วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน

ไม่ใช่!! การปฏิบัติทางจิตตามหลักของพุทธแท้ๆคือ การปฏิบัติตามหลักของ โพธิปักขิยธรรม
มันเป็นการปฏิบัติเพื่อละวางสังโยชน์ที่มากระทบกายใจของเรา มันไม่มีกำหนดเป็นระยะเวลา



อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกายพูดแล้วมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจเสมอ

ตย.จงกรมแล้ว

อ้างคำพูด:
เดินจงกรมซักพัก แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้นความกลัวผุดขึ้น จิตมันก็เลยถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น

ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ?
ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป?


ผู้เริ่มปฏิบัติทางจิต นี่ไม่แปลกเลย เพราะการกำหนดรู้ ในการก้าวเดินไปแต่ละขณะๆยังไม่ชัด

แล้วเขาก็ตกจากขณะปัจจุบันแล้วด้วย ขณะเดิน เห็นเป็นยังงั้นปุ๊บ ต้องกำหนดปั๊บ เห็นหนอ เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป รู้สึกกลัว ปุ๊บ กำหนดกลัวหนอปั๊ป เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป


คุณโรสพอเข้าใจมั้ยขอรับ :b1: :b10:


เอาความมั่วมาถามคนอื่น(คุณโรส)ว่าเข้าใจมั้ย....กรัชกายนี่มันตลกดี
ทั้งตัวอย่างที่ยกมาและทั้งคนอธิบายความมันมั่วพอกัน

คำว่า"จงกรม" มันเป็นโวหารของคนที่ไม่รู้ธรรมเอามาใช้เพื่อเพิ่มความขลัง คนจะได้หลงเชื่อ
คือไอ้วิธีการ(จงกรม) มันเอามาใช้นอกลู่นอกทาง......ผิดหลักคำสอนที่มีบัญญัติไว้ในหลักแห่ง"มหาสติปัฏฐาน"

แท้จริงแล้วไอ้คำที่เรียกว่า"จงกรม"และวิธีการเดินจงกรมนั้น โดยหลักที่ถูกต้องท่านเรียกว่า...กายคตาสติ
"กายคตาสติ" เป็นลักษณะของ สมถสติปัฏฐาน ซึ่งสมถสติปัฏฐานเป็นบรรพหนึ่งของ ธัมมานุปัสสนาสติปักฐาน
หลักการและเนื้อหาของสมถสติปัฏฐานคือ......เจริญเพื่อละนิวรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกายพูดแล้วมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจเสมอ

ตย.จงกรมแล้ว

อ้างคำพูด:
เดินจงกรมซักพัก แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้นความกลัวผุดขึ้น จิตมันก็เลยถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น

ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ?
ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป?


ผู้เริ่มปฏิบัติทางจิต นี่ไม่แปลกเลย เพราะการกำหนดรู้ ในการก้าวเดินไปแต่ละขณะๆยังไม่ชัด

แล้วเขาก็ตกจากขณะปัจจุบันแล้วด้วย ขณะเดิน เห็นเป็นยังงั้นปุ๊บ ต้องกำหนดปั๊บ เห็นหนอ เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป รู้สึกกลัว ปุ๊บ กำหนดกลัวหนอปั๊ป เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป


คุณโรสพอเข้าใจมั้ยขอรับ :b1: :b10:

Kiss
:b32:
คนบ้าแล้วล่ะที่มองเท้าตนไม่เป็นเหตุปัจจัยของตนไม่มีตนเป็นที่พึ่งเพราะไม่รู้ค่ะ
แสดงความเห็นผิดว่ามีตัวตนเป็นเท้าเป็นข้างซ้ายข้างขวาตรงตามคำสอนไหมคะ
:b12:
ทุกอย่างเป็นธัมมะไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเป็นสภาพธรรมเกิดดับตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ
ถ้าเป็นเราไปกำหนดการเดินการยืนการนั่งการนอนเพื่อที่จะรู้ความจริงยังไงก็รู้ไม่ได้เป็นอกุศลจิต
:b1:
หนทางที่เป็นทางตรงที่สุดคือสร้างเหตุปัจจัยที่เป็นปัญญาก่อนให้มีความเห็นถูกเข้าใจถูกในคำสอน
ขณะที่ปัญญาเกิดไม่มีตัวตนเลยนั่นแหละปัญญานั้นเองจะปฏิบัติกิจของปัญญาตามกำลังโดยรู้เพื่อละ
ละความไม่รู้ก่อนอันดับแรกโดยการสะสมการฟังให้เกิดปัญญาต่อเนื่องทุกวันเพื่อให้สัญญาจำสิ่งที่ถูก
:b20: :b16:
onion onion onion


ถามจริงเป็นหุ่นยนต์หรือเปล่า เมื่อไรจะพูดจาประสาชาวบ้านครับ
พูดมาไม่ได้เนื้อได้น้ำ ใครเขาพูดอะไรก็ลอกเลียนเขามาพูด ถูกผิดก็ไม่รู้
ไม่รู้ว่าที่พูดตัวเองจะเข้าใจหรือเปล่า :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกายพูดแล้วมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจเสมอ

ตย.จงกรมแล้ว

อ้างคำพูด:
เดินจงกรมซักพัก แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้นความกลัวผุดขึ้น จิตมันก็เลยถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น

ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ?
ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป?


ผู้เริ่มปฏิบัติทางจิต นี่ไม่แปลกเลย เพราะการกำหนดรู้ ในการก้าวเดินไปแต่ละขณะๆยังไม่ชัด

แล้วเขาก็ตกจากขณะปัจจุบันแล้วด้วย ขณะเดิน เห็นเป็นยังงั้นปุ๊บ ต้องกำหนดปั๊บ เห็นหนอ เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป รู้สึกกลัว ปุ๊บ กำหนดกลัวหนอปั๊ป เดิน ซ้าย ย่าง หนอ เป็นต้นต่อไป


คุณโรสพอเข้าใจมั้ยขอรับ :b1: :b10:

Kiss
:b32:
คนบ้าแล้วล่ะที่มองเท้าตนไม่เป็นเหตุปัจจัยของตนไม่มีตนเป็นที่พึ่งเพราะไม่รู้ค่ะ
แสดงความเห็นผิดว่ามีตัวตนเป็นเท้าเป็นข้างซ้ายข้างขวาตรงตามคำสอนไหมคะ
:b12:
ทุกอย่างเป็นธัมมะไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเป็นสภาพธรรมเกิดดับตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ
ถ้าเป็นเราไปกำหนดการเดินการยืนการนั่งการนอนเพื่อที่จะรู้ความจริงยังไงก็รู้ไม่ได้เป็นอกุศลจิต
:b1:
หนทางที่เป็นทางตรงที่สุดคือสร้างเหตุปัจจัยที่เป็นปัญญาก่อนให้มีความเห็นถูกเข้าใจถูกในคำสอน
ขณะที่ปัญญาเกิดไม่มีตัวตนเลยนั่นแหละปัญญานั้นเองจะปฏิบัติกิจของปัญญาตามกำลังโดยรู้เพื่อละ
ละความไม่รู้ก่อนอันดับแรกโดยการสะสมการฟังให้เกิดปัญญาต่อเนื่องทุกวันเพื่อให้สัญญาจำสิ่งที่ถูก
:b20: :b16:
onion onion onion

Kiss
คนทั่วไปมองเท้าเป็นเท้าอริยบุคคลก็มองเท้าเป็นเท้าค่ะ
แต่คนทั่วไปหลงผิดเป็นจริงจังว่ามีตัวตนจริงๆยึดมั่นสุดๆค่ะ
ส่วนอริยบุคคลไม่หลงผิดในความเป็นตัวตนเพราะปล่อยวาง
ที่มีเท้าเพราะคิดค่ะลองหลับตาสิ่งใดที่ไม่ปรากฏแสดงว่าไม่มี
ก่อนจะเห็นเป็นเท้าต้องมีแสงสว่างปรากฏและมีเห็นเกิด-ดับก่อน
ถึงจะปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏตามมาว่ามีเป็นนิมิต
ปกติจิตอริยบุคคลเห็นนิมิตก็ไม่ต่างจากปุถุชนค่ะรู้รึยังคะต่างกันที่มีปัญญารู้จริง
เพราะฉะนั้นปุถุชนหลงลืมเป็นปกติว่าเป็นธัมมะแต่อริยบุคคลไม่คิดคือไม่มีจริงๆค่ะ
:b4: :b4:


คุณโรสก็เลอะเทอะพอกัน!! การเดินจงกรมนั้นในขณะที่เดินแต่ละก้าว
ท่านให้เพ่งพิจารณาที่...อิริยาบท เขาไม่ได้ให้ดูที่เท้า
อิริยาบทก็คือการก้าวเดินลักษณะช้าบ้างเร็วบ้าง.....สาเหตุที่ทำก็เพื่อให้จิตพ้นจากการที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การปฏิบัติธรรมกับปัจจุบันนั้น ท่านไม่ได้ให้เอาสติปัญญาไปกำหนดรู้อยู่ที่ปัจจุบันขณะ ท่านให้กำหนดรู้ที่ "ปัจจุบันอารมณ์" มันจึงจะทันปัจจุบันและเป็น หนึ่งเดียว


สิ่งที่กรัชกายสื่อกับคำที่อโสกะเอารมาแย้ง โดยแท้จริงแล้วมันก้เป็นอย่างเดียวกัน
เพียงแต่คำที่กรัชกายใช้โดยลักษณะของธรรมแล้วหมายถึง.......ตัวองค์ธรรมที่เป็นองค์ประกอบ(มรรค)ที่ทำให้เกิดเป็นอารมณ์

.....คำว่าอารมณ์เป็นบัญญัติที่เป็นความหมายรวมของสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายใจของบุคคล
ซึ่งแล้วแต่เหตุปัจจัย อารมณ์ที่เกิดอาจประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะหรือแม้แต่สติ ปัญญา
เหล่านี้รวมเรียกว่า องค์มรรคหรือองค์ธรรมประกอบอารมณ์


asoka เขียน:
ปัจจุบันขณะมันมีสภาวธรรมเกิดขึ้นพร้อมกันตั้งหลายอย่างสังเกตดูให้ดีๆสิ


ไม่ใช่!! ปัจจุบันขณะท่านนับเอาเฉพาะ วิญญานไปเกิดที่ทวารใด
ท่านก็นับเอาว่า นั้นคือปัจจุบันขณะ ......วิญญาน ไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้ เพราะวิญญานเป็นอนัตตา
เกิดได้ที่ละขณะ......ฉะนั้นการที่อโสกะบอกว่า "ปัจจุบันขณะมันมีสภาวธรรมเกิดขึ้นพร้อมกันตั้งหลายอย่าง"
จึงเป็นคำพูดที่มั่วมากครับ

asoka เขียน:
ตาก็เห็นรูป หูก็ได้ยินเสียงอีก 4 ทวารที่เหลือก็กำลังรับสัมผัสตามหน้าที่ของตน
ทั้งหมดเป็นในเวลาปัจจุบันขณะเดียวกัน


ผิดแล้วครับ!! ในขณะที่ตาเห็นรูป หูจะไม่ได้ยิน
ที่อโสกะเข้าใจผิดเช่นนี้ก็เพราะ อโสกะไม่รู้จักความเป็น สันตติ
สันตติคือการสืบต่อของสภาพธรรมที่ต่อเนื่องรวดเร็วดดยไม่ขาดสาย
เป็นเช่นนี้จึงทำให้เข้าใจผิดว่า ทวารทุกทวารสามารถรับสัมผัสได้พร้อมกัน
ก็ตามที่บอกไว้ก่อนหน้าว่า สัมผัสจะเกิดได้ต้องอาศัย วิญญานไปรับรู้ตัวสัมผัสนั้น
และลักษณะของวิญญานเกิดได้ที่ละขณะและที่ละทวาร ไม่สามารถเกิดได้หลายๆทวารพร้อมๆกัน

asoka เขียน:
แต่ธรรมชาติของจิตจะรับรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว ไม่ใช่ 6 อย่างพร้อมกัน
ดังนั้นการปฏิบัติธรรมปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องกำหนดพิจรณาที่อารมณ์เดียวคือปัจจุบันอารมณ์


ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ท่านเรียกว่า วิญญาน
จิตหมายถึงกระบวนการที่วิญญานไปรับรู้สิ่งที่มากระทบปสาท(ทวาร) จนจบกระบวนการที่มโนทวาร...นี่คือจิต
ส่วนอารมณ์คือ สภาพธรรมที่เกิดตามหลังการกระทบ(สัมผัส) ท่านเรียกว่า อาการของจิต(เจตสิก)
อาการที่ว่าอาทิเช่น โทสะ โมหะและโลภะ

asoka เขียน:
ปัจจุบันอารมณ์คืออารมณ์ที่จิตกำลังเสวยหรือ รู้อยู่ขณะนั้น

กำปั่นทุบดิน!! ปัจจุบันอารมณ์ก็คือ อาการของจิต(เจตสิก)
เช่นเกิดสภาพธรรมที่เป็นไปในลักษณะของความไม่อยาก....นี่เรียกว่า โทสะ
ถ้าเป็นสภาพของความอยาก... นี่คือ โลภะ
หรือไม่เป็นทั้งอยากและไม่อยาก ท่านเรียก โมหะ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ.......อารมณ์

asoka เขียน:

ถ้ายังไม่ปรากฏขึ้นให้รู้ที่จิต เรียกว่า "อนาคต"
ถ้ากำลังปรากฏรู้อยู่ที่จิต เรียกว่า "ปัจจุบัน" หรือ "ปัจจุบันอารมณ์"
ถ้าดับไปจากการรับรู้ของจิต เรียกว่า "อดีตอารมณ์"

การปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติที่ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ ปัจจุบันอารมณ์แก้ไขได้
อดีตอนาคตแก้ไขไม่ได้


มั่วมากครับ! อโสกะไม่รู้จักธรรมที่เป็นพุทธพจน์ จึงได้พูดจาส่งเดช
คำพุทธพจน์ที่เราจะต้องนำมาเป็นหลักนำในประเด็นนี้ก็คือ.....

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
พระมหาสมณะเจ้า ทรงสังสอนอย่างนี้


ทุกสิ่งอย่างเราต้องเอาความเป็นเหตุปัจจัยเป็นหลัก ไม่ใช่เอาความเป็น อดีตหรืออนาคต
การยึดถืออดีตและอนาคต...เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
asoka เขียน:
เพราะฉนั้นการใช้สมมุติบัญญัติตามตำราต้องมีความละเอียดละออพอสมควรนะท่านนักวิชาการใหญ่ทั้งหลายมิฉนั้นจะทำผิดจากสภาวธรรมจริงๆ ผลก็จะได้เป็นผลปลอม


ผมว่าคุณอโสกะก้พอๆกับกรัชกายนั้นแหล่ะ เป็นประเภท"ไปไหนมาสามวาสองสอก" สั้นๆว่า มั่วทั้งคู่
ไอ้สิ่งที่กรัชกายเอามาโพส เขาไม่เรียก สมมุติบัญญัติ
แต่เขาเรียกบทความความ ในทางธรรมท่านเรียกว่า.....โวหาร

ไม่ไหวจะเคลียร์สองคนนี้ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จำได้ว่า ปีสองปีที่ผ่านมา ก็เคยมีการเสวนากันในเรื่องปัจจุบันขณะ
ปีนี้ก็คงเป็นการรื้อฟื้นความเข้าใจกันใหม่อีกระลอกคลื่น ^ ^
อาศัยการอธิบายของ พระมหากัจจานะ ในมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร เป็นพื้นหลักในการทำความเข้าใจใหม่
Quote Tipitaka:
[๕๕๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
อย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้
เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็น
ดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็น
ดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็น
ดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้
เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้
เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วย
ฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่
ล่วงแล้ว ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๕๕๘] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
อย่างไร คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลิน
จักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ ขอ
เสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้
ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ ขอ
โผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอ
ธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิด
เพลินมโนและธรรมารมณ์ เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดูกร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๕๖๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุ
และรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ดูกรท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันขณะ ในพระสูตรนี้ จึงเป็นจิตแต่ละขณะ ๆ ที่ผัสสะเกิดขึ้นแต่ละขณะๆ นั่นเอง
อารมณ์ที่จิตกระทบตั้งอยู่ในแต่ละขณะๆ
จิตมีความรู้สึกอย่างไรต่ออารมณ์ในแต่ละผัสสะนั้นๆ
คือปัจจุบันอารมณ์ของจิตในแต่ละขณะ

เป็นไปด้วยกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
หรือเป็นไปด้วยฉันทะราคะในรูป ในอรูป

คือความง่อนแง่น จิตกวัดแกว่ง จากปัจจุบันธรรม
ไม่เห็นสภาพตามเป็นจริงของปัจจุบันธรรม
หากจิตยังง่อนแง่นเช่นนี้ ก็ต้องอบรมฝึกฝน
ด้วยการปฏิบัติ อบรมกายวาจาให้เป็นศีล บำเพ็ญจิตตภาวนา เพิ่มพูนปัญญาสิกขา

เพื่อให้จิตเสพย์คุ้นกับสติ สมาธิ ปัญญา จนว่องไวต่อธรรมอันเป็นปัจจุบันซึ่งพระเถระบางรูปในปัจจุบันเรียกว่า สติอัตโนมัติเป็นต้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามอาจจะมีว่า แล้วปัจจุบันธรรม คืออะไรเล่า
ปัจจุบันธรรม คือสภาวะของจิตที่มีต่อปัจจุบันอารมณ์ในแต่ละขณะ

จิตควรรู้จักความเกิดขึ้นและดับไป ของจิตที่แล่นไปในอารมณ์ทั้งหลาย
หากจิตมีความหน่วงกับอารมณ์ ยึดกับอารมณ์ จิตก็ควรรู้จักมันด้วยเช่นกัน
เพราะความหน่วงยึดอารมณ์เอาเข้าเป็นความเพลินก็เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีความเกิดความดับเช่นกัน

คนที่ไม่ได้อบรมจิต ในสติปัฏฐาน4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติ เพราะไม่ได้กำหนดรู้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คำถามอาจจะมีว่า แล้วปัจจุบันธรรม คืออะไรเล่า
ปัจจุบันธรรม คือสภาวะของจิตที่มีต่อปัจจุบันอารมณ์ในแต่ละขณะ

จิตควรรู้จักความเกิดขึ้นและดับไป ของจิตที่แล่นไปในอารมณ์ทั้งหลาย
หากจิตมีความหน่วงกับอารมณ์ ยึดกับอารมณ์ จิตก็ควรรู้จักมันด้วยเช่นกัน
เพราะความหน่วงยึดอารมณ์เอาเข้าเป็นความเพลินก็เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีความเกิดความดับเช่นกัน

คนที่ไม่ได้อบรมจิต ในสติปัฏฐาน4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติ เพราะไม่ได้กำหนดรู้



อ้างคำพูด:
คนที่ไม่ได้อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติเพราะไม่ได้กำหนดรู้

มีสองประเด็น คือ สติปัฏฐาน 4 กับ กำหนดรู้

เช่นนั้น แนะนำเขาสิครับ อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 ยังไง กำหนดรู้อะไรยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คำถามอาจจะมีว่า แล้วปัจจุบันธรรม คืออะไรเล่า
ปัจจุบันธรรม คือสภาวะของจิตที่มีต่อปัจจุบันอารมณ์ในแต่ละขณะ

จิตควรรู้จักความเกิดขึ้นและดับไป ของจิตที่แล่นไปในอารมณ์ทั้งหลาย
หากจิตมีความหน่วงกับอารมณ์ ยึดกับอารมณ์ จิตก็ควรรู้จักมันด้วยเช่นกัน
เพราะความหน่วงยึดอารมณ์เอาเข้าเป็นความเพลินก็เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีความเกิดความดับเช่นกัน

คนที่ไม่ได้อบรมจิต ในสติปัฏฐาน4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติ เพราะไม่ได้กำหนดรู้



อ้างคำพูด:
คนที่ไม่ได้อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติเพราะไม่ได้กำหนดรู้

มีสองประเด็น คือ สติปัฏฐาน 4 กับ กำหนดรู้

เช่นนั้น แนะนำเขาสิครับ อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 ยังไง กำหนดรู้อะไรยังไง

แนะนำใครครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คำถามอาจจะมีว่า แล้วปัจจุบันธรรม คืออะไรเล่า
ปัจจุบันธรรม คือสภาวะของจิตที่มีต่อปัจจุบันอารมณ์ในแต่ละขณะ

จิตควรรู้จักความเกิดขึ้นและดับไป ของจิตที่แล่นไปในอารมณ์ทั้งหลาย
หากจิตมีความหน่วงกับอารมณ์ ยึดกับอารมณ์ จิตก็ควรรู้จักมันด้วยเช่นกัน
เพราะความหน่วงยึดอารมณ์เอาเข้าเป็นความเพลินก็เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีความเกิดความดับเช่นกัน

คนที่ไม่ได้อบรมจิต ในสติปัฏฐาน4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติ เพราะไม่ได้กำหนดรู้



อ้างคำพูด:
คนที่ไม่ได้อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติเพราะไม่ได้กำหนดรู้

มีสองประเด็น คือ สติปัฏฐาน 4 กับ กำหนดรู้

เช่นนั้น แนะนำเขาสิครับ อบรมจิตในสติปัฏฐาน 4 ยังไง กำหนดรู้อะไรยังไง

แนะนำใครครับ



แนะนำผู้สนใจที่เข้ามาอ่านกระทู่้นี้ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ปัจจุบันขณะ ในพระสูตรนี้ จึงเป็นจิตแต่ละขณะ ๆ ที่ผัสสะเกิดขึ้นแต่ละขณะๆ นั่นเอง
อารมณ์ที่จิตกระทบตั้งอยู่ในแต่ละขณะๆ
จิตมีความรู้สึกอย่างไรต่ออารมณ์ในแต่ละผัสสะนั้นๆ
คือปัจจุบันอารมณ์ของจิตในแต่ละขณะ


อารมณ์กับจิตเป็นอย่างเดียวกัน การพูดว่าอารมณ์ที่จิตกระทบเป็นคำพูดที่ผิด
รวมไปถึง"จิตมีความรู้สึกอย่างไรต่ออารมณ์"และ"ปัจจุบันอารมณ์ของจิต" นี่ก็ผิดพลาดคลาดเคลื่อน

จิตไม่ใช่ตัวตนเป็นเพียงอนัตตา เหตุนี้การพูดเช่นนี้จึงถือได้ว่า ผู้พูดยังติดใน สักกายทิฐิ

เช่นนั้น เขียน:

เป็นไปด้วยกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
หรือเป็นไปด้วยฉันทะราคะในรูป ในอรูป

คือความง่อนแง่น จิตกวัดแกว่ง จากปัจจุบันธรรม
ไม่เห็นสภาพตามเป็นจริงของปัจจุบันธรรม
หากจิตยังง่อนแง่นเช่นนี้ ก็ต้องอบรมฝึกฝน
ด้วยการปฏิบัติ อบรมกายวาจาให้เป็นศีล บำเพ็ญจิตตภาวนา เพิ่มพูนปัญญาสิกขา

เพื่อให้จิตเสพย์คุ้นกับสติ สมาธิ ปัญญา จนว่องไวต่อธรรมอันเป็นปัจจุบันซึ่งพระเถระบางรูปในปัจจุบันเรียกว่า สติอัตโนมัติเป็นต้น


ในกระบวนที่เกิดจากทวารเดียวที่เป็นปัจจุบัน ธรรมที่เกิดตามหลังย่อมเป็นปัจจุบันขณะของทวารนั้นๆ
จนกว่าจะเกิดการกระทบขึ้นที่ทวารอื่นหรือเกิดการกระทบใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คำถามอาจจะมีว่า แล้วปัจจุบันธรรม คืออะไรเล่า
ปัจจุบันธรรม คือสภาวะของจิตที่มีต่อปัจจุบันอารมณ์ในแต่ละขณะ



มิจฉาทิฐิ(สักกายะ)แท้ๆ ผู้พูดเข้าใจผิดจึงยกเอาจิตมาเป็นตัวรู้
ซึ่งแท้จริงแล้วตัวรู้ที่แท้จริงก็คือ.....ธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่จิต

และธาตุรู้เป็นความสัมมันธ์กันระหว่างกายกับใจ(ไม่ใช่จิต)
ทวารทั้งหกซึ่งเป็นส่วนของกาย......เป็นผู้รับความรู้สึก
ส่วนใจ(ไม่ใช่จิต)เป็นผู้รู้ถึงความรู้สึกนั้นๆ

เช่นนั้น เขียน:

จิตควรรู้จักความเกิดขึ้นและดับไป ของจิตที่แล่นไปในอารมณ์ทั้งหลาย
หากจิตมีความหน่วงกับอารมณ์ ยึดกับอารมณ์ จิตก็ควรรู้จักมันด้วยเช่นกัน
เพราะความหน่วงยึดอารมณ์เอาเข้าเป็นความเพลินก็เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีความเกิดความดับเช่นกัน


จิตจะรู้จักความเกิดดับไม่ได้ เพราะตัวจิตหรือกระบวนการของจิต....มันคือการเกิดดับ
ตัวมันเองนั้นแหล่ะที่เกิดดับ มันจะต้องให้องค์ธรรมอื่นเป็นผู้รุ้ มันรู้ตัวเองไม่ได้เพราะมันเกิดดับ

จิตเกิดจากความยึดมั่นของกายใจ
ส่วนตัวผู้รู้การเกิดดับเกิดจากปัญญาที่เป็นอุเบกขา(ปล่อยวาง) ซึ่งเป็นวิสังขารมันจึงไม่ใช่จิต


เช่นนั้น เขียน:
คนที่ไม่ได้อบรมจิต ในสติปัฏฐาน4 จะไม่มีทางรู้ได้เลยเกี่ยวกับสภาวะจิตที่เป็นปรกติ เพราะไม่ได้กำหนดรู้


ไม่ใช่ใครก็จะอบรมสติปัฏฐานสี่ได้ บุคคลที่จะเข้าใจในสติปัฏฐานสี่ได้นั้น
จะต้องเกิดปัญญาเห็นความเป็นอนิจจังของอารมณ์ในกายใจตนเสียก่อน
มิเช่นนั้นมันก็ไม่ต่างจากการให้คนตาบอดมาเขียนภาพเหมือน ให้คนหูหนวกมาเรียนร้องเพลง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร