วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 03:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




อาา.JPG
อาา.JPG [ 63.93 KiB | เปิดดู 6276 ครั้ง ]
จากกระทู้เดิม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=50381

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 พ.ย. 2015, 08:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




วิสุทธิด.JPG
วิสุทธิด.JPG [ 36.68 KiB | เปิดดู 6274 ครั้ง ]
หนังสือ อภิธัมปิฎก ท่านพุทธโฆษาจารย์ เป็นคนอธิบายความ ตามความรู้ของท่าน

หนังสือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านพุทธโฆษาจารย์ เป็นคนเขียนขึ้นมา ตามความรู้ของท่าน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




10-1573a49677.jpg
10-1573a49677.jpg [ 129.82 KiB | เปิดดู 6113 ครั้ง ]
ภาพวาดที่ศรีลังกา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบายย.JPG
คำอธิบายย.JPG [ 49.62 KiB | เปิดดู 6272 ครั้ง ]
สิ่งที่ควรรู้


คำอธิบายความจากท่านพุทธโฆษาจารย์

เกี่ยวกับการเขียนอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ที่ท่านได้อธิบายไว้



"บัดนี้ ใคร่จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ (ทั้งๆที่)

ยังไม่ได้ (นัยอันที่เป็น) ที่ตั้ง (ที่อาศัยด้วยกำลังปัญญาตน)

ดังก้าวลงสู่สาคร ที่ยังไม่เหยียบยัน"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไรก็ตาม ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้แปลภาษาบาลี ให้เป็นภาษาไทย

ทำให้บุคคลรุ่นหลัง ได้อาศัยคำแปลนั้นๆ

นำมาเทียบเทียบเคียงกับสัญญาต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น
แต่ไม่สามารถนำมาอธิบายความได้

ทำให้สามารถนำสัญญาต่างๆ มาอธิบายความ ให้เห็นเป็นรูปธรรม และปฏิบัติตามได้
ซึ่งการอธิบายความนี้ ไม่ได้อ้างอิงถึงการแปลความภาษาบาลีทุกคำไป

แต่ใช้พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เป็นหลัก
เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ตรงตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เพื่อดำรงพระสัทธรรม เท่าที่ตนจะกระทำได้



พระพุทธคุณ

(นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลสมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบาน คือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุ จรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปทั้งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าฯ ขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญ ภาพนั้นนิรันดร ฯ (กราบ)

พระธรรมคุณ

(นำ) ธรรมะคือคุณากร (รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาทร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา ฯ (กราบ)

พระสังฆคุณ

(นำ) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา- พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ (กราบ)


http://www.kalyanamitra.org/dhammasong/ ... /M004.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2015, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ของผู้มีความเพียร ๕


[๕๑๘] ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านั้น ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน องค์ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เป็นไฉน.

๑. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเป็นผู้มีศรัทธา
พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกพระธรรม.




๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับ
ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลางควรแก่ความเพียร.




๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ใน
พระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย.






๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม
ให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.







๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิด
และดับ เป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล.




ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้ออกแนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดปี.
ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดปีจงยกไว้.







ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำพึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไป
กว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าพึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกปี... ห้าปี... สี่
ปี...สามปี...สองปี...หนึ่งปี.
ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งปีจงยกไว้.







ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน.
ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดเดือนจงยกไว้.






ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการยิ่ง
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่าที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกเดือน... ห้าเดือน...
สี่เดือน...สามเดือน... สองเดือน...หนึ่งเดือน..ครึ่งเดือน.
ดูก่อนราช-กุมาร ครึ่งเดือนจงยกไว้ .








ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่
มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้อง
การ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน
เจ็ดวัน.
ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดคืนเจ็ดวันจงยกไว้.







ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมยิ่งอื่นกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นพรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกคืนหกวัน... ห้าคืนห้าวัน... สี่คืนสี่วัน...สามคืนสามวัน...สองคืนสองวัน. . . หนึ่งคืนหนึ่งวัน.
ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้.








ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น.




เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลว่า
พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์
เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเย็น
จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเช้า
จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น.



พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เผื่อจะมีประโยชน์ สำหรับผู้ที่ยังใช้งานเว็บบอร์ดไม่ถูกจุด


การโพสเบอร์โทรฯ ในเว็บ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
โลกโซเชี่ยล มีข่าวให้เห็นอยู่เยอะ เกี่ยวกับการหลอกลวงกัน
หญิงไม่ใช่ชาย ชายไม่ใช่หญิง


หากต้องการให้เบอร์โทรฯใคร
ควรส่งทางข้อความส่วนตัว :b16:









หน้าแรก » สาระสุขภาพ » บทความสุขภาพ9 สิ่งห้ามโพสต์ลงโซเชียล รู้ไว้ไม่ตกเป็นเหยื่อโดย gidanan ganghair|วันที่ 28 ตุลาคม 2558|อ่าน : 1,512072


ในวันที่อินเทอร์เน็ตเปรียบประหนึ่งลมหายใจ สมาร์ทโฟนและไอแพดไม่ต่างจากอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย แต่ละวันทุกคนนิยมถ่ายรูป คลิปวีดีโอ โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ เพื่อความบันเทิง การงาน และสนองตัณหาส่วนตัว


9 สิ่งห้ามโพสต์ลงโซเชียล รู้ไว้ไม่ตกเป็นเหยื่อ thaihealth



แฟ้มภาพ
จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเหล่าอาชญากร มิจฉาชีพ วายร้ายจำนวนไม่น้อย เปลี่ยนช่องทางในการหา "เหยื่อ" ผ่านทางโลกออนไลน์กันแล้ว

วันนี้ ทีมข่าวโพสต์ทูเดย์ออนไลน์ได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย ทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย จนถึงนายตำรวจมือปราบอาชญากรทางเทคโนโลยี เพื่อกระตุกเตือนให้ผู้ใช้งานสังคมออนไลน์หันมาระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น



1.บัตรประจำตัวประชาชน
ทุกวันนี้ "เลขบัตรประชาชน 13 หลัก" มักจะถูกนำไปใช้ในการทำเรื่องสำคัญๆอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครบัตรเครดิต บัตรเดบิต ขอสินเชื่อ เปิดบัญชีธนาคาร เสียภาษี สมัครงาน และทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน


วิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความ เผยว่า บัตรประชาชนถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะมีข้อมูลบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล ปีเกิด เลขที่ 13 หลัก ถ้าคนร้ายได้ไปก็สามารถนำไปเป็นสำเนาในการสมัครบัตรเครดิต เปิดใช้โทรศัพท์มือถือ ร้ายกว่านั้นคือ ทำการเปลี่ยนแปลงรูปถ่ายเป็นหน้าของบุคคลอื่น เพื่อใช้ยืนยันตนเอง


"ในที่สุด เจ้าของบัตรก็จะเดือดร้อน อันเนื่องจากการกระทำของคนร้าย ทางที่ดีที่สุดไม่ควรนำภาพถ่ายบัตรประชาชนลงในโลกโซเชียลมีเดียโดยเด็ดขาด"





2.ภาพถ่ายหรือข้อมูลของบุตรหลาน

หลายครั้งที่เรานำภาพถ่ายของลูกหลานมาแชร์ให้คนอื่นเชยชมความน่ารัก แต่อีกด้านหนึ่งอาจเสี่ยงที่จะมีคนร้ายจะจดจำหน้าตา หรือข้อมูลบางส่วนมาใช้ในการนำภาพไปขอรับบริจาค ขอทาน ถึงขั้นลักพาตัว
ธาม เชื้อสถาปณศิริ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์ เผยว่า ไม่ควรโพสต์ชื่้อเด็ก หรือโรงเรียนของเด็กเป็นชื่อจริงทั้งหมด

"เดี๋ยวนี้พ่อแม่มักทำให้ลูกตัวเองเป็นเหมือนดารา ลูกน่ารักก็อัพวีดีโอคลิป จริงๆไม่ควรเลย ไม่ใช่ผิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิ์เด็กอย่างเดียว แต่เป็นกฎระเบียบที่เฟซบุ๊กระบุไว้ว่าห้าม แต่คนไทยไม่ค่อยอ่าน อันที่จริงเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีไม่ควรเข้าเล่นโซเชียลมีเดียด้วยซ้ำ แต่กลายเป็นว่า ทุกวันนี้มีเด็กโกงอายุ โกงวันเดือนปีเกิดไปสมัครจดทะเบียนเข้าใช้เฟซบุ๊ก อินสตาแกรมกันเยอะแยะมากมาย โดยที่ผู้ปกครองปล่อยปะละเลย น่ากลัวตรงที่ว่าเด็กมีความเสี่ยงจากการถูกล่อลวงได้ง่าย"





3.ตั๋วเครื่องบิน

ตั๋วเครื่องบิน"อาจดูเหมือนไม่มีข้อมูลอะไรที่เสี่ยงและน่าวิตกกังวลเท่าไรนัก แต่สำหรับอาชญากรหัวกะทิแล้ว ตั๋วเครื่องบิน หรือบอร์ดดิ้งพาส เปรียบเสมือนกุญแจทองคำไขเข้าไปสู่บ้านของคุณได้อย่างดีทีเดียว
ไม่ว่าจะข้อมูลบนบัตร เช่น ชื่อนามสกุล จุดเริ่มต้นของการเดินทาง จุดหมายปลายทาง และบาร์โค้ด สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเรา ทั้งยังอาจเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทางของเราได้อีกด้วย คำแนะนำคือ นักท่องเที่ยวฉีกตั๋วทิ้งหรือเอาไปใส่เครื่องทำลายเอกสารหลังการใช้งานจะดีเสียกว่า

การบอกคนอื่นๆในโลกโชเชียลว่าจะเดินทางไปไหน ด้วยการโชว์ตั๋วเครื่องบิน อาจเป็นเรื่องที่สร้างความสนุกสนาน แต่ในแง่ร้ายคือ คนร้ายจะทำการใช้โปรแกรมตรวจจากบาร์โค้ดของตั๋วเครื่องบิน ทำให้เห็นถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้เดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเดินทางไปไหนมาไหน ใช้บัตรเครดิตยี่ห้อใดซื้อตั๋วเครื่องบิน และเลวร้ายที่สุดคือ คนร้ายสามารถสั่งยกเลิกตั๋ว หรือเห็นตัวเลข 4 หลักของบัตรเครดิตซึ่งจะไปสวมรอยใช้บัตรเครดิตได้"ทนายวิรัช ให้ความเห็นไว้อย่างน่าคิด









4.เช็คอินสถานที่

ในวันที่เหล่าอาชญากรสมัยใหม่หันมาอาละวาดในโลกออนไลน์ ข้อมูลจากเว็บไซต์ Distinctivedoors.co.uk ซึ่งทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอาชญากรรมในปัจจุบันพบว่า โจรกว่า 75% ใช้การค้นหากลุ่มเป้าหมายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โฟร์สแควร์ รวมทั้งโปรแกรมสุดไฮเทคอย่าง Google Street View

พูดง่ายๆว่า ค้นหาตำแหน่งบ้านที่พักอาศัยของเหยื่อได้อย่างสะดวกโยธิน โดยไม่จำเป็นต้องมาเฝ้าดูลาดเลาด้วยซ้ำ เมื่อบวกกับทรัพย์สินมีค่า เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี ชุดเครื่องเสียงสุดหรูในห้องรับแขกที่เคยโพสต์อวดเพื่อนๆ สร้อยคอเพชรนิลจินดา รถยนต์ ก็ล่อตาล่อใจโจรได้ไม่น้อย ที่สำคัญหากคุณเช็คอินตลอดเวลา อยู่ไหน ไปที่ไหน ทำให้มิจฉาชีพรู้ว่าไม่อยู่บ้าน หรือกำลังจะกลับ ถือเป็นเรื่องเสี่ยงสุดๆ








5.ด่าองค์กร

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะเบื่อหน่ายงานที่กำลังทำอยู่ แต่กฎเหล็กที่หลายคนมักมองข้ามคือ อย่าโพสต์ข้อความเชิงลบที่แสดงความไม่พอใจต่อบริษัทตัวเอง แม้ไม่ผิดกฎหมายแต่อาจถูกไล่ออกจากงานได้

"ไม่ควรโพสต์ด่า หรือวิพากษ์วิจารณ์องค์กรเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายไม่อนุญาต สามารถไล่ออกได้ เพราะถือเป็นการหมิ่นประมาท วิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดความเสื่อมเสีย อีกข้อที่หลายคนอาจไม่รู้คือ คุณไม่มีสิทธิ์โพสต์ข้อมูลความลับของบริษัทตัวเอง เช่น วันหยุดของที่ทำงาน เงินเดือน โบนัส เนื่องจากโปรเจกต์ต่างๆเหล่านี้ต่างๆอาจเป็นความลับทางธุรกิจอยู่ก็ได้" ธามกล่าว







6.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป

ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด และอีกมากมายสารพัด ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผยในโลกออนไลน์ อย่าลืมว่าการขโมยอัตลักษณ์บุคคล หรือ Identity Theft ไม่ได้มีแต่ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเท่านั้น ทว่ากำลังสร้างปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

ยินดี ลิมปิเวศน์ นักกฎหมายชื่อดัง เผยว่า อะไรก็ตามเป็นข้อมูลประวัติพื้นฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรนักศึกษา ใบขับขี่ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด ที่ทำงาน สมาชิกครอบครัว ข้อมูลทางการแพทย์ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ ไม่ควรเผยแพร่ลงบนสื่อออนไลน์อย่างเด็ดขาด

"ข้อมูลพื้นฐานส่วนตัวเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอาชญากรรม เป็นการขโมยอัตลักษณ์บุคคล ข้อมูลเหล่านี้เราอาจจะไว้ใช้สำหรับล็อกอินเฟซบุ๊ก เช็คอีเมล อาจเดารหัสผ่านได้จากวันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำวันนักศึกษา บางคนถ่ายรูปในชุดข้าราชการในวันรับตำแหน่งใหม่ กลับเจอสวมรอย หรือนำไปแอบอ้างแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ บางคนโพสต์มันเสียทุกเรื่อง ประวัติ งาน ชอบทำอะไร ที่ไหน รสนิยม ร้านอาหารโปรด พ่อแม่พี่น้อง ที่อยู่บ้าน ที่ทำงาน ท้ายที่สุดมิจฉาชีพจะนำข้อมูลทั้งหมดนี้แหละไปใช้"







7.โจมตีผู้อื่น

ข้อมูลอันน่าตกใจจากกองบังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ระบุว่า ปัจจุบันเรื่องที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ คดีเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทต่อบุคคล ในลักษณะการโพสต์ข้อความต่อว่ากันไปมาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ด้วยคำพูดหยาบคายรุนเเรงเเละเป็นเท็จ ทำให้เกิดความเสียหาย เข้าข่ายการกระทำความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีเเละปรับไม่เกิน 1 เเสนบาท

"ส่วนมากจะเป็นพวกคอนเมนต์จนเกินขอบเขต สนุกบนความทุกข์ของคนอื่น โพสต์ทั้งข้อความ รูปภาพ คลิปวีดีโอในลักษณะการบิดเบือนข้อมูล ตัดต่อภาพ อะไรก็ตามที่เป็นเท็จ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย คดีแบบนี้ต้องดูเจตนาเป็นสำคัญ หากทำครั้งเดียวอาจจะไม่ชัด แต่หากทำหลายครั้ง ต่อเนื่อง จนจับใจความได้ว่ามีเป้าหมายสื่อถึงใครหรือต้องการโจมตีทำร้ายใคร แบบนี้มีความผิด"พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผบก.ปอท.ย้ำหนักแน่น







8.อย่าดราม่า

รู้หรือไม่ว่าการโพสต์ระบายอารมณ์ ระบายความในใจเล็กๆน้อยๆ อาจทำลายมิตรภาพลงได้ในพริบตา
ธาม อธิบายว่า ไม่ควรโพสต์อะไรที่ "ดราม่า"

เช่น กำลังมีปัญหาครอบครัว ทะเลากับสามี พ่อแม่ หรือมีปัญหาในที่ทำงาน เจ้านายตำหนิ เพื่อนร่วมงานนินทา เวลาโพสต์เรื่องราวเหล่านี้อาจจะโพสต์ลงไปในลักษณะอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ทันยั้งคิด และมักจะโพสต์ด่าลอยๆ หรือเป็นบุคคลนิรนาม แต่เราอาจมีเพื่อนเยอะมากและกำลังคิดว่าคุณด่าเขาหรือเปล่า จนอาจเกิดการวิตกจริตคิดไปเองทำให้นำไปสู่ความหวาดระแวง กระทบกับความสัมพันธ์ได้







9.ภาพวาบหวิวอนาจาร

ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียยังฝากเตือนไปยังสาวๆ (และหนุ่มๆ)ว่า อย่าโพสต์ข้อมูลส่วนตัวจำพวกภาพถ่ายของตัวเองในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพโป๊เปลือย อนาจาร

"เพราะต่อให้คุณไม่ใช่ดารา ในที่สุดอาจมีคนเจตนาร้ายบันทึกภาพเหล่านั้นเอาไว้ ต่อให้คุณลบไปแล้ว มันก็ยังคงอยู่ หรืออาจส่งผลกระทบของคุณในที่ทำงาน เช่น เจ้านายของคุณอาจจะมาเห็น หรือลักษณะวาบหวิวเซ็กซี่มากเกินไป อาจโดนพวกโรคจิตตามรังควาน ถึงขั้นหมายปองจะข่มขืน"


ที่มา : เว็บไซต์ผู้จัดการ





http://www.thaihealth.or.th/Content/298 ... B8%AD.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 ธ.ค. 2015, 11:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2015, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากกระทู้นี้


viewtopic.php?f=1&t=50381&start=75




ลุงหมาน เขียน:
กระทู้ของตัวเองก็มีอุตส่าห์ดันกระทู้มาให้ ก็ไม่ไปเอามาอะไรต่อมิอะไรมาแปะ





อ่านแล้ว รู้สึกสลดใจ สังเวชใจยิ่งนัก
พระธรรมคำสอน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ทั้งหมด

กลับมีผู้มืดบอด ใช้ถ้อยคำเหยียดหยามพระธรรมคำสอน

"ก็ไม่เอาอะไรต่อมิอะไรมาแปะ"






สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2015, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ
ความรู้เหตุเกิด
เหตุดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ
ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ
ความรู้เหตุเกิด
เหตุดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ






ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.[/quote]







[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัด
ความเกิด
ความดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว
เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้




วิชชาเกิด


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง
ความเกิด
ความดับ
คุณและโทษ
แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖
กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น

เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัด
ยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด







walaiporn เขียน:
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
ผัสสะ


[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า
ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์









พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน








อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน





อุปวาณสูตร




[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947







สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
บางสิ่ง ไม่มีผลกระทบทางใจ สักแต่ว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้น



ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




เมื่อประกอบเนืองๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






ผล



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2016, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การให้อภัยทาน

เป็นการให้ทานสูงสุด เพราะ เป็นการกระทำเพื่อดับเหตุภพชาติของการเกิดที่มีอยู่


เป็นการดับรอบเฉพาะตน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2016, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์





พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย


เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย




นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย




นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย




นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย




นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่


เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2016, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามาในตน

อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน









อุปวาณสูตร

[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ



[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2016, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ


สมถะ

วิปัสสนา

ญาณ ๑๖(สัมมาสมาธิ)

เจโตวิมุติ





หัวใจการปฏิบัติขณะดำเนินชีวิตและขณะจิตเป็นสมาธิ


โยนิโสมนสิการ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 26 ก.พ. 2016, 15:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2016, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2016, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวิมุติ


สมถะ

วิปัสสนา

ญาณ ๑๖(สัมมาสมาธิ)

เจโตวิมุติ

ปัจจเวกขณญาณ

ปัญญาวิมุติ




หัวใจการปฏิบัติขณะดำเนินชีวิตและขณะจิตเป็นสมาธิ


โยนิโสมนสิการ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron