วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2014, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ขอถามลุงหมานหน่อยครับ...แบบ..กวน..กวน..อิอิ

ถ้าจิตหมายถึง..ตัวเข้าไปรู้อารมณ์..ตัวอารมณ์..หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้...อย่างที่ว่าๆกันมา
ถามหน่อยว่า...แล้วตัวอารมณ์มาจากไหน..อะไรสร้างอารมณ์?...อายตนภายนอกรึ...หรือ..อายตนภายใน..รึอะไร?

คำถามดีมากไม่กวนหรอกครับ

อารมณ์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีอยู่แล้วในโลก ไม่มีผู้ใดสร้าง
อารมณ์นั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกอย่างเดียว ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่สำหรับธรรมารมณ์เป็นได้ทั้ง อายตนะ
ภายนอกและอายตนะภายใน ที่นี้เราต้องเข้าใจคำว่า อายตนะก่อนว่าแปลว่าอะไร อายตนะแปลว่า
การเชื่อมต่อ หมายถึงสิ่งสองสิ่งมาเชื่อมต่อกันได้จึงเรียกว่าอายตนะ เช่น ตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น
เมื่ออายตนะเชื่อมต่อได้ จิตก็เกิดขึ้นรู้ นึกคิดเรื่องราวต่างๆ มีเวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง
ถ้าเป็น"ตา"กับ"เสียง"หรือ "หู"กับ"รูป" ก็จะไม่ใช่อายตนะ เพราะว่าเชื่อมต่อกันไม่ได้ดังนี้ เป็นต้น

ผัสสะ เป็นธรรมชาติ ที่เป็นเหตุให้ อารมณ์ตั้งขึ้นในจิต

อารมณ์ จะเป็นรูปเรื่อง หรือเรื่องราว ที่ปรากฏกับจิต
เช่น รูปารมณ์ สัทธารมณ์ รสารมณ์ คัณธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ เป็นรูปเรื่อง
ธัมมารมณ์ เป็นเรื่องราว เป็นต้น

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพะ ธรรมารมณ์ เป็นอายตนะภายนอก
จักขุ โสตตะ คันธะ ชิวหา กาย มโน เป็นอายตนะภายใน
จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ คันธวิญญาณ ชิวหาวิญญา กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นจิตที่ไปตั้งขึ้นตามอายตนะที่เกิดขึ้นเฉพาะแห่งการกระทบ

เมื่อเกิดการกระทบที่สมบูรณ์
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็จะตั้งขึ้นในจิตราวกับภาพให้จิตรู้ ด้วยอำนาจของวิญญาณที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับอายตนะนั้นๆ
อารมณ์ จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีผัสสะ
และเพราะผัสสะนี้เช่นกัน ก็กลายเป็นผัสสะอันเป็นเหตุได้ หากว่าความปรุงแต่งด้วยอำนาจอวิชชา ตัณหา ปรุงแต่งเสริมด้วยอำนาจแห่งจิตเช่นกัน จิตก็จับอารมณ์อารมณ์เป็นดั่งเครื่องเล่น ทรงอารมณ์นั้นไว้
หลงไปกับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็กลายเป็นอุปธิแห่งจิต ทำให้เกิดความหลงเอาว่า อารมณ์นั้นล่ะคือจิตเสียเอง

ที่แสดงไว้ คงจะเป็นภาพที่พอจะเห็นได้ เกี่ยวกับ
นิมิต>อารมณ์>อุปธิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAMYXGIU.jpg
imagesCAMYXGIU.jpg [ 72.85 KiB | เปิดดู 3796 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สว้สดีครับ ลุงหมาน

ลุงช่วยอธิบายเรื่อง จิตและเจตสิกธรรม ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

ขอบคุณครับ

ธรรมที่เป็น กามาวจร ธรรมที่ ไม่ใช่กามาวจร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAMYXGIU.jpg
imagesCAMYXGIU.jpg [ 46.32 KiB | เปิดดู 3794 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สว้สดีครับ ลุงหมาน

ลุงช่วยอธิบายเรื่อง จิตและเจตสิกธรรม ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

ขอบคุณครับ

ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAMYXGIU.jpg
imagesCAMYXGIU.jpg [ 49.13 KiB | เปิดดู 3794 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สว้สดีครับ ลุงหมาน

ลุงช่วยอธิบายเรื่อง จิตและเจตสิกธรรม ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

ขอบคุณครับ


ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAMYXGIU.jpg
imagesCAMYXGIU.jpg [ 46.15 KiB | เปิดดู 3794 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
สว้สดีครับ ลุงหมาน

ลุงช่วยอธิบายเรื่อง จิตและเจตสิกธรรม ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

ขอบคุณครับ


ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

หวังว่าคุณ toy1 คงเข้าใจนะครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




CXMMDr_WAAAQgix.png
CXMMDr_WAAAQgix.png [ 328.12 KiB | เปิดดู 2867 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ขอถามลุงหมานหน่อยครับ...แบบ..กวน..กวน..อิอิ

ถ้าจิตหมายถึง..ตัวเข้าไปรู้อารมณ์..ตัวอารมณ์..หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้...อย่างที่ว่าๆกันมา
ถามหน่อยว่า...แล้วตัวอารมณ์มาจากไหน..อะไรสร้างอารมณ์?...อายตนภายนอกรึ...หรือ..อายตนภายใน..รึอะไร?

คำถามดีมากไม่กวนหรอกครับ

อารมณ์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีอยู่แล้วในโลก ไม่มีผู้ใดสร้าง
อารมณ์นั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกอย่างเดียว ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ แต่สำหรับธรรมารมณ์เป็นได้ทั้ง อายตนะ
ภายนอกและอายตนะภายใน ที่นี้เราต้องเข้าใจคำว่า อายตนะก่อนว่าแปลว่าอะไร อายตนะแปลว่า
การเชื่อมต่อ หมายถึงสิ่งสองสิ่งมาเชื่อมต่อกันได้จึงเรียกว่าอายตนะ เช่น ตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น
เมื่ออายตนะเชื่อมต่อได้ จิตก็เกิดขึ้นรู้ นึกคิดเรื่องราวต่างๆ มีเวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง
ถ้าเป็น"ตา"กับ"เสียง"หรือ "หู"กับ"รูป" ก็จะไม่ใช่อายตนะ เพราะว่าเชื่อมต่อกันไม่ได้ดังนี้ เป็นต้น

ผัสสะ เป็นธรรมชาติ ที่เป็นเหตุให้ อารมณ์ตั้งขึ้นในจิต

อารมณ์ จะเป็นรูปเรื่อง หรือเรื่องราว ที่ปรากฏกับจิต
เช่น รูปารมณ์ สัทธารมณ์ รสารมณ์ คัณธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ เป็นรูปเรื่อง
ธัมมารมณ์ เป็นเรื่องราว เป็นต้น

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพะ ธรรมารมณ์ เป็นอายตนะภายนอก
จักขุ โสตตะ คันธะ ชิวหา กาย มโน เป็นอายตนะภายใน
จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ คันธวิญญาณ ชิวหาวิญญา กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นจิตที่ไปตั้งขึ้นตามอายตนะที่เกิดขึ้นเฉพาะแห่งการกระทบ

เมื่อเกิดการกระทบที่สมบูรณ์
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็จะตั้งขึ้นในจิตราวกับภาพให้จิตรู้ ด้วยอำนาจของวิญญาณที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับอายตนะนั้นๆ
อารมณ์ จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีผัสสะ
และเพราะผัสสะนี้เช่นกัน ก็กลายเป็นผัสสะอันเป็นเหตุได้ หากว่าความปรุงแต่งด้วยอำนาจอวิชชา ตัณหา ปรุงแต่งเสริมด้วยอำนาจแห่งจิตเช่นกัน จิตก็จับอารมณ์อารมณ์เป็นดั่งเครื่องเล่น ทรงอารมณ์นั้นไว้
หลงไปกับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็กลายเป็นอุปธิแห่งจิต ทำให้เกิดความหลงเอาว่า อารมณ์นั้นล่ะคือจิตเสียเอง

ที่แสดงไว้ คงจะเป็นภาพที่พอจะเห็นได้ เกี่ยวกับ
นิมิต>อารมณ์>อุปธิ

ชัดเจนดี > ช่วยอธิบาย "อุปธิ" ให้ละเอียดด้วยว่ามันคืออะไร ? :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2014, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ชัดเจนดี > ช่วยอธิบาย "อุปธิ" ให้ละเอียดด้วยว่ามันคืออะไร ?

คำว่า "อุปธิ" สิ่งทรงใจ อารมณ์ที่ทรงใจเพราะความยึดอยู่ถืออยู่เพราะตัณหาเป็นเหตุ
ให้ทำความเข้าใจว่า คือ ปิยรูปสาตรูป 60 ซึ่งก็คือรูป และนามทั้งหมด รวมทั้งตัวกิเลสนั้นเองด้วย.
พระอรรถาจารย์มีแสดงไว้เป็นอุปธิ 4 บ้าง ก็ไม่พ้นไปจาก ปิยรูปสาตรูป 60 นี้นี่เอง

ในพระคาถาพระวังคีสะเถระ ได้แสดงไว้ มีบันทึกใน อรติสูตรที่๒ ดังนี้

Quote Tipitaka:
" [๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความ
ยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ในกามคุณทั้งหลาย)
และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวงแล้ว ไ
ม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่
มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็น ภิกษุ ฯ

รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้งอยู่ในเวหาสก็ดี
ที่อยู่ในแผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็นของไม่เที่ยงทั้งหมด
บุคคลทั้งหลายผู้สำนึกตน ย่อมถึงความตกลงอย่างนี้เที่ยวไป ฯ

ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิทั้งหลายคือ ในรูปอันตนเห็นแล้ว
ในเสียงอันตนได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอันตนได้กระทบแล้ว
และในโผฏฐัพพารมณ์อันตนรู้แล้ว
ท่านจงบรรเทาความพอใจในกามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว
บุคคลใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นมุนี ฯ

วิตกของคนทั้งหลายอาศัยปิยรูปสาตรูป ๖๐ เป็นอันมาก
ตั้งลงแล้วโดยไม่เป็นธรรมในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวน
กิเลสในอารมณ์ไหนๆ และบุคคลผู้ไม่พูดจาชั่วหยาบ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯ

บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วตลอดกาลนาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มี
ปัญญาแก่กล้า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ผู้ถึงบทอันระงับ
แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้แล้ว ย่อมรอคอย
กาล (เป็นที่ปรินิพพาน) ดังนี้ ฯ"


จิตรับรู้อารมณ์ต่างๆ มากมาย อารมณ์ทั้งหลายอันวิจิตต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นอุปธิได้หากว่ามีอุปาทานอันมีตัณหาเป็นเหตุ ซึ่งก่อให้ทุกข์เกิดขึ้น.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 ธ.ค. 2014, 14:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2014, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปธิ 4
กามูปธิ อุปธิคือ กาม
ขันธูปธิ อุปธิ คือขันธ์
กิเลสสูปธิ อุปธิ คือกิเลส
อภิสังขารูปธิ อุปธิ คือ อภิสังขาร (อกุศลจิต กุศลจิต อเนญชา)
(http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3253&Z=3507)
ปิยรูปสาตรูป 60
1.อายตนะภายนอก 6
2.อายตนะภายใน 6
3.วิญญาณ 6
4.สัมผัส 6
5.เวทนา 6
6.สัญญา 6
7.สัญญเจตนา 6
8.ตัณหา 6
9.วิตก 6
10.วิจาร 6

รายละเอียดต่างๆ มีการอธิบายไว้โดยพระเถระให้อ่านเพิ่มเติมจาก ลิงค์นี้
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-278.htm

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 ธ.ค. 2014, 13:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2014, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2637&Z=2865
Quote Tipitaka:
[๑๕๘] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี
เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
[๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อ
ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก
จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้ง
อยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้
รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้ง
อยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมา-
*รมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้
จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ-
*วิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ
ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูป-
*สาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน-
*วิญญาณนี้
จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ-
*สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสต-
*สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน-
*สัมผัสสชาเวทนานี้
รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญา
นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รส-
*สัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญ-
*เจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญ-
*เจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็
ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา
ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปที่วิตกนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2014, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (65).png
unnamed (65).png [ 180.16 KiB | เปิดดู 2844 ครั้ง ]
คำตอบเป็นโดมิโน :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2014, 16:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


s006
ขอคำอธิบายหน่อย :b9: :b9:
จิตรู้ กับวิญญานรู้ต่างกันยังไงคะ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
s006
ขอคำอธิบายหน่อย :b9: :b9:
จิตรู้ กับวิญญานรู้ต่างกันยังไงคะ
Kiss

จิตรู้ จะบอกถึง สภาวะธรรมชาติ อันเป็นตัวจิตครับ
เมื่อแสดง วิญญาณ ก็จะเฉพาะจงว่า การรู้นั้นรู้ที่ไหนครับ จิตรู้นั้นไปรู้ที่ตรงไหน และจิตรู้นั้นก็รู้ที่ตรงนั้นครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 05:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าว่า..จิต..เป็นวิญญาณ...วิญญาณคือจิต...ก็จะไปไม่เป็น..อย่างนี้แหละ และจะไม่มีคำถามนี้ด้วย..ก็มันอันเดียวกัน..แค่เรียกแยกไปตามอายตนะเท่านั้น

วิญญาณรู้...ก็แค่รู้...แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร...อะไรดีอะไรชั่วก็ไม่รู้
จิตรู้...รู้ว่ารู้อะไร...รู้อะไรดีอะไรชั่ว...นี้มีสติสัมปชัญญะประกอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d497e276.png
d497e276.png [ 143.15 KiB | เปิดดู 2867 ครั้ง ]
idea เขียน:
s006
ขอคำอธิบายหน่อย :b9: :b9:
จิตรู้ กับวิญญานรู้ต่างกันยังไงคะ
Kiss

จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน จิตกับวิญญาณจึงรู้ไม่ต่างกันเลย
จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ,
มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส
รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก่สัตว์เดรัจฉาน
มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

ตา ไม่ได้ทำหน้าที่เห็นหรือเป็นตัวเห็น ตาเป็นเพียงที่ตั้งของจิตเพื่อรู้เห็น
ดังนั้นนั้นรู้เห็นทางตาจึงเรียกว่าจักขุวิญญาณ หูก็ในทำนองเดียวกันหูไม่ได้ทำหน้าที่ไดยิน
แต่หูเป็นที่ตั้งของจิตเพื่อรู้เสียง จึงเรียกว่าโสตวิญญาณ เป็นต้น

จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา สัมผัสด้วยกายไม่ได้
ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ
เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว
โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี
กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ
ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์ จนถึงกระทำให้แจ้งถึงซึ่งพระนิพพาน

สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ

ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป ที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จิตรู้ที่ตา)

ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง ที่ปรากฏทางหู
โสตวิญญาณ (จิตรู้ที่หู)

ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น ที่ปรากฏทางจมูก
ฆานวิญญาน (จิตรู้ที่จมูก)

ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส ที่ปรากฏทางลิ้น
ชิวหาวิญญาณ ( จิตรู้ที่ลิ้น)

ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย
กายวิญญาณ (จิตรู้ที่กาย)

ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก นึก คิด ทางใจ
มโนวิญญาณ (จิตรู้ที่ใจ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 07:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20170801_105142.jpg
20170801_105142.jpg [ 161.18 KiB | เปิดดู 2867 ครั้ง ]
ขอบคุณค่ะ
:b41: :b41:
เมื่อจิตหรือวิญญานเป็นตัวเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์
หากต้องดับ วิญญานขันธ์ ก็คือดับจิตไปด้วย?
ไม่ใช่จิตนั่นคืนสู่ธรรมชาติ ปล่อยตัวรู้ กลับสู่ความเป็นธาตุที่ว่างเปล่าหรือคะ
คล้ายกับจิตคือธรรมชาติ ที่มีอยู่ไม่สามารถจะระบุได้ว่าอยู่ตรงไหน
เพราะไม่เห็นได้,ไม่สัมผัสได้,ไม่มีที่ตั้ง,ไม่มีที่เกิด,ไม่มีที่จะดับ
เป็นอยู่อย่างนั้น
แต่มีความสามารถรู้ได้ เมื่อสิ่งใดมาสัมผัส กระทบ
เริ่มยึดมั่นถือมั่น
จนก่อภพก่อชาติ
ที่ต้องมาปฏิบัติกัน เพื่อกระเทาะเปลือกจากภายนอกนอกสู่ภายใน
จนเหลือแต่ตัวรู้ ตื่น สว่าง
ที่สุดท้ายแม้แต่ตัวรู้นี้ก็ต้องปล่อยคืนอยู่ดี
:b8: :b8: ช่วยอธิบายให้เข้าใจอีกนิดค่ะ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร