วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




animaatjes-roofdieren-33556.png
animaatjes-roofdieren-33556.png [ 227.47 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เมื่อจิตหรือวิญญานเป็นตัวเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์
หากต้องดับ วิญญานขันธ์ ก็คือดับจิตไปด้วย?


วิญญานขันธ์ เป็นชื่อเรียกจิตนับจำนวนกองขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
การดับของจิตหรือวิญญาณขันธ์นั้นเป็นการดับแบบสันตติที่สืบต่อกันไปโดยไม่ขาดสาย
ดวงเก่าที่ดับเป็นปัจจัยให้ดวงใหม่เกิดขึ้นมาอีกเป็นเช่นนี้ตลอดไปจนถึงพระนิพพาน

อ้างคำพูด:
ไม่ใช่จิตนั่นคืนสู่ธรรมชาติ ปล่อยตัวรู้ กลับสู่ความเป็นธาตุที่ว่างเปล่าหรือคะ
คล้ายกับจิตคือธรรมชาติ ที่มีอยู่ไม่สามารถจะระบุได้ว่าอยู่ตรงไหน
เพราะไม่เห็นได้,ไม่สัมผัสได้,ไม่มีที่ตั้ง,ไม่มีที่เกิด,ไม่มีที่จะดับ
เป็นอยู่อย่างนั้น

เมื่อจิตดับตัวรู้ก็ดับด้วย เมื่อจิตเกิดตัวรู้ก็เกิดด้วย
จิตมีที่ตั้ง จิตมีที่เกิด จิตมี่ที่ดับครับ ที่เกิดที่ตั้งที่ดับของจิตคือทวาร ๖
อ้างคำพูด:
แต่มีความสามารถรู้ได้ เมื่อสิ่งใดมาสัมผัส กระทบ
เริ่มยึดมั่นถือมั่น
จนก่อภพก่อชาติ
ที่ต้องมาปฏิบัติกัน เพื่อกระเทาะเปลือกจากภายนอกนอกสู่ภายใน
จนเหลือแต่ตัวรู้ ตื่น สว่าง
ที่สุดท้ายแม้แต่ตัวรู้นี้ก็ต้องปล่อยคืนอยู่ดี
ช่วยอธิบายให้เข้าใจอีกนิดค่ะ

ที่มาปฏิบัติก็เพื่อทำลายทิฏฐิให้เข้าถึงหลักความจริง (ดูเรื่องอริยสัจจ์ ๔)
ท้ายที่สุดทุกอย่างดับหมดคือพระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 12:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0_85575_37c579b8_L.png
0_85575_37c579b8_L.png [ 206.2 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
จิตไม่ใช่วิญญาณ

สิ่งที่ผมเข้าใจ จิตก็หมายถึงตัวเราที่เป็นสภาพนามธรรมเหมือนจับต้องไม่ได้ อยู่กับสภาพที่ต้องเป็นผู้รับกรรมเนื่องด้วยปัจจัยที่ตนอาศัย เหมือนอาศัยอยู่ในรูปกรรม รูปดี รูปชั่ว รูปแก่ รูปเจ็บ เมื่อตายรูปนี้ก็สลายหายไป

ตัวเราหรือจิตเรา ก็ต้องอาศัยวิญญาณเป็นสื่อให้จิตรับรู้ดำเนินชีวิตอาสัยอยู่ในโลก สิ่งที่ผ่านวิญญาณ ให้มีสุขเวทนา ทุกขเวทนา ให้มีความพอใจไม่พอใจเนื่องด้วยสุขเวทนาทุกขเวทนา ชักนำให้เกิดอุปทาน อยากมีอยากเป็นอยากได้มาเป็นสมบัติเป็นเจ้าของเหมือนหลงว่าสิ่งเหล่านี้จะให้ความสุขหรืออยากผลักไสอยากหนีเป็นทุกขเวทนา

วิญญาณที่เราอาศัยมีทั้งที่ดีและไม่ดี เหมือนตาเราไปเห็นรูปเขาไม่ดี ก็เหมือนตาเราเป็นวิญญาณร้าย เราก็ต้องแก้ที่ตาเราให้ดี แก้ด้วยสติสัมปชัญญะ ให้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้นที่ตาเราไม่เป็นตาร้าย


๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำคือขันธ์ ๕
[๓๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้
เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับคำแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความ
เป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมตามเห็นเวทนา ... ตามเห็นสัญญา
ตามเห็นสังขาร ... ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน
หรือเห็นตนในวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้ถูกเครื่อง
จำ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้แล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในทั้ง
ภายนอกจำไว้แล้ว เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อม
ตายทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้าทั้งๆ ที่ถูกจำ.
[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่เห็นตน
มีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป. ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้ ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในภายนอกจำไว้ เป็นผู้มองเห็นฝั่งนี้
เป็นผู้มองเห็นฝั่งโน้น เรากล่าวว่า ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากทุกข์.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ขอบคุณค่ะ
:b41: :b41:
เมื่อจิตหรือวิญญานเป็นตัวเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์
หากต้องดับ วิญญานขันธ์ ก็คือดับจิตไปด้วย?
ไม่ใช่จิตนั่นคืนสู่ธรรมชาติ ปล่อยตัวรู้ กลับสู่ความเป็นธาตุที่ว่างเปล่าหรือคะ
:b8: :b8: ช่วยอธิบายให้เข้าใจอีกนิดค่ะ

ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ความดับแห่งวิญญาณธาตุ หรือจิต

เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ หรือวิญญาณ 6 ไม่ใช่ความหมดไปสิ้นไปของจิต
ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ เป็นความดับแห่งวิญญาณอันเป็นอุปธิ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
พระอรหันตเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายต่างก็ถึงความดับแห่งวิญญาณขันธ์อันก่อให้เกิดทุกข์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

การรู้อันเกิดขึ้นซึ่งมีอาสวะอวิชชาเจืออยู่นั้น ไม่เรียกว่าธาตุว่าง
การรู้ที่มีอาสวะอวิชชาเจืออยู่ จึงเป็นจิตที่เศร้าหมอง

ธาตุว่าง ว่างจากอะไร
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
ว่างจากความยึดถือทั้งปวง
ว่างจากอัตตาตัวตน

คำว่า ปล่อยตัวรู้ คือปล่อยตัวรู้ให้อิสระจากอุปธิ
เมื่อจิตเป็นอิสระ วิญญาณขันธ์ก็เป็นอิสระ และเป็นไปอย่างนั้นจนกว่าวิบากแห่งขันธ์ทั้งหลายจะจบลง
จิตก็คืนสู่ธรรมชาติไม่ปรุงแต่งชาติภพต่อไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 13:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




elephant_240.png
elephant_240.png [ 99.39 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
กราบสาธุทุกท่านค่ะ
:b8: :b8:
พยายามทบทวน...ทบทวน
ทำความเข้าใจก่อน
tongue
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 16:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




elephant-and-baby-picture-png-26.png
elephant-and-baby-picture-png-26.png [ 407.86 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
วิญญาณธาตุไม่ใช่จิต

[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร
จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา
มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น
สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และ
อนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ
โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์
ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุ
ได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและ
ความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...
เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุ
และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครอง
วิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบ
ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจ
มั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ
จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 20:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3fdf8f1e-d06d-411d-86c5-9c914eec0ebc.png
3fdf8f1e-d06d-411d-86c5-9c914eec0ebc.png [ 246.72 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
cool
สวัสดียามค่ำค่ะทุกท่าน
คุณเช่นนั้น
จิตไม่ใช่เรา ? หรือเปล่า
ไม่มีเรา ในโลกนี้หรือที่ไหน
**เพื่อการนี้ ไม่น่าจะใช่" จิตดับ" รึเปล่าคะ
เมื่อรู้ทุกข์ ก็พยายามหาเหตุแห่งทุกข์
หาทางหลุดพ้นจากทุกข์นั้น
ด้วยการลงมือปฏิบัติตามแนวที่ถูกต้อง
ให้จิตรู้เอง เห็นเอง จนเกิดกระบวนการตามธรรมชาติ
ดับรูป
ดับเวทนา
ดับสัญญา
ดับสังขาร
สุดท้ายดับวิญญาน
**ไม่ใช่ตัวเราเข้าไปรู้ ถ้าอย่างนั้น
สุดท้ายคือดับวิญญานจะไม่ได้ รึเปล่า
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
cool
สวัสดียามค่ำค่ะทุกท่าน
คุณเช่นนั้น
จิตไม่ใช่เรา ? หรือเปล่า
ไม่มีเรา ในโลกนี้หรือที่ไหน
**เพื่อการนี้ ไม่น่าจะใช่" จิตดับ" รึเปล่าคะ
เมื่อรู้ทุกข์ ก็พยายามหาเหตุแห่งทุกข์
หาทางหลุดพ้นจากทุกข์นั้น
ด้วยการลงมือปฏิบัติตามแนวที่ถูกต้อง
ให้จิตรู้เอง เห็นเอง จนเกิดกระบวนการตามธรรมชาติ
ดับรูป
ดับเวทนา
ดับสัญญา
ดับสังขาร
สุดท้ายดับวิญญาน
**ไม่ใช่ตัวเราเข้าไปรู้ ถ้าอย่างนั้น
สุดท้ายคือดับวิญญานจะไม่ได้ รึเปล่า
:b8: :b8: :b8:

ความดับแห่งรูป
ความดับแห่งเวทนา
ความดับแห่งสัญญา
ความดับแห่งสังขาร
ความดับแห่งวิญญาณ
คือ
ความดับแห่งอุปธิในรูป
ความดับแห่งอุปธิในเวทนา
ความดับแห่งอุปธิในสัญญา
ความดับแห่งอุปธิในสังขาร
ความดับแห่งอุปธิในวิญญาณ
ซึ่งก็คือความดับ แห่งสมุทัยครับ
แต่
วิบากจิตอาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ยังคงดำเนินต่อไปครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




河馬.gif
河馬.gif [ 147.14 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
ตอนแรก..ก็ขี้เกียจจะซักไซร์ไล่เรียง...ปลอดผ่านๆไป..ซะ
แต่...พอมีคนมาต่อกระทู้...เลยมีอารมณ์..จะถามต่อ :b32:

ลุงหมาน เขียน:
ขอบคุณคำถาม

อ้างคำพูด:
ขอถามลุงหมานหน่อยครับ...แบบ..กวน..กวน..อิอิ

ถ้าจิตหมายถึง..ตัวเข้าไปรู้อารมณ์..ตัวอารมณ์..หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้...อย่างที่ว่าๆกันมา
ถามหน่อยว่า...แล้วตัวอารมณ์มาจากไหน..อะไรสร้างอารมณ์?...อายตนภายนอกรึ...หรือ..อายตนภายใน..รึอะไร?

คำถามดีมากไม่กวนหรอกครับ

อารมณ์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีอยู่แล้วในโลก ไม่มีผู้ใดสร้าง
อารมณ์นั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์
อารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกอย่างเดียว ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่สำหรับธรรมารมณ์เป็นได้ทั้ง อายตนะ
ภายนอกและอายตนะภายใน ที่นี้เราต้องเข้าใจคำว่า อายตนะก่อนว่าแปลว่าอะไร อายตนะแปลว่า
การเชื่อมต่อ หมายถึงสิ่งสองสิ่งมาเชื่อมต่อกันได้จึงเรียกว่าอายตนะ เช่น ตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น
เมื่ออายตนะเชื่อมต่อได้ จิตก็เกิดขึ้นรู้ นึกคิดเรื่องราวต่างๆ มีเวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง
ถ้าเป็น"ตา"กับ"เสียง"หรือ "หู"กับ"รูป" ก็จะไม่ใช่อายตนะ เพราะว่าเชื่อมต่อกันไม่ได้ดังนี้ เป็นต้น


ถ้าอารมณ์..เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว...ไม่ได้ถูกสร้าง...
ผู้ที่มาผัสสะสิ่งเดียวกัน...ก็ต้องเกิดอารมณ์อย่างเดียวกัน...จะรู้สึกเป็นอย่างอื่นที่ต่างกันไม่ได้...ซิ..ลุงหมาน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




b.gif
b.gif [ 116.24 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
อีกคำ...จิตคิดเรื่องกุศลก็เป็นจิตดีแล้ว..นี้...จิตตัวนี้เป็นจิตในความหมายของอภิธรรม..หรือ..ความหมายรวมๆอย่างชาวบ้านธรรมดา

ถ้าเป็นความหมายธรรมดาๆ...พอเข้าใจครับว่า..จิตคิดมันใช้อะไรคิด
แต่ถ้าตอบว่า...เป็นความหมายทางพระอภิธรรม..ก็ถามต่อเลยว่า...จิต..เอาอะไรไปคิด?...สังขารขันธ์..หรือ?

จิตไม่มีในความหมายใดๆ ว่าจะต้องเป็นของพระอภิธรรม หรือชาวบ้านธรรมดา จิตก็คือจิต

จิตไม่ได้คิด แต่จิตเป็นผู้รู้คิด สิ่งที่คิดได้แก่เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตที่เรียกว่า"สังขาร"ได้แก่เจตสิก
จิตเป็นขันธ์ๆ หนึ่งคือวิญญาณขันธ์ จิตไม่ใช่สังขารขันธ์จึงคิดหรือจะไปปรุงแต่งอะไรไม่ได้
จิตจึงมีสภาพเพียงเป็นผู้รู้เท่านั้น


ถ้าจะว่าตามกฎของกรรม....ใครทำสิ่งใดก็ต้องได้รับผลจากสิ่งนั้น
ถ้า...สังขาร...เป็นเจตสิก....เป็นผู้คิด...หากคิดกุศล...สังขารขันธ์ย่อมเป็นใครรับผลอันนี้...หากคิดอกุศล...สังขารขันธ์ก็ต้องรับวิบากอันนี้...ไปซิ

แล้วมันเป็นอย่างนี้มั้ยละ?

:b12: :b12: :b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 22:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




www.tvn.hu_0f7b25ef9861b494b4a6cb4570560727.png
www.tvn.hu_0f7b25ef9861b494b4a6cb4570560727.png [ 84.02 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
idea เขียน:
ขอบคุณค่ะ
:b41: :b41:
เมื่อจิตหรือวิญญานเป็นตัวเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์
หากต้องดับ วิญญานขันธ์ ก็คือดับจิตไปด้วย?
ไม่ใช่จิตนั่นคืนสู่ธรรมชาติ ปล่อยตัวรู้ กลับสู่ความเป็นธาตุที่ว่างเปล่าหรือคะ
:b8: :b8: ช่วยอธิบายให้เข้าใจอีกนิดค่ะ

ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ความดับแห่งวิญญาณธาตุ หรือจิต


งงกับจุดยืน..ของเช่นนั้น..จริงๆ... :b9: :b9:
เอาเข้าแล้ว...วิญญาณไม่ใช่จิต...จิตไม่ใช่วิญญาณ
ต้องเคลียร์กะลุงหมานก่อน...ซะแล้วมั้ง..เช่นนั้น
:b1:

เช่นนั้น เขียน:
เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

รึเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้? :b11:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




giraffe_PNG13519 (1).png
giraffe_PNG13519 (1).png [ 106.29 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ตอนแรก..ก็ขี้เกียจจะซักไซร์ไล่เรียง...ปลอดผ่านๆไป..ซะ
แต่...พอมีคนมาต่อกระทู้...เลยมีอารมณ์..จะถามต่อ


โธ่ๆๆ ไอ่เราก็หลงดีใจนึกว่าที่อธิบายให้พอจะเข้าใจกับเขาได้บ้าง
ถามมาเถอะ ถามเพื่อแก้ความสงสัยละก็ถามมา แต่อย่าถามลองภูมิถามในเชิงอวดรู้
อวดภูมิตัวเอง หรือถามเพื่อให้ตอบไม่ได้จะได้อายเขา อันนี้มันไม่ได้ประโยชน์
มันจะมีแต่ความขัดแย้ง

อ้างคำพูด:
ถ้าอารมณ์..เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว...ไม่ได้ถูกสร้าง...
ผู้ที่มาผัสสะสิ่งเดียวกัน...ก็ต้องเกิดอารมณ์อย่างเดียวกัน...จะรู้สึกเป็นอย่างอื่นที่ต่างกันไม่ได้...ซิ..ลุงหมาน


ใช่..อารมณ์ที่มาปรากฎทางทวารต่างไม่มีใครสร้าง
เมื่อมีผู้มาเห็นหรือสัมผัสสิ่งเดียวกันก็ย่อมเห็นเหมือนกัน แต่ความนึกคิดเรื่องราวต่างๆ
ในสิ่งที่เห็นและสัมผัสย่อมแตกต่างกัน บางคนเห็นแล้วชอบ บางคนเห็นแล้วไม่ชอบ
บางคนเห็นแล้วเฉยๆ เช่น ไฟ เมื่อใครมาสัมผัสก็ต้องรู้สึกร้อนเหมือนกันทุกคน
ไม่ว่าชาติใดภาษาใด จะไม่แตกต่างกันเลย บางคนหนาวมาเมื่อสัมผัสกับไฟก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีพอใจ
บางคนมีความรู้สึกร้อนมาแล้วเมื่อมาสัมผัสก็ไม่ชอบใจ บางคนสัมผัสร้อนก็เฉยๆ เหล่านี้เป็นต้น

อย่าเอาอารมณ์มาเป็นจิต มันจะสับสนจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
อารมณ์มันเป็นตัวถูกจิตรู้ ส่วนตัวรู้มันคือจิต ส่วนความนึกคิดเรื่องราวต่างๆนั้น คือ
สังขารเจตสิกที่ปรุงแต่งให้จิตรู้ (ในที่นี้จะเห็นว่ามี ๓ ส่วน คือ อารมณ์ จิต สังขารเจตสิก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




cow_colostrum_header_cow-and-calf.png
cow_colostrum_header_cow-and-calf.png [ 103.53 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
ตอนแรก..ก็ขี้เกียจจะซักไซร์ไล่เรียง...ปลอดผ่านๆไป..ซะ
แต่...พอมีคนมาต่อกระทู้...เลยมีอารมณ์..จะถามต่อ


โธ่ๆๆ ไอ่เราก็หลงดีใจนึกว่าที่อธิบายให้พอจะเข้าใจกับเขาได้บ้าง
ถามมาเถอะ ถามเพื่อแก้ความสงสัยละก็ถามมา แต่อย่าถามลองภูมิถามในเชิงอวดรู้
อวดภูมิตัวเอง หรือถามเพื่อให้ตอบไม่ได้จะได้อายเขา อันนี้มันไม่ได้ประโยชน์
มันจะมีแต่ความขัดแย้ง

อ้างคำพูด:
ถ้าอารมณ์..เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว...ไม่ได้ถูกสร้าง...
ผู้ที่มาผัสสะสิ่งเดียวกัน...ก็ต้องเกิดอารมณ์อย่างเดียวกัน...จะรู้สึกเป็นอย่างอื่นที่ต่างกันไม่ได้...ซิ..ลุงหมาน


ใช่..อารมณ์ที่มาปรากฎทางทวารต่างไม่มีใครสร้าง
เมื่อมีผู้มาเห็นหรือสัมผัสสิ่งเดียวกันก็ย่อมเห็นเหมือนกัน
แต่ความนึกคิดเรื่องราวต่างๆ
ในสิ่งที่เห็นและสัมผัสย่อมแตกต่างกัน บางคนเห็นแล้วชอบ บางคนเห็นแล้วไม่ชอบ
บางคนเห็นแล้วเฉยๆ เช่น ไฟ เมื่อใครมาสัมผัสก็ต้องรู้สึกร้อนเหมือนกันทุกคน
ไม่ว่าชาติใดภาษาใด จะไม่แตกต่างกันเลย บางคนหนาวมาเมื่อสัมผัสกับไฟก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีพอใจ
บางคนมีความรู้สึกร้อนมาแล้วเมื่อมาสัมผัสก็ไม่ชอบใจ บางคนสัมผัสร้อนก็เฉยๆ เหล่านี้เป็นต้น

อย่าเอาอารมณ์มาเป็นจิต มันจะสับสนจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
อารมณ์มันเป็นตัวถูกจิตรู้ ส่วนตัวรู้มันคือจิต ส่วนความนึกคิดเรื่องราวต่างๆนั้น คือ
สังขารเจตสิกที่ปรุงแต่งให้จิตรู้ (ในที่นี้จะเห็นว่ามี ๓ ส่วน คือ อารมณ์ จิต สังขารเจตสิก
)


..เอาแล้ว...มี 3 ...อารมณ์..จิต..สังขารเจตสิก

จิต...ลุงหมานว่า..คือส่วนของวิญญาณ
สังขารเจตสิก...ส่วนของสังขารขันธ์

ในส่วนอารมณ์...อย่างชาวบ้านๆ..ก็คือพวกอาการโกรธ...อาการชอบไม่ชอบ...เฉยๆ..เป็นต้น..ก็น่าจะอยู่ในส่วนของเวทนา...เป็นเวทนาขันธ์

แล้ว..อารมณ์ของลุงหมาน...ที่ว่า.."มีอยู่แล้วไม่ได้ถูกสร้าง..เมื่อมีผู้ผัสสะสิ่งเดียวกันก็ย่อมเห็นเหมือนกัน"..นี้...ลุงหมานช่วยขยายความนิดได้มั้ย...ดูท่าจะไม่ใช่อารมณ์อย่างที่ชาวบ้านคุ้นเคยแล้วละ...

อารมณ์ของลุงหมานมันเป็นยังงัย...หรอ?
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 07:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




cow.png
cow.png [ 123.97 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
อีกคำ...จิตคิดเรื่องกุศลก็เป็นจิตดีแล้ว..นี้...จิตตัวนี้เป็นจิตในความหมายของอภิธรรม..หรือ..ความหมายรวมๆอย่างชาวบ้านธรรมดา

ถ้าเป็นความหมายธรรมดาๆ...พอเข้าใจครับว่า..จิตคิดมันใช้อะไรคิด
แต่ถ้าตอบว่า...เป็นความหมายทางพระอภิธรรม..ก็ถามต่อเลยว่า...จิต..เอาอะไรไปคิด?...สังขารขันธ์..หรือ?

จิตไม่มีในความหมายใดๆ ว่าจะต้องเป็นของพระอภิธรรม หรือชาวบ้านธรรมดา จิตก็คือจิต

จิตไม่ได้คิด แต่จิตเป็นผู้รู้คิด สิ่งที่คิดได้แก่เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตที่เรียกว่า"สังขาร"ได้แก่เจตสิก
จิตเป็นขันธ์ๆ หนึ่งคือวิญญาณขันธ์ จิตไม่ใช่สังขารขันธ์จึงคิดหรือจะไปปรุงแต่งอะไรไม่ได้
จิตจึงมีสภาพเพียงเป็นผู้รู้เท่านั้น


กบนอกกะลา เขียน:
ถ้าจะว่าตามกฎของกรรม....ใครทำสิ่งใดก็ต้องได้รับผลจากสิ่งนั้น
ถ้า...สังขาร...เป็นเจตสิก....เป็นผู้คิด...หากคิดกุศล...สังขารขันธ์ย่อมเป็นใครรับผลอันนี้...หากคิดอกุศล...สังขารขันธ์ก็ต้องรับวิบากอันนี้...ไปซิ

แล้วมันเป็นอย่างนี้มั้ยละ?

:b12: :b12: :b12:


กลัวลืม... :b9: :b9: :b9:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sgfr-a7.png
sgfr-a7.png [ 266.48 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ถ้าจะว่าตามกฎของกรรม....ใครทำสิ่งใดก็ต้องได้รับผลจากสิ่งนั้น
ถ้า...สังขาร...เป็นเจตสิก....เป็นผู้คิด...หากคิดกุศล...สังขารขันธ์ย่อมเป็นใครรับผลอันนี้...หากคิดอกุศล...สังขารขันธ์ก็ต้องรับวิบากอันนี้...ไปซิ

แล้วมันเป็นอย่างนี้มั้ยละ?


ถ้าว่าตามกฎแห่งกรรม ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ผู้นั้นต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น
ผู้ทำเหตุอันชั่วในชาตินี้เมื่อตายไปก็ไม่รับผลของกรรมในชาติหน้า เช่น ตกนรกบ้าง
เดรัจฉานบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง ตามสมควรแก่เหตุ เมื่อเหตุมีผลก็ย่อมมีเป็นธรรมดา
เมื่อตัดเหตุเสียได้ผลก็ย่อมไม่มีเช่นกัน

ในภพนี้เราเป็นผู้สร้างเหตุ ชาติหน้าเราเป็นผู้รับผล ไม่ว่าจะเกิดในที่ดีหรือไม่ดีเราสร้างไว้เองทั้งสิ้น
เมื่อไปเกิดในภพภูมิใดก็ย่อมมีขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก ตามหลักพระอภิธรรมเขาเรียกว่าถ่ายโอนๆ ไป
ขันธ์ ๕ นี้ดับไป ขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก (ในขันธ์ ๕ ก็มีสังขารธ์อยู่ด้วยจริงไหม)
เหมือนว่าเราปลูกมะม่วงๆ ลูกเก่าหายไปไหน เมื่อปลูกมะม่วงแล้วทำไหมจึงเกิดมีลำต้น

ทำไมไม่เป็นผลมะม่วงเสียเลย มะม่วงที่ออกมาก็ไม่ใช่ลูกเก่ามันเป็นลูกใหม่
เหตุก็อยู่ที่เราเอามะม่วงไปปลูก ผลก็มะม่วงก็ที่ออกลูก จะเห็นได้ว่าเหตุกับผลย่อมตรงกันเสมอ
สร้างเหตุไว้เช่นไร ผลที่ได้ก็ได้เช่นนั้นตามเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 07:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_static_5w01y13gcpgc08g0cwcwwc444.png
tumblr_static_5w01y13gcpgc08g0cwcwwc444.png [ 174.34 KiB | เปิดดู 3154 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
วิญญาณธาตุไม่ใช่จิต

[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร
จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา
มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น
สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และ
อนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ
โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์
ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุ
ได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและ
ความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...
เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุ
และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครอง
วิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบ
ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจ
มั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ
จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

:b8: :b8:
น่าสนใจ...มาก..นะครับ....บทนี้

แต่ไม่ทราบ..เอามาจากไหนครับ...
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร