วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2016, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมหน้า ๒๐

สัญญา วิญญาณ ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก

ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่า ความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใด ก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2016, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2016, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้

…………………………………………......................

แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้น ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2016, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


มั่วไปเรื่อย ทั้งเจ้าของบทความและคนก๊อปปี้

ปัญญาเป็นลักษณะธรรมที่ตรงข้ามกับอวิชชา
อวิชชาคือ.....ความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้เป็นกฎเกณท์ทางธรรมชาติ ก็คือบุคคลเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้
เพราะยังไม่เคยรู้ยังไม่เคยเห็นสิ่งที่เป็นธรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่บนเขาย่อมไม่เคยเห็นท้องทะเล
ท่านเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า ความเป็นอวิชชาในเรื่องของทะเล(ไม่รู้เห็นทะเลมาก่อน)
จนกว่าชาวเขานั้นจะได้เห็นทะเลอย่างแท้จริง การได้เห็นทะเลแล้วจดจำลักษณะของทะเลไว้
ท่านเรียกว่า ชาวเขาได้เกิดปัญญาและละอวิชชาในเรื่องของทะเลหมดสิ้น

แต่ในทางธรรมพระพุทธองค์เน้นเรื่องสภาวธรรมในกายใจ
ผู้ใดยังไม่เคยเห็นสาวธรรมในกายใจ ท่านเรียกว่า ยังติดในอวิชชา
จนกว่าจะได้เห็นตัวสาวธรรมในกายใจแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าบุคคลนั้นได้เกิดปัญญา(ดวงตาเห็นธรรม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2016, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


มั่วไปเรื่อย ทั้งเจ้าของบทความและคนก๊อปปี้

ปัญญาเป็นลักษณะธรรมที่ตรงข้ามกับอวิชชา
อวิชชาคือ.....ความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้เป็นกฎเกณท์ทางธรรมชาติ ก็คือบุคคลเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้
เพราะยังไม่เคยรู้ยังไม่เคยเห็นสิ่งที่เป็นธรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่บนเขาย่อมไม่เคยเห็นท้องทะเล
ท่านเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า ความเป็นอวิชชาในเรื่องของทะเล(ไม่รู้เห็นทะเลมาก่อน)
จนกว่าชาวเขานั้นจะได้เห็นทะเลอย่างแท้จริง การได้เห็นทะเลแล้วจดจำลักษณะของทะเลไว้
ท่านเรียกว่า ชาวเขาได้เกิดปัญญาและละอวิชชาในเรื่องของทะเลหมดสิ้น

แต่ในทางธรรมพระพุทธองค์เน้นเรื่องสภาวธรรมในกายใจ
ผู้ใดยังไม่เคยเห็นสาวธรรมในกายใจ ท่านเรียกว่า ยังติดในอวิชชา
จนกว่าจะได้เห็นตัวสาวธรรมในกายใจแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าบุคคลนั้นได้เกิดปัญญา(ดวงตาเห็นธรรม)


อวิชชา แปลว่า ไม่รู้ เท่ากับโมหะ วิชชา แปลว่า ความรู้ เท่ากับปัญญา แค่นี้เอง คิกๆๆ

มี อวิชชา ปัญญาก็ไม่เกิด ปัญญาเกิด อวิชชาก็ไม่มี :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2016, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


มั่วไปเรื่อย ทั้งเจ้าของบทความและคนก๊อปปี้

ปัญญาเป็นลักษณะธรรมที่ตรงข้ามกับอวิชชา
อวิชชาคือ.....ความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้เป็นกฎเกณท์ทางธรรมชาติ ก็คือบุคคลเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้
เพราะยังไม่เคยรู้ยังไม่เคยเห็นสิ่งที่เป็นธรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่บนเขาย่อมไม่เคยเห็นท้องทะเล
ท่านเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า ความเป็นอวิชชาในเรื่องของทะเล(ไม่รู้เห็นทะเลมาก่อน)
จนกว่าชาวเขานั้นจะได้เห็นทะเลอย่างแท้จริง การได้เห็นทะเลแล้วจดจำลักษณะของทะเลไว้
ท่านเรียกว่า ชาวเขาได้เกิดปัญญาและละอวิชชาในเรื่องของทะเลหมดสิ้น

แต่ในทางธรรมพระพุทธองค์เน้นเรื่องสภาวธรรมในกายใจ
ผู้ใดยังไม่เคยเห็นสาวธรรมในกายใจ ท่านเรียกว่า ยังติดในอวิชชา
จนกว่าจะได้เห็นตัวสาวธรรมในกายใจแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าบุคคลนั้นได้เกิดปัญญา(ดวงตาเห็นธรรม)


อวิชชา แปลว่า ไม่รู้ เท่ากับโมหะ วิชชา แปลว่า ความรู้ เท่ากับปัญญา แค่นี้เอง คิกๆๆ

มี อวิชชา ปัญญาก็ไม่เกิด ปัญญาเกิด อวิชชาก็ไม่มี :b13:


อวิชชาไม่ได้แปลว่าไม่รู้
แต่อวิชชาเป็นลักษณะของธรรมชาติอย่างหนึ่ง
มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้
กรัชกายดันทลึ่งเอาไปแปลเป็นตัวหนังสือเสียนี่ มั่วไม่บันยะบันยัง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2016, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


มั่วไปเรื่อย ทั้งเจ้าของบทความและคนก๊อปปี้

ปัญญาเป็นลักษณะธรรมที่ตรงข้ามกับอวิชชา
อวิชชาคือ.....ความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้เป็นกฎเกณท์ทางธรรมชาติ ก็คือบุคคลเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้
เพราะยังไม่เคยรู้ยังไม่เคยเห็นสิ่งที่เป็นธรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่อยู่บนเขาย่อมไม่เคยเห็นท้องทะเล
ท่านเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า ความเป็นอวิชชาในเรื่องของทะเล(ไม่รู้เห็นทะเลมาก่อน)
จนกว่าชาวเขานั้นจะได้เห็นทะเลอย่างแท้จริง การได้เห็นทะเลแล้วจดจำลักษณะของทะเลไว้
ท่านเรียกว่า ชาวเขาได้เกิดปัญญาและละอวิชชาในเรื่องของทะเลหมดสิ้น

แต่ในทางธรรมพระพุทธองค์เน้นเรื่องสภาวธรรมในกายใจ
ผู้ใดยังไม่เคยเห็นสาวธรรมในกายใจ ท่านเรียกว่า ยังติดในอวิชชา
จนกว่าจะได้เห็นตัวสาวธรรมในกายใจแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าบุคคลนั้นได้เกิดปัญญา(ดวงตาเห็นธรรม)


อวิชชา แปลว่า ไม่รู้ เท่ากับโมหะ วิชชา แปลว่า ความรู้ เท่ากับปัญญา แค่นี้เอง คิกๆๆ

มี อวิชชา ปัญญาก็ไม่เกิด ปัญญาเกิด อวิชชาก็ไม่มี :b13:


อวิชชาไม่ได้แปลว่าไม่รู้
แต่อวิชชาเป็นลักษณะของธรรมชาติอย่างหนึ่ง
มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้
กรัชกายดันทลึ่งเอาไปแปลเป็นตัวหนังสือเสียนี่ มั่วไม่บันยะบันยัง :b32:



วิชชา ความรู้ (ปัญญา) อวิชชา ไม่รู้ (โมหะ) อยู่ที่คนหรือมนุษย์ปถุชนทุกๆคนนี่เองแล. :b32:

อ้างคำพูด:
มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้


มันอยู่ซอกไหนมุมใดของโลกหรา

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร