วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอถามลุงหมานต่อในเรีองของวิญญาณฐิติ มีความเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของการใช้กายวาจาใจ (กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) นิสัย สันดาน เรื่องกุศลอกุศลในขฌะที่ใข้ชีวิตอยู่นั้นเหมือนเป็นสัญญานำทางวิญญาณฐิติไปสู่ภพภูมิที่แตกต่างกัน คล้ายเรื่องบุพพกรรมนำเกิดหรือไม่ครับ



อันนี้เป็นการบอกถึงประเภทของสัตว์ในแต่ละภพภูมิ ว่า มีความต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร
เช่นว่า สัตว์เมื่อตายแล้วไปปฏิสนธิจิต ด้วยจิตที่เป็นอเหตุกบุคคลที่เป็นจิตดวงเดียวเหมือนกันหมด
แต่เมือเวลาเกิดของสัตว์เหล่านี้ก็เกิดในนรกบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง
ซึ่งจะไม่เหมือนกันเลย แม้สัตว์ที่เกิดในนรกก็มีร่างกายที่แตกต่างกันออกไป

ยกตัวอย่าง กับสัตว์เดรัจฉานที่พอจะมองเห็นได้และอาจจะพอเข้าใจได้ ก็มีความแตกต่างกันออกไป
มีมากมายหลายจำพวกเป็นสัตว์น้ำบ้าง สัตว์บกบ้าง สัตวที่อาศัยอยู่ในดิน สัตว์ที่บินไปในอากาศ
แม้แต่สัตว์บกก็มีหลายประเภท มีขา ๒ ขาบ้าง ๔ ขาบ้าง ๖ ขาบ้าง ๘ ขาบ้าง มากขาบ้าง
และไม่มีขาบ้าง สัตว์ที่มากมายจำพวกนี้ปฏิสนธิจิตมาจากดวงเดียวกันทั้งสิน สัตว์ที่เกิดในนรก
เปรต อสุรกายก็ทำนองเดียวกัน ดังที่ได้อธิบายมาดังกล่าวแล้วนั้น

พูดถึงที่เป็นกุศลบ้างปฏิสนธิต่างกันก็เกิดต่างกัน เช่นมนุษย์และเทวดา
มีปฏิสนธิจิต ๘ ดวง เวลาไปเกิดจะไปเกิดในมนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖,

บุคคลที่ได้ปฐมฌาน ปฏิสนธิดวงเดียวกัน จะไปบังเกิดได้ ๓ ภูมิคือ ปริสัชชา,ปุโรหิตา,มหาพรหมา
บุคคลที่ได้ทุติยฌาน ปฏิสนธิดวงเดียวกัน จะได้ไปเกิด ๓ ภูมิคือ ปริตตาภา, อัปปมาณาภา,อาภัสสรา
บุคคลที่ได้ตติยฌาน ปฏิสนธิดวงเดียวกัน จะได้ไปเกิด ๓ ภูมิคือ ปริตตสุภา,อัปปมาณสุภา,สุภกิณณหา
บุคคลที่ได้จตุถฌาน ปฏิสนธิดวงเดียวกัน จะไปเกิดได้ ๗ ภูมิคือ เวหัปผลา,อสัญญสัตตา, สุทธาวาสภูมิ ๕
บุคคลเหล่านี้เมื่อตายก็ตายด้วยจิตเหมือนกัน แต่พอไปเกิดจะไปเกิดเหมือนกันรูปร่างเหมือนกัน

ก็ขอยกตัวอย่างและอธิบายมาแค่นี้แล้วกัน ถ้าจะให้รู้รายละเอียดและชัดเจนมากกว่านี้
คงต้องเข้าศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งจะมีที่ศึกษาอยู่ทั่วไปในประเทศนี้โดยเฉพาะใน กทม. จะมีอยู่หลายแห่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 17:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับลุงหมานที่ช่วยแนะนำให้พอเข้าใจในเรื่องวิญญาณฐิติ ที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของกรรม ขอวกกลับมาเรื่องของขันธ์ห้า ที่เป็นเหมือนเล็บเหยียวกุมจิตเราอยู่ เหมือนเป็นสังขตะวนเวียนอยู่ในวิญญาณหูตาจมูกลิ้นกายใจด้วยรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เป็นเหมือนจิตเราวนเวียนอยุ่แค่นี้ แม้พ้นกายนี้จิตก็ยังวนเวียนอยุ่ในกามาวจรก็เหมือนเป็นสังขตะอีกเหมือนกัน ทำอย่างไรจึงพ้นไปสู่อสังขตะ ลุงว่าเราควรทำอย่างไรจึงจะพ้นอำนาจกรรมที่กุมจิตอยู่ปกปิดจิตเราอยู่เหมือนเป็นสังขตะ มีสิ่งลวงจิตให้เพลิดเพลินด้วยอารมณ์สุขใจทีสมหวังทุกข์ใจที่ไม่สมหวัง เราควรเดินทางอย่างไรเพื่อไปให้พ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอบคุณครับลุงหมานที่ช่วยแนะนำให้พอเข้าใจในเรื่องวิญญาณฐิติ ที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของกรรม ขอวกกลับมาเรื่องของขันธ์ห้า ที่เป็นเหมือนเล็บเหยียวกุมจิตเราอยู่ เหมือนเป็นสังขตะวนเวียนอยู่ในวิญญาณหูตาจมูกลิ้นกายใจด้วยรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เป็นเหมือนจิตเราวนเวียนอยุ่แค่นี้ แม้พ้นกายนี้จิตก็ยังวนเวียนอยุ่ในกามาวจรก็เหมือนเป็นสังขตะอีกเหมือนกัน ทำอย่างไรจึงพ้นไปสู่อสังขตะ ลุงว่าเราควรทำอย่างไรจึงจะพ้นอำนาจกรรมที่กุมจิตอยู่ปกปิดจิตเราอยู่เหมือนเป็นสังขตะ มีสิ่งลวงจิตให้เพลิดเพลินด้วยอารมณ์สุขใจทีสมหวังทุกข์ใจที่ไม่สมหวัง เราควรเดินทางอย่างไรเพื่อไปให้พ้น


ชีวิตและร่างกายของเราทุกวันนี้ มันจะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรม
หรือที่เรียกว่าขันธ์ ๕ ที่เกิดจากผลของกรรมในอดีต ที่เจ้าของขันธ์ ๕ นี้เป็นผู้สร้างไว้เองทั้งสิ้น
รูปสวยรวยทรัพย์มีปัญญา หรือยากจนอับปัญญาพิกลพิการ เหล่านี้ ขันธ์ ๕ ในอดีตสร้าง
ขันธ์ ๕ ในปัจจุบันให้เกิดขึ้น แม้แต่ทุกวันนี้เวลานี้ขณะนี้ ก็ไม่เคยที่จะว่างเว้นหยุด
จากการสร้างขันธ์ ๕ ให้เกิดขึ้นเลย เช่น ขณะที่ "ตา" กระทบกับ "รูปารมณ์" "จิต" ก็เกิดขึ้นเห็นรูปต่าง

อีกนัยยะที่เรียกว่า"ผัสสะ" ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้นถ้าพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ ได้เกิดขึ้นที่ทางทวารตา เมื่อเกิดเวทนายินดีพอใจหรือไม่พอใจก็แล้วแต่
ตัณหาอุปาทานเกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น ตรงช่วงระหว่างรอยต่อกับตัณหานี้เอง ต้องดับตรงรอยต่อ
ตรงนี้(ผัสสะ เวทนา ตัณหา) เมื่อดับเวทนาเสียได้ ตัณหาก็เกิดไม่ได้
เพราะตัวเวทนานี้เองเป็นตัวเชื่อมให้ตัณหาเกิดขึ้น
ซึ่งก็จะเป็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้น หรือขันธ์ ๕ เกิดขึ้น

เมื่อดับเวทนาเสียได้แล้วตัณหาก็ต้องดับด้วย จะเป็นการดับวงจรการขึ้นของปฏิจจสมุปบาท
หรือดับขันธ์ ๕ ครูบาอาจารย์บางท่านจะสอนว่าขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ไหนก็ให้ดับขันธ์ ๕ ที่นั่น
เมื่อเราไม่สามารถดับขันธ์ ๕ ที่นั้นได้ เขาก็จะดับของเขาเองพร้อมที่จะไปเกิดขึ้น
ที่ทางทวารใหม่ต่อไปอีก เช่นทวารหู ทวารจมูก ทวารลิ้น เป็นต้นเหล่านี้ อยู่เรื่อยๆไม่ว่างเว้น

สรุปแล้วขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ตาก็ต้องที่ตา เกิดขึ้นที่หูก็ต้องดับที่หู เกิดขึ้นที่จมูกก็ต้องดับที่จมูก
เกิดขึ้นที่ลิ้นก็ต้องดับที่ลิ้น เกิดขึ้นที่กายก็ต้องดับที่กาย เกิดขึ้นที่ใจก็ต้องดับที่ใจ แต่ทว่าพูดแบบนี้
จะดูเหมือนว่าง่ายๆ ไม่ยากเลย มันจะต้องฝึกสติให้รู้เท่าทันของสภาพธรรมขันธ์ ๕ เกิดขึ้น
ตามความเป็นจริง เห็นความเป็นจริงว่าธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นเพียงอนัตตา จนเกิดความเบื่อหน่าย
ไม่ยึดถือว่าขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เมื่อเราเห็นอนัตตาได้เมื่อไหร่เมื่อนั้นท่านบรรลุอย่างแน่นอน
และเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปแสวงหาพระศาสดาองค์อื่นอีกต่อไป......

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 07:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
รูปธรรมและนามธรรม จะสัมผัสได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในขณะที่เราใช้ร่างกายเคลื่อนไหว วิญญาณเคลื่อนไหว ตาเห็นรูป หูรับเสียง .... สังเกตุเห็นอารมณ์ที่แทรกเข้ามาปรุงแตงจิตผ่านทางตาทางหู ในบางอารมณ์ก็มีกระแสความรุนแรง เหมือนอย่างคนที่กำลังโกรธกำลังโมโหเต็มที่ หากเราอยู่ใกล้ๆ กระแสของความร้อนของอารมณ์ก็ออกมา เหมือนทำให้รู้สึกไม่ชอบใจในบุคคลที่กำลังเกิดอารมณ์โกรธโมโหนั้นอยู่ หากเราปล่อยวางเรื่องราวอารมณ์ของบุคคลผู้นั้นไม่ทัน เผลอสติไปติเตียนคล้องกรรมในบุุคคลผู้กำลังมีอารมณ์นั้นอยู่มันเกิดขึ้นมาเป็นการคล้องกรรมกับอารมณ์ของบุคคลผู้นััน แล้วมันก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น การที่ตาหูไปรับอารมณ์ของบุคคลผู้นั้นก็ยังดำเนินต่อไปอีก เป็นอารมณ์ที่ข้างคาใจ เรื่องของอารมณ์ของบุคคลผู้อื่นที่ข้างคาใจนี้ หากเราแค่คิดนึกถึงชื่อบุคคคลที่คล้องกรรมปรากฎเข้ามาที่ตัวเรา ก็มีกระแสของอารมณ์ไหลออกมาจากชื่อนามของบุคคลผู้นั้น หากจิตเรานิ่งดูได้ อารมณ์ที่ไหลเข้ามาก็ปรากฏเป็นภาพเป็นกระแสบางครั้งก็มีเสียงไหลออกมาให้รับรู้ในมโนวิญญาณเป็นลักษณะของธรรมารมณ์
...........
ขอบครับลุงหมาน


..อารมณ์...ที่ว่านี้..อารมณ์แบบชาวบ้าน..หรืออารมณ์แบบนักอภิธรรม

อย่าพูดอารมณ์แบบชาวบ้าน..ซิ....ลุงแกว่าเอาได้นะ...ไม่ได้..ไม่ได้..ต้องพูดให้ถูก...เรียกผิดเพราะเข้าใจผิด..ไม่ได้..ไม่ได้

แซว...แซว.... :b32: :b32: :b32:
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 07:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


มานะ..นี้..มันแทรกเข้าไปได้กับกิเลสทุกตัว..ก็ว่าได้

เกิด..ฉันทาคติ...อคติ...อยู่ในทุกๆ...การกระทำลำเอียง

ทุกข์คือความสั่นไหวเกิดแล้ว....ในจิต...ก็หารู้ไม่

ยังเพลิดเพลินอยู่ในมานะ...อย่างเนียน

:b3: :b3: :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 09:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีท่านกบ

เรื่องการเรียนรู้เพื่อออกจากทุกข์ มันต้องมีความสนุกมีความเพลิดเพลิน แต่ไม่ใช่สนุกแบบหาเวรหากรรม สนุกเพลิดเพลินอยุ่การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม สนุกเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เหมือนอยู่กับอารมณ์ก็ไม่รู้จักอารมณ์ อยู่กับตาก็ไม่รู้จักตา อยู่กับหูก็ไม่รู้จักหู... อยู่กับกรรมก็ไม่รู้จักกรรม เป็นเหมือนมันโง่อยูุ่นานแล้วมันเป็นความสนุกที่หลีกหนีกรรมไม่เบียดเบียนใคร ใครจะคิดอย่างไรก็เป็นเรื่องของเหตุผลที่จิตเขาจะพิจารณากันเอง ไม่ใช่เรืองที่เราจะไปคิดวิตกแทนใคร เรื่องของนันทินี้มันคลุมทั้งกามาวจรและเราก็ยังอยู่ในกามคุณเต็มตัว เรื่องของภาษาที่ผมใช้ ผมว่าลุงหมานคงไม่ถือสา คงไม่ตำหนิกับคนที่ไม่รู้เรื่องอภิธรรม เมื่อเราไม่รู้เรื่องของอภิธรรม เราก็ไม่เอาภาษาในเรื่องของอภิธรรมมาใช้ ก็เหมือนเราพูดภาษาฝรั่งไม่ได้อย่างนั้นแหละ แต่เรื่องของอภิธรรมก็เป็นเรื่องดีที่มีรายละเอียดมาก ถ้าเรามีมานะทีฐิเห็นตัวเองดีรู้แล้วเราคงไม่มาถามลุงหมาน แต่เพราะว่าเห็นตัวเองยังโง่อยู่มาก จึงต้องถามผู้ที่รู้พออธิบายเหตุผลให้เราได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 10:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

อีกนัยยะที่เรียกว่า"ผัสสะ" ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้นถ้าพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ ได้เกิดขึ้นที่ทางทวารตา เมื่อเกิดเวทนายินดีพอใจหรือไม่พอใจก็แล้วแต่
ตัณหาอุปาทานเกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น ตรงช่วงระหว่างรอยต่อกับตัณหานี้เอง ต้องดับตรงรอยต่อ
ตรงนี้(ผัสสะ เวทนา ตัณหา) เมื่อดับเวทนาเสียได้ ตัณหาก็เกิดไม่ได้
เพราะตัวเวทนานี้เองเป็นตัวเชื่อมให้ตัณหาเกิดขึ้น
ซึ่งก็จะเป็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้น หรือขันธ์ ๕ เกิดขึ้น

เมื่อดับเวทนาเสียได้แล้วตัณหาก็ต้องดับด้วย จะเป็นการดับวงจรการขึ้นของปฏิจจสมุปบาท
หรือดับขันธ์ ๕ ครูบาอาจารย์บางท่านจะสอนว่าขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่ไหนก็ให้ดับขันธ์ ๕ ที่นั่น
เมื่อเราไม่สามารถดับขันธ์ ๕ ที่นั้นได้ เขาก็จะดับของเขาเองพร้อมที่จะไปเกิดขึ้น
ที่ทางทวารใหม่ต่อไปอีก เช่นทวารหู ทวารจมูก ทวารลิ้น เป็นต้นเหล่านี้ อยู่เรื่อยๆไม่ว่างเว้น
.


เรื่องของรอยต่อที่ลุงหมาน พูดถึงมันเป็นรอยต่อที่บุคคลทั่วไปทำได้ยาก และยากที่จะเห็น (แม้ว่าเห็นแล้วก็ยังยากที่เข้าใจในสิ่งทีกำลังแสดงปรากฏออกมา) เพราะจิตไม่มีกำลังของสมาธิเป็นพื้นฐานหรือยังมีกรรมมาก น้ำหนักของกรรมกดทับจิตมากคงไม่สมารถ ไปรับรู้หรือตัดกระบวนการนี้ออกไปได้ เพราะพอมีสิ่งกระทบเข้าอารมณ์ก็เข้ามาทันทีเหมือนกัน คล้ายเวลาเราถูกตีให้เจ็บ ซึ่งมันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หลังถูกตีแล้วก็ยังเจ็บต่อไปอีก อารมณ์ก็เป็นลักษณะทำนองนี้ แล้วลุงว่าเราควรฝีกรักษาจิตอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่ามีเพียงทางเดียวที่จะแก้ไขได้ ก็ด้วยเรื่องของสมาธิตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ความจริง อีกอย่างหนึ่งก็เรื่องกำลังของสมาธิ หากจิตเป็นสมาธิอารมณ์ก็ไม่ไหลเข้ามาสู่จิต ซึ่งจะช่วยตัดกระแสอารมณ์ที่ไหลลงมาคล้ายกระแสไฟลงผ่านโลหะ ซึ่งจิตที่เป็นสมาธิจะทำหน้าที่คล้ายฉนวนป้องกันกระแสไฟ จิตที่เป็นสมาธิมากๆ มีกำลังมาก กรรมปัจจุบันที่สร้างขึ้นใหม่ไม่มี อารมณ์ก็ไม่รบกวน เหมือนจิตปราศจากอารมณ์เช้ามารบกวน มันก็นเหมือนอยู่กับอนัตตาเป็นปกติ ก็เลยอยากถามลุงว่าควรจะฝึกอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
เรื่องของรอยต่อที่ลุงหมาน พูดถึงมันเป็นรอยต่อที่บุคคลทั่วไปทำได้ยาก และยากที่จะเห็น (แม้ว่าเห็นแล้วก็ยังยากที่เข้าใจในสิ่งทีกำลังแสดงปรากฏออกมา) เพราะจิตไม่มีกำลังของสมาธิเป็นพื้นฐานหรือยังมีกรรมมาก น้ำหนักของกรรมกดทับจิตมากคงไม่สมารถ ไปรับรู้หรือตัดกระบวนการนี้ออกไปได้ เพราะพอมีสิ่งกระทบเข้าอารมณ์ก็เข้ามาทันทีเหมือนกัน คล้ายเวลาเราถูกตีให้เจ็บ ซึ่งมันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หลังถูกตีแล้วก็ยังเจ็บต่อไปอีก อารมณ์ก็เป็นลักษณะทำนองนี้ แล้วลุงว่าเราควรฝีกรักษาจิตอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่ามีเพียงทางเดียวที่จะแก้ไขได้ ก็ด้วยเรื่องของสมาธิตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ความจริง อีกอย่างหนึ่งก็เรื่องกำลังของสมาธิ หากจิตเป็นสมาธิอารมณ์ก็ไม่ไหลเข้ามาสู่จิต ซึ่งจะช่วยตัดกระแสอารมณ์ที่ไหลลงมาคล้ายกระแสไฟลงผ่านโลหะ ซึ่งจิตที่เป็นสมาธิจะทำหน้าที่คล้ายฉนวนป้องกันกระแสไฟ จิตที่เป็นสมาธิมากๆ มีกำลังมาก กรรมปัจจุบันที่สร้างขึ้นใหม่ไม่มี อารมณ์ก็ไม่รบกวน เหมือนจิตปราศจากอารมณ์เช้ามารบกวน มันก็นเหมือนอยู่กับอนัตตาเป็นปกติ ก็เลยอยากถามลุงว่าควรจะฝึกอย่างไรครับ


ของ่ายๆ ถ้าเราไม่เคยทำมันก็ยาก คนเคยทำมามากคือทำบ่อยๆ จะเห็นเป็นของง่าย
การดับนั้นก็ไม่ดับที่ "ตัณหา" การดับต้องดับที่ "เวทนา" ถ้าปล่อยให้ถึง ตัณหา ๆ เขาก็ต้องทำหน้าที่
ของเขาอีก ใหม่ๆ เราก็ต้องเรียนรู้อย่างนี้แหละ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะเห็นกระบวนการของเขา
แล้วมันจะคลายความยึดถือของมันเอง โดยไม่ต้องไปทำให้มันเกิดขึ้น มันก็จะละได้เอง

เพราะเป็นกระบวนการของเขา เพียงแต่เรามีสติกำหนดรู้ดูอยู่เท่านั้น คล้ายกับว่าเราถูกตี
เวทนาที่รู้เจ็บก็เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปความเจ็บก็จะดับลงเอง โดยที่ใครก็ไม่เคยไปขอร้อง
ให้หายเจ็บเลย เมื่อมีปัจจัยพร้อมมาทำให้เจ็บจะขอร้องว่าอย่าเจ็บเลยก็ไม่ได้ และจะขอร้องว่า
อย่าหายเจ็บเลยจงเจ็บต่อไปเถอะก็ไม่ได้เช่นกัน เมื่อเข้าใจได้อย่างนี้แล้วจิตก็จะวางเฉย

เห็นความจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดถืออีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือมันๆ จะคลายความยึดมั่นถือมัน
จากตัวตนว่าเราเจ็บ จะเห็นเป็นเพียงกระบวนการของมันเท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อไม่ยึดถือความเห็นว่า
เป็นตัวตนก็จะคลายสู่ความว่างเปล่า จึงเห็นความจริงเกิดขึ้นว่าทุกอย่างมันอิงอาศัยกันเกิดขึ้นเท่านั้น
เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยเขาก็จะดับของเขาเอง จะไปขอร้องให้อยู่ต่ออีกก็ไม่ได้

การฝึกเราต้องฝึกตัวผู้ดู กับตัวผู้รู้ ให้แข็งแรงและเข้าใจ เมื่อรู้ถึงความเป็นจริงมันจะคลายยึดมั่น
เห็นกระบวนความเป็นจริงเกิดขึ้น....เพราะมันจะต้องมีรอยต่อกันอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในช่วงของรอยต่อที่ดับไปแต่ละช่วงนั้น
เวลาจะสั้นยาวก็ไม่เท่ากัน
ถ้านานก็ไม่เป็นไรใช่ใหมคะ
เรียกว่าสภาวะอะไร
ระหว่างนั้นกายเนื้อทำยังไงอยู่
จะเป็นไปได้ใหม ที่จะไม่กลับมารู้ตัว คือหายไปตลอดเลย
:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ของ่ายๆ ถ้าเราไม่เคยทำมันก็ยาก คนเคยทำมามากคือทำบ่อยๆ จะเห็นเป็นของง่าย
การดับนั้นก็ไม่ดับที่ "ตัณหา" การดับต้องดับที่ "เวทนา" ถ้าปล่อยให้ถึง ตัณหา ๆ เขาก็ต้องทำหน้าที่
ของเขาอีก ใหม่ๆ เราก็ต้องเรียนรู้อย่างนี้แหละ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะเห็นกระบวนการของเขา
แล้วมันจะคลายความยึดถือของมันเอง โดยไม่ต้องไปทำให้มันเกิดขึ้น มันก็จะละได้เอง

เพราะเป็นกระบวนการของเขา เพียงแต่เรามีสติกำหนดรู้ดูอยู่เท่านั้น คล้ายกับว่าเราถูกตี
เวทนาที่รู้เจ็บก็เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปความเจ็บก็จะดับลงเอง โดยที่ใครก็ไม่เคยไปขอร้อง
ให้หายเจ็บเลย เมื่อมีปัจจัยพร้อมมาทำให้เจ็บจะขอร้องว่าอย่าเจ็บเลยก็ไม่ได้ และจะขอร้องว่า
อย่าหายเจ็บเลยจงเจ็บต่อไปเถอะก็ไม่ได้เช่นกัน เมื่อเข้าใจได้อย่างนี้แล้วจิตก็จะวางเฉย

เห็นความจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดถืออีกต่อไป เมื่อไม่ยึดถือมันๆ จะคลายความยึดมั่นถือมัน
จากตัวตนว่าเราเจ็บ จะเห็นเป็นเพียงกระบวนการของมันเท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อไม่ยึดถือความเห็นว่า
เป็นตัวตนก็จะคลายสู่ความว่างเปล่า จึงเห็นความจริงเกิดขึ้นว่าทุกอย่างมันอิงอาศัยกันเกิดขึ้นเท่านั้น
เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยเขาก็จะดับของเขาเอง จะไปขอร้องให้อยู่ต่ออีกก็ไม่ได้


อ่านที่ลุงบอกมานี้มันเหมือนง่ายจริงๆ ครับ แต่สำหรับผมรู้สึกว่ามันยาก ยิ่งคุยกับคนใกล้ชิดด้วยแล้วอารมณ์ถูกใจไม่ถูกใจ ไม่ชอบก็เข้ามาได้บ่อย อาหารไม่ถูกปากก็บ่น เผ็ดไป เค็มไปเหมือนไม่ถูกใจไปหมด บางครั้งก็แอบบ่นในใจ บางครั้งก็เผลอพูดด้วยอารมณ์ในสิ่งทีทำให้ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ แล้วก็เริ่มออกอาการโมโห แถมมันยังค้างคาใจอีก ในชีวิตประจำวันของคนเราทั่วไป คนที่มีเรื่ิองราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คน นั้ั้นดูไม่ทันหรอก มันไม่เหมือนกับบุคคลทียังมีภาระน้อย เหมือนเรานั่งทำงานอยู่ดีๆ ก็มีคนมายืนด่าว่าเอา ด่าเอาๆ มีใครจะกำหนดสติได้ทัน เห็นมีแต่ด่ามา ก็ด่าไป คล้องเวรกรรมกันเสมอ บางครั้งก็พาลโกรธไปเลย แล้วลุงเห็นว่าเรื่องอารมณ์โมโหกับอารมณ์โกรธมันแตกต่างกันอย่างไร อารมณ์ไม่พอใจเวลามันเกิดที่ใจเรานั้น เรารู้สึกอย่างไร อาการของอารมณ์แสดงออกมาอย่างไร ส่วนในบุคคลที่จิตเขาดี ใครมาด่าว่าอะไร เขานิ่งเฉยได้ เห็นเป็นเรื่องของกรรม เห็นเป็นเรื่องของอารมณ์กรรมที่กำลังแสดงออกมาให้ศึกษาทั้งกิริยาของกายวาจาที่อารมณ์นั้นกำกับกำลังแสดงอยู่ โดยที่เราสามารถครองสติสัมปชัญญะได้ โดยเห็นเป็นเรื่องของกรรมที่กำลังแสดงออกมา เห็นว่าเขากำลังถูกอารมณ์กรรมควบคุมบีบบังคับอยู่ แต่ส่วนมากมักเสียที รู้ตัวก็สายไปแล้ว อีกประการหนึ่งคนเราทั่วไปก็ไม่รู้จักจิต เมื่อไม่รู้จักจิต เอาจิตที่ไม่รู้จักจิตไปดูอารมณ์ตัวเอง ดูอารมณ์ที่ผู้อื่นแสดงนั้นมันง่าย แต่ดูอารมณ์ที่เกิดที่ใจ ที่หูตาจมูกลิ้นกายใจนั้นทำได้ยากและอีกประการหนึ่งคนเรามักลำเอียงเข้าข้างตัวเอง มักเห็นตัวเองถูกเสมอก็เพราะอารมณ์อีกนั้นแหละพาให้หลง ซึ่งตรงจุดนี้ท่านจึงสอนให้ขยันฝึกสมาธิภาวนาให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นให้ได้เหมือนให้เรารู้จักจิตของตัวเราเหมือนจิตเราที่แท้จริงนั้นมันไม่มีอะไรเลย ไม่มีคิดนึกอะไร แต่เนื่องด้วยกรรมที่มีอยู่จึงมีภาระแบกขันธฺฺ์ห้าต้องทำตามอารมณ์ที่เข้ามาครองมาควบคุมขันธ์์ห้า แบกขันธืห้าของคัวเองยังไม่พอ ยังเอาขันธ์ห้าของผู้อื่นมาแบกอีก เรื่องนี้สำหรับผมเห็นว่ามันยากจริงๆ ยิ่งกับคนใกล้ชิดด้วยแล้วเสียทีทุกที เผลอทุกทีที่โดนภรรยาต่อว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ในช่วงของรอยต่อที่ดับไปแต่ละช่วงนั้น
เวลาจะสั้นยาวก็ไม่เท่ากัน
ถ้านานก็ไม่เป็นไรใช่ใหมคะ
เรียกว่าสภาวะอะไร
ระหว่างนั้นกายเนื้อทำยังไงอยู่
จะเป็นไปได้ใหม ที่จะไม่กลับมารู้ตัว คือหายไปตลอดเลย
:b8: :b8:


ขอถามนิดหนึ่ง เรารู้จักจิตเรามั้ย ถ้าเรารู้จักจิตเรา เราก็จะรู้ทันเวลามีสิ่งแปลกปลอม เหมือนผิวน้ำใส มีอะไรมันตกหล่นลงมา เราก็จะรู้ได้ถึงความผิดปกติ อะไรทีมาทำให้น้ำขุ่่น เราก็สังเกตุเห็นความผิดปกติ เมื่อรู้ว่ามีสิ่งแปลกเข้ามา ทำให้น้ำขุ่น ก็รีบจัดการเอาสิ่งที่ทำให้น้ำขุ่นนั้นออก ถ้าเอาออกได้เร็วก็ยิ่งดี ซึ่งก็อยู่ที่ตัวเราเอง ไม่มีใครช่วยใครได้ หากปล่อยให้ตกตะกอน มันก็สะสมทับถมจนไม่มีน้ำใส ต่อไปก็กลายเป็นโคลนตม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 07:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
สวัสดีท่านกบ

เรื่องการเรียนรู้เพื่อออกจากทุกข์ มันต้องมีความสนุกมีความเพลิดเพลิน แต่ไม่ใช่สนุกแบบหาเวรหากรรม สนุกเพลิดเพลินอยุ่การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม สนุกเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เหมือนอยู่กับอารมณ์ก็ไม่รู้จักอารมณ์ อยู่กับตาก็ไม่รู้จักตา อยู่กับหูก็ไม่รู้จักหู... อยู่กับกรรมก็ไม่รู้จักกรรม เป็นเหมือนมันโง่อยูุ่นานแล้วมันเป็นความสนุกที่หลีกหนีกรรมไม่เบียดเบียนใคร ใครจะคิดอย่างไรก็เป็นเรื่องของเหตุผลที่จิตเขาจะพิจารณากันเอง ไม่ใช่เรืองที่เราจะไปคิดวิตกแทนใคร เรื่องของนันทินี้มันคลุมทั้งกามาวจรและเราก็ยังอยู่ในกามคุณเต็มตัว เรื่องของภาษาที่ผมใช้ ผมว่าลุงหมานคงไม่ถือสา คงไม่ตำหนิกับคนที่ไม่รู้เรื่องอภิธรรม เมื่อเราไม่รู้เรื่องของอภิธรรม เราก็ไม่เอาภาษาในเรื่องของอภิธรรมมาใช้ ก็เหมือนเราพูดภาษาฝรั่งไม่ได้อย่างนั้นแหละ แต่เรื่องของอภิธรรมก็เป็นเรื่องดีที่มีรายละเอียดมาก ถ้าเรามีมานะทีฐิเห็นตัวเองดีรู้แล้วเราคงไม่มาถามลุงหมาน แต่เพราะว่าเห็นตัวเองยังโง่อยู่มาก จึงต้องถามผู้ที่รู้พออธิบายเหตุผลให้เราได้


ผมแซว..ลุงหมาน...แกเล่น....ครับผม.. :b32:

ลุงหมาน เขียน:
อารมณ์ต้องเรียกอารมณ์ ถ้าเรียกอายตนะมันก็มั่วกันไปใหญ่จับต้นชนปลายไม่ถูก
เราชวนกันคุยเรื่องนี้กลับเอาเรื่องโน้นมาพูดอีก เขาเรียกว่าปนเป เลอะเทอะ


ส่วนเรื่อง...โกรธ...เกลียด...ชอบ...ไม่ชอบ ฯลฯ

ถ้ามีสติเราก็สามารถที่จะน้อมเอามาเป็นอารมณ์ได้ เช่นขณะที่โกรธก็รู้โกรธ
ขณะที่เกลียดก็รู้เกลียดเพราะธรรมชาติของจิตเขาสามารถน้อมเอา "นาม" มาเป็นอารมณ์ก็ได้
จิตเขาเอาได้ทั้งรูปทั้งนามมาเป็นอารมณ์ได้ ถ้าหากว่าโกรธแล้วขาดสติก็ไม่สามารถ
เอาโกรธมาเป็นอารมณ์ได้ เช่นว่า ขณะที่เราโกรธใครสักคน เราก็จะเอาคนๆนั้นแหละมาเป็นอารมณ์

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 07:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ปธาน ๔ หรือ สัมมัปปธาน ๔..ความเพียรชอบ,ความเพียรใหญ่..

๑.สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น ยับยั้งบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
...
๒.ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญหรือเพียรก่อให้เกิดหรือเพียรทำกุศลกรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น

๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาหรือเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์.¤


อง.จตุกฺก.21/69/96 ; 14/20;13/19
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=49131


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 10:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีทีเราเผลอสติใช้อารมณ์ ก็มักเริ่มต้นด้วยอารมณ์พอใจไม่พอใจ พาไปเห็นเขาผิดไม่ดีหรือดี เหมือนใครมาทำของที่เรารักเราหวงด้วยอุปทานยึดว่าเป็นของเราให้เสียหาย อารมณ์โมโห อารมณ์โกรธ ต่อว่า ตำหนิ ติเตียน เกลียดชัง ไม่อยากเห็นหน้า มันก็เหมือนอารมณ์นั้จูงมือกันมาเป็นใหญ่ควบคุณจิตดวงนี่ให้มีกรรม บางทีก็ออกแนวรุงแรงเหมือนอารมณ์นั้นมากันเหมือนกองทัพ ถึงขนาดทำร้ายทำลายบุคคลที่ทำให้ของรักของหวงเสียหาย เป็นเหมือนอสูรมันเข้าสิง อารมณ์พวกนี้มันน่ากลัวจริงๆ เพราะเวลามันลงที่จิตใคร มันทำให้เปลี่ยนบุคคลิกจากคนดี เป็นความกักขฬะ แบบนี้จะเข้ากับเรื่องจิตดวงที่ ๑,๒,๓.... ที่ลุงหมานพูดถีงได้มั้ย

เมื๋อเผลอสติ (อารมณ์ผมขอเรีอกเป็นตัว) สมมุติเริ่มต้นตัวไม่พอใจ ก็ต่อด้วยตัวโมโห ตัวโกรธ ตัวไม่ยอม ตัวตำหนิ ตัวติเตียน ตัวเฉือดเฉือน ตัวเกลียด ตัวชัง ตัวไม่อยากเห็นหน้า ตัวอาฆาต ตัวจองเวร ....... ซึ่งอารมณ์เหล่านี้มันเหมือนจูงมือกันมาเป็นสาย ล้วนพาหรือบีบบังคับให้จิตดวงนี้สร้างกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 11:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเข้าใจนิดๆค่ะ :b9: :b9:
แต่จิตตชรูปไม่เคยได้ยิน ต่อๆไปจากตรงนี้ก็เลยไม่เข้าใจ :b14:
ขอถามอีกนิดนะคะ
สรุปก็คือมีจิตเกิดดับ ตลอดเวลา และมีเหลื่อมซ้อนกันด้วย
จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะเข้าไปสัมผัสถึงการดับลง ในช่วงหนึ่งนั้นๆ
ก่อนที่จะคืนสภาวะตัวรู้กลับมา ก็คือจิตเกิดอีกครั้งหนึ่ง
:b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร