประเภทอย่างนี้ จะเห็นได้ง่ายว่า กิเลสเป็นเหตุให้ก่อกรรม แล้วกรรมก็ทำให้เกิดผลที่เรียกว่าวิบาก (แล้ววิบากก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส)

เมื่อมองความเป็นไปตลอดปฏิจจสมุปบาทครบทั้ง ๑๒ องค์ เป็นการหมุนวนหนึ่งรอบ ก็คือ ครบ ๑๒ องค์นั้น เป็นวัฏฏะ ก็จะเห็นว่าวัฏฏะนั้นแบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงกิเลส ช่วงกรรม และช่วงวิบาก

เมื่อวัฏฏะมีสามช่วงอย่างนี้ ก็จึงเรียกปฏิจจสมุปบาทว่าเป็น ไตรวัฏฏ์ (วงวนสามส่วน หรือวงวนสามซ้อน) ประกอบด้วย กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์


การอธิบายแบบไตรวัฏฏ์นี้ เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น อย่างน้อยในขั้นเบื้องต้น ต่อจากนั้น อธิบายลึกลงไป โดยแยกแยะอีกชั้นหนึ่งว่า ในรอบใหญ่ ที่ครบ ๑๒ องค์นั้น มองให้ชัดเจนจะเห็นว่า มีไตรวัฏฏ์ต่อกัน ๒ รอบ คือรอบที่ ๑ องค์ที่ ๑ อวิชชา เป็นกิเลส
องค์ที่ ๒ สังขารเป็นกรรม
องค์ที่ ๓-๗ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นวิบาก

รอบที่ ๒ องค์ที่ ๘ ตัณหา และองค์ที่ ๙ อุปาทาน เป็นกิเลส
องค์ที่ ๑๐ ภพ เป็นกรรม
องค์ที่ ๑๑-๑๒ ชาติ ชรามรณะ เป็นวิบาก


จากนั้น อธิบายต่อไปว่า องค์ที่เป็นกิเลส เป็น กรรม เป็นวิบาก ในรอบที่ ๑ มองดูแตกต่างกับองค์ที่เป็นกิเลส เป็นกรรม เป็นวิบาก ในรอบที่ ๒ แต่ที่จริง โดยสาระไม่ต่างกัน ความแตกต่างที่ปรากฏนั้น คือการพูดถึงสภาวะอย่างเดียวกัน แต่ใช้ถ้อยคำต่างกัน เพื่อระบุชี้องค์ธรรมที่ออกหน้ามีบทบาทเด่นเป็นตัวแดสงในวาระนั้น

ส่วนองค์ธรรมที่ไม่ระบุ ก็มีอยู่ด้วยโดยแฝงประกบอยู่ หรือถูกรวมเข้าไว้ด้วยคำสรุป หรือคำที่ใช้แทนกันได้ เช่น ในรอบ ๑ ที่ระบุเฉพาะอวิชชาเป็นกิเลสนั้น ที่แท้ตัณหา อุปาทาน ก็พ่วงพลอยอยู่ด้วย

ส่วนในรอบ ๒ ที่ว่าตัณหา อุปาทานเป็นกิเลสนั้น ในขณะที่ตัณหา อุปาทานเป็นเจ้าบทบาทออกโรงอยู่ ก็มีอวิชชาเบื้องหลังตลอดเวลา

ในรอบ ๑ ที่ยกสังขารขึ้นมาระบุว่าเป็นกรรม ก็เพราะเน้นที่การทำงาน

ส่วนในรอบ ๒ ที่ระบุว่าภพเป็น กรรม ก็เพราะจะให้มองที่ผลรวมของงานที่ทำคือกรรมภพ และชาติ ชรามรณะ

ที่ว่าเป็นวิบากในรอบ ๒ นั้น ก็หมายถึงการเกิดเป็นต้น ของวิญญาณ นามรูป ฯลฯ ที่ระบุว่าเป็นวิบากในรอบ ๑ นั่นเอง ดังนี้เป็นต้น

ดู ไตรวัฏฏ์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 16:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ความหมายองค์ธรรมสั้นๆแห่งปฏิจจสมุปบาท

๑. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ความเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

๒. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

๓. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

๔. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

๕.สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๖.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

๗.เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

๘. ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป อยากเลี่ยง สลาย หรือทำลาย

๙. อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ ใฝ่นิยม เทิดค่า การถือรวมเข้ากับตัว

๑๐.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

๑๑.ชาติ การเกิดมีตัวตนที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาทความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

๑๒. ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้น แห่งการที่ตัวได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ


โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้า เสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปมก่อปัญหาต่อๆไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 20:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓ วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วน ของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วยสังขาร ภพ ๓ วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส) คือ

กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบาก คือ ได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรง และมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือ

ในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร สังสารจักร หรือสังสารวัฏ

ไตรวัฎ ก็เขียน ดูปฏิจจสมุปบาท


นี่แหละ กฎแห่งกรรม ตามนัยพุทธธรรม ที่บ้านเรานำไปพูดกันนั้น จะอันนี้ไหม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 20:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างกรณีปลีกย่อยในชีวิตประจำวัน


ก. กับ ข. เป็นเพื่อนนักเรียนที่รักและสนิทสนมกัน ทุกวันมาโรงเรียน พบกันก็ยิ้มแย้มทักทายกัน วันหนึ่ง ก. เห็น ข. ก็ยิ้มแย้ม เข้าไปทักทายตามปกติ แต่ ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มด้วย ไม่พูดตอบ ก. จึงโกรธ ไม่พูดกับ ข. บ้าง ในกรณีนี้ กระบวนธรรมจะดำเนินไปในรูป ต่อไปนี้


๑. อวิชชา : เมื่อเห็น ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มตอบ ไม่พูดตอบ ก. ไม่รู้ความจริงว่าเหตุผลต้นปลายเป็นอย่างไร และไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ มีอารมณ์ค้างอะไรมาจากที่อื่น

๒. สังขาร: ก. จึงคิดนึกปรุงแต่งสร้างภาพในใจไปต่างๆ ตามพื้นนิสัย ตามทัศนคติ หรือตามกระแสความคิดที่เคยชินของตนว่า ข. จะต้องรู้สึกนึกคิดต่อตนอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเกิดความฟุ้งซ่าน โกรธ มีมานะ เป็นต้น ตามพื้นกิเลสของตน

๓. วิญญาณ: จิตของ ก. ขุ่นมัวไปตามกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาปรุงแต่งเหล่านั้น คอยรับรู้การกระทำและอากัปกิริยาของ ข. ในแง่ในความหมายที่จะมาป้อนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ในเวลานั้น เหมือนอย่างที่พูดกันว่า ยิ่งนึกก็ยิ่งเห็น ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นอย่างนั้น สีหน้ากิริยาท่าทางของ ข. ดูจะเป็นเรื่องที่กระทบกระทั่ง ไม่เสียทั้งนั้น

๔. นามรูป: ความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่างๆ ของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง คือทั้งกายและใจทั้งหมดของ ก. คล้อยไปด้วยกันในทางที่จะแสดงออกมาเป็นผลรวม คือ ภาวะอาการของคนโกรธ คนปั้นปึ่ง คนงอน เป็นต้น (สุดแต่สังขาร) พร้อมที่จะทำงานร่วมไปกับวิญญาณนั้น

๕. สฬายตนะ: อายตนะต่างๆ ของ ข. ที่เด่น น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น เช่น ความบูดบึ้ง ความกระด้าง ท่าทางดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ หรือเหยียดศักดิ์ศรี เป็นต้น

๗. เวทนา: รู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว หรือเหี่ยวแห้งใจ

๘. ตัณหา: เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้น ทำให้ไม่สบายใจนั้น พ้นหายอันตรธาน ถูกกด ถูกปราบ ถูกทำลายให้พินาศไปเสีย

๙. อุปาทาน เกิดความยึดติดผูกใจต่อพฤติกรรมของ ข. ว่าเป็นสิ่งเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับตน กระทบต่อตน เป็นคู่กรณีกับตน ซึ่งจะต้องจัดการเอากันอย่างใดอย่างหนึ่ง

๑๐.ภพ พฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อไปของ ก. ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทาน เกิดเป็นกระบวนพฤติกรรมจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สนองอุปาทานนั้น คือพฤติกรรมปฏิปักษ์กับ ข. (กรรมภพ) ภาวะชีวิตทั้งทางกายทางใจที่รองรับกระบวนพฤติกรรมนั้น ก็สอดคล้องกันด้วย คือเป็นภาวะแห่งความเป็นปฏิปักษ์ กับ ข. (อุปปัตติภพ)

๑๑. ชาติ: ก. เข้าสวมรับเอาภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักษ์นั้น โดยมองเห็นความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างตนกับ ข. ชัดเจนลงไป แยกออกเป็นเรา - เขา มีตัวตนที่จะเข้าไปกระทำและถูกกระทบกระแทกกับ ข.

๑๒. ชรามรณะ: ตัวตนที่เกิดขึ้นในภาวะปฏิปักษ์นั้น จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ ต้องอาศัยความหมายต่างๆ ที่พ่วงติดมา เช่น ความเก่ง ความสามารถ ความมีเกียรติ ความมีศักดิ์ศรี และความเป็นผู้ชนะ เป็นต้น ซึ่งมีภาวะฝ่ายตรงข้ามขัดแย้งอยู่ในตัว คือ ความด้อย ความไร้ค่า ไร้เกียรติ ความแพ้ เป็นต้น ทันทีที่ตัวตนนั้น เกิดขึ้น ก็ต้องถูกคุกคามด้วยภาวะขาดหลักประกัน ว่าตนจะได้เป็นอย่างอย่างที่ต้องการ และหากได้เป็น ภาวะนั้น จะยั่งยืนหรือทรงคุณค่าอยู่ได้ยาวนานเท่าใด คือ อาจไม่ได้เป็น ก. ในฐานะปฏิปักษ์ที่เก่ง ที่มีศักดิ์ศรี ที่ชนะแต่เป็นปฏิปักษ์ที่แพ้ ที่อ่อนแอ หรือที่ไม่สามารถรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความชนะไว้ได้ เป็นต้น ความทุกข์ในรูปต่างๆ จึงเกิดแทรกอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทุกข์จากความหวั่นกลัวว่าอาจจะไม่สมหวัง ความเครียดและกระวนกระวายในการดิ้นรนเพื่อให้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ต้องการ ตลอดจนความผิดหวัง หรือแม้สมหวังถึงที่แล้ว แต่คุณค่าของมันก็ต้องจืดจางไปจากความชื่นชม

ความทุกข์ในรูปต่างๆ เหล่านี้ ปกคลุมห่อหุ้มจิตใจให้หม่นหมองมืดมัว เป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่จะเริ่มต้น วงจรต่อไปอีก

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 มิ.ย. 2016, 20:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ต่อ


นอกจากนั้น ทุกข์เหล่านี้ยังเป็นเหมือนของเสียที่ระบายออกไปหมด คั่งค้างหมักหมมอยู่ในวงจรคอยระบายพิษออกไปรูปต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาต่อๆไป แก่ชีวิตทั้งของตนเอง และผู้อื่น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อๆไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขา ดังในกรณีของ ก. อาจใจไม่สบายขุ่นมัวไปทั้งวัน เรียนหนังสือและใช้ความคิดในวันนั้นทั้งหมดไม่ได้ผลดี พลอยให้แสดงกิริยาอาการไม่งาม วาจาไม่สุภาพต่อคนอื่นๆ เกิดความขัดแย้งกับคนเพิ่มขึ้นอีกหลายคน เป็นต้น

ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ไม่ทักตอบแล้ว ใช้ปัญญา จึงคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เช่น ถูกผู้ปกครองดุมา ไม่มีเงินใช้ หรือมีเรื่องกลุ้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ค้างอยู่ พอคิดอย่างนี้ ก็ไม่มีอะไรกระทบกระทั่งตัว จิตใจยังกว้างขวางเป็นอิสระ และกลับเกิดความกรุณา รู้สึกสงสารคิดช่วยเหลือ ข. อาจเข้าไปสอบถาม ปลอบโยน ช่วยหาทางแก้ปัญหา หรือให้โอกาสเขาที่จะอยู่สงบ เป็นต้น

แม้แต่เมื่อวงจรร้ายเริ่มขึ้นแล้ว ก็ยังอาจแก้ไขได้ เช่น วงจรหมุนไปถึงผัสสะ ได้รับรู้อาการกิริยาที่ไม่น่าพอใจของ ข. ทำให้ ก. เกิดทุกข์บีบคั้นใจขึ้นแล้ว แต่ ก. มีสติเกิดขึ้น แทนที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิภวตัณหาที่จะตามมาต่อไป ก็ตัดวงจรเสียโดยใช้ปัญญา พิจารณาข้อเท็จจริง และเกิดความรู้รับอย่างใหม่เกี่ยวกับการแสดงออกของ ข. คิดเหตุผลทั้งที่เกี่ยวกับการกระทำของ ข. และข้อควรปฏิบัติของตนเอง จิตใจก็จะหายบีบคั้นขุ่นมัว กลับปลอดโปร่ง และคิดช่วยเหลือแก้ไขทุกข์ของ ข. ได้อีก

ดังนั้น เมื่อปัญญาหรือวิชชาเกิดขึ้น จึงทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่เกิดตัวตนขึ้นมาให้ถูกกระทบกระแทก นอกจากจะไม่เกิดปัญหาสร้างทุกข์แก่ตนแล้ว ยังทำให้เกิดกรุณาที่จะไปช่วยแก้ปัญหาคลายทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วย
ตรงข้ามกับอวิชชา ซึ่งเป็นตัวชักนำเข้าสู่สังสารวัฏ ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน สร้างตัวตนขึ้นมาจำกัดตัวเองสำหรับให้ถูกกระทบกระแทกเกิดทุกข์เป็นปัญหาแก่ ตนเอง และมักขยายทุกข์ปัญหาให้แก่ผู้อื่นกว้างขวางออกไปด้วย

เพื่อให้มองเห็นหลักปฏิจจสมุปบาทรอบด้านมากขึ้น

- ในสถานการณ์จริง วงจรหรือกระบวนธรรมทั้งหมดที่กล่าวถึงในตัวอย่างข้างต้น เป็นไปได้อย่างรวดเร็วตลอดสายเพียงชั่วแวบเดียว เช่น
นักเรียนบางคนรู้ข่าวสอบตก คนรู้ข่าวการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก หญิงเห็นชายคนรักอยู่กับหญิงอื่น เป็นต้น เสียใจ มาก ตกใจมาก อาจเข่าอ่อนทรงตัวไม่อยู่ อาจร้องกรี๊ด หรืออาจเป็นลมล้มพับไปทันที ยิ่งความยึดติดถือมั่นเทิดค่าให้ราคารุนแรงเท่าใด ผลก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

- ขอย้ำอีกว่า ความเป็นปัจจัยในกระบวนธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปอย่างเรียงลำดับ

- การอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทมุ่งให้เข้าใจกฎธรรมดา หรือกระบวนธรรมรวมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมชาติเป็นสำคัญ เพื่อให้มองเห็นสาเหตุและจุดที่จะต้องแก้ไข ส่วนรายละเอียดของการแก้ไข หรือวิธีปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของปฏิจจสมุปบาทโดยตรง แต่เป็นเรื่องของมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา



อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ มุ่งความเข้าใจง่ายเป็นสำคัญ บางตอนจึงมีความหมายผิวเผิน ไม่ให้ความเข้าใจแจ่มแจ้งลึกซึ้งเพียงพอ โดยเฉพาะหัวข้อที่ยากๆ เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร และโสกะ ปริเทวะ ทำให้วงจรเริ่มต้นใหม่ เป็นต้น ตัวอย่างข้างบนที่แสดงในข้อ อวิชชา เป็นเรื่องที่มิได้เกิดขึ้นเป็นสามัญ ในทุกช่วงขณะของชีวิต ชวนให้เห็นไปได้ว่า มนุษย์ปุถุชนสามารถเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่มีอวิชชาเกิดขึ้นเลย หรือเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่หลักธรรมที่แสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตอย่างแท้จริง จึงเห็นว่า ควรอธิบายความหมายลึกซึ้งของบางหัวข้อที่ยากให้ละเอียดชัดเจนออกไปอีก

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 25 มิ.ย. 2016, 06:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

กรัชกาย เขียน:
กล่าวถึงกันบ่อยเหมือนกัน :b1:

รูปภาพ



เลือกที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว :b14: ดูแล้วโยงให้ถึงอริยสัจจ์ด้วย


ลูกศร..วงกลม..กลับไปที่อวิชชา...อีกแระ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 มิ.ย. 2016, 08:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กล่าวถึงกันบ่อยเหมือนกัน :b1:

รูปภาพ



เลือกที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว :b14: ดูแล้วโยงให้ถึงอริยสัจจ์ด้วย


ลูกศร..วงกลม..กลับไปที่อวิชชา...อีกแระ


มันวนไง วัฏฏะๆ เกิดดับ ดับเกิด ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 มิ.ย. 2016, 15:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

ในหลักที่แสดงเต็มรูปอย่างในที่นี้ องค์ประกอบทั้งหมดมีจำนวน ๑๒ หัวข้อ องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเป็นรูปวงเวียน ไม่มีต้น ไม่มีปลาย คือไม่มีตัวเหตุเริ่มแรกที่สุด (มูลการณ์ หรือ The First Cause)
การยกเอาอวิชชาตั้งเป็นข้อที่หนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า อวิชชาเป็น เหตุเบื้องแรก หรือเป็นมูลการณ์ของสิ่งทั้งหลาย แต่เป็นการตั้งหัวข้อเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ โดยตัดตอนยกเอาองค์ประกอบอันใดอันหนึ่ง ที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด ขึ้นมาตั้งเป็นลำดับที่ ๑ แล้วก็นับต่อไปตามลำดับ


บางคราวท่านป้องกันมิให้มีการยึดเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ โดยแสดงความเกิดของอวิชชาว่า "อวิชชาเกิด เพราะอาสวะเกิด อวิชชาดับ เพราะอาสวะดับ - อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย อาสวนิโรธา อวิชฺชานิโรโธ"


องค์ ประกอบ ๑๒ ข้อ ของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น (อวิชชา >สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ >เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ)
ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลส เมื่อมี ชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมมอาสวะ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก


ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูปอย่างนี้ (คือ ชักต้นไปหาปลาย) เสมอไป
การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัสในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้นด้วยข้อปัญหา มักตรัสในรูปย้อนลำดับ (คือ ชักปลายมาหาต้น) เป็น ชรามรณะ < ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา



.ในทางปฏิบัติเช่นนี้ การแสดงอาจเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดในระหว่างก็ได้ สุดแต่องค์ประกอบข้อไหนจะกลายเป็นปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เช่น อาจจะเริ่มที่ชาติ ที่เวทนา ที่วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเชื่อมโยงกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงชรามรณะ (ชักปลายไปหาปลาย)
หรือสืบสาวย้อนลำดับลงไปจนถึงอวิชชา (ชักปลายมาหาต้น) ก็ได้
หรืออาจเริ่มต้นด้วยเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่ชื่อใดชื่อหนึ่งใน ๑๒ หัวข้อนี้ แล้วชักเข้ามาพิจาณาตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ได้

โดยนัยที่กล่าวมา การแสดงปฏิจจสมุปบาท จึงไม่จำเป็นต้องครบ ๑๒ หัวข้ออย่างข้างต้น และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ตายตัวเสมอไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 26 มิ.ย. 2016, 16:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

รูปภาพ


ตถตา ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือ เป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎ ปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา

ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน, หมายถึงปฏิจจสมุปบาท

ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ, ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม มี ๓ ตามพระบาลีดังนี้

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง มิใช่เป็นตน. (ดูไตรลักษณ์ สามัญลักษณะ).


สามัญลักษณะ ลักษณะที่เป็นสามัญ คือ ร่วมกันหรือเสมอกัน, ลักษณะร่วม, ตรงข้ามกับ ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) เช่น ความชื่นรื่นใจ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ สุข
ความบีบคั้น เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ ทุกข์
แต่ทั้งสุขและทุกข์ เป็นเวทนา และในฐานะที่เป็นเวทนา จึงมีลักษณะร่วมกัน คือ มีสภาพเสพรู้สึก,

กว้างออกไปอีก สภาพเสพรู้สึก เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ เวทนา
สภาพจำได้หมายรู้ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ สัญญา
แต่ทั้งเวทนาและสัญญา เป็นสังขตธรรม และในฐานะที่เป็นสังขตธรรม จึงมีลักษณะร่วมกัน คือ เกิดมีแล้วก็ดับลับหายไม่เที่ยง ฯลฯ

พึงทราบว่า ปัจจัตตลักษณะ และ สามัญลักษณะ โดยเทียบเคียง และขยายออกไปๆอย่างนี้

สามัญลักษณะ ที่กล่าวถึงบ่อยและรู้จักกันมาก ได้แก่ สามัญลักษณะ ที่กว้างขวางครอบคลุม ๓ อย่าง ซึ่งมักมาด้วยกันเป็นชุด และนิยมเรียกว่า ไตรลักษณ์ กล่าวคือ

๑. อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) เป็น สามัญลักษณะ ของสรรพสังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง
๒. ทุกขตา (ความคงอยู่มิได้) เป็น สามัญลักษณะ ของสรรพสังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง
๓. อนัตตตา (ความเป็นสภาวะมิใช่ตน) เป็น สามัญลักษณะ ของสรรพธรรม คือ ธรรมทั้งปวง ทั้งสังขตธรรม และ อสังขตธรรม



กล่าวอีกสำนวนหนึ่งว่า ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยงเสมอเหมือนกันทั้งหมด
ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนคงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด
ทุกอย่างที่เป็นธรรมทั้งสังขตะ คือสังขาร และอสังขตะ คือวิสังขาร ล้วนไม่เป็นอัตตา มิใช่ตนเสมอกันทั้งสิ้น

ทั้งนี้ โดยประมวลขั้นสุดท้าย ในบรรดาธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น สังขตธรรม คือสังขารทั้งปวง มี สามัญลักษณะ ครบทั้ง ๓ อย่าง คือ ทั้งอนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา แต่เมื่อรวมอสังขตธรรม คือ วิสังขารด้วยเป็นสรรพธรรมแล้ว มีสามัญลักษณะ เพียงอย่างเดียว เฉพาะอนัตตตา

พึงทราบว่า ไตรลักษณะก็ดี สามัญลักษณะ ก็ดี (รวมทั้งปัจจัตตลักษณะ) เป็นคำที่เกิดมีและใช้ในชั้นอรรถกถาลงมา

แต่ในพระไตรปิฎก ลักษณะ ๓ อย่างนี้ ปรากฏในพุทธพจน์ว่าด้วยธรรมนิยาม ๓ (ธมฺมนิยามตา) คือ
ธมฺมนิยามตา ที่ ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
ธมฺมนิยามตา ที่ ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
ธมฺมนิยามตาที่ ๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญา มีลักษณะจำได้ เป็นต้น

ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้
๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน

(คนไทยนิยมพูดสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์ ลักษณะทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด
ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะ คือ สังขาร และอสังขตะ คือ วิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ
ลักษณะเหล่านี้ เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม ในพระไตรปิฎก หลักนี้ชื่อว่า ธมฺมนิยามตา

ส่วนไตรลักษณ์และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

เจ้าของ:  Rosarin [ 29 มิ.ย. 2016, 14:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

กรัชกาย เขียน:
ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓ วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วน ของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วยสังขาร ภพ ๓ วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส) คือ

กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบาก คือ ได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรง และมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือ

ในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร สังสารจักร หรือสังสารวัฏ

ไตรวัฎ ก็เขียน ดูปฏิจจสมุปบาท


นี่แหละ กฎแห่งกรรม ตามนัยพุทธธรรม ที่บ้านเรานำไปพูดกันนั้น จะอันนี้ไหม

Kiss
อ้างคำพูด:
กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก

Kiss
:b12:
เดี๋ยวนี้เองที่กำลังไม่รู้การเกิดดับทางตา หู จมูก ลิ่น กาย ใจ เกิดวัฏฏวนแล้วค่ะ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่ได้หมายความว่าให้เรามีตัวตนไปกระทำการอันใดๆเลยค่ะ
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้เข้าใจความจริงตอนกำลังฟัง
ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เป็นกิเลสความไม่รู้ที่ทำให้หลงติดข้องในความมีตัวตนให้รู้ตัว
และความรู้ตัวนั้นแหละจะระลึกตามได้ตรงความจริงที่กำลังปรากฏ
ไตร่ตรองสิ่งที่ไม่รู้ของเดิมกับสิ่งใหม่ที่รู้เพิ่มแล้วไม่รู้นั้นก็จะเริ่มละไม่รู้
ความละอายที่จะไม่รู้จึงฟังให้มากขึ้นนั่นเองคือละชั่วเลือกสิ่งที่ถูกคือทำดี
เมื่อฟังจนกระทั่งจดจำสิ่งที่ถูกต้องตามคำสอนได้ชัดเจนความไม่รู้ก็หายไปค่ะ
เกิดเป็นความรู้ที่มั่นคงตั้งมั่นอยู่ในจิตเพียรรู้ในจิตว่าไม่มีตัวตนที่จะไปทำสิ่งใด
แต่เป็นการเพิ่มความรู้จากการฟังคำของพระองค์จึงทำให้จิตใจเกิดความเบิกบานขึ้น
กิเลสคือไม่รู้ ต้องฟังให้รู้ตามเพื่อให้เกิดปัญญา ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
พึ่งพระรัตนตรัยคือพึ่งการฟังพระพุทธพจน์เพื่อให้จิตมีสัญญาจำในสิ่งที่ถูกตรงตามคำสอนค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=0v_FTmgLEVE
:b4: :b4:

เจ้าของ:  asoka [ 30 มิ.ย. 2016, 00:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

smiley
ดู
:b38:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 30 มิ.ย. 2016, 03:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด)

กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กล่าวถึงกันบ่อยเหมือนกัน :b1:

รูปภาพ



เลือกที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว :b14: ดูแล้วโยงให้ถึงอริยสัจจ์ด้วย


ลูกศร..วงกลม..กลับไปที่อวิชชา...อีกแระ


มันวนไง วัฏฏะๆ เกิดดับ ดับเกิด ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


ปฏิจจสมุปบาท..อวิชชาเป็นปัจจัย....สังขารจึงมี...

มรณะ...เป็นปัจจัยยังงัยรึ..จึงวนกลับไปที่อวิชชา..??

:b32: :b32: :b32:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/