วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
อ้างคำพูด:
พระศาสดากล่าวอย่างนี้นะครับ ให้เราตามเห็นการเกิดดับของรูปนามกิจทำอื่นยิ่งไปกว่านี้ไม่มี เหตุเพราะว่าจะได้ทำลายสัสสตทิฎฐิ(ความเห็นว่าเที่ยง)และอุเฉททิฎฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ)ผู้ที่เห็นการเกิดดับคือสัมมาทิฎฐ( เห็นอนิจจัง) เมื่อเราตามเห็นการเกิดดับเราจะมีความรู้ต่อว่าทุกอย่างไม่มีความคงทนทาวรมีแต่การเปลี่ยนแปลง(เห็นทุกขัง) เมื่อเราตามเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่คงทนทาวรเราจะเห็น(อนัตตา)เนตะงมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา นั้นไม่เป็นเรา เราไม่เป็นนั้นเป็นนี่ นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา จะเห็นได้ว่าเพียงตาเห็นการเกิดดับของรูปนามดั่งคำตถาคตว่ากิจอื่นทำยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ท่านก็จะเขาถึงการทำลายอัสสะมิมะนะได้หมด เป็นอรหันต์ได้เลย อานาปานสติสูตรเลยครับ


ถ้าพูดง่ายๆ...
เข้าใจว่า คือ การเห็นอาการอย่างหนึ่งอย่างใด
ทันเข้าไปรู้ ตอนมันเกิดขึ้น แล้วดับไป
เช่นรู้ว่าร้อน เดียวก็รู้ว่าเสียงเข้ามาอีก คือไม่ใช่ว่าปล่อยให้อาการนั้นๆ เปลี่ยนไหลไปตามความเคยชิน
แต่มีสติรู้มันเกิดขึ้นมาตั้งอยู่และดับไป วันๆหนึ่งมีหลายอาการ
ตรงนี้เรียกว่าการเกิดดับของรูปนามใช่ใหมคะ
หรือตรงกับคำว่าจิตเกิดดับ ใช่ใหมคะ
:b45: หรือเช่นที่เกิดกับตัวเอง
เวลานั่งสมาธิ ไปสักพัก...เห็นท้องพอง-ยุบๆๆๆๆๆ
บางช่วงเดี๋ยวถี่,,เดี๋ยวห่าง,,เดี๋ยวหาย
แบบนี้เรียกเห็นรูปนามเกิดดับ ถูกรึเปล่า
ถูกทั้งหมดที่เรารับรู้ไม่ว่าจะรับรู้อะไรเมื่อเห็นการเกิดดับ แต่การเกิดดับของแต่ละอย่างละเอียดไม่เท่าเท่ากัน. พระศาสดาถึงให้เราเฝ้าดูการเกิดดับที่ง่ายและไม่ต้องไปหาที่ไหนเลยจะนำพาเราไปสู่ความละเอียดยิ่งขึ้น มีทั้งสมถะและวิปัสนาคือการเฝ้าดูการเกิดดับของกายคือลมหายใจเข้าออกนั้นเอง ลมหายใจออกก็มีเกิดและดับ ลมหายใจเข้าก็มีเกิดและดับ เรากระทำไปแบบนี้ทำให้มากเจริญให้มาก ห็สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ปรากฎได้ครับ. พระองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติเป็นอย่างมาก

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 18 มิ.ย. 2015, 17:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 16:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถูกทั้งหมดที่เรารับรู้ไม่ว่าจะรับรู้อะไรเมื่อเห็นการเกิดดับ แต่การเกิดดับของแต่ละอย่างละเอียดไม่เท่าเท่ากัน. พระศาสดาถึงให้เราเฝ้าดูการเกิดดับที่ง่ายและไม่ต้องไปหาที่ไหนเลยจะนำพาเราไปสู่ความละเอียดยิ่งขึ้น มีทั้งสมถะและวิปัสนาคือการเฝ้าดูการเกิดดับของกายคือลมหายใจเข้าออกนั้นเอง ลมหายใจออกก็มีเกิดและดับ ลมหายใจเข้าก็มีเกิดและดับ เรากระทำไปแบบนี้ทำมห้มากเจริญให้มาก ห็สามารถทำที่สุดแห่งทกข์ปรากฎได้ครับ. พระองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติเป็นอย่างมาก


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อนุปาทาปรินิพพาน ไม่มีอยู่จริงในคำสอน
แต่ อนุปาทิเสสนิพพาน มีอยู่จริงในคำสอน





ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทา
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ
๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวาง
เฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้า
กรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลัง
เป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็น
อดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับ
อย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย
อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละ
ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อม
ปรินิพพานในระหว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์
ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์
อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอัน
ชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อ
นายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้น
ก็ดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือน
เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้น
แล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้ว
ตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กอง
หญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง
ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากอง
หญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ
๗ ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน
ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง
อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ





ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?


อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว

พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0




คิลานสูตรที่ ๒

[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิดพระเจ้าข้า ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า
เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตรจึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง
ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

อย่าเลย ภิกษุเธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ
ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอจะมีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว
ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ


[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจาก
อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒



https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A ... _%E0%B9%92








ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพาน อันยวดยิ่งใน ปัจจุบันมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
เลิศกว่าการบัญญัตินิพพาน อันยอดยิ่ง

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 448&Z=1589






ลุงหมาน เขียน:
ก็ต้องขอขอบใจที่ช่วยยกคำอ้าง "อนุปาทา ปรินิพฺพานํ " ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
หมายถึง กรรมในอดีตไม่มี กรรมในปัจจุบันก็ไม่มี อนาคตก็ไม่มีเช่นนั้นเหมือนกัน
ที่เรียนมาก็ไม่เคยเจอ ฉะนั้นต้องขอขอบใจอีกครั้งที่ได้ให้ความรู้ใหม่ ที่ไม่ทำให้เข้าใจผิด
จนหลงไปภพหน้า

ลองช่วยอธิบายแบบลัดสั้นเข้าใจง่ายๆ อีกครั้งได้ไหมว่า ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้
เมื่อกรรมในอดีตไม่มีมันก็เท่ากับหมดกรรมแล้ว การเกิดอีกก็น่าสิ้นไปแล้วไม่เกิดอีกแล้ว
ตรงนี้แหละดูมันยังขัดๆกันอยู่กับความเป็นจริง คือ การปรินิพพานแบบนี้ดูจะไม่ได้ประหารกิเลสเลย

โอ๊ย !!! งงงงงงง น่ะนี่ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ถือว่าสูงสุดยังต้องประหารกิเลสและ ขันธ์ ๕ จึงเข้าปริพพาน
ช่วยแสดงแถลงไขหน่อย มันเกินเลยไปหรือเปล่า? หรืออะไรเกิดขึ้นกับในธรรมวินัย นี้






ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน
ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้อง
อยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ






ไม่เข้าใจพระสูตรนี้ใช่ไหมคะ?




คำตอบก็มีอยู่แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพาน อันยวดยิ่งใน ปัจจุบันมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
เลิศกว่าการบัญญัตินิพพาน อันยอดยิ่ง





หากลุงหมานยังไม่เข้าใจอีก
อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของลุงหมานะคะ
อ้อ และการทำความเพียรของลุงหมานด้วยค่ะ




และคำถามนี้

"ลองช่วยอธิบายแบบลัดสั้นเข้าใจง่ายๆ อีกครั้งได้ไหมว่า ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้
เมื่อกรรมในอดีตไม่มีมันก็เท่ากับหมดกรรมแล้ว การเกิดอีกก็น่าสิ้นไปแล้วไม่เกิดอีกแล้ว"


กรุณาช่วยกล่าวเต็มๆประโยคด้วยค่ะ


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบัน ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบ




เข้าใจคำว่า กำหนดรู้มั๊ยคะ?
เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดรู้อยู่(ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ถ้ากรรมในปัจจุบัน ย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา)





หากไม่สานต่อ ตามแรงตัณหา ความทะยานอยากที่เกิดขึ้น เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน
(เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบ)

ที่ยังมีผล เพราะเหตุยังมีอยู่


ไม่ได้คิดสอนหนังสือสังฆราชค่ะ
เพียงจะบอกว่า ควรศึกษาพุทธวจนะ และพระธรรมคำสอน ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก
ที่ว่าด้วย ผัสสะ และสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

หากรู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะเข้าใจสภาพธรรมที่เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน ที่มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
วิธีการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน กระทำเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน(การไม่เกิด)









ส่วนคำถามนี้
"โอ๊ย !!! งงงงงงง น่ะนี่ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ถือว่าสูงสุดยังต้องประหารกิเลสและ ขันธ์ ๕ จึงเข้าปริพพาน
ช่วยแสดงแถลงไขหน่อย มันเกินเลยไปหรือเปล่า? หรืออะไรเกิดขึ้นกับในธรรมวินัย นี้"



ถ้าไม่งง ก็แปลกแล้วล่ะ เพราะเล่นนำสภาพธรรมไปผสมปนเปกัน

ละก็ส่วนละ เข้าใจคำว่าละ มั๊ยคะ ละในเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(ผัสสะ)

สมุทเฉจประหาณ ก็ส่วนสมุจเฉทประหาณ




นี่เป็นวิธีการละ ฝ่ายเหตุ


ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
– ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.




หมายเหตุ:

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น) เช่น ตาเห็น หูได้ยินฯลฯ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้น ให้แค่รู้ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้สั้นลงไปเรื่อยๆ

ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามธรรมบทข้างบน





หากกระทำได้เนืองๆ(ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕)
หากกระทำเช่นนี้ได้ คือ หยุดสร้างเหตุนอกตัวเนืองๆ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดการเห็นเนืองๆ ดังนี้คือ

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.




ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.




ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.




ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ตอบสั้นๆ พอได้ใจความ นี่เล่นซะ อะไรก็ไม่รู้ สามวาสองศอก ยิ่งโง่ๆอยู่ด้วย
ยกมา พรืดดดด หมด ไอ้ที่ไม่ถามก็ยกมา เวทนา สัญญา อะไรน่ะ
มีเท่าไหร่ก็ก็อปมาใส่หมด.....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 19:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ให้ตอบสั้นๆ พอได้ใจความ นี่เล่นซะ อะไรก็ไม่รู้ สามวาสองศอก ยิ่งโง่ๆอยู่ด้วย
ยกมา พรืดดดด หมด ไอ้ที่ไม่ถามก็ยกมา เวทนา สัญญา อะไรน่ะ
มีเท่าไหร่ก็ก็อปมาใส่หมด.....


:b8: :b8: :b8:
สาธุๆค่ะ
ทั้งคุณลุงหมานที่ทำให้ได้คำตอบนี้
และพี่วลัยพรตอบมา พร้อมกับคำอธิบายแนบด้วย....ทำให้เข้าใจง่ายดี
บางจุดคิดว่าจะเดี๋ยวจะถามก็เห็นคำอธิบายตามมาชัดเจน :b27: :b27: :b27:
จริงๆเป็นเรื่องที่คิดไว้แนวนี้อยู่แล้ว
แม้ความเพียรจะยังขึ้นๆลงๆ แต่มองมุมนี้อยู่
มาได้เห็นพระสูตร...มีกำลังขึ้นเยอะเลย
:b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
อ้างคำพูด:
ให้ตอบสั้นๆ พอได้ใจความ นี่เล่นซะ อะไรก็ไม่รู้ สามวาสองศอก ยิ่งโง่ๆอยู่ด้วย
ยกมา พรืดดดด หมด ไอ้ที่ไม่ถามก็ยกมา เวทนา สัญญา อะไรน่ะ
มีเท่าไหร่ก็ก็อปมาใส่หมด.....


:b8: :b8: :b8:
สาธุๆค่ะ
ทั้งคุณลุงหมานที่ทำให้ได้คำตอบ
และพี่วลัยพรตอบมา พร้อมกับคำอธิบายแนบด้วย....ทำให้เข้าใจง่ายดี
บางจุดคิดว่าจะเดี๋ยวจะถามก็เห็นคำอธิบายตามมาชัดเจน :b27: :b27: :b27:
จริงๆเป็นเรื่องที่คิดไว้แนวนี้อยู่แล้ว
แม้ความเพียรจะยังขึ้นๆลงๆ แต่มองมุมนี้อยู่
มาได้เห็นพระสูตร...มีกำลังขึ้นเยอะเลย
:b27: :b27:

ไม่ว่าจะกล่าวสูตรไหน ทั้งสามสูตร คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ย่อมสงเคราะห์ลงกันได้หมด อย่างไม่ขัดกัน จึงจะชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเข้ากันไม่ได้สงเคราะห์แล้วลงกันไม่ได้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อนุปาทาปรินิพพาน ไม่มีอยู่จริงในคำสอน
แต่ อนุปาทิเสสนิพพาน มีอยู่จริงในคำสอน



ลุงหมาน เขียน:
ไม่ว่าจะกล่าวสูตรไหน ทั้งสามสูตร คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ย่อมสงเคราะห์ลงกันได้หมด อย่างไม่ขัดกัน จึงจะชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเข้ากันไม่ได้สงเคราะห์แล้วลงกันไม่ได้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า






viewtopic.php?f=1&t=50171&p=371802&hilit=%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99#p371802





viewtopic.php?f=1&t=50167&p=371626&hilit=%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99#p371626

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2015, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ก็ต้องขอขอบใจที่ช่วยยกคำอ้าง "อนุปาทา ปรินิพฺพานํ " ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
หมายถึง กรรมในอดีตไม่มี กรรมในปัจจุบันก็ไม่มี อนาคตก็ไม่มีเช่นนั้นเหมือนกัน
ที่เรียนมาก็ไม่เคยเจอ ฉะนั้นต้องขอขอบใจอีกครั้งที่ได้ให้ความรู้ใหม่ ที่ไม่ทำให้เข้าใจผิด
จนหลงไปภพหน้า

ลองช่วยอธิบายแบบลัดสั้นเข้าใจง่ายๆ อีกครั้งได้ไหมว่า ปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้
เมื่อกรรมในอดีตไม่มีมันก็เท่ากับหมดกรรมแล้ว การเกิดอีกก็น่าสิ้นไปแล้วไม่เกิดอีกแล้ว
ตรงนี้แหละดูมันยังขัดๆกันอยู่กับความเป็นจริง คือ การปรินิพพานแบบนี้ดูจะไม่ได้ประหารกิเลสเลย

โอ๊ย !!! งงงงงงง น่ะนี่ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ถือว่าสูงสุดยังต้องประหารกิเลสและ ขันธ์ ๕ จึงเข้าปริพพาน
ช่วยแสดงแถลงไขหน่อย มันเกินเลยไปหรือเปล่า? หรืออะไรเกิดขึ้นกับในธรรมวินัย นี้


ต้องขอขอบใจไอเดียอีกครั้ง เมื่อคืนนี้เราต้องไปนอนวิเคราะห์คิดหาธรรมะข้อนี้ว่า
มันคืออะไร? ทั้งๆที่ไอเดียก็พยายามจะอธิบายยังไงก็ไม่เข้าใจ และตอนนี้เพิ่งจะเข้าใจว่า
"อนุปาทา ปรินิพฺพานํ " เป็นการปรินิพพานของพระอริยะบุคคลที่อยู่ในอรูปภูมิ ๔
เพราะพรหมในอรูปภูมิ ๔ นั้น ไม่มี"รูป"มีเพียงแต่"นาม" จึงไม่ครบขันธ์ ๕

"กรรมรูป" เขาละไปตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบันนั้นก็ไม่มีรูป กรรมที่จะส่งผลนั้นไม่ได้เพราะ
เขาไม่มีรูปที่จะให้กรรมส่งผลได้ อนาคตก็ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน โอ๊ย...เพิ่งจะเข้าใจ
ที่นี้แจ่มแจ้งเลยต้องกราบขอบคุณเป็นอย่างมากที่ยกธรรมเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่งั้นโง่ถึงชาติหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2015, 06:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ต้องขอขอบใจไอเดียอีกครั้ง เมื่อคืนนี้เราต้องไปนอนวิเคราะห์คิดหาธรรมะข้อนี้ว่า
มันคืออะไร? ทั้งๆที่ไอเดียก็พยายามจะอธิบายยังไงก็ไม่เข้าใจ และตอนนี้เพิ่งจะเข้าใจว่า
"อนุปาทา ปรินิพฺพานํ " เป็นการปรินิพพานของพระอริยะบุคคลที่อยู่ในอรูปภูมิ ๔ 
เพราะพรหมในอรูปภูมิ ๔ นั้น ไม่มี"รูป"มีเพียงแต่"นาม" จึงไม่ครบขันธ์ ๕ 

"กรรมรูป" เขาละไปตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบันนั้นก็ไม่มีรูป กรรมที่จะส่งผลนั้นไม่ได้เพราะ
เขาไม่มีรูปที่จะให้กรรมส่งผลได้ อนาคตก็ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน โอ๊ย...เพิ่งจะเข้าใจ
ที่นี้แจ่มแจ้งเลยต้องกราบขอบคุณเป็นอย่างมากที่ยกธรรมเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่งั้นโง่ถึงชาติหน้า


พี่วลัยอธิบายค่ะคุณลุง
:b39: :b39:
คุณลุงว่ามาอย่างนี้ ไอเดียงงใหญ่เลย55
บุคคล ไปอยู่อรูปภูมิ4ได้ไงคะ
หรือพูดถึงพรหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2015, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
อ้างคำพูด:
ต้องขอขอบใจไอเดียอีกครั้ง เมื่อคืนนี้เราต้องไปนอนวิเคราะห์คิดหาธรรมะข้อนี้ว่า
มันคืออะไร? ทั้งๆที่ไอเดียก็พยายามจะอธิบายยังไงก็ไม่เข้าใจ และตอนนี้เพิ่งจะเข้าใจว่า
"อนุปาทา ปรินิพฺพานํ " เป็นการปรินิพพานของพระอริยะบุคคลที่อยู่ในอรูปภูมิ ๔ 
เพราะพรหมในอรูปภูมิ ๔ นั้น ไม่มี"รูป"มีเพียงแต่"นาม" จึงไม่ครบขันธ์ ๕ 

"กรรมรูป" เขาละไปตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบันนั้นก็ไม่มีรูป กรรมที่จะส่งผลนั้นไม่ได้เพราะ
เขาไม่มีรูปที่จะให้กรรมส่งผลได้ อนาคตก็ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน โอ๊ย...เพิ่งจะเข้าใจ
ที่นี้แจ่มแจ้งเลยต้องกราบขอบคุณเป็นอย่างมากที่ยกธรรมเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่งั้นโง่ถึงชาติหน้า


พี่วลัยอธิบายค่ะคุณลุง
:b39: :b39:
คุณลุงว่ามาอย่างนี้ ไอเดียงงใหญ่เลย55
บุคคล ไปอยู่อรูปภูมิ4ได้ไงคะ
หรือพูดถึงพรหม

ขอโทษเบลอใหญ่เลย เรียกผิดคน :b34: :b34: :b34:
พรหมที่อยู่ในอรูปพรหม ๔ คือ อากาสา, วิญญา, อากิญจา, เนวสัญญา, เขาปรินิพพานในที่นั้น
พรหมพวกนี้มีแต่ นาม ไม่มี รูป
ที่ว่าบุคคล ๔ นั้นหมายถึงพระอริยะบุคคล ๔ ได้แก่ พระโสดา พระสกทา พระอนาคา พระอรหันต์
ส่วนปุถุชนนั้นจะไม่มีโอกาสจะปรินิพพานในพรหมชั้นนั้นเลย เพราะเขาไมมีรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2015, 01:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_20150611_45320.jpg
IMG_20150611_45320.jpg [ 31.95 KiB | เปิดดู 2077 ครั้ง ]
Kiss
หนุกจัง ที่ได้ไปเที่ยวถึงอรูปพรหม ได้รู้เรื่องของผู้ที่เวียนว่าย
ใน 31 ภพภูมิ มันมีเรื่องให้ค้นคว้า สนุกสนาน เพลิดเพลินใจมากมายเช่นนี้นี่เอง มนุษ์จึงหาทางเสพย์สุขอยู่กับความเวียนว่ายตายเกิด ไม่เว้นวางไปได้
:b4:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2015, 06:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
.....
โอ๊ย...เพิ่งจะเข้าใจ
ที่นี้แจ่มแจ้งเลยต้องกราบขอบคุณเป็นอย่างมากที่ยกธรรมเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่งั้นโง่ถึงชาติหน้า


:b17: :b17: ดีใจด้วยครับ..ที่หายโง่

แต่ผมนี้ซิ....ยังโง่อยู่อีก... :b34:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร