วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 13:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 19:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


แบบว่าจิตท่านยังอยู่ในโลกียะ ยังไม่ได้หลุดไปในโลกุตระ

แล้วท่านก็ไม่ได้ทำผิดวินัยอะไร ถ้าท่านตายไปย่อมไปเกิดด้วยอำนาจของศีล

กุศลของศีล จะแรงกว่า มนุษย์ที่ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน กฐิน สร้างวัตถุทานบำรุงวัด หมู่สงฆ์


ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสงฆ์ชื่อว่าเป็นผู้ทรงพระวินัย รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกุศลธรรม
เพราะธรรมเหล่านั่นมีวินัยเป็นมูล สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์เพื่อความสังวร (สำรวม)
สังวร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน)
อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ความปราโมทย์
ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปิติ
ปิติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปัสสัทธิ (ความสงบ)
ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ควาสุข
ควาสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สมาธิ
สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้เห็นตามความเป็นจริง)
ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย)
นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิราคะ (ความสำรอกกิเลส)
วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ (ควาหลุดพ้น)
วิมุตตื ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (รู้เห็นความหลุดพ้น)
วิมุตตืญาณทัสสนะ ย่อมมีประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน คือ ความดับสนิทหาเชื้อมิได้ ดังนี้

และการไปเกิดในสวรรค์มันเป็นผลแล้ว ส่วนที่ในมนุษยยังเป็นการสร้างเหตุอยู่
ฉะนั้นจะว่าใครมากใครน้อยวัดกันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการสร้างเหตุของผู้นั้นที่ทำอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิบากที่ปฏิสนธิใน กามาวจรภูมิ(ในสวรรค์) ถือว่าเป็นผลเป็นอานิสงส์
ที่ไม่ต่ำใช่ไหมครับ? สูงกว่ามนุษย์ยากไร้ กว่าอบาย กว่าทุคติ!

ผลและอานิสงส์จึงมีลำดับความลดหลั่นจากสูงไปต่ำจากต่ำไปสูง! ใช่ไหมครับ?

เมื่อถามว่า พระที่ไม่ต้องให้ทาน รักษาแต่ศีล ไม่หลุดพ้น เมื่อเทียบกับ
ฆราวาสที่ทำบุญให้ทาน ระหว่างพระกับฆราวาส ในตัวอย่างนี้ใครมี
ผลมีอานิสงส์(กุศล)สูงกว่า ก็ตอบได้เลย พระภิกษุครับ!

พระองค์ทรงตรัสไว้ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๕.
กูฏทันตสูตร ว่าการถึง ไตรสรณคมน์ มีผล มีอานิสงส์สูงกว่า วิหารทาน! ในข้อ  [๒๓๓]- [๒๓๕] ครึ่งตอน จบที่มหาศีล

อ้างคำพูด:
ดูกรพราหมณ์ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะ
ศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่
ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ฉันใด ดูกรพราหมณ์ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว.
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรพราหมณ์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า ถึงพร้อม
ด้วยศีล.

-------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๕.
กูฏทันตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 478&Z=4398

พราหมณ์กูฏทันตะ เป็นตัวอย่างฆราวาสที่ทำแต่พิธีกรรม(บูชายัญ)ไม่รู้จักทาน
พระองค์ทรงเปรียบทาน เท่ากับการบูชายัญ แล้วชี้แจงผลและอานิสงส์จาก
ผลน้อยอานิสงส์น้อย ไปสู่ผลมาก อานิสงส์มากให้แก่ กูฏทันตะพราหมณ์ฟัง
เมื่อเพื่อกัลยาณมิตรเข้าไปอ่านดูก็จะทราบว่า ลำดับผลและอานิสงส์ต่างๆ
ที่วางไว้ อะไรมากอะไรน้อยได้เองครับผม

กลับกัน พระรักษาแต่ศีลไม่ภาวนาไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ฆราวาสไม่ได้แค่ทำทาน อย่างเดียวแต่รักษาศีลหมั่นภาวนาและศึกษาปฏิบัติด้วย
คุณ deecup พอจะทราบไหมครับว่า ใครจะมีผลมีอานิสงส์ มีกุศลแรงกว่ากัน? :b8:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


นายฏีกาน้อย เขียน:
วิบากที่ปฏิสนธิใน กามาวจรภูมิ(ในสวรรค์) ถือว่าเป็นผลเป็นอานิสงส์
ที่ไม่ต่ำใช่ไหมครับ? สูงกว่ามนุษย์ยากไร้ กว่าอบาย กว่าทุคติ!

ผลและอานิสงส์จึงมีลำดับความลดหลั่นจากสูงไปต่ำจากต่ำไปสูง! ใช่ไหมครับ?

เมื่อถามว่า พระที่ไม่ต้องให้ทาน รักษาแต่ศีล ไม่หลุดพ้น เมื่อเทียบกับ
ฆราวาสที่ทำบุญให้ทาน ระหว่างพระกับฆราวาส ในตัวอย่างนี้ใครมี
ผลมีอานิสงส์(กุศล)สูงกว่า ก็ตอบได้เลย พระภิกษุครับ!

พระองค์ทรงตรัสไว้ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๕.
กูฏทันตสูตร ว่าการถึง ไตรสรณคมน์ มีผล มีอานิสงส์สูงกว่า วิหารทาน! ในข้อ  [๒๓๓]- [๒๓๕] ครึ่งตอน จบที่มหาศีล

อ้างคำพูด:
ดูกรพราหมณ์ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะ
ศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่
ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ฉันใด ดูกรพราหมณ์ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว.
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรพราหมณ์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า ถึงพร้อม
ด้วยศีล.

-------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๕.
กูฏทันตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 478&Z=4398

พราหมณ์กูฏทันตะ เป็นตัวอย่างฆราวาสที่ทำแต่พิธีกรรม(บูชายัญ)ไม่รู้จักทาน
พระองค์ทรงเปรียบทาน เท่ากับการบูชายัญ แล้วชี้แจงผลและอานิสงส์จาก
ผลน้อยอานิสงส์น้อย ไปสู่ผลมาก อานิสงส์มากให้แก่ กูฏทันตะพราหมณ์ฟัง
เมื่อเพื่อกัลยาณมิตรเข้าไปอ่านดูก็จะทราบว่า ลำดับผลและอานิสงส์ต่างๆ
ที่วางไว้ อะไรมากอะไรน้อยได้เองครับผม

กลับกัน พระรักษาแต่ศีลไม่ภาวนาไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ฆราวาสไม่ได้แค่ทำทาน อย่างเดียวแต่รักษาศีลหมั่นภาวนาและศึกษาปฏิบัติด้วย
คุณ deecup พอจะทราบไหมครับว่า ใครจะมีผลมีอานิสงส์ มีกุศลแรงกว่ากัน? :b8:


ถ้าจะขยายคำถามแบบฎีกาน้อย ย่อมหมายถึงบุคคลหลัง

เลยถามอีกว่า การปฏิบัติธรรม ทำให้กุศลเพิ่มขึ้นอย่างไร เช่นอินทรีย์ เพิ่ม ทำให้จิตสะอาดขึ้น แล้วทำให้ถือศีลสะอาดขึ้น กุศลนั้นสะอาดขึ้น แบบนี้เหรอครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาครับคุณ deecup

เพราะจุดมุ่งหมาย ทาน เพื่อละโลภะ ละความตระหนี่
เพราะจุดมุ่งหมาย ศีล เพื่อความไม่เบียดเบียนกระทบกระทั้ง ละโทสะ
เพราะจุดมุ่งหมาย ภาวนา เพื่อพัฒนาคุณภาพจิตและปัญญา ละโมหะ

พละ ๕ หรือ อินทรีย์ ๕ ย่อมผ่องใสขึ้น ตามลำดับ มีโยนิโสมนสิการ
มีสัมมาทิฏฐิเพียงพอในการ ดำรงมรรคมีองค์ ๘ ดำเนินไปในชีวิต
กุศลก็จะเจือกันปนๆ กันระหว่าง โลกียะ โลกุตตระ มุ่งรู้แจ้งอริยสัจ ๔
มุ่งตรงต่อความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เหมือนๆ ที่คุณ deecup ถามว่า
ถ้าบวชแต่ไม่พ้นโลกียะ เป็นฆราวาสทำบุญมาก เทียบกับศีล กุศลในทาน
กุศลในศีล ก็ให้ผลในแง่การลด ราคะโทสะโมหะ แตกต่างกันไป

แต่เมื่อเป็นการ แสวงหาความรู้ อบรมพัฒนาจิตใจ ภาวนาจิตใจ
ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดความเห็นชอบ ระดับการให้ทาน รักษาศีล
ที่ถูกต้อง เหมาะสมกับ อัตภาพตน ไม่ว่าพระ ฆราวาส ก็จะเป็นไปใน
ทิศทางที่ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้นไปได้นั่นเอง :b39:

เหมือนกับเรื่องทำทานแบบเจาะจง ผลอานิสงส์ที่ทำกับคนมีศีล ก็มากกว่าคนไม่มีศีล
ทำทานกับปุถุชน กับอริยบุคคลก็มีผลมีอานิสงส์แตกต่างกัน ก็ถ้าว่า!

หากไม่ได้มุ่งที่คุณภาพของจิต ที่พัฒนาได้มากกว่า ดีกว่าบริสุทธิ์กว่า
แล้วเราจะเข้าใจระดับการให้ทาน รักษาศีล การภาวนา ที่มีผลอานิสงส์สูงกว่า
และแตกต่างกันได้อย่างไร จริงไหมครับ :b8:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2015, 17:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ จิตคลายสงสัย :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2015, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...พุทธบริษัทมีสี่เหล่าต่างกันด้วยเพศ...
...คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา...
...พระอริยบุคคลมีในพุทธบริษัททั้งสี่...
...ปิดอบายภูมิต้องบรรลุเป็นโสดาบัน...
...และจะเวียนเกิดตายไม่เกินเจ็ดชาติ...
...การบวชศีล227ข้อที่ไม่ถึงพระอริยะ...
...ก็มีสิทธิ์ไปตามกรรมยังไม่ปิดอบายภูมิ...
:b40: :b40: :b40:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร