วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2016, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน


๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน


๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

สุญตา ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน


๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน


๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

สุญตา ก็เขียน

Kiss
:b1:
นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข
นิพพานังปรมัง สุญญัง นิพพานไม่สูญ
:b8:
แต่ขอถามค่ะ
อ้างคำพูด:
สุญญตาความเป็นสภาพสูญ

:b12: กับ
อ้างคำพูด:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

:b16: และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน ตามที่เขียนข้างล่าง
อ้างคำพูด:
๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน

ในเมื่อนิพพานไม่สูญ แต่ทำไมการมีสุญญตาเป็นแบบนี้ "ความเป็นสภาพสูญ"
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน


๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน


๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

สุญตา ก็เขียน

Kiss
:b1:
นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข
นิพพานังปรมัง สุญญัง นิพพานไม่สูญ
:b8:
แต่ขอถามค่ะ
อ้างคำพูด:
สุญญตาความเป็นสภาพสูญ

:b12: กับ
อ้างคำพูด:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

:b16: และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน ตามที่เขียนข้างล่าง
อ้างคำพูด:
๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน

ในเมื่อนิพพานไม่สูญ แต่ทำไมการมีสุญญตาเป็นแบบนี้ "ความเป็นสภาพสูญ"
:b17: :b17:



คุณโรสลืมสูญๆๆ ตามที่เราคิดมาแต่เดิมก่อน แล้ว ไปดู "สูญ" ในความหมายของเขา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสชอบฟัง ทดลอง ฟัง อ.เสถียร โพธินันทะ อธิบายความหมาย สูญญตาบ้าง

เปลี่ยนให้ใหม่ :b1:

https://www.youtube.com/watch?v=QkPq3JeYy3E

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ค. 2016, 08:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายเอาอะไรมา..มีสแปมด้วยรึ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกายเอาอะไรมา..มีสแปมด้วยรึ?



เปิดแล้วมีอาการยังไงอ่ะ สแปม สะปามอะไรที่กบว่าเนี่ย ก็เปิดได้นี่เนี่ย :b10:

(038 สูญญาตาในลัทธิมหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ )

คุณโรสลองคลิกดูสิครับ มีอาการยังไง ช่วยบอกด้วย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรสชอบฟัง ทดลอง ฟัง อ.เสถียร โพธินันทะ อธิบายความหมาย สูญญตาบ้าง

http://phimhay.mobi/watch/lrzejk4DOw8/default.html

:b1:
เปิดไม่ได้อาจติดไวรัส ลองหาในพี่กูเกิ้ลใหม่ดูค่ะ
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สูญ "ว่างเปล่า" หายสิ้นไป, ในทางธรรม "สูญ" มีความหมายหลายแง่หลายระดับ พึงศึกษาในคำว่า สุญญตา และพึงแยก จากคำว่า "ขาดสูญ" ซึ่งหมายถึง อุจเฉทะ ซึ่งพึงศึกษาในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ


อ่าน

สุญญตา และ จิตว่างในพุทธศาสนา (อ.เสถียร โพธินันทะ)


http://www.sookjai.com/index.php?topic=3131.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟัง อ.เสถียร โพธินันทะ อธิบาย ความหมาย สุญตาแล้ว ซึ่งอ้างคาถานี่ด้วย

“พระอาทิตยพันธุ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือนฟองแม่น้ำ สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้นด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า พระผู้ทรงปัญญาดังผืนแผ่นดิน ทรงปรารภร่างกายนี้แล้ว ทรงแสดงการละธรรม ๓ อย่าง (โลภะ โทสะ โมหะ หรือตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ไว้”


ถ้าเข้าใจอนัตตาดีแล้ว ก็เข้าใจสุญตาด้วย สุญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญตาก็อันนั้น
ถ้าไม่เข้าใจอนัตตาแล้วก็อย่าไปรู้อย่าไปยุ่งกับความหมายเหล่านี้เลย เข้าใจผิดเปล่าๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีคาถาความต่างระหว่างสมมติ กับ ปรมัตถ์ ที่ท่านอ้างอิงด้วย


หลักของสูญญตา อ.เสถียร โพธินันทะ

https://www.youtube.com/watch?v=QkPq3JeYy3E

ในแง่ปฏิบัติ คือความรู้เท่าทันสมมติและเข้าใจปรมัตถ์ แล้วรู้จักใช้ภาษา เป็นเครื่องมือสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดในสมมติเป็นทาสของภาษา ดังบาลีที่เป็นพุทธพจน์ เช่น

"ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ....จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น" (สํ.ส.15/65/21)

"เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด" (ที.สี.9/312/248)

อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์บรรยายลักษณะของพระสูตร (สุตตันตปิฏก) ว่าเป็นโวหารเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยโวหาร คือ ใช้ภาษาสมมติ

ส่วนพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยปรมัตถ์ คือ กล่าวตามสภาวะแท้ๆ (วินย.อ.1/21...) นี้เป็นข้อสังเกตเพื่อประดับความรู้อย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแห่งหนึ่งที่อ้างอิง



ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ตามปกติจะไม่ได้สอนข้อธรรมลึกๆ แก่คฤหัสถ์ทั่วไปเหมือนอย่างที่สอนแก่พระสงฆ์ที่มุ่งเข้ามาศึกษาโดยตรง แต่ในหมู่มหาชนนอกจากภิกขุสังฆะนั้น ก็มีบางคนบางส่วนที่สนใจและก้าวไปมากในการศึกษาอย่างเป็นเรื่องเฉพาะตัวเฉพาะกลุ่มที่จะแสวงหา

ไม่ต้องดูอื่นไกล ขนาดอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ อุปถัมภ์พระศาสนากล่าวได้ว่ามาที่สุด และเป็นพระโสดาบัน กว่าจะได้ฟังธรรมหลักใหญ่ ก็ตอนเจ็บหนักนอนอยู่บนเตียงจวนจะสิ้นชีพ

เรื่องมีอยู่ว่า คราวนั้น พระสารีบุตร พร้อมด้วยพระอานนท์ติดตาม (เรียกว่าเป็นปัจฉาสมณะ) ไปเยี่ยมอนาถบิณฑิกเศรษฐี และได้ให้โอวาทแก่ท่านเศรษฐี โดยมีสาระสำคัญว่าไม่ควรเอาอุปาทานไปยึดติดถือมั่นต่อสิ่งทั้งหลาย ดังคำสรุปท้ายโอวาทว่า

ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า อารมณ์ใดก็ตาม ที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้แจ้งแก่ใจ ได้แสวงหา ได้คุ้นใจ เราจักไม่ยึดติดถือมั่นอารมณ์นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้เถิด

อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังโอวาทจบแล้ว ถึงกับร่ำไห้ และได้กล่าวว่า

...กระผมได้เข้ามาใกล้ชิดองค์พระศาสดาและพระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจมาเป็นเวลายาวนาน แต่กระนั้นก็ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาอย่างนี้เลย

พระอานนท์ตอบชี้แจงว่า

ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาอย่างนี้ ไม่สำแดงแก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์ จะสำแดงแต่แก่บรรพชิต

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทราบอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวขอร้องว่า

ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาอย่างนี้ จงสำแดงแก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์บ้างเถิด เพราะว่า กุลบุตรจำพวกมีกิเลสธุลีในดวงตาน้อยก็มีอยู่ แต่เพราะมิได้สดับธรรม ก็จะเสื่อมไป คนที่จะรู้เข้าใจธรรม จักมี

(ม.อุ.14/720-740)

หลังจากพระสารีบุตร และพระอานนท์กลับออกมาไม่นาน ท่านเศรษฐีก็ถึงแก่กรรม ละเข้าถึงดุสิตภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2016, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ฟัง อ.เสถียร โพธินันทะ อธิบาย ความหมาย สุญตาแล้ว ซึ่งอ้างคาถานี่ด้วย

“พระอาทิตยพันธุ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือนฟองแม่น้ำ สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้นด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า พระผู้ทรงปัญญาดังผืนแผ่นดิน ทรงปรารภร่างกายนี้แล้ว ทรงแสดงการละธรรม ๓ อย่าง (โลภะ โทสะ โมหะ หรือตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ไว้”


ถ้าเข้าใจอนัตตาดีแล้ว ก็เข้าใจสุญตาด้วย สุญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญตาก็อันนั้น
ถ้าไม่เข้าใจอนัตตาแล้วก็อย่าไปรู้อย่าไปยุ่งกับความหมายเหล่านี้เลย เข้าใจผิดเปล่าๆ

Kiss
รูป............อุปมาด้วย.......ต่อมน้ำ
เวทนา.......อุปมาด้วย.......ฟองน้ำ
สัญญา......อุปมาด้วย.......พยัพแดด
สังขาร......อุปมาด้วย.......ต้นกล้วย
วิญญาณ...อุปมาด้วย.......มายากล
เบจขันธ์ ย่อมปรากฏ เป็นของว่าง เป็นของเปล่า
มายากลยังมีผู้แสดงแต่จิตวิญญาณไม่มีแม้นายมายากล
:b8:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน


๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน


๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

สุญตา ก็เขียน

Kiss
:b1:
นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข
นิพพานังปรมัง สุญญัง นิพพานไม่สูญ
:b8:
แต่ขอถามค่ะ
อ้างคำพูด:
สุญญตาความเป็นสภาพสูญ

:b12: กับ
อ้างคำพูด:
สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

:b16: และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน ตามที่เขียนข้างล่าง
อ้างคำพูด:
๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน

ในเมื่อนิพพานไม่สูญ แต่ทำไมการมีสุญญตาเป็นแบบนี้ "ความเป็นสภาพสูญ"
:b17: :b17:



คุณโรสลืมสูญๆๆ ตามที่เราคิดมาแต่เดิมก่อน แล้ว ไปดู "สูญ" ในความหมายของเขา :b1:

cool
คิดถึงคุณกรัชกายอยู่น๊า คือยังไม่เคลีย์ ขอคำอธิบายขยายความชัดๆ ว่า
ลืมสูญๆๆ กับ สูญ อะไร ยังไง เพราะศึกษาแล้วคุณกรัชกายต้องอธิบายได้ค่ะ
ไม่ใช่ยกทฤษฎีและหลักการต่างๆมาอ้างอิงไว้มาก ขอแบบความเข้าใจล้วนๆค่ะ
:b11:
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร