วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนูปกิเลสนี่คืออะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนูปกิเลส : ความพึงใจ ยึดหน่วง ต่อคุณวิเศษต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญสมถะ วิปัสสนา
มีการจำแนกไว้ในปฏิสัมภิทามรรค 10 ประการ

Quote Tipitaka:
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ
๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก
จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ
ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนูปกิเลสนี้เกิดได้อย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิริพงศ์ เขียน:
วิปัสนูปกิเลสนี้เกิดได้อย่างไรครับ

บอกไปแล้วครับ
ความพึงใจ ยึดหน่วง ต่อคุณวิเศษต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญสมถะ วิปัสสนา

คุณวิเศษ 10 ประการ ไม่ใช่ตัวกิเลส
แต่
ความพึงใจ ยึดหน่วง ถือเอาเป็นทิฏฐิ เป็นตัวกิเลส
ซึ่งทำให้จิตกวัดแกว่ง ภาวนาเศร้าหมองไปครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ศิริพงศ์ เขียน:
วิปัสนูปกิเลสนี้เกิดได้อย่างไรครับ

บอกไปแล้วครับ
ความพึงใจ ยึดหน่วง ต่อคุณวิเศษต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญสมถะ วิปัสสนา

คุณวิเศษ 10 ประการ ไม่ใช่ตัวกิเลส
แต่
ความพึงใจ ยึดหน่วง ถือเอาเป็นทิฏฐิ เป็นตัวกิเลส
ซึ่งทำให้จิตกวัดแกว่ง ภาวนาเศร้าหมองไปครับ
สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรครับ. เป็นเพราะปฎิบัติผิดทางหรืออย่างไร. ถึงเกิดขึ้นมาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
cool
อ้างคำพูด:
วิปัสสนูปกิเลส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)
ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้
ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น
สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ
อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ
ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี
อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด
อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง
นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่างๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เกิดเป็นวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (หรือตรุณวิปัสสนา เช่น ในช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ในช่วงนี้ก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา

วิปัสสนูปกิเลสทั้งสิบนี้ เป็นภาวะที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิด คิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึดเอาคิดว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้นก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป คือพลาดทางวิปัสสนา แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดได้ว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นไม่ใช่ทาง รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ผู้ที่ไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส
2 ความยึดถือวิปัสสนูปกิเลส
3 อ้างอิง
4 ดูเพิ่ม
ผู้ที่ไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส[แก้]
วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่

พระอริยสาวก ผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกมาแต่เริ่มต้น)
แต่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียร ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้ว เท่านั้น

ความยึดถือวิปัสสนูปกิเลส[แก้]
อุปกิเลสแห่งวิปัสสนานี้มี ๑๐ อย่าง แต่ละอย่างมีความยึดถือได้อย่างละ ๓ แบบ (รวมเป็น ๓๐) ได้แก่

ทิฏฐิคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยทิฏฐิ เช่น ยึดถืออยู่ว่า "โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้ว"
มานคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยมานะ เช่น ยึดถืออยู่ว่า "โอภาสน่าพึงพอใจจริงหนอ เกิดขึ้นแล้ว"
ตัณหาคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยตัณหา เช่น ชื่นชมโอภาสอยู่
อ้างอิง[แก้]
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม".
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). "วิปัสสนาทีปนี".
พระพุทธโฆษาจารย์. "คัมภีร์วิสุทธิมรรค".
ดูเพิ่ม[แก้]
วิปัสสนา
วิปัสสนากรรมฐาน
หมวดหมู่: อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ

:b12: กระทู้ที่มีอยู่แล้วในลานธรรมจักร
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
ญาณ16 และ วิปัสสนูปกิเลส 10
ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่รู้จัก รูปและนาม โดยจะแยกทั้ง2สิ่งออกจากกัน
เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไปก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2
ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่างรูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหูซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อนอ่อนแข็งอ่อนตึง เป็นรูปมากระทบกายก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียรดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3
ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชาไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญาความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4
ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพยญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ถ้าผู้ปฎิบัติไม่เข้าไปสนใจวิปัสสนูปกิเลสนั้นก็จะผ่านไป ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูปนามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ 5
ญาณที่ 5 เรียกว่า ภังคญาณ ในภังคญาณนี้จะเห็นแต่ฝ่ายดับ เห็นรูปนามนั้นดับไป ดับไปด้วยความเร็วเพราะรูปนามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้าเข้าไปทันกับรูปนามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ในตรอกมองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ 5 เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 6
ญาณที่ 6 เรียกว่า ภยญาณ จะเห็นรูปนามที่มันดับไปนั้นแต่เกิด ความรู้สึกขึ้นในใจว่าเป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงไหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูปนามที่ประกอบเป็นชีวิตเป็นอัตภาพเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูปนาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับ ต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย
ญาณที่ 7 อาทีนวญาณ ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก
ญาณที่ 8 คือ นิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อรูปนามเป็นภัยเป็นโทษมันก็รู้สึกเบื่อหน่ายไม่ได้ติดใจเลยในรูปนามนี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมากๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 9
ญาณที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ในกองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 10
ญาณที่ 10 ปฏิสังขาญาณ ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ก็หาทางที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 11
ญาณที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูปนาม คือเมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเกิดเห็น ทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้สภาวะของจิตใจจะดิ้นรนไม่ต้องการ จะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติจริงๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้าแล้วไม่มีทางก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้นมันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจมันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 12
ญาณที่ 12 อนุโลมญาณ เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 13 เรียกว่า โคตรภูญาณ
ญาณที่ 13 โคตรภูญาณ คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้นจะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตรภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเองเป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา
ญาณที่ 14 มัคคญาณ มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุมพร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์
ญาณที่ 15 ผลญาณ ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา 2 ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ 2 ขณะ แล้วก็ดับลง
ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นโลกิยญาณ ญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน

วิปัสสนูปกิเลส 10
วิปัสสนูปกิเลส มี 10 ประการ
โอภาส คือ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้นจะรู้สึกเกิดความพอใจกับสิ่งอัศจรรย์ในใจที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดีพอใจ เมื่อเกิดความยินดีพอใจรูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็นรูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ
ญาณะ คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิดจะนึกจะพิจารณาอะไรมันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า
ปีติ คือ ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจปิติอิ่มเอิบอย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ
ปัสสัทธิ คือ ความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจเกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความยินดีพอใจเป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้นถ้ารู้ไม่ทัน พอเกิดแล้ว การเห็นรูปนามก็ไม่เห็น ไปติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้
สุขะ คือ ความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจในความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้
อธิโมกข์ คือ ตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมาก เชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนามอีกเหมือนกัน
ปัคคหะ คือ ความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น
อุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกินที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดีเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้
อุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจในความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้
นิกันติ คือ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ก้าวหน้าเพราะไปติดอยู่แค่นั้น
เมื่อได้เจอ นิมิต หรือ ติดใน วิปัสสนูปกิเลส ในกลับมาที่ องค์ภาวนา หรือ องค์กรรมฐาน เช่น ทำอานาปานสติโดยบริกรรม พุทโธ เมื่อเจอนิมิตก็ให้กลับมาที่พุทโธทันที

***********************************************

:b16:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
วิกิพีเดีย มีขยายความ อุปกิเลส วิปัสสนา มรรค
:b1:
อ้างคำพูด:
อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการคือ

ความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่
ความพยาบาท
ความโกรธ
ความผูกเจ็บใจ
ความลบหลู่บุญคุณ
ความตีเสมอ
ความริษยา
ความตระหนี่
ความเจ้าเล่ห์
ความโอ้อวด
ความหัวดื้อถือรั้น
ความแข่งดี
ความถือตัว
ความดูหมิ่น
ความมัวเมา
ความประมาทเลินเล่อ
อุปกิเลส ทั้ง 16 ประการนี้ แม้ประการใดประการหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจแล้วก็จะทำให้ใจสกปรกไม่ผ่องใสทันที และจะส่งผลให้เจ้าของใจหมดความสุขกายสบายใจ เกิดความเร่าร้อน หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว เต้นไปตามจังหวะที่อุปกิเลสนั้นๆ บงการให้เป็นไป

tongue
อ้างคำพูด:
วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง

วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ

อุคคหะ การเรียนพระธรรม
ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้
พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

smiley
อ้างคำพูด:
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความรู้-ปัญญา หรือมุมมอง ที่ถูกต้องตรงกับความจริง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4
สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกต้อง หมายถึง ความคิดที่ต้องละเว้นจากความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน
สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกต้อง หมายถึง การพูดที่ต้องละเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียดและเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง การกระทำที่ต้องละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง หมายถึง การทำมาหากินอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีการทุจริตและเอาเปรียบผู้อื่น
สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความพยายามที่อยู่ในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยกำจัดความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัย และลังเล คือการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เช่นการเจริญอานาปานสติสมาธิ มีสติรู้ลมหายใจ
สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกต้อง หมายถึง การฝึกกายและอารมณ์ให้สงบ โดยกำจัดความคิด,ความจำและอารมณ์ออกไปชั่วขณะหนึ่ง คือการเจริญฌานทั้งสี่

s002
:b29: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิริพงศ์ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ศิริพงศ์ เขียน:
วิปัสนูปกิเลสนี้เกิดได้อย่างไรครับ

บอกไปแล้วครับ
ความพึงใจ ยึดหน่วง ต่อคุณวิเศษต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญสมถะ วิปัสสนา

คุณวิเศษ 10 ประการ ไม่ใช่ตัวกิเลส
แต่
ความพึงใจ ยึดหน่วง ถือเอาเป็นทิฏฐิ เป็นตัวกิเลส
ซึ่งทำให้จิตกวัดแกว่ง ภาวนาเศร้าหมองไปครับ
สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรครับ. เป็นเพราะปฎิบัติผิดทางหรืออย่างไร. ถึงเกิดขึ้นมาได้

อ่านให้ดีๆ ครับ

ความพึงใจ ยึดหน่วง ต่อคุณวิเศษต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญสมถะ วิปัสสนา

เจริญสมถะวิปัสสนา จะปฏิบัติผิดได้อย่างไร...

แต่

เกิดกิเลสขึ้นมา เป็นธัมมุจธัจจ์ เป็นความฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นอุจธัจจะละเอียดอ่อนมาก ละได้ด้วยอรหัตมรรค
คือการหักกิเลสอันละเอียดอ่อนนั้นด้วยความรู้ที่ละเอียดเท่าทันต่อความพึงพอใจ ความยึดหน่วง ความคิดความเห็นต่ออารมณ์นั้นๆ

ผู้ปฏิบัติถ้ามาผิดทาง วิปัสสนูปกิเลสก็เกิดขึ้นไม่ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลุดพ้นแบบผิดๆ เรียกว่า มีความสงบผิด มีความตั้งมั่นผิด อิ่มอกอิ่มใจผิด ผิดเพราะรู้ไม่ทันต้น กลาง สุด นั้น ถ้ารู้ทันต้น กลาง สุด ก็เป็นวิปัสสนา ถ้ารู้ไม่ทันต้น กลาง สุด ก็เป็นวิปัสนูปกิเลส
จากสายสืบสั่งสอนนิสัยศาสตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 13:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าสังเกตต้น กลาง สุด ขอตัว จะชอบดับ จะชังดับ จะเฉยดับ จะปลอดนิวรณ์ ของจริงต้องดับ ถ้ายังมีการปรุงแต่งอยู่ของสิ่งนั้นเป็นแค่สมมุติ

จากสายสืบสั่งสอนนิสัยศาสตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ดับลง เพราะสมาธิตั้งมั่น ถ้าไม่ใช่สัมมาสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิดอยู่ดีครับ

นิวรณ์เป็นตัวกีดขวางการปฎิบัติ เป็นกิเลส

ความลังเลสงสัย

ความง่วงเหงาหาวนอน

เหล่านี้คือนิวรณ์

ในกรณีผมนั้น

มักจะมาในรูปแบบความเหนื่อย หมดแรง แต่ไม่มีความพยาบาทต่อผู้อื่น จะมีความติดใจในรสชาติบ้าง
ซึ่งก็รู้ตัวดี

และอีกอย่างคือความฟุ่งซ่าน ลองสังเกตุดูนะครับ แรกๆของการนั่งสมาธิ กว่าจะรวบรวมสมาธิได้ บางคนใช้เวลาครึ่งชั่วโมง เพราะจิตมันฟุ่งซ่าน ไม่ตั้งมั่น กำหนดยาก

ผมเองก็เป็น เหล่านี้คือนิวรณ์ ให้ถึงที่สุดคือนิโรธ นิวรณ์จึงจะดับลงอย่างสนิท

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:

ผมเองก็เป็น เหล่านี้คือนิวรณ์ ให้ถึงที่สุดคือนิโรธ นิวรณ์จึงจะดับลงอย่างสนิท

หากได้ ปฐมฌาน
นิวรณ์ ก็ดับสนิทแล้วครับ

Quote Tipitaka:
[๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อม
เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอย
กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรง
สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ
และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ
[๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย
อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ
เช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหาร
แล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย
คือพยาบาท เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้
มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
[๒๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำ
ปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:

ผมเองก็เป็น เหล่านี้คือนิวรณ์ ให้ถึงที่สุดคือนิโรธ นิวรณ์จึงจะดับลงอย่างสนิท

หากได้ ปฐมฌาน
นิวรณ์ ก็ดับสนิทแล้วครับ

Quote Tipitaka:
[๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อม
เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอย
กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรง
สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ
และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ
[๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย
อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ
เช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหาร
แล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย
คือพยาบาท เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้
มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
[๒๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำ
ปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ
ปฐมฌานนิวรณ์ดับนั้นแหล่ะครับคืออกุศลนิโรธ. ผู้ที่ได้ศึกษาอริยสัจมาดีก็บรรลุได้เลยครับเพราะเห็นนิโรธ. จัดลงในปริญญาสามเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านตอนแรกๆ ก็ดูจะเเข้าท่าดี ทำไปทำมาทำไมเป็นเรื่องปฐมฌานไปได้ก็ไม่รู้
ไปเป็นเรื่องนิวงนิวรณ์นิลงนิโรธไปโน่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2015, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
ลุงหมาน เขียน:
อ่านตอนแรกๆ ก็ดูจะเเข้าท่าดี ทำไปทำมาทำไมเป็นเรื่องปฐมฌานไปได้ก็ไม่รู้
ไปเป็นเรื่องนิวงนิวรณ์นิลงนิโรธไปโน่น
:b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร