วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 05:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


45648.ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45648

ไม่รู้อะไรทำให้คิดไปค้นหา..คิริมานนทสูตร..

เลยไปพบกระทู้เก่า ...

ทั้งคิริมานนทสูตร..อโนทิสสูตร..

พบมิตราพดีดี..ที่สมัยนั้น..ตนเองก็คิดไม่ได้..ที่คิดได้ก็ไม่ได้อย่างที่กำลังเป็น..
:b8: :b8: :b8:

อ ะไรอะไร..มันก็เปลี่ยนนะ...ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยน

และ..มันก็โชคดีนะ..ที่ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยน....ไม่งั้น..ก็โง่ไม่เปลี่ยน...วนเวียนสวัฏฏะก็ไม่เปลี่ยน..ซิ..ว่ามั้ย

rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 05:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


อาพาธสูตร


[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา-
*นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์
อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้
โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา
๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ
โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐
ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว
สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต
สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่
เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย
ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น
อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา
โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ
เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้
มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์
นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก
โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง
โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด
โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย
ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความ
ไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้
หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตก
อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อม
ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส
ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่
เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ละอุบาย ๑- และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น
อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรต
สัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์
นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติ
หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็
รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ
หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง
@๑. อุบาย คือ ตัณหาและทิฐิ อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔
(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อม
ศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)
หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อม
ศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้
มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้อง
จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหาย
ใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษา
ว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็น
ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น
โดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัด
คืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ

ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่
คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน
เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่าน
พระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระ-
*คิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้
แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐
จบสจิตตวรรคที่ ๑


-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สจิตตสูตร ๒. สาริปุตตสูตร ๓. ฐิติสูตร ๔. สมถสูตร
๕. ปริหานสูตร ๖. สัญญาสูตรที่ ๑ ๗. สัญญาสูตรที่ ๒ ๘. มูลสูตร
๙. ปัพพชิตสูตร ๑๐. อาพาธสูตร ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 05:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังอ่านพระสูตร...คิริมานสูตร (เต็ม)

ในหนังสือ...สัญญา 10

ในที่อ่านพระสูตร..มีสัญญา 2

แต่ก็ฟังไปก่อน..อย่าด่วนสงสัย..ปล่อยให้จิตตามกระแสคำที่อ่านไปก่อน..ฟังทั้งหมดแล้ว..จะเห็นความครอบคลุม..




:b8: :b8: :b8:

นาที..32.เป็นต้นไป...ก็น่าสนใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
45648.ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45648

ไม่รู้อะไรทำให้คิดไปค้นหา..คิริมานนทสูตร..

เลยไปพบกระทู้เก่า ...

ทั้งคิริมานนทสูตร..อโนทิสสูตร..

พบมิตราพดีดี..ที่สมัยนั้น..ตนเองก็คิดไม่ได้..ที่คิดได้ก็ไม่ได้อย่างที่กำลังเป็น..
:b8: :b8: :b8:

อ ะไรอะไร..มันก็เปลี่ยนนะ...ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยน

และ..มันก็โชคดีนะ..ที่ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยน....ไม่งั้น..ก็โง่ไม่เปลี่ยน...วนเวียนสวัฏฏะก็ไม่เปลี่ยน..ซิ..ว่ามั้ย

rolleyes rolleyes rolleyes

:b13:
จะต้องมีผู้ที่พิจารณาว่าจำหรือจริงต่างกัน
คุณกบเห็นธรรมอะไรบ้างจากการสนทนานั้น
ข้าพเจ้าเห็นความเป็นจิตทั้งสัมมาและมิจฉาทิฏฐิ
:b16:
:b1: :b16: :b1: :b16: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 12 ก.ย. 2015, 13:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ปรมัตถ์คือสิ่งที่มีจริงเป็นที่สิ้นสุด
ที่สิ้นสุดของการพิจารณารูปธรรมหรือกายมี3คือจิตเจตสิกรูปเป็นสังขตธรรม
และที่สิ้นสุดของการพิจารณานามธรรมหรือจิตคือนิพพานเป็นอสังขตธรรม
นิพพานเป็นธรรมชาติที่ไม่ตายเพราะรู้ดับไม่เหลือแห่งการสิ้นสุดกองภพ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
Rosarin เขียน:
Kiss
ปรมัตถ์คือสิ่งที่มีจริงเป็นที่สิ้นสุด
ที่สิ้นสุดของการพิจารณารูปธรรมหรือกายมี3คือจิตเจตสิกรูปเป็นสังขตธรรม
และที่สิ้นสุดของการพิจารณานามธรรมหรือจิตคือนิพพานเป็นอสังขตธรรม
นิพพานเป็นธรรมชาติที่ไม่ตายเพราะรู้ดับไม่เหลือแห่งการสิ้นสุดกองภพ
onion onion onion

นิพพานเป็นสภาวธรรมที่ดับภพทั้งสาม
คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็นอมตธรรม
:b16:
:b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 12 ก.ย. 2015, 16:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยก่อนนะครับมีแต่สาวกเขาใช้คำของพระพุทธเจ้าแสดงธรรมกันเรียกว่ามุขปาฐะจำปากต่อปากกันมา. จนปริพาชกนอกศาสนาเขาชื่นชมกันว่าสาวกของพระองค์รักและเคารพพระองค์มาก. สาวกจะใช้คำพระองค์สนทนากันเป็นบริษัทที่เลิศ แต่สมัยนี้มีแต่คำแต่งขึ้นมาใหม่เอามาสนทนาธรรมกัน. ขนาดสั่งห้ามก็ยังทำกันเลย แย่จังนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ศิริพงศ์ เมื่อ 12 ก.ย. 2015, 19:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
Rosarin เขียน:
Kiss
ปรมัตถ์คือสิ่งที่มีจริงเป็นที่สิ้นสุด
ที่สิ้นสุดของการพิจารณารูปธรรมหรือกายมี3คือจิตเจตสิกรูปเป็นสังขตธรรม
และที่สิ้นสุดของการพิจารณานามธรรมหรือจิตคือนิพพานเป็นอสังขตธรรม
นิพพานเป็นธรรมชาติที่ไม่ตายเพราะรู้ดับไม่เหลือแห่งการสิ้นสุดกองภพ
onion onion onion

นิพพานเป็นสภาวธรรมที่ดับภพทั้งสาม
คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็นอมตธรรม
:b16:
:b44: :b44:

:b16:
ภูมิรู้อธิบายจากจิตที่รู้แจ้งธรรม
เพราะสภาวธรรมที่นามเกิดรูปดับ
เป็นการเกิดของนามธรรมดับรูปธรรม
มีความรู้จริงจากจิตตนในพระอภิธรรมปิฎก
จิตรู้แจ้งรายละเอียดที่ดับรูปขันธ์และนามขันธ์
จิตที่ดับกองทุกข์และกองอนิจจังเหลือกองอนัตตา
สภาพจิตที่เข้าถึงพระอภิธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ซึ่งเป็นจิตที่มีความเข้าใจและเข้าถึงลักษณะสติปัฏฐานสี่
จิตไม่เห็นผิดในกายไม่หลงสมมุติเป็นจิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม
:b8:
:b40: :b40:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 20 ก.ย. 2015, 03:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิริพงศ์ เขียน:
สมัยก่อนนะครับมีแต่สาวกเขาใช้คำของพระพุทธเจ้าแสดงธรรมกันเรียกว่ามุขปาฐะจำปากต่อปากกันมา. จนปริภาชกนอกศาสนาเขาชื่นชมกันว่าสาวกของพระองค์รักและเคารพพระองค์มาก. สาวกจะใช้คำพระองค์สนทนากันเป็นบริษัทที่เลิศ แต่สมัยนี้มีแต่คำแต่งขึ้นมาใหม่เอามาสนทนาธรรมกัน. ขนาดสั่งห้ามก็ยังทำกันเลย แย่จังนะครับ

ผิดแล้วครับ
ในพระสูตรหนึ่งคือ วิสาขสูตร
คำแต่งใหม่ หรือคำทั่วไปเป็นภาษาชาวบ้านชาวเมือง ไม่เป็นถ้อยคำพุทธวจนะ ก็สามารถสนทนากันได้
หากการสนทนานั้นมีความหมายนับเนื่องในนิพพาน ที่พระพุทธองค์สอนสั่ง

พระพุทธองค์ ก็ยังสรรเสริญครับ
เราไม่จำเป็นต้องพูดพุทธวจนะตลอดเวลาที่สนทนาธรรมก็ได้ครับ

Quote Tipitaka:
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ได้ชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง
สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่
อิงวัฏฏะ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้นในสายัณห์สมัย เสด็จ
ไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครหนอ ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจา-
*ของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่อง
ในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านวิสาขปัญจาลิบุตรว่า ดีละ ดีละ
วิสาขะ เป็นการดีแล้ววิสาขะ ที่เธอชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ฯ

คนที่ไม่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ไม่ได้ว่า เป็นพาลหรือบัณฑิต
ส่วนคนที่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่า เป็นผู้แสดงอมตบท
บุคคลพึงยังธรรมให้สว่างแจ่มแจ้ง พึงยกย่องธงของฤาษี
ทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง เพราะว่าธรรมเป็น
ธงของพวกฤาษี ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ศิริพงศ์ เขียน:
สมัยก่อนนะครับมีแต่สาวกเขาใช้คำของพระพุทธเจ้าแสดงธรรมกันเรียกว่ามุขปาฐะจำปากต่อปากกันมา. จนปริภาชกนอกศาสนาเขาชื่นชมกันว่าสาวกของพระองค์รักและเคารพพระองค์มาก. สาวกจะใช้คำพระองค์สนทนากันเป็นบริษัทที่เลิศ แต่สมัยนี้มีแต่คำแต่งขึ้นมาใหม่เอามาสนทนาธรรมกัน. ขนาดสั่งห้ามก็ยังทำกันเลย แย่จังนะครับ

ผิดแล้วครับ
ในพระสูตรหนึ่งคือ วิสาขสูตร
คำแต่งใหม่ หรือคำทั่วไปเป็นภาษาชาวบ้านชาวเมือง ไม่เป็นถ้อยคำพุทธวจนะ ก็สามารถสนทนากันได้
หากการสนทนานั้นมีความหมายนับเนื่องในนิพพาน ที่พระพุทธองค์สอนสั่ง

พระพุทธองค์ ก็ยังสรรเสริญครับ
เราไม่จำเป็นต้องพูดพุทธวจนะตลอดเวลาที่สนทนาธรรมก็ได้ครับ

Quote Tipitaka:
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ได้ชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง
สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่
อิงวัฏฏะ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้นในสายัณห์สมัย เสด็จ
ไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครหนอ ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจา-
*ของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่อง
ในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านวิสาขปัญจาลิบุตรว่า ดีละ ดีละ
วิสาขะ เป็นการดีแล้ววิสาขะ ที่เธอชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ฯ

คนที่ไม่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ไม่ได้ว่า เป็นพาลหรือบัณฑิต
ส่วนคนที่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่า เป็นผู้แสดงอมตบท
บุคคลพึงยังธรรมให้สว่างแจ่มแจ้ง พึงยกย่องธงของฤาษี
ทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง เพราะว่าธรรมเป็น
ธงของพวกฤาษี ฯ

สงสัยท่านเช่นนั้นจะเข้าใจอะไรผิดแล้วล่ะนะครับ คำที่เป็นวาจาชาวบ้านนับเนื่องด้วยนิพพาน นั้นพระองค์ไม่ได้ห้ามครับ. เพราะนั้นก็คือการสนทนาโดยใช้คำที่มีความหมายของพระตถาคตเจ้าครับ ท่านห้ามเรื่องนอกแนวเช่นการเมือง. การค้า. แต่งใหม่ต่างหาก. แต่ถ้าเป็นคำของพระองค์ก็ถือว่าเป็นบริษัทที่เลิศครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ศิริพงศ์ เมื่อ 12 ก.ย. 2015, 19:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา
ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท
ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา
จิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย
ความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 19:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิริพงศ์ เขียน:
สมัยก่อนนะครับมีแต่สาวกเขาใช้คำของพระพุทธเจ้าแสดงธรรมกันเรียกว่ามุขปาฐะจำปากต่อปากกันมา. จนปริพาชกนอกศาสนาเขาชื่นชมกันว่าสาวกของพระองค์รักและเคารพพระองค์มาก. สาวกจะใช้คำพระองค์สนทนากันเป็นบริษัทที่เลิศ แต่สมัยนี้มีแต่คำแต่งขึ้นมาใหม่เอามาสนทนาธรรมกัน. ขนาดสั่งห้ามก็ยังทำกันเลย แย่จังนะครับ


ไม่นะครับ...ที่เห็นนี้เขาสังคายนา...คือพระอานนท์กล่าวโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน

ส่วนการพูดคุย..ผมคิดว่า...เขาก็พูดคุยกันปกติแหละคับ...
ส่วนการท่องมนต์..จึงเป็นปากต่อปาก...

และพระสูตรก็มีของสาวกกล่าวกันก็มีนะครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ข้าพเจ้าอ่านการสนทนาของท่านเช่นนั้นกับท่านโฮฮับแล้ว
ท่านโฮฮับสนทนาโดยใช้วาระจิตที่ถึงภูมิธรรมแล้วนะท่าน
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 19:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b13:
จะต้องมีผู้ที่พิจารณาว่าจำหรือจริงต่างกัน
คุณกบเห็นธรรมอะไรบ้างจากการสนทนานั้นข้าพเจ้าเห็นความเป็นจิตทั้งสัมมาและมิจฉาทิฏฐิ
:b16:
:b1: :b16: :b1: :b16: :b12:


เอกอน...งดงาม

โฮฮับ...ก็งาม

กบนอกกะลา....ปุ๋ย :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อย่างมหาภูตรูปนี่เป็นสิ่งที่มีจริง
ณ สิ่งที่เห็นในสมมุติเป็นคนสัตว์
สิ่งของ แม่น้ำ ป่าไม้ ภูเขา ทุกสิ่ง
ไม่ว่ามีจิตหรือไม่ก็คือมหาภูตรูป4
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร