วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 07:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว




sgfr-a4.png
sgfr-a4.png [ 219.44 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าจะว่าตามกฎของกรรม....ใครทำสิ่งใดก็ต้องได้รับผลจากสิ่งนั้น
ถ้า...สังขาร...เป็นเจตสิก....เป็นผู้คิด...หากคิดกุศล...สังขารขันธ์ย่อมเป็นใครรับผลอันนี้...หากคิดอกุศล...สังขารขันธ์ก็ต้องรับวิบากอันนี้...ไปซิ

แล้วมันเป็นอย่างนี้มั้ยละ?


ถ้าว่าตามกฎแห่งกรรม ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ผู้นั้นต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น
ผู้ทำเหตุอันชั่วในชาตินี้เมื่อตายไปก็ไม่รับผลของกรรมในชาติหน้า เช่น ตกนรกบ้าง
เดรัจฉานบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง ตามสมควรแก่เหตุ เมื่อเหตุมีผลก็ย่อมมีเป็นธรรมดา
เมื่อตัดเหตุเสียได้ผลก็ย่อมไม่มีเช่นกัน

ในภพนี้เราเป็นผู้สร้างเหตุ ชาติหน้าเราเป็นผู้รับผล ไม่ว่าจะเกิดในที่ดีหรือไม่ดีเราสร้างไว้เองทั้งสิ้น
เมื่อไปเกิดในภพภูมิใดก็ย่อมมีขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก ตามหลักพระอภิธรรมเขาเรียกว่าถ่ายโอนๆ ไป
ขันธ์ ๕ นี้ดับไป ขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก (ในขันธ์ ๕ ก็มีสังขารธ์อยู่ด้วยจริงไหม)

เหมือนว่าเราปลูกมะม่วงๆ ลูกเก่าหายไปไหน เมื่อปลูกมะม่วงแล้วทำไหมจึงเกิดมีลำต้น

ทำไมไม่เป็นผลมะม่วงเสียเลย มะม่วงที่ออกมาก็ไม่ใช่ลูกเก่ามันเป็นลูกใหม่
เหตุก็อยู่ที่เราเอามะม่วงไปปลูก ผลก็มะม่วงก็ที่ออกลูก จะเห็นได้ว่าเหตุกับผลย่อมตรงกันเสมอ
สร้างเหตุไว้เช่นไร ผลที่ได้ก็ได้เช่นนั้นตามเหตุ


แม้ไม่ได้บอกตรงๆ...แต่ก็เข้าใจได้ว่า...บอกกลายๆ....เน๊าะ
ว่า..สังขารขันธ์เป็นส่วนรับผลกรรม..
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sgfr-a1.png
sgfr-a1.png [ 225.72 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
..เอาแล้ว...มี 3 ...อารมณ์..จิต..สังขารเจตสิก

จิต...ลุงหมานว่า..คือส่วนของวิญญาณ
สังขารเจตสิก...ส่วนของสังขารขันธ์

ในส่วนอารมณ์...อย่างชาวบ้านๆ..ก็คือพวกอาการโกรธ...อาการชอบไม่ชอบ...เฉยๆ..เป็นต้น..ก็น่าจะอยู่ในส่วนของเวทนา...เป็นเวทนาขันธ์

แล้ว..อารมณ์ของลุงหมาน...ที่ว่า.."มีอยู่แล้วไม่ได้ถูกสร้าง..เมื่อมีผู้ผัสสะสิ่งเดียวกันก็ย่อมเห็นเหมือนกัน"..นี้...ลุงหมานช่วยขยายความนิดได้มั้ย...ดูท่าจะไม่ใช่อารมณ์อย่างที่ชาวบ้านคุ้นเคยแล้วละ...

อารมณ์ของลุงหมานมันเป็นยังงัย...หรอ?


สงสัยจริงๆนะ ไม่ใช่ถามเพื่อจะจับผิด

ก็เพราะความที่ชาวบ้านไม่เข้าใจน่ะซิ จึงเอาจิตที่รู็โกรธมาเป็นอารมณ์
อารมณ์ คือ สิ่งที่มากระทบทางทวารทั้ง ๖ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันเป็นสิ่งภายนอกไม่อยู่ในกาย แต่ธรรมารมณ์นั้นมีทั้งภายในและภายนอก
อารมณ์ก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เจตสิกก็อีกส่วนหนึ่ง ถ้าเราไม่แยกดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน

ขยายความ รูปที่ตาเห็นใครสร้าง มันมีอยู่แล้วจริงไหม เสียงที่หูได้ยินใครสร้างมันมีอยู่แล้วจริงไหม
กลิ่นที่จมูกได้กลิ่นใครสร้างมันมีอยู่แล้วจริงไหม เป็นต้น ชอบหรือไม่ชอบมันเป็นอีกเรื่อหนึ่ง
(วันนี้เอาแค่นี้ก่อนหมดเวลาสนทนา) สนใจอยากรู้ถามมา จะค่อยๆอธิบายให้ฟัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 08:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Flying-Eagle-PNG-HD.png
Flying-Eagle-PNG-HD.png [ 172.14 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
สวัสดีครับท่านกบ

ผมก็ลองค้นๆ ดู เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่าวิญญาณธาตุไม่ใช่จิต แต่เป็นธาตุที่มีความละเอียด มีการเปลื่ยนแปลงไปตามภาวะของอารมณ์กรรมที่ครองอยู่
อีกเรื่องหนึงคือเรื่องของธรรมธาตุ ที่มีความเกื่ยวเนื่องกับภาวะจิตที่สงบ ตั้งมั่นในขณะที่วาระจิตเป็นสมาธิ ผมลองหาข้อความเกื่ยวกับธรรมธาตุทีมีในพระไตรปิฏก


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 445&Z=2669
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 09:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว




quebrantahuesos.gif
quebrantahuesos.gif [ 38.05 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
..เอาแล้ว...มี 3 ...อารมณ์..จิต..สังขารเจตสิก

จิต...ลุงหมานว่า..คือส่วนของวิญญาณ
สังขารเจตสิก...ส่วนของสังขารขันธ์

ในส่วนอารมณ์...อย่างชาวบ้านๆ..ก็คือพวกอาการโกรธ...อาการชอบไม่ชอบ...เฉยๆ..เป็นต้น..ก็น่าจะอยู่ในส่วนของเวทนา...เป็นเวทนาขันธ์

แล้ว..อารมณ์ของลุงหมาน...ที่ว่า.."มีอยู่แล้วไม่ได้ถูกสร้าง..เมื่อมีผู้ผัสสะสิ่งเดียวกันก็ย่อมเห็นเหมือนกัน"..นี้...ลุงหมานช่วยขยายความนิดได้มั้ย...ดูท่าจะไม่ใช่อารมณ์อย่างที่ชาวบ้านคุ้นเคยแล้วละ...

อารมณ์ของลุงหมานมันเป็นยังงัย...หรอ?


สงสัยจริงๆนะ ไม่ใช่ถามเพื่อจะจับผิด

ก็เพราะความที่ชาวบ้านไม่เข้าใจน่ะซิ จึงเอาจิตที่รู็โกรธมาเป็นอารมณ์
อารมณ์ คือ สิ่งที่มากระทบทางทวารทั้ง ๖ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันเป็นสิ่งภายนอกไม่อยู่ในกาย แต่ธรรมารมณ์นั้นมีทั้งภายในและภายนอก
อารมณ์ก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เจตสิกก็อีกส่วนหนึ่ง ถ้าเราไม่แยกดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน

ขยายความ รูปที่ตาเห็นใครสร้าง มันมีอยู่แล้วจริงไหม เสียงที่หูได้ยินใครสร้างมันมีอยู่แล้วจริงไหม
กลิ่นที่จมูกได้กลิ่นใครสร้างมันมีอยู่แล้วจริงไหม เป็นต้น ชอบหรือไม่ชอบมันเป็นอีกเรื่อหนึ่ง
(วันนี้เอาแค่นี้ก่อนหมดเวลาสนทนา) สนใจอยากรู้ถามมา จะค่อยๆอธิบายให้ฟัง


...สงสัยจริงๆนะ ไม่ใช่ถามเพื่อจะจับผิด...
:b32: :b32: จับผิด..รึไม่จับผิด..นี้...อาจเป็นเพียงสังขารปรุงแต่งของลุงเองก็ได้นะ...

กระผมถาม...ส่วนหนึ่งก็อยากรู้..นัยยะ...ของลุงหมาน
อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อ..ให้ลุงหมานได้แสดงนัยยะ...ของลุงหมานเอง...บางที่คำเดียวกัน..แต่เราก็อาจเข้าใจนัยยะที่ต่างกัน..ตามแต่พื้นฐานของแต่ละคน

ของลุงหมาน...จะถนัด...ทางอภิธรรม...
คนธรรมดาอย่างกระผม....จึงต้องจูน...เพื่อที่จะให้ได้รู้เรื่อง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว




vm-2.png
vm-2.png [ 84.31 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สวัสดีครับท่านกบ

ผมก็ลองค้นๆ ดู เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่าวิญญาณธาตุไม่ใช่จิต แต่เป็นธาตุที่มีความละเอียด มีการเปลื่ยนแปลงไปตามภาวะของอารมณ์กรรมที่ครองอยู่

อีกเรื่องหนึงคือเรื่องของธรรมธาตุ ที่มีความเกื่ยวเนื่องกับภาวะจิตที่สงบ ตั้งมั่นในขณะที่วาระจิตเป็นสมาธิ ผมลองหาข้อความเกื่ยวกับธรรมธาตุทีมีในพระไตรปิฏก


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 445&Z=2669


ครับ..สวัสดีครับ.. smiley

ทั้งวิญญาณธาตุ..ทั้งจิต..ทั้งใจ....เป็นสมมุติเรียกสิ่งหนึ่ง...เพราะลำพังตัวมันเอง...ไม่มีชื่อ
การจะพูดกันรู้เรื่อง (ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป)...ก็ต้องรู้ก่อนว่า...ที่เรียกนั้น...สมมุติให้เป็นอะไร..แทนอะไร

เพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน...
อย่าง..จิต...ทางอภิธรรม...เขาหมายถึงเฉพาะ..วิญญาณ...เขาก็ไม่ผิดหากเขาจะว่า..จิตไม่ใช่เรา..เราไม่ใช่จิต....ไม่ควรยึดจิตว่าเป็นเรา...เป็นของของเรา...หากไปไล่เรียงเขาว่า..แล้วอะไรไปรู้นิพพาน?..เขาก็ไม่ผิดที่จะตอบว่า..ไม่มีอะไรไปรู้นิพพานเพราะดับหมดแล้ว

ส่วนตัวแล้ว....หากใช้คำว่าจิต...หรือใจ...กระผมจะเข้าใจแทน...สิ่งๆหนึ่ง...ที่...เป้นผู้รู้..ผู้ตื่น...ผู้เบิกบาน...คล้ายขันธ์...แต่ไม่ใช่ขันธ์...สิ่งที่ปกติเราไม่เคยเห็น..ไม่เคยรู้สึก

หากพูดอย่างนี้...เขาก็จะยกตำราว่าเราเป็น..อุจเฉททิฏฐิ..คือไปว่ามีอะไรๆนอกจากขันธ์ 5 อีก... :b32: :b32:
...หากเขาจะว่า...เราผิดที่ไปยึดจิตว่าเป็นเรา...ก็ถูก..เพราะคำว่าจิตของเขาคือวิญญาณขันธ์ หากเขาว่ามาอย่างนี้..เราก็เข้าใจได้ว่า..เขาว่ามาในฐาน...ของอะไร

เราก็ไม่มีปัญหา...ใช่มั้ยละ..เพราะเข้าใจ..สมมุติของเขา

ทีนี้..คุณ toy1 พอจะเห็นปัญหาแล้วนะว่า...หากใช้คำสมมุติล้วนๆ...แต่ไม่ทำความเข้าใจกันก่อนว่า..หมายถึงอะไรอย่างไร..แค่ไหน...ก็จะเกิดปัญหาในการสื่อสารกันได้....

ดี..ไม่ดี..ก็เลยเทิดไปมีอารมณ์..เป็นอกุศลไปเปล่าๆ..แทนที่จะเห็นธรรมกัน..ก็วนกลับมาเถียงกันเรื่องสมมุติแทน
:b13: :b13: :b13:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ความดับแห่งวิญญาณธาตุ หรือจิต


งงกับจุดยืน..ของเช่นนั้น..จริงๆ... :b9: :b9:
เอาเข้าแล้ว...วิญญาณไม่ใช่จิต...จิตไม่ใช่วิญญาณ
ต้องเคลียร์กะลุงหมานก่อน...ซะแล้วมั้ง..เช่นนั้น
:b1:


คุณกบ ก๊อปต้องก๊อปให้หมดมิฉะนั้น มันจะสับสนเรื่องความดับแห่งวิญญาณในปฏิจสมุปบาทครับ

เช่นนั้น เขียน:
ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ความดับแห่งวิญญาณธาตุ หรือจิต

เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ หรือวิญญาณ 6 ไม่ใช่ความหมดไปสิ้นไปของจิต
ความดับแห่งวิญญาณขันธ์ เป็นความดับแห่งวิญญาณอันเป็นอุปธิ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
พระอรหันตเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายต่างก็ถึงความดับแห่งวิญญาณขันธ์อันก่อให้เกิดทุกข์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

สิ่งที่ดับ คืออุปธิอันเป็นความดับแห่งขันธ์
ขันธ์ดับ ไม่ใช่ธาตุดับครับ
กบนอกกะลา เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

รึเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้? :b11:

จิตคือสภาพธรรม สภาวะธรรม ธรรมธาตุที่รู้ และปรุงแต่งได้ครับ
เวทนา สัญญา สังขาร ที่เป็นเจตสิกธรรม คือความสามารถส่วนที่ปรุงแต่ง ของจิตล่ะครับ

วิญญาณในขันธ์ 5 ก็คือจิตที่รู้ ซึ่งจำแนกไปถึงการรู้เช่นไรของจิต
เช่น จิต รู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ในลักษณะของรูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฐัพพารมณ์ ขณะที่ผัสสะ
จิตรู้ เวทนา สัญญา สังขาร ในรูปของธรรมารมณ์
การรู้ในลักษณะดังกล่าว เป็นการอธิบายการรู้ของจิตนับเข้าในวิญญาณขันธ์
ว่าเป็น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ
ความเกิดขึ้น ความดับไปของการรู้ จึงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของการรู้ของจิตซึ่ง มีเหตุมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ดังนั้น ธรรมธาตุ ที่เป็นจิตเป็นอมตะ ไม่ตายครับ
ความเกิดความดับ ที่เป็นทุกข์ เป็นความเกิดความดับของปรากฏการณ์เนื่องด้วยเหตุปัจจัยอันมีแก่จิตครับ
เพราะสมุทัยเป็นเหตุเป็นปัจจัย จิตจึงมีความเกิดความดับปรากฏ ความทุกข์จึงเกิดขึ้น

"การดับวิญญาณ" เป็นคำที่มีความหมายลึกเกินไปกว่า ความเข้าใจตื้นๆครับ ว่าทำให้จิตหาย หรือดับเหมือนกับ การดับเทียน ........

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




72565350_151010_0735_19.png
72565350_151010_0735_19.png [ 286.94 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ในปรมัตถธรรม ๔ มีธาตุ ๑๘ คือ

ในส่วนของรูป ๒๘ มีด้วยกัน ๑๑ ธาตุดังนี้
๑. จักขุธาตุ
๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ
๕. กายธาตุ
๖. รูปธาตุ
๗. สัททธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. รสธาตุ
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ
๑๑. ที่เหลือเป็น ธัมมธาตุ

ส่วนจิต ๘๙ มี ๗ ธาตุ คือ

๑๒. จักขุวิญญาญธาตุ
๑๓. โสตวิญญาณธาตุ
๑๔. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๕. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๖. กายวิญญาณธาตุ
๑๗. มโนธาตุ
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

ส่วน เจตสิก ๕๒ เป็น ธัมมธาตุ

นิพพาน เป็น ธัมมธาตุ

ยกมาแสดงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sacks-of-grain.png
sacks-of-grain.png [ 42.97 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ในปรมัตถธรรม ๔ แสดงขันธ์ ๕

รูป ๒๘ ทั้งหมดได้รูปขันธ์
จิต ๘๙ ทั้งหมด เป็นวิญญาณขันธ์
เจตสิก ๕๒ ได้ ๓ ขันธ์ คือ เวทนา เป็นเวทนาขันธ์ สัญญา เป็น สัญญาขันธ์
ที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์
นิพพาน พ้นจากขันธ์ เป็นขันธวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 12:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตของผู้ที่ฝึกมาดี กับ จิตของผู้ที่ไม่ได้ฝึก ลด ละ อารมณ์ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
จิตของผู้มีสมาธิ กับ จิตของผู้ไม่มีสมาธิมีความแตกต่างกันอย่างไร
จิตของผู้มีกรรมน้อย กับ จิตของผัูมีกรรมมาก แตกต่างกันอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed.jpg
unnamed.jpg [ 29.18 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ในปรมัตถธรรม ๔ ว่าโดยอายตนะมี ๑๒ อายตนะ
คำว่า อายตนะ แปลว่า เขตหรือแดน หมายถึงเป็นที่ต่อ ที่บรรจบ ที่ประชุมกัน
ทำให้เกิดการรับรู้ในสิ่งต่างๆ แบ่งเป็น ๖ คู่ หรือ ๑๒ อายตนะ คือ

รูป ๒๘ มี ๑๑ อายตนะ ๕ คู่ คือ

คู่ที่ ๑. จักขายตนะ (ประสาทตา) กับ รูปายตนะ (แสง สี ที่มากระทบตาให้เห็นเป็นภาพต่างๆ)
คู่ที่ ๒. โสตายตนะ (ประสาทหู) กับ สัททายตนะ (เสียงต่างๆ)
คู่ที่ ๓. ฆานายตนะ (ประสาทรับกลิ่น) กับ คันธายตนะ (กลิ่นต่างๆ)
คู่ที่ ๔. ชิวหายตนะ (ประสาทรับรส) กับ รสายตนะ (รสต่างๆ)
คู่ที่ ๕. กายายตนะ (ประสาทตามผิวกาย) กับ โผฏฐัพพายตนะ (ความเย็น ร้อน อ่อน แข็งต่างๆ ที่กระทบกาย)
ที่เหลือเป็น ธัมมายตนะ

จิต ๘๙ เป็นมนายตนะ มี ๑ อายตนะ
คู่ที่ ๖. มนายตนะ (จิต ซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับความคิด) กับ ธัมมายตนะ (ความคิด ความรู้สึกต่างๆ)

เจตสิก ๕๒ เป็น ธัมมายตนะ
นิพพานเป็น ธัมมายตนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20170730_112934.png
20170730_112934.png [ 84.4 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
กบนอกกะลา เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าจะว่าตามกฎของกรรม....ใครทำสิ่งใดก็ต้องได้รับผลจากสิ่งนั้น
ถ้า...สังขาร...เป็นเจตสิก....เป็นผู้คิด...หากคิดกุศล...สังขารขันธ์ย่อมเป็นใครรับผลอันนี้...หากคิดอกุศล...สังขารขันธ์ก็ต้องรับวิบากอันนี้...ไปซิ

แล้วมันเป็นอย่างนี้มั้ยละ?


ถ้าว่าตามกฎแห่งกรรม ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ผู้นั้นต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น
ผู้ทำเหตุอันชั่วในชาตินี้เมื่อตายไปก็ไม่รับผลของกรรมในชาติหน้า เช่น ตกนรกบ้าง
เดรัจฉานบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง ตามสมควรแก่เหตุ เมื่อเหตุมีผลก็ย่อมมีเป็นธรรมดา
เมื่อตัดเหตุเสียได้ผลก็ย่อมไม่มีเช่นกัน

ในภพนี้เราเป็นผู้สร้างเหตุ ชาติหน้าเราเป็นผู้รับผล ไม่ว่าจะเกิดในที่ดีหรือไม่ดีเราสร้างไว้เองทั้งสิ้น
เมื่อไปเกิดในภพภูมิใดก็ย่อมมีขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก ตามหลักพระอภิธรรมเขาเรียกว่าถ่ายโอนๆ ไป
ขันธ์ ๕ นี้ดับไป ขันธ์ ๕ ใหม่เกิดขึ้นอีก (ในขันธ์ ๕ ก็มีสังขารธ์อยู่ด้วยจริงไหม)

เหมือนว่าเราปลูกมะม่วงๆ ลูกเก่าหายไปไหน เมื่อปลูกมะม่วงแล้วทำไหมจึงเกิดมีลำต้น

ทำไมไม่เป็นผลมะม่วงเสียเลย มะม่วงที่ออกมาก็ไม่ใช่ลูกเก่ามันเป็นลูกใหม่
เหตุก็อยู่ที่เราเอามะม่วงไปปลูก ผลก็มะม่วงก็ที่ออกลูก จะเห็นได้ว่าเหตุกับผลย่อมตรงกันเสมอ
สร้างเหตุไว้เช่นไร ผลที่ได้ก็ได้เช่นนั้นตามเหตุ


แม้ไม่ได้บอกตรงๆ...แต่ก็เข้าใจได้ว่า...บอกกลายๆ....เน๊าะ
ว่า..สังขารขันธ์เป็นส่วนรับผลกรรม
..


ก็บอกตรงๆ แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tthh-15.png
tthh-15.png [ 59.94 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:

เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

รึเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้?

ก็งงเหมือนกันไม่รู้เอาความรู้มาจากสำนักไหน ว่า จิต เป็น เวทนา สัญญา สังขาร

เอา"จิต"มาเป็นตัว "สมุทัย" จะบ้าตาย สอนตามความใจของตัวเองอย่างนี้มั่วมาก
มันไม่ใช่จะให้โทษกับตัวเองแล้ว แถมยังจะให้โทษกับคนอื่นด้วย

จิตมีสภาวะเป็นสมุทัย จึงนำจิตไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ อย่าพยายามดำน้ำเลย
มันเสี่ยงกับการทำลายคำสอน ตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องตอบ

เอา"จิต"มาเป็นตัวปรุงแต่งได้เป็นตัวสังขาร ถามหน่อยเถอะสำนักไหนสอนอย่างนี้
ถ้าจะบอกว่ารู้มาเองก็ขอร้องเถอะหยุดเถอะ เขาเรียนธรรมของพระพุทธเจ้ากัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 15:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




tthh-13.png
tthh-13.png [ 53.58 KiB | เปิดดู 3278 ครั้ง ]
ตัวเราหรือจิตเราที่เป็นนามธรรม กับ อุปทานขันธ์ห้า

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

จิตเรายึดหรือมีอุปทานขันธ์ห้าอยู่ เหมือนมีคนมาตีเรา เราเจ็บ ส่งเสียงร้อง..โอ๊ย..ออกมา เสียงที่ร้องก็คือจิตที่รับทุกข์เวทนา เนื่องด้วยสังขารที่ตนยึดอยู่ถูกตีให้เจ็บ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... C%CB%E9%D2

ผู้เห็นธรรม
[๓๔๖] ดูกรท่านมีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้า
แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า เป็นเรือนฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก
และอาศัยเอ็นเนื้อและหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า รูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลาย
อันเป็นภายนอกย่อมไม่มาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความ
ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น
ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นไม่มี ความปรากฏ
แห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น
ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น ความ
ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่ง
สภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ รูป
เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์
คือ เวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์
ในอุปาทานขันธ์ คือ สัญญา สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อม
ถึงความสงเคราะห์ในอุปาทาน คือ สังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น
ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า
การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประ
การอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อ
ว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.
ความพอใจความอาลัย ความยินดี ความ
ชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วย
สามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด
อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล. คำสอนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.


แก้ไขล่าสุดโดย toy1 เมื่อ 31 ธ.ค. 2014, 15:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 15:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว




tthh-16.png
tthh-16.png [ 46.77 KiB | เปิดดู 3277 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:

เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

รึเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้?

ก็งงเหมือนกันไม่รู้เอาความรู้มาจากสำนักไหน ว่า จิต เป็น เวทนา สัญญา สังขาร

เอา"จิต"มาเป็นตัว "สมุทัย" จะบ้าตาย สอนตามความใจของตัวเองอย่างนี้มั่วมาก
มันไม่ใช่จะให้โทษกับตัวเองแล้ว แถมยังจะให้โทษกับคนอื่นด้วย

จิตมีสภาวะเป็นสมุทัย จึงนำจิตไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ อย่าพยายามดำน้ำเลย
มันเสี่ยงกับการทำลายคำสอน ตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องตอบ

เอา"จิต"มาเป็นตัวปรุงแต่งได้เป็นตัวสังขาร ถามหน่อยเถอะสำนักไหนสอนอย่างนี้
ถ้าจะบอกว่ารู้มาเองก็ขอร้องเถอะหยุดเถอะ เขาเรียนธรรมของพระพุทธเจ้ากัน


งง กบนอกกะลา..หรือ..งง...เช่นนั้น

ครับ... :b32: :b32: :b32:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 15:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว




palm-leaves-picture.png
palm-leaves-picture.png [ 109.82 KiB | เปิดดู 3277 ครั้ง ]
รบกวน....ลุงหมาน...มีความคิดเห็นอย่างไร...กับบทข้างล่างนี้ครับ..ผม
เพราะอ่านไปแล้ว....ทำให้รู้สึกว่า...มีอะไรบางอย่างนอกจากขันธ์5 อยู่

toy1 เขียน:
วิญญาณธาตุไม่ใช่จิต

[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร
จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา
มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น
สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และ
อนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ
โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์
ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุ
ได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและ
ความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...
เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุ
และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครอง
วิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบ
ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจ
มั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ
จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร