วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็นต้น

ปรมัตถบารมี บารมียอดเยี่ยม, บารมีในความหมายสูงสุด, บารมีที่เต็มความหมายแท้จริง, บารมีขั้นสูงสุด เหนืออุปบารมี เช่น การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์ ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน

ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริง คือ ปรมัตถะ แปลว่า "ประโยชน์อย่างยิ่ง" เหมือน ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์ปัจจุบัน" และ สัมปรายิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์เบื้องหน้า" ก็เรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ สัมปรายิกัตถประโยชน์

ปรมัตถ์, ปรมัตถะ ๑ ประโยขน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ๒. ก) ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ ข) สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก ตามปกติในใช้ในความหมายนัยที่ ๑ คือ จุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ นิพพาน แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่ ๒. บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ไม่ว่า จะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้ (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 มิ.ย. 2016, 19:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
มีดิกชินนารี่เคลื่อนที่นี้สุดยอดจริงๆชมนะคะ
:b27:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
มีดิกชินนารี่เคลื่อนที่นี้สุดยอดจริงๆชมนะคะ



มั่วเกินพอแล้ว อะไรนักก็ไม่รู้ คิกๆๆ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คืออัตตา หรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวร เป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ ออกจากร่างไปสิงอยู่ร่างอื่นต่อไป เหมือนออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือพรหมัน นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไ่ม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา (ข้อ ๔ ในธรรมท่่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตตะ ๔)

ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขา

ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า "กระจาด" หรือ "ตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ" เอามาใช้ในความหมายเป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่ แล้ว มี ๓ คือ

๑. วินัยปิฎก รวบรวมพระวินัย

๒. สุตตันตปิฎก รวบรวมพระสูตร

๓. อภิธรรมปิฎก รวบรวมพระอภิธรรม

รวมกันเรียกว่าพระไตรปิฎก (ปิฏก ๓ )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุตตะ เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใด ไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม "ปุตตะ" ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชายสืบมา แปลว่า "ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรกปุตตะ"

ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

ปุเรจาริก "อันดำเนินไปก่อน" เป็นเครื่องนำหน้า, เป็นตัวนำ, เป็นเครื่องชักพาให้มุ่งให้แล่นไป เช่น ในคำว่า "ทำเมตตาให้เป็นปุเรจาริก แล้วสวดพระปริตร" "ความเพียรอันมีศรัทธาเป็นปุเรจาริก"


ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ อย่าง ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล ๒. ขณิกปิติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู่สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นกระทบฝั่ง ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลตลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ เป็นของประกอบกบัสมาธิ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)

ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)

ปราโมทย์ ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, (ปราโมช ก็ใช้)

ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ , บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ, คือ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของพระท่าน, บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งดีงาม (ข้อ ๒ ในบูชา ๓)

ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ

(อริยสัจข้อ ๔ ที่เรียกสั้นว่า “มรรค” เรียกเต็มว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจจัง”)

ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ

๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้ได้เร็ว

๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็นต้น


มั่ว!! ปรมัตถสัจจะและสมมติสัจจะเป็นธรรมชาติที่คู่กัน
ปรมัตถสัจจะ เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงในลักษณะของ .....นามธรรม
สมมติสัจจะ เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงในลักษณะของ........รูปธรรม

ปรมัตถ์จะเกิดได้ต้องอาศัยสมมติ ตัวอย่างเช่น การเดินจงกรม
ลักษณะของการเดินและการใช้ความคิดบังคับการเดิน......นี่เรียกสมมติ เป็นรูปธรรม
ในขณะที่เราเดินและใช้ความคิดนั้น จะเกิดนามธรรมขึ้นพร้อมกับอาการนั้น เรียกว่า ปรมัตถ์

สมมติและปรมัตถ์เกิดพร้อมกัน ปรมัตถ์จะเกิดได้ต้องอาศัยสมมติ
สมมติเป็นรูปธรรมสามารถรู้เห็นถึงลักษณะเหล่านั้นได้
ปรมัตถ์เป็นนามธรรมไม่สามารถรู้หรือเห็นลักษณะของนามธรรมได้

อยากจะรู้ปรมัตถ์ต้องไปรู้ที่สมมติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตรวิมุตติ (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)

ปฏิภาค ส่วนเปรียบ, เทียบเคียง, เหมือน

ปฏิภาคนิมิต นิมิตเหมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา

ปฏิภาณ โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้กาารณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณ ได้แก่ ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)

ปฏิมา รูปเปรียบ, รูปแทน, รูปเหมือน

ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร, ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาส แปลว่า "เทียม" "ปลอม" "ไม่แท้" เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า "สัทธรรมเทียม" หรือ "ธรรมปลอม"

ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึง อยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์ (ข้อ ๑ ในจักร ๔ ข้อ ๖ ในมงคล ๓๘)

ปฏิโลม ๑ ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ตรงข้ามกับ อนุโลม ๑ ๒. สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย, สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นต้น ตรงข้ามกับ อนุโลม ๒


ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์

ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่

ปฏิสันถาร การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีก นัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานของแขก มีการลุกรับ เป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อคิดติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง

ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในทางนิรุกติ คือ ภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็นต้น


มั่ว!! ปรมัตถสัจจะและสมมติสัจจะเป็นธรรมชาติที่คู่กัน
ปรมัตถสัจจะ เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงในลักษณะของ .....นามธรรม
สมมติสัจจะ เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงในลักษณะของ........รูปธรรม

ปรมัตถ์จะเกิดได้ต้องอาศัยสมมติ ตัวอย่างเช่น การเดินจงกรม
ลักษณะของการเดินและการใช้ความคิดบังคับการเดิน......นี่เรียกสมมติ เป็นรูปธรรม
ในขณะที่เราเดินและใช้ความคิดนั้น จะเกิดนามธรรมขึ้นพร้อมกับอาการนั้น เรียกว่า ปรมัตถ์

สมมติและปรมัตถ์เกิดพร้อมกัน ปรมัตถ์จะเกิดได้ต้องอาศัยสมมติ
สมมติเป็นรูปธรรมสามารถรู้เห็นถึงลักษณะเหล่านั้นได้
ปรมัตถ์เป็นนามธรรมไม่สามารถรู้หรือเห็นลักษณะของนามธรรมได้

อยากจะรู้ปรมัตถ์ต้องไปรู้ที่สมมติ



คนเป็นสมมติหรือปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐวี ดิน, แผ่นดิน, ปถวี ก็เขียน

ปฐวีธาตุ ธาตุดิน, สภาวะที่มีลักษณะแข้นแข็ง, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ได้แก่ ผม ชน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า, อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส, ปถวีธาตุ ก็เขียน

ปณิธาน การตั้งความปรารถนา

ปทปรมะ "ผู้มีบท" (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม

ปริเทวะ ความรำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ

ปรินิพพาน การดับรอบ, การดับสนิท ๑. ดับกิเลสและทุกข์สิ้นเชิง, บรรลุอรหัตผล (ได้แก่ กิเลสปรินิพพาน) ๒. ตาย (ได้แก่ ขันธปรินิพพาน) , ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์, ในภาษาไทย บางทีแยก ให้ใช้แก่พระพุทธเจ้าว่า ปรินิพพาน และให้ใช้แก่พระอรหันต์ทั่วไปว่า นิพพาน แต่ในภาษาบาลี ไม่มีการแยกเช่นนั้น)

ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน, โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลี คือ พระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย) การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปริวัฏฏ์ หมุนเวียน, รอบ, ญาณทัสสนะ มีปริวัฏฏ์ ๓ หรือ เวียนรอบ ๓ ในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง รุ้อริยสัจ ๔ แต่ละข้อโดยสัจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวม ๔ ข้อ เป็น ๑๒ เรียกว่า มี อาการ ๑๒

ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์, สัญญามีลักษณะจำได้ เป็นต้น

ปัจจัย ๑ เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุเครื่องหนุนให้เกิด ๒. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่ง ห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อให้สังเกต สำหรับโฮฮับนะ คือ เขาจะพูดศัพท์นั่นศัพท์นี่ ยกมาเป็นคุ้งเป็นแคว พูดโยงให้เข้ากับความคิดเพ้อของตน :b13:

แต่ถ้าถามว่า ที่พูดนั่นน่าหมายถึงอะไร เขาจะหายไป 7 วันเป็นอย่างน้อย :b32:

พอเราลืมๆ ก็จะค่อยๆแอบมาอีก คิกๆๆ

ที่ชัดๆมี 3 คน ได้แก่ โฮฮับ ท่านอโศก คุณโรส :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีข้อให้สังเกต สำหรับโฮฮับนะ คือ เขาจะพูดศัพท์นั่นศัพท์นี่ ยกมาเป็นคุ้งเป็นแคว พูดโยงให้เข้ากับความคิดเพ้อของตน :b13:

แต่ถ้าถามว่า ที่พูดนั่นน่าหมายถึงอะไร เขาจะหายไป 7 วันเป็นอย่างน้อย :b32:

พอเราลืมๆ ก็จะค่อยๆแอบมาอีก คิกๆๆ

ที่ชัดๆมี 3 คน ได้แก่ โฮฮับ ท่านอโศก คุณโรส :b32:

:b32:
คนอะไรเพ้อบ่นธัมมะคนเดียวบอกแล้วให้ดูจิตตน
ไม่รู้จักจำให้ถูกทุกอย่างเป็นธัมมะกำหนดไม่ได้น๊า
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

:b6:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 88 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร