วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 06:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

ทำเพื่ออะไรเหรอกบ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

Kiss
เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งได้กุศลได้ขัดเกลากิเลส
ลดทิฏฐิมานะรู้จักการเคารพบูชานบนอบกราบไหว้
ตั้งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยด้วยกายวาจาใจ
ขณะสวดใจคิดไปเรื่องอื่นก็เป็นการไม่เคารพ
ฉะนั้นการสวดจะบทสั้นหรือยาวต้องสงบใจ
:b4: :b4:
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 12 ส.ค. 2015, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 10:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: ทำวัตรเช้า แปลว่า สวดมนต์ตอนเช้า ใช่มะ.

สวดมนต์ ก็เป็นหนึ่งในสติปัฎฐาน หมวดธรรมมานุปัสสนา, จดจ่ออยู่กับคำสวด.

แต่การใช้คำพิเศษว่า "ทำวัตร" เป็นการแบ่งชนชั้น เพื่อให้พระมีสถานะสูงกว่าคนทั่วไป, ไม่สามารถใช้ภาษาเดียวกันได้. เป็นการขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันของมนุษย์.
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, พิพากษาให้จำเลยใช้คำว่า "สวดมนต์ตอนเช้า", และให้จำเลยเป็นผู้จ๊าดง่าว จนกว่าจะเลิก "ทำวัตร". จำเลยไม่สารภาพ ประกอบกับอยูโยงบอร์ดมาช้านาน, ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงเหลือง่าวพอประมาณ :b28: :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าให้พระหลังฉัน ท่านให้เดินจงกรมสลับนั่งไปจนถึงเวลานอนพอตื่นก็เดินจงกรมสลับนั่งออกบิณฑบาท

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

คำถามแบบนี้ไม่น่าจะเป็นคำถามของผู้ทรงคุณวุฒิเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 18:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดเกิดความหวาดกลัวระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็หายกลัวบ้าง ไม่หายกลัวบ้าง นั่นเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นยังละชอบ ชัง เฉย ไม่ได้ แต่ถ้าละลึกถึงพระพุทธเจ้าจะหายความหวาดกลัว เพราะพระพุทธเจ้าละชอบ ชัง เฉยได้แล้ว เพราะฉะนั้นการระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จะมีประโยชน์ไหมล่ะ จะคิดดับๆ
จากสายสืบสั่งสอนนิสัยศาสตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2015, 21:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

คำถามแบบนี้ไม่น่าจะเป็นคำถามของผู้ทรงคุณวุฒิเลย



ปลดเลยคับ..ท่าน ผบ.
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

การสวดมนต์ หรือสาธยายธรรม คือการปฏิบัติบูชารูปแบบหนึ่ง หมายถึง การสวดสรรเสริญ
พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เช่น ..

อิติปิโส .. สวากขาโต .. สุปฏิปันโน .. บทสวดธัมมจักร มงคลสูตร
พาหุง หรือ บทสวดอานิสงค์ของทาน ศีล ฯลฯ เป็นต้น

ครั้งพุทธกาล บุคลลกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระองค์ยังทำนายว่า
บุคคลผู้กล่าวสรรเสริญตถาคต จะได้เกิดเป็นพระจักรพรรดิ เท่านั้นเท่านี้ชาติ
แสดงว่า การกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญมีคุณมากมาย มหาศาล

เพราะเหตุนั้น การสวดมนต์สรรเสริญ พระรัตนตรัย ทุกวันทุกคืน มีหรือจะไม่ได้รับอานิสงส์

การกล่าวถึง อานิสงส์ของศีล ของทาน เช่น สีเลนะ สุขติยันติ สีเลนะโภคสัมปทา ..
บุคคลผู้ได้ยินได้ฟังก็ปลาบปลื้ม ปิติ บรรลุธรรมในขณะฟังอยู่ก็มี

แม้ขณะท่องบ่น จิตจดจ่ออยู่กับพระธรรมคำสวด นิวรณ์ทั้งหลายเข้าครอบงำไม่ได้
จิตก็เป็นสมาธิได้

การสวดมนต์หรือสาธยายธรรม เป็นการท่องบทธรรมคำสอน เป็นการทบทวน
ความจำจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้พระธรรมคำสอนนั้นไม่ลบเลื่อนไป

เป็นการจรรโลงพระธรม คำสอนของพระศาสดา ทำให้พระศาสนา คงอยู่ ยืนยาวไป
ตราบนานเท่านาน ถึง ๕๐๐๐ ปี ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ฮานาโกะก็เห็นประโยชน์มากนะคะ แต่ส่วนตัวไม่ได้สวดยาวๆกับเขาหรอกค่ะ :b46:
แต่ทำอะไรสม่ำเสมอไปทุกวัน พอขาดไป มันอยู่ไม่ได้
แต่ถ้าเกิดทนได้เลยเลิกทำ ห่างไป ทีนี้ไม่ต้องทำก็ได้เลยจืดจางห่างเหินไปเลย
การไม่รำลึกถึงพระรัตนตรัยให้บ่อยๆ จิตใจที่ปกติแข็ง ดื้อต่อความดี
ก็คงกลับไปสนิทสนมกับบาปอย่างเก่า :b3:
ตรงข้ามถ้าทำบ่อยๆเป็นนิสัยก็คงติดอยู่ในใจบ้างไม่มากก็น้อย

รำลึกถึงพระรัตนตรัยให้เป็นวัตร เป็นนิสัย บางท่านว่ามีประโยชน์โดยเฉพาะยิ่งใกล้ๆตาย
การกระทำที่เป็นประจำจะช่วยได้เยอะ อะไรเลวร้ายจะได้ไม่แทรกเข้ามาได้ :b3:
เป็นการเตรียมตัวตายอีกทาง

ส่วนอีกทางก็เป็นการรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
ในส่วนของพระพุทธเจ้านั้น หลวงปู่เทสก์ ท่านว่า

"พระองค์นิพพานไปแล้วก็มีคนอาลัยอาวรณ์
พวกเราทั้งหลายทุกวันนี้ก็กราบไหว้สักการบูชาทำวัตรเช้าวัตรเย็น
ก็คือ อาลัยอาวรณ์ถึงพระคุณของพระองค์นั่นเอง"


"คนที่เข้าใจเนื้อความอันนี้แล้ว (พระพุทธคุณ) หูย..มันอยากทำอยู่ตลอดเวลา
กราบลงก็เลยไม่อยากเงยขึ้น นึกถึงระลึกถึงคุณของพระองค์แล้ว
แหมมันซาบซึ้งถึงจิตถึงใจ จิตใจผ่องใสและเบิกบาน

ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน การไหว้พระสวดมนต์ไม่มีการขี้เกียจ
เราพิจารณาถึงคุณของพระองค์เท่าที่อธิบายนี้ยิ่งซึ้งเข้าไปทุกที
จิตใจของเราละเอียดเข้าไป ความซาบซึ้งนั้นซึ้งเข้าไป
เย็นเข้าไปจนเป็นสมาธิภาวนาได้ในตัว
เรียกว่า “อนุสติ” “พุทธานุสติ” เป็นกรรมฐานอยู่แล้ว

คนเป็นกรรมฐานจึงค่อย ภาวนาเป็นจึงค่อยจะพิจารณาอย่างนี้ได้
คนที่หัดกรรมฐานไม่เป็นคิดผิด ไม่สงบ ไม่อยู่ในอารมณ์อันเดียว
คือพิจารณาพระคุณของพระองค์เจ้าไม่อยู่โดยเฉพาะ"



:b8: :b46:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครจะเห็นอย่างไร มันก็เป็นความเห็นของตนเอง. การสวดมนต์นั้นต้องทำความเข้าใจให้ชัดถ้าไม่ชัดก็จะเป็นการกระทำให้หลงผิดได้. การสวดหรือการสาธยายนั้นคือการเอาคำสอนของพระองค์มาทบทวนหาความรู้ให้เข้าใจว่าพระองค์สอนอะไรแล้วนำไปปฎิบัตินี้คือจุดประสงค์หลัก. ไม่ใช่มานั่งสรรเสริญพระองค์แบบไม่เข้าใจอะไรเลย พระองค์ตรัสรู้ธรรม ไม่ได้ต้องการให้ใครมาสรรเสริญ. อะไรที่เป็นคำสอนสวดได้ทั้งนั้นแต่ต้องรู้ความหมายด้วย. แล้วมาดูกันว่าอะไรน่าสวดกัน ยามที่พระองค์ว่างพระองค์ก็จะสวดบทปฎิจสมุปบาทสายเกิดและดับ กับกฎอิทัปจัยตา ทพระองค์ยังสวดสิ่งนี้เลย. ฉะนั้นแล้วใครที่รู้ความหมายพอเข้าใจบทความเนื้อความอย่างถ่องแท้แล้วให้ลงมือปฎิบัติได้เลยคือ ทานศิลภาวนา. ไม่ต้องสวดอีกตลอดชีวิตก็ได้ หรือใครจะสวดเพื่อทบทวนตอนไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเช้าหรือเย็น. พระองค์สวนการทำความเพียรด้วยชาคริยานุโยค เดินนั่งสลับกันไปตลอดวันตลอดราตรี. ไม่ใช่ท่องคาถาเงินล้านต้องการเงิน มันคนละเรื่องผิดหลักพุทธศาสตร์อย่างเต็มเปา แล้วมาอ้างว่าได้สมาธิ มันก็ได้อยู่น๊ามิจฉาสมาธิตกเหวเลย

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า..วัตรเย็น สำหรับฆราวาสเรา ๆ มีประโยชน์มั้ยกับการปฏิบัติธรรม?

คำถามแบบนี้ไม่น่าจะเป็นคำถามของผู้ทรงคุณวุฒิเลย
ลุงหมานน่าจะเสนอให้เอาคำว่าผู้ทรงคุณวุฒิออกนะครับ ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้หรอกอหมายความว่าทุกคนนะครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก :
พระศาสดา หรือเพื่อสพรหมจารี
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง
ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ; และเธอนั้น
ก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ตามที่เธอได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา;

แต่เธอ กระทำ การท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดาร
ตามที่ตนฟังมา เล่าเรียนมา อยู่.
เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ
รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่เธอ ทำ การท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดาร ตามที่ได้
ฟังมา เล่าเรียนมาอย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ
รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม,

ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น
เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด;
เมื่อใจปีติ กายย่อมรำ งับ;
ผู้มีกายรำ งับแล้ว ย่อมเสวยสุข;
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.


ภิกษุทั้งหลาย !
นั้นคือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม,
ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่,
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ
หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำ ดับ
ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า
ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำ ดับ.


ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.



ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.

๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.

๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.

๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.

๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺจก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.

๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.

๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.





อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมทำการสาธยายธรรม
ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป


อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย !   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕
ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป

(ในที่นี้ยกมา ๒ ข้อ จาก ๕ ข้อ ของธรรม ๕ ประการ ซึ่งทำให้สัทธรรมตั้งมั่น ไม่ลบเลือนจนเสื่อมสูญไป)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๗/๑๕๕.






๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร


[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป
ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ


[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ


[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ



[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ





๕. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒


[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่
แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรม
ข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่
ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรอง
ไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็น
ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง
สัทธรรม ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่
ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้
เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา
แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน
เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟัง
มา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ





“หิ่งห้อยนั้น ย่อมส่องแสงอยู่ได้ชั่วเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมา
ครั้นอาทิตย์ขึ้นมา หิ่งห้อยก็หมดแสงไม่มีสว่างอีก.
เดียรถีย์ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น.

โอกาสอยู่ได้ชั่วเวลาที่ บุคคลผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ยังไม่เกิดขึ้นในโลก.
พวกที่ได้แต่นึกๆ เอา ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้.
ถึงแม้สาวกของเขาก็เหมือนกัน.
ผู้ที่มีความเห็นผิด จะไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย”.


-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๙๖/๑๔๖.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2015, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


...

ว้าว...
Kiss Kiss Kiss

การอ่าน...การฟังด้วยดี....ย่อมได้ยินได้ฟังธรรมที่ไม่เคยได้ยิน

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร