วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"พูดเป็นธรรม"

" .. มิได้หมายความว่า พูดเรื่องธรรม
แต่หมายความว่า พูดถูกต้อง มีเหตุผล
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล .. "

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b8: :b8:

ท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ขอรับ :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 16:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกแล้วครับ....จะคุยได้งานได้การ..นี้...ผู้พูดต้องพูดด้วยความปกติ...ยิ่งพูดด้วยสมาธิจิต..การพูดนั้นย่อมมีพลังให้ผู้ฟังรู้เห้นตามผู้พูดได้ง่าย...

แต่หากพูดด้วยโทสะ...มานะ....พูดด้วยความไม่ปกติของใจ...นอกจากไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าถึงอรรถถึงธรรมตามที่พูดแล้ว...กลับจะเกิดผลในทางตรงข้าม...คือ...ปฏิเสธ...แอนตี่...อาจเป็นเหตุให้ผู้ฟังเผลอปรามาสพระสัทธรรมที่กำลังยกมาคุยกันได้ง่าย..

การพูดไม่ดี...จึงมีแต่เสีย..กับเสีย...ไม่เกิดประโยชน์ในการพูดนั้นเลย

:b16: :b16: :b16:

แต่....การพูดในลักษณะคล้ายการโต้วาที...เหมือนที่พระท่านเทศน์2-3 ธรรมมาส...นี้มันก็ต้องมีลีลากันหน่อย...เพื่อเรียกความสนใจของผู้ฟัง...ซึ่งจะต่างกันกับการพูดแค่ สองต่อ สอง


หากเจอเด็กดื้อ...ก็ต้องตีมั้ง...ละ...นี้ก็เมตตา..นะ

:b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 28 ส.ค. 2015, 20:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว



:b8: เห็นด้วยกับองค์สมเด็จท่านค่ะ


ปากนี้เป็นประตูของหัวใจ (ใหญ่กว่าดวงตาซึ่งเป็นหน้าต่างหน่อย :b9: )
ประตูบานใหญ่ มีบานเดียวพอ เพราะสำคัญ ประตูบ้านเปิดอ้าซ่าตลอดก็ไม่ไหวล่ะ
ฝุ่นเข้า แมลงสัตว์อะไร หรือใครๆก็มองทะลุเข้ามาได้หมด เลยต้องปิดประตูให้มากกว่าเปิดเนอะ :b9:

ปากพูดอย่างไร ก็สะท้อนหัวใจว่าเป็นแบบนั้น

โลภก็พูดแสดงความโลภ
โกรธก็พูดแสดงความโกรธ ขัดเคือง กระทบผู้อื่น
หลงก็พูดแสดงความหลง ความเมาของตัวเองออกมา

นั่งๆฟังมากกว่าพูดละมีกำไร :b11: :b11:
อดได้ ไม่โต้ตอบผู้พูดเบียดเบียนมาก่อน เรายิ่งกำไรมาก ใช่ป่าวคะ :b9:

อย่างน้อยๆ ก็กำไรตรงที่ความโกรธ โลภ หลง ในใจก็ไม่รั่วไหลออกมาทางวาจา อิอิ :b12:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานันทวรรคที่ ๓
ฉันนสูตร



[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย
บัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะหรือ

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เราบัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะ ฯ


ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลาย
เห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ
เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ


อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เพื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นตามความเป็นจริง




ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

บุคคลผู้ดุร้าย ฯลฯ

บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต


บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ


บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำจิตรัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง
ไม่หลงและทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรผู้มีอายุ เราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีหรือ ฯ

อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ

ฉ. ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ

อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นดี
และสมควรเพื่อความไม่ประมาท ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 667&Z=5721

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 ส.ค. 2015, 23:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 s002
คุณน้ำ..ไม่มีสรุปคราว ๆ ..หรือทำไฮไลท์..ในพระสูตรที่ยกมา..เพื่อให้คนเห็นประเด็นที่นำมาโพสต์...บ้างหรือคับ...

คือคนไม่ฉลาดอย่างผม...มันจับจุดยาก..นะครับ....

หากมีไกด์ให้นิดหน่อย..ก็อาจจะเก็จได้เร็วขึ้น..

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อานันทวรรคที่ ๓
ฉันนสูตร


[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย
บัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะหรือ

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เราบัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะ ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลาย
เห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ
เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ

อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้

ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้กำหนัด
อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นตามความเป็นจริง

ความกำหนัดแล
ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน


บุคคลผู้ดุร้าย (โทสะ) ฯลฯ

บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำจิตรัดรึงจิตไว้

ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง
ไม่หลงและทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรผู้มีอายุ เราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีหรือ ฯ

อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ

ฉ. ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ

อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นดี
และสมควรเพื่อความไม่ประมาท ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 667&Z=5721



กบนอกกะลา เขียน:
s002 s002
คุณน้ำ..ไม่มีสรุปคราว ๆ ..หรือทำไฮไลท์..ในพระสูตรที่ยกมา..เพื่อให้คนเห็นประเด็นที่นำมาโพสต์...บ้างหรือคับ...

คือคนไม่ฉลาดอย่างผม...มันจับจุดยาก..นะครับ....

หากมีไกด์ให้นิดหน่อย..ก็อาจจะเก็จได้เร็วขึ้น..

:b9: :b9: :b9:


เมื่อผัสสะมีเกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ จึงหลงกระทำตามตัณหา ความทะยานอยากที่มีเกิดขึ้น

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

หมายเหคุ;

เมื่อถูกตัณหาครอบงำ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

เหตุมี ผลย่อมมี (มโนกรรม)
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้

ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ

หมายเหตุ
เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่ ผู้ที่ถูกตัณหาครอบงำ
ย่อมหลงกระทำ (สร้างเหตุ) ตามความรู้สึกนึกคิด (มโนกรรม) ที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย (กายกรรม) ทางวาจา (วจีกรรม)

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

หมายเหตุ;

คำว่า ละ
วิธีการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

เมื่อปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
(ถึงจะไม่รู้สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ ด้วยตนเองก็ตาม)

เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เชื่อพระพุทธเจ้า
เป็นปัจจัยให้เกิดความศรัทธาในพระธรรมคำสอน

จึงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ (การกำหนดรู้)

เมื่อกำหนดรู้ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา
ย่อมไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
เป็นการดับเฉพาะตน เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่มีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 05:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
"พูดเป็นธรรม"

" .. มิได้หมายความว่า พูดเรื่องธรรม
แต่หมายความว่า พูดถูกต้อง มีเหตุผล
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล .. "

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b8: :b8:

ท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ขอรับ :b1:


การพูดไม่ว่าพูดอะไรออกมาที่เป็นกุศล หรืออกุศลล้วนแล้วเป็นธรรมทั้งสิ้น

การพูดที่ดีจะต้องได้รับประด้วยกันทั้งสองฝ่าย คนพูดก็ได้บุญ คนฟังก็ได้บุญ
เช่น สอนธรรมะ หรือในขณะกดแป้นพิมพ์อยู่นี้ เมื่อผู้เข้ามาอ่านก็เข้าใจธรรมะ เป็นต้น
แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ว่าผู้พูดจะต้องพูดในลักษณะมีจิตเมตตามีความปรารถนาให้ผู้ฟัง
ได้รับประโยชน์ ส่วนผู้ฟังก็จะต้องมีสติสัมปชัญญะพิจารณาตามด้วย

ถ้าได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว เช่น ผู้พูดก็พูดธรรมะไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าผู้ฟังเขาจะรู้หรือเปล่า
หรือผู้พูดก็ไม่รู้ในธรรมะนั้นๆ เกิดผู้ฟังเกิดข้อสงสัยก็ไม่อาจอธิบายธรรมะที่ลึกซึ้งได้
เป็นเพียงท่องจำมาพูดหรือ copy เขามาเท่านั้น แต่คนฟังหรืออ่าน เขาเข้าใจธรรมะได้ดี

ถ้าไม่ได้รับประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ดังจะเห็นได้มากเลยเช่นในวันพระ ก็จะมีพระขึ้นธรรมาส
ยกใบลานขึ้นมาเทสตามใบลาน ท่านก็ว่าของท่านไป ผู้ฟังก็นั่งประนมคุยแข่งกับพระที่เทสไป
อย่างนี้เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
"พูดเป็นธรรม"

" .. มิได้หมายความว่า พูดเรื่องธรรม
แต่หมายความว่า พูดถูกต้อง มีเหตุผล
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล .. "

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b8: :b8:

ท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ขอรับ :b1:






"ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล"
ทั้งหมด เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยของแต่ละคน ที่มีต่อกัน






บุคคลผู้มีกิเลส บุคคลผู้มีกิเลส ตัณหามีกำลังแรงกล้า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เหตุปัจจัยจากอวิชชา เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

เมื่อไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น นั้นคืออะไร
ทำไมจึงมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เมื่อไม่รู้
ย่อมหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ
มากกว่าคิดกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์


ถูกใจก็ยกยอ
ไม่ถูกใจ ก็นินทาว่าร้าย ชอบเพ่งโทษนอกตัว เพราะมันๆๆๆๆ
เพราะถูกครอบงำด้วยตัณหา
ให้ตัณหาเป็นนาย



อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง



บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ




บุคคลผู้กำหนัด
อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง



ความกำหนัดแล
ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ

เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน





หมายเหตุ;


บุคคลผู้มีกิเลส ตัณหามีกำลังแรงกล้า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เหตุปัจจัยจากอวิชชา ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น



ย่อมหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ
มากกว่าคิดกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีความเห็นว่า..เหตุปัจจัย..นี้...สร้างใหม่ได้..(และก็ควรสร้างใหม่นสื่งที่ดีงามเสมอ ๆ )

เมื่อมีสติ...มีปัญญา..ได้รู้ว่าธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นก็เพื่อสร้างเหตุปัจจัยใหม่นี้แหละ

เหตุปัจจัยที่จะสร้างใหม่นี้..จึงขึ้นอยู่กับปัจจุบันว่า...มีสุตตะ..มีศรัทธา...มีปัญญาเห็นตามสุตตะที่พระองค์..แล้วปฏิบัติตามทีพระองค์สอนหรือไม่...มีสังวรในธรรม..สำรวมในธรรมมากน้อยเท่าไร..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ผมมีความเห็นว่า..เหตุปัจจัย..นี้...สร้างใหม่ได้..(และก็ควรสร้างใหม่นสื่งที่ดีงามเสมอ ๆ )

เมื่อมีสติ...มีปัญญา..ได้รู้ว่าธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นก็เพื่อสร้างเหตุปัจจัยใหม่นี้แหละ

เหตุปัจจัยที่จะสร้างใหม่นี้..จึงขึ้นอยู่กับปัจจุบันว่า...มีสุตตะ..มีศรัทธา...มีปัญญาเห็นตามสุตตะที่พระองค์..แล้วปฏิบัติตามทีพระองค์สอนหรือไม่...มีสังวรในธรรม..สำรวมในธรรมมากน้อยเท่าไร..





ในสิ่งที่กล่าวมา กล่าวได้ตรงกับพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้

ว่าด้วย ผัสสะ (กรรมเก่าและกรรมใหม่)


เมื่อยังมีกิเลส เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน
ความสามารถ ที่จะกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
มีรู้กับไม่รู้ แต่ได้ศึกษา มีความศรัทธา เชื่อในพระธรรรมคำสอน
และปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน


ทีนี้ขึ้นอยู่กับว่า
บุคคลนั้น มีขันติ มีความอดทนอดกลั้นต่อผัสสะ ที่มีเหตุปัจจัยต่อกันนั้น
บุคคลนั้น มีความอดทน อดกลั้นได้มากน้อยแค่ไหน

หากให้ตัณหานำหน้า ประมาณว่า แกว่าชั้น ชั้นต้องว่าแก
เป็นการสร้างเหตุใหม่ ให้มีเกิดขึ้นทันที

หากกำลังโลภะแรงกล้า ความอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น
มีตัณหานำหน้า ย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ



ฉะนั้น จะรู้หรือไม่รู้ ต้องมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เพื่อเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้เกิดการสำรวม สังวร ระวัง ประกอบเนืองๆ
ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังดีกว่าหลงวังวนการเวียนว่ายในสังสารวัฏ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย


เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา



เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย




นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น



[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้


[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไป
แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ
สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น

คือ ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไป
แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ . . :b8: . . ขอโมทนากับทุกท่าน ทุกความเห็น

:b53: :b53: :b38: :b38: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2015, 13:00 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss ถูกต้องที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2015, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิริยะ เขียน:
"พูดเป็นธรรม"

" .. มิได้หมายความว่า พูดเรื่องธรรม
แต่หมายความว่า พูดถูกต้อง มีเหตุผล
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล .. "

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b8: :b8:

ท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ขอรับ :b1:


พระท่านตรัสสอนถูกต้อง แต่ต้องขยายความ เพราะหลายๆคนก็เข้าใจ
คำสอนของท่านผิด ที่เข้าใจผิดเพราะเข้าใจไม่ถ่องแท้ เพราะบางคนตัดเอาคำว่า

ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล ออกเสีย

อ่านแล้วเข้าใจแต่ท่อนที่บอกว่า พูดถูกต้อง มีเหตุผล

เราเป็นมนุษย์ธรรมดา บางทีย่อมมีพูดผิดบ้าง และหลายครั้งเหตุผลก็นำมาซึ่งการทะเลาะ
รบราฆ่าฟัน เหตุเพราะบางครั้งเหตุผลของเราอาจไม่ถูกจริตเขาบ้าง และเหตุผลของเขา
ก็อาจไม่ถูกจริตใครอีกหลายคนบ้าง เพราะไปเน้นเอาแต่เหตุผล ความถูกต้องที่มากเกินไป
ต่างคนต่างอ้าง เหตุและผลของตนถูกต้องโดยขาดความรัก ความเมตตา เพราะกิเลสมัน
พาไป แบบนี้ก็ยังไปไม่รอด

บางครั้งถูกต้องของเราก็กลายเป็นเรื่องไม่ถูกต้องสำหรับเขาได้เช่นกัน ต้องระวัง

เพราะฉนั้น คำสอนของพระท่าน สาระสำคัญมันอยู่ที่ประโยคนี้

"ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล"

เพราะหมายถึงการพูดด้วยความรัก ความเมตตา ปราถนาดี
พูดในสิ่งที่ดีงาม ในสิ่งที่จำเป็น ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่พูด
ในสิ่งไม่ดี


เขาอาจพูดผิดบ้าง เราอาจพูดผิดบ้าง เรารู้แล้วก็ให้อภัย
เราอาจมีเหตุผลมากบ้าง น้อยบ้าง คนอื่นก็เช่นกัน ให้อภัย

พระท่านหมายความว่าให้พูดจาภาษาดอกไม้

การพูดจาภาษาดอกไม้ไม่ได้หมายความว่าพูดจาไพเราะ
แต่หมายถึงมีคำพูดและท่าทีที่เป็นมิตร อ่อนโยน อบอุ่น
พูดด้วยความเมตตา ปราถนาดี พูดด้วยใจที่คิดดี หรือหมายถึง
การพูดด้วยความรัก

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร