วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2015, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-5770.jpg
Image-5770.jpg [ 102.12 KiB | เปิดดู 7100 ครั้ง ]
จักขุวัตถุไม่ใช่ตัวเห็นรูป, โสตวัตถุไม่ใช่ตัวได้ยินเสียง,
ฆานวัตถุไม่ใช่ตัวรู้กลิ่น, ชิวหาวัตถุไม่ใช่ตัวรู้รส, กายวัตถุไม่ใช่ตัวรู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง,
หทยวัตถุไม่ใช่ตัวรู้ธรรมารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2015, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6291.jpg
Image-6291.jpg [ 47.74 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
จักขุวิญญาณเท่านั้นเป็นตัวเห็นรูป, โสตวิญญาณเท่านั่นเป็นตัวได้ยินเสียง,
ฆานวิญญาณเท่านั้นเป็นตัวรู้กลิ่น, ชิวหาวิญญาณเท่านั้นเป็นตัวรู้รส,
กายวิญญาณเท่านั้นเป็นตัวรู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง, มโนวิญญาณเท่านั้นที่รู้เรื่องราวต่างๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2015, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6105.jpg
Image-6105.jpg [ 100.58 KiB | เปิดดู 7100 ครั้ง ]
จักขุทวารไม่ใช่ตัวเห็นรูป แต่เป็นช่องเป็นประตูที่ตา คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรู้เห็นรูป
โสตทวารไม่ใช่ตัวได้ยินเสียง แต่เป็นช่องเป็นประตูที่หู คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรับรู้เสียง
ฆานทวารไม่ใช่ตัวรู้กลิ่น แต่เป็นช่องเป็นประตูที่จมูก คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรับรู้กลิ่น
ชิวหาทวารไม่ใช่ตัวรู้รส แต่เป็นช่องเป็นประตูที่ลิ้น คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรู้รส
กายทวารไม่ใช่ตัวรู้กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง แต่เป็นช่องเป็นประตูที่กาย คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรับรู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง
มโนทวารไม่ใช่ตัวรับรู้เรื่องราวต่างๆ แต่เป็นช่องเป็นประตูที่ใจ คือเป็นที่เข้าที่ออกของจิตและเจตสิกเพื่อไปรับรู้เรื่องราวต่างๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2015, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3839.jpg
Image-3839.jpg [ 103.32 KiB | เปิดดู 7100 ครั้ง ]
จักขายตนะ กับ รูปายตนะ (เป็นเหตุ) การเห็น (เป็นผล)
โสตายตนะ กับ สัททายตนะ (เป็นเหตุ) การได้ยิน (เป็นผล)
ฆานายตน ะกับ คันธายตนะ (เป็นเหตุ) การได้กลิ่น (เป็นผล)
ชิวหายตนะ กับ รสายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้รส (เป็นผล)
กายายตนะ กับ โผฏฐัพพายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้สัมผัส (เป็นผล)
มนายตนะ กับ ธัมมายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้เรื่องราวต่างๆ (เป็นผล)

อายตนะ หมายความว่า ธรรมที่มีสภาพคล้ายกับว่ามีความพยายามเชื่อมต่อ เพื่อยังผลของตนให้เกิดขึ้น
เช่น จักขายตนะกับรูปายตนะ เป็นเหตุให้การเห็นเกิดขึ้น การเห็นจัดเป็นผล เป็นต้น
อายตนะ หมายความว่า ธรรมที่ทำซึ่งจิตและเจตสิกให้กว้างขวางเจริญขึ้น
อายตนะ หมายถึง อวัยวะที่ต่อระหว่างจิตกับอารมณ์

จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน เป็น อายตนะภายใน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรื่องราวต่างๆ เป็นอายตนะภายนอก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2015, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6091.jpg
Image-6091.jpg [ 69.44 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
๑. จักขุปสาทรูป (คือ ประสาทตา) เป็นรูปที่มีความใสดุจกระจกเงา ตั้งอยู่กลางตาดำ
โตเท่าหัวเหา มีเยื่อตาบาง ๆ เจ็ดชั้นรองรับอยู่ สามารถที่จะรับภาพ (รูปารมณ์) ต่าง ๆ
จักขุปสาทรูปนี้ มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิต และ จักขุทวารวิถี

๒. โสตปสาทรูป (คือ ประสาทหู) เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง (สัททารมณ์) ได้
มีลักษณะเหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ หน้าที่ของโสตปสาทรูปมี ๒ อย่าง คือ
เป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต (สถานที่ที่โสตวิญญาณจิตรับรู้เสียง) และ โสตทวารวิถี (ขบวนการของจิต
ที่เกิดดับติดต่อกันเป็นชุด ๆ ทางหู )

๓. ฆานปสาทรูป (คือ ประสาทจมูก) เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่าง ๆ (คันธารมณ์) ได้
มีลักษณะคล้ายเท้าแพะ ฆานปสาทรูปนี้มีหน้าที่ ๒ อย่างเช่นเดียวกัน คือ เป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณจิต
เพื่อรับกลิ่น และเป็นที่เกิดของฆานทวารวิถี

๔. ชิวหาปสาทรูป (คือ ประสาทลิ้น) เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่าง ๆ (รสารมณ์) ได้
ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว ชิวหาปสาทรูปนี้ก็มีหนัที่ ๒ อย่าง คือ เป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณจิต
เพื่อรับรสต่าง ๆ และเป็นที่เกิดของชิวหาทวารวิถี

๕. กายปสาทรูป (คือ ประสาทกาย) เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับสัมผัสต่าง ๆ (โผฏฐัพพารมณ์ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ และ ธาตุลม) ได้ มีลักษณะเป็นความใสที่มีทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม เล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท (ความรู้สึก) เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณจิต และเป็นที่เกิดของกายทวารวิถี

ปสาทรูป ๕ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ปสาทรูป หมายถึง รูปที่มีความใสเป็นที่อาศัยเกิดของจิตประเภทปัญจวิญญาณ รูปที่มีความใสนี้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป ตำแหน่ง รูปร่างสัญฐาน และการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเฉพาะ ๆ ของรูปทั้ง ๕ ไม่เหมือนกัน ปสาทรูป ๕ จึงเป็นที่อาศัยเกิดของจิตได้เพียงบางดวง และไม่ก้าวก่ายกัน เช่น จักขุปสาทรูป เป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณเพื่อทำหน้าที่เห็นเท่านั้น ส่วนโสตปสาทรูปจะเหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเกิดของโสตวิญญาณเพื่อทำหน้าที่ได้ยินเท่านั้น จักขุวิญญาณจะไปอาศัยเกิดที่โสตปสาทรูป เพื่อทำหน้าที่เห็น หรือแม้แต่ทำหน้าที่ได้ยินก็ไม่ได้ ปสาทรูปอื่นก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเฉพาะดวง โดยจิตนั้นมีความสามารถรับอารมณ์ได้เฉพาะอารมณ์ของตน ๆ ไม่ปะปนกัน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B% ... 9%E0%B8%9B

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2015, 21:13 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3000.jpg
Image-3000.jpg [ 101.75 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2940.jpg
Image-2940.jpg [ 48.65 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
ในอภิธัมมัตถสังคหะนี้ ท่านแสดงประเภทของบุคคลไว้ ๑๒ บุคคล
คือ ปุถุชน ๔ อริยบุคคล ๘ มีชื่อเรียกดังนี้ คือ

ปุถุชน ๔ ได้แก่ ทุคติบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ทวิเหตุกบุคคล ๑ ติเหตุกบุคคล ๑

อริยบุคคล ๘ ได้แก่
โสดาปัตติมรรคบุคคล ๑ สกทาคามิมรรคบุคคล ๑ อนาคามิมรรคบุคคล ๑ อรหัตตมรรคบุคคล ๑
โสดาปัตติผลบุคคล ๑ สกทาคามิผลบุคคล ๑ อนาคามิผลบุคคล ๑ อรหัตตผลบุคคล ๑

อธิบาย
๑. ทุคติบุคคล คือ บุคคลในอบายภูมิ ๔ มีนรก เปรต อสูรกาย และเดรัจฉาน

๒. สุคติอเหตุกบุคคล คือ บุคคลผู้ปฏิสนธิในมนุษยภูมิ ๑ และในจาตุมหาราชิกาภูมิ ๑
รวม ๒ ภูมิ คือ เป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นต่ำ มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือจิตใจ
เช่น เป็นใบ้ บ้า ตาบอด หูหนวก พิการมาแต่กำเนิด เป็นต้น

๓. ทวิเหตุกบุคคล คือ บุคคลผู้ปฏิสนธิในมนุษย์ภูมิ ๑ และเป็นเทวดาในเทวภูมิ ๖
แต่เป็นผู้มีปัญญาน้อย ไม่สามารถที่จะเจริญฌาน มรรคผล ให้สำเร็จในภพชาตินั้นได้

๔. ติเหตุกบุคคล ที่เป็นปุถุชน คือ บุคคลผู้ปฏิสนธิ เป็นมนุษย์หรือเทวดา
ที่สามารถเจริญฌาน มรรคผล ให้สำเร็จได้ แม้ในภพชาติที่เป็นอยู่นั้น

บุคคลที่ ๔ นี้ ล้วนมีปัญญาสามารถเจริญฌาน มรรคผล นิพพาน ให้บังเกิดขึ้นได้ในภพชาติเดียวกันนั้น
ผู้ใดเจริญมรรคผลจนสำเร็จ ก็เปลี่ยนฐานะของบุคคลจากปุถุชน เป็นอริยบุคคล ๘ ไปโดยนัยของอริยบุคคล ๘ ต่อไปนี้ คือ โสดาปัตติมรรคบุคคล ตลอดจนถึง อรหัตตผลบุคคล
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

รวมบุคคลทั้งหมดมี ๑๒ เป็นปุถุชน ๔ และอริยบุคคล ๘ สำหรับปุถุชน ๔ นั้น
มีภูมิที่ปรากฏได้โดยทั่วไปอยู่แล้ว ตั้งแต่อบายภูมิจนถึงอรูปภูมิ ถ้ามิได้เจริญวิปัสสนา
จนถึงมรรค ผล นิพพาน ตราบใด ตราบนั้น ย่อมอยู่ในฐานะของความเป็นปุถุชนอยู่สืบไป

แต่ถ้าเจริญวิปัสสนาจนเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน เมื่อใดแล้ว เมื่อนั้น ย่อมเปลี่ยนฐานะจากปุถุชน
เป็นอริยบุคคลไป แต่การเจริญวิปัสสนาที่จะให้เข้าถึง มรรคผล นิพพานนั้น
มิใช่จะทำได้ในทุกภูมิเสมอไป เช่นอบายสัตว์ในอบายภูมินั้น ย่อมเจริญวิปัสสนาให้เข้าถึงมรรคผล นิพพานไม่ได้ หรืออรูปภูมินั้น ย่อมไม่อาจเจริญวิปัสสนาให้มรรคเบื้องต้นปรากฏขึ้นได้

ที่มา...พระอภิธัมมัตถสังคหะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 20:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3752.jpg
Image-3752.jpg [ 38.5 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
Kiss
:b8: สวัสดีค่ะ คุณลุงหมาน
กำลังจะเริ่มศึกษา..ก็สงสัยขึ้นมาละค่ะ :b9: :b9:
พอดี..กำลังเริ่มพยายามตั้งใจทำความเข้าใจความหมายของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

:b39: จิต+เจตสิก ต้องเกิดพร้อมกันเสมอ แล้วถ้าตอนจิตเข้าถึงฌาน4.....มีเจตสิกเกิดด้วยใหมคะ
และรวมไปถึงฌานต่ำกว่านั้นด้วยค่ะ

:b39: แล้วฝ่ายวิปัสสนาหละคะ จะเหลือแต่จิต ไม่มีเจตสิกตอนไหนคะ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2015, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20090127163235_p4_02_1.gif
20090127163235_p4_02_1.gif [ 25.09 KiB | เปิดดู 7981 ครั้ง ]
idea เขียน:
Kiss
:b8: สวัสดีค่ะ คุณลุงหมาน
กำลังจะเริ่มศึกษา..ก็สงสัยขึ้นมาละค่ะ :b9: :b9:
พอดี..กำลังเริ่มพยายามตั้งใจทำความเข้าใจความหมายของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

:b39: จิต+เจตสิก ต้องเกิดพร้อมกันเสมอ แล้วถ้าตอนจิตเข้าถึงฌาน4.....มีเจตสิกเกิดด้วยใหมคะ
และรวมไปถึงฌานต่ำกว่านั้นด้วยค่ะ

:b39: แล้วฝ่ายวิปัสสนาหละคะ จะเหลือแต่จิต ไม่มีเจตสิกตอนไหนคะ


จิตกับเจตสิกจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ จิตจะเกิดขึ้นมาลอยๆขาดเจตสิกไม่ได้เลย
ในขณะที่จิตเป็นกุศลนั้น เจตสิกที่กุศลก็เกิดร่วม เจตสิกที่เป็นอกุศลก็ไม่เกิดร่วม และในขณะเดียวกัน
ในขณะที่จิตเป็นอกุศล เจตสิกที่เป็นกุศลก็ไม่เกิดร่วมเช่นกัน

ตามคำถามที่ถามถึงฌาน ก็จะอธิบายจากฌานต้นไปตามลำดับ
ถ้านับตามพระอภิธรรมจะมีฌาน ๕ คือ ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุตถฌาน, ปัญจมฌาน,

ปฐมฌานจิต มีเจตสิกประกอบอยู่ ๓๕ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
อัปปมัญญา ๒ ปัญญา ๑ (เว้น วีรตี ๓ )

ทุติยฌานจิต มีเจตสิกประกอบอยู่ ๓๔ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้น วิตก ๑)
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ อัปปมัญญา ๒ ปัญญา ๑ (เว้น วีรตี ๓ )

ตติยฌานจิต มีเจตสิกประกอบอยู่ ๓๓ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น วิตก ๑ วิจาร ๑)
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ อัปปมัญญา ๒ ปัญญา ๑ (เว้น วีรตี ๓ )

จตุตถฌานจิต มีเจตสิกประกอบอยู่ ๓๒ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตก ๑ วิจาร ๑ ปิติ ๑)
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ อัปปมัญญา ๒ ปัญญา ๑ (เว้น วีรตี ๓ )

ปัญจมฌานจิต มีเจตสิกประกอบอยู่ ๓๐ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้น วิตก ๑ วิจาร ๑ ปิติ ๑)
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ปัญญา ๑ (เว้น วีรตี ๓ อัปปมัญญา ๒ )


ถ้าจะนับเจตสิกที่เป็นองค์ฌานตามนัยพระสูตร มีดังนี้

ปฐมฌาน มี องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มี องค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มี องค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มี องค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
(ดูภาพประกอบ)

อ้างคำพูด:
:b39: แล้วฝ่ายวิปัสสนาหละคะ จะเหลือแต่จิต ไม่มีเจตสิกตอนไหนคะ


ฝ่ายวิปัสนาก็มีเจตสิกประกอบกับจิตด้วย จะไม่มีเจตสิกประกอบไม่ได้เลย

ลุงหมานก็ตอบไปตามคำถามที่ถามมา
ถ้าผู้ที่ได้ศึกษาพระอภิธรรมมาบ้างเข้ามาอ่านก็ย่อมเข้าใจได้ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2015, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20170715_191944.jpg
20170715_191944.jpg [ 221.35 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
:b8: ขอบคุณค่ะลุง
กำลังแค่เริ่มต้น..งงๆอยู่ :b9:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2015, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6656.jpg
Image-6656.jpg [ 105.79 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
idea เขียน:
:b8: ขอบคุณค่ะลุง
กำลังแค่เริ่มต้น..งงๆอยู่ :b9:


ก็คิดอยู่เหมือนกันว่าคงไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจมันจะเป็นเรื่องที่แปลกสำหรับผู้เริ่มต้น
แต่ยังไงๆก็ขอเป็นกำลังใจให้ศึกษาต่อไปเถอะ แล้วจะรู้ว่าพระอภิธรรมดียังไง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2015, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-688.jpg
Image-688.jpg [ 39.66 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
บุคคลที่มีอายุสั้นที่สุด คือ
พระโสดาบันปัตติมรรค
พระสกทาคามีมรรค
พระอนาคามิมรรค
พระอรหันต์มรรค
ทั้ง ๔ บุคคลนี้มีอายุอยู่แค่ขณะจิตเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2015, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-1552.jpg
Image-1552.jpg [ 57.92 KiB | เปิดดู 7285 ครั้ง ]
โสดาปัตติมรรคจะไม่เกิดใน ๑๔ ภูมิ
ในอบายภูมิ ๔ อสัญญสัตตภูมิ ๑ สุทธาวาสภูมิ ๕ อรูปภูมิ ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2015, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2826.jpg
Image-2826.jpg [ 79.31 KiB | เปิดดู 7285 ครั้ง ]
ในอบายภูมิ ๔ อสัญญสัตตภูมิ ๑
ไม่มีพระอริยบุคคลเกิดอยู่เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2015, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4152.jpg
Image-4152.jpg [ 73.35 KiB | เปิดดู 7285 ครั้ง ]
ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ซึ่งเป็นอันประเสริฐ

มีพระอริยะอยู่ ๓ จำพวก คือ
พระอนาคามิผล ๑ พระอรหันตมรรค ๑ พระอรหันตผล ๑
เป็นจะต้องเป็นผู้ได้ฌาน ๔ คือจตุตถฌาน

สำหรับปุถุชน และพระอริยะเบื้องต่ำ ๒ จะไม่มีใน ๕ ภูมินี้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร