ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51043
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 26 ก.ย. 2015, 06:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

อ้างคำพูด:
..ก็กลัวคำว่าปุถุชน...ไม่กล้าพูดว่าเรามันเป็นปุถุชน....เพราะกลัวคำว่าปุถุชนจะชนธรรมะของตนจะกระเด็นออกมา..
..

อริยชนเขาบอกตนเองเป็นปุถุชนไม่ได้หรอกนะ.....

viewtopic.php?f=1&t=51075&start=15

ความกลัวประเภทนี้....ไม่รู้ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิรึไม่นะ???

:b10: :b10: :b10:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 26 ก.ย. 2015, 07:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

มาต่อเรื่องมิจฉาทิฏฐิ..
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd14.htm
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร



อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ


[๘๖] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นนั่งบนอาสนะของตนแล้วได้ทูลถามปัญหากับ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๖ }

--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีอะไรเป็นมูลเหตุ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะ
เป็นมูลเหตุ”๑
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่
ทั้งอุปาทานขันธ์เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้น เป็นตัวอุปาทาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคต ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พึงมีได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้”

เหตุที่ชื่อว่าขันธ์


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรขันธ์จึงชื่อ
ว่าขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ในที่นี้หมายถึงมีตัณหาเป็นมูลเหตุ (ม.อุ.อ. ๓/๘๖/๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๗ }

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้
เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุที่ทำให้ขันธ์ปรากฏ


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูต ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้
รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”

เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ


[๘๗] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๘ }

--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างนี้”

เหตุที่ทำให้สักกายทิฏฐิไม่มี


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้
เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป

เชิงอรรถ :
๑ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา
นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑) อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)
กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒, ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๙ }


--------------------------------------------------------------------------------

ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างนี้”

เจ้าของ:  bigtoo [ 26 ก.ย. 2015, 10:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

จะเห็นได้ว่าจะเป็นสัมมาทิฎฐิหรือมิจฉาทิฎฐิพระองค์กล่าวแต่รูปนาม. เป็นเรื่องของกายกับใจเท่านั้นว่าเป็นของไม่เที่ยง. อริยชนจึงไม่สนใจเรื่องนอกกาย

เจ้าของ:  student [ 26 ก.ย. 2015, 14:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

กบนอกกะลา เขียน:
มาต่อเรื่องมิจฉาทิฏฐิ..
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd14.htm
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร



อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ


[๘๖] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นนั่งบนอาสนะของตนแล้วได้ทูลถามปัญหากับ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๖ }

--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีอะไรเป็นมูลเหตุ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะ
เป็นมูลเหตุ”๑
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่
ทั้งอุปาทานขันธ์เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้น เป็นตัวอุปาทาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคต ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พึงมีได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้”

เหตุที่ชื่อว่าขันธ์


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรขันธ์จึงชื่อ
ว่าขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ในที่นี้หมายถึงมีตัณหาเป็นมูลเหตุ (ม.อุ.อ. ๓/๘๖/๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๗ }

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้
เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุที่ทำให้ขันธ์ปรากฏ


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูต ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้
รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”

เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ


[๘๗] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๘ }

--------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างนี้”

เหตุที่ทำให้สักกายทิฏฐิไม่มี


ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้
เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป

เชิงอรรถ :
๑ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา
นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑) อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)
กัลยาณปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒, ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๙ }


--------------------------------------------------------------------------------

ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างนี้”


อนุโมทนาครับ

เจ้าของ:  asoka [ 28 ก.ย. 2015, 05:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

:b16:
สรุป

มิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นผิด

เห็นผิด คือเห็นกายใจ รูป นาม ขันธ์ 5. นี้เป็นอัตตา ตัวกูของกู หรือ สักกายทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิจะหายไปได้เมื่อ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องว่ากายใจ รูป นาม ขันธ์ 5. นี้เป็นอนัตตาเกิดขึ้นมาแทน

onion

ไฟล์แนป:
buddha2_resize.gif
buddha2_resize.gif [ 37.14 KiB | เปิดดู 926 ครั้ง ]

เจ้าของ:  sirinpho [ 26 ม.ค. 2016, 18:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มิจฉาทิฏฐิ มีอะไรบ้าง

:b8: :b8: :b8:

หน้า 3 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/