วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2014, 08:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฐิ ความเห็น ช่วยอธิบายให้เกิดความเข้าใจด้วยครับว่า ที่ถูกที่ผิดนั่นเอาอะไรมาเป็นหลัก
มานะทิฐิกับทิฐิมานะ อันเดียวกันหรือเปล่าครับ สาธุครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2014, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฐิ เฉยก็ยังเป็นฝ่ายอกุศล มี ทิฐิ คิอความเห็นผิด
เติม สัมมาทิฐิ...อันนี้เป็นฝ่ายกุศล คือ ความเห็นดี เห็นถูก
เติม มิจฉาทิฐิ อันนี้ เห็นผิด เป็นฝ่ายอกุศล :b1:
ส่วน ทิฐิมานะ กับมานะทิฐิ อันนี้ก็เป็นฝ่ายอกุศล คือการถือตน ถือตัว หรือคิดว่าเราดีกว่าคนอื่นเขา อยู่เหนือเขา เป็นต้น.....
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2014, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มานะทิฎฐิด้วยตัณหาสามที่หมุนจิตของเราอยู่

กามตัณหา(กามคุณห้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) อยากให้ได้มา
ภวตัณหา (เช่น เกิดเป็นคนจน ทำบุญก็อยากเกิดเป็นคนรวย อยากเกิดเป็นเทพ เป็นเทวดา อยากเกิดบ่อย ๆ) อยากให้อยู่ ได้มาแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ
วิภวตัณหา ได้เป็นแล้วมีแล้วก็ทะเยอทะยานอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่พึงพอใจในภาวะที่ตนเองกำลังเป็นต้องดิ้นรนต่อไป อยากให้ไปถึงสิ่งตัวเองเห็นว่าดี

เรื่องความยึดถือในสิ่งตัวเองหลงว่าดี หลงว่าเห็นตัวเองดีแล้ว รู้ดีแล้ว ศึกษามามากแล้ว ทำมามากแล้ว มีประสบการณ์มามาก อาบน้ำร้อนมาก่อน พอใครมาติเตียน ขัดใจ ขัดขวาง ไม่ยอมรับ ไม่นับถือในสิ่งที่ตนหลงเห็นตัวเองดีแล้ว ก็ไม่ชอบใจเขา ยอมไม่ได้จึงยกตนเป็นคนพาล ก็ไปเอาอารมณ์โกรธโมโห ขัดเคือง อาฆาต พยาบาท มาหักล้างทำลายเขาอีกเป็นขบวน เหมือนเป็นกรรมจองเวรคล้องเวรกรรมกับผู้ที่ตำหนิติเตียนผู้หลงว่าตัวเองดีแล้ว หากเรามีสติรู้เท่าทันคลี่คลายตัณหามานะทิฎฐิมิให้มาแอบอิงที่จิตเรา ความหลงนี้ก็คงไม่มาเกิดที่เรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2014, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธงชาติ เขียน:
ทิฐิ ความเห็น ช่วยอธิบายให้เกิดความเข้าใจด้วยครับว่า ที่ถูกที่ผิดนั่นเอาอะไรมาเป็นหลัก
มานะทิฐิกับทิฐิมานะ อันเดียวกันหรือเปล่าครับ สาธุครับ :b8:


ทิฏฐิมานะ หรือ มานะทิฏฐิ คืออย่างเดียวกันเป็นคำสองคำนำมาพูดรวมกัน
มานะ ก็อย่างหนึ่ง ทิฏฐิ ก็อย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นอกุศลด้วยกันทั้งคู่

มานะ แปลว่า เย่อหยิ่งถือตน อวดตน เป็นอกุศลที่เบาละเอียดมากผู้ที่จะละมานะได้
ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้

ทิฏฐิ มาคำเดียวโดดๆ แปลว่า ความเห็นผิด ถ้ามาสองคำ เช่น สัมมาทิฏฐิ
แปลว่า มีความเห็นที่ถูกต้องกลายเป็นมหากุศลไป มิจฉาทิฎฐิ ก็แปลว่า มีความเห็นผิดเหมือนกับทิฎฐิ
ที่มาตัวเดียวโดดๆ ทิฏฐินั้นเป็นอกุศลที่หนักถูกละได้โดยพระโสดบาบัน

มานะเป็นอกุศลก็จริงที่ประกอบกับโลภะที่เป็นโลภะวิปปยุต มานะเกิดขึ้นได้แต่ไม่ถึงกับผิดศีล
เช่นมีความอยากได้จึง ซื้อเอา ขอเอา เป็นต้น

ทิฏฐิเป็นอกุศลหนักที่นำไปสู่อบายโดยฝ่ายเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2014, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
ทิฏฐิ เป็นคำกลาง แปลว่า ความเห็นเฉยๆ

เมื่อรวมกับ มิจฉา=ผิด มิจฉาทิฏฐิ = เห็นผิด

เมื่อรวมกับสัมมา=ถูกต้อง ชอบ ดีงาม เป็น สัมมาทิฏฐิ=เห็นถูกต้อง

มานะ=ถือดี ถือตัว ถือรู้ ถือเก่ง

อัตทิฏฐิ หรือ สักกายทิฏฐิ=มีกู......มีกู ตัวกู ของกูอยู่ในใจ

มานะทิฏฐิ อัตติมานะ=กูมี........กูมี เงิน ทอง ข้าทาส ยศถา หน้าตา เกียรติ กาม
onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร