วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 17:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรชี้แจงให้พระลูกศิษย์ฟังว่าศีลเบื้องต้นมี 227 ข้อ ท่ามกลางมี 9 แสน 9 หมื่นโกฏิ ที่สุดหาประมาณมิได้ พระลูกศิษย์รู้สึกท้อถอยเลยขอลาสึกกับพระพุทธเจ้าว่าศีลมีมากไป รักษาไม่ไหว พระพุทธเจ้าถามว่าถ้าเหลือข้อเดียว เธอจะรักษาได้ไหม พระตอบพระพุทธเจ้าว่าถ้าเหลือข้อเดียวข้าพระองค์บวชตลอดชีวิตเลย พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ถ้าเหลือข้อเดียว เธอจงรักษาใจให้รู้ทันตลอดเวลา จะคิดดับๆๆ ตลอดเวลา แล้ว  (อยากได้รายละเอียดเพิ่มไปดูใน facebook หยุด คิด ก็ได้) พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า สีเลนะ โภคะสัมปะทา แปลว่า การรักษาศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ ดังนั้น เมื่อเรารักษาศีล ย่อมได้โภคทรัพย์ ถ้าเราปฎิบัติได้ เราจะพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ของรู้ได้เฉพาะตัว  มาได้ทุกรูปแบบ โภคทรัพย์ แปลว่า รายได้ คือ กินได้ อยู่ได้ ไปได้ หยุดได้ เลิกได้ ไม่เถียงก็ได้ นั่นแหละสุดยอดของศีลแล้ว ศีลไม่ได้รักษาแค่กายและวาจา แต่รักษาถึงใจ แค่รู้ไม่ทัน ดับความคิดไม่ได้แค่นั้นก็ผิดศีลแล้ว..

ศีลเป็นที่มาของโภคทรัพย์ ดังนั้น เราต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด เลิกฆ่าสัตว์ เลิกตบยุง เลิกเบียดเบียนสัตว์ เลิกฟังเพลง และรีบดับความคิด กำหนดจะคิดหนอๆๆ ตลอดเวลา แล้วเราจะมีบุญเหนือโลก เหนือจักรวาล จะทำธุรกิจการงานก็ประสบความสำเร็จ รายได้ก็เพิ่มพูน เงินทองก็เพิ่มพูน โชคลาภก็เข้ามา ตามกำลังที่ดับความคิด (ท้าพิสูจน์เห็นผลทันทีก็ได้ทันที) ถ้าเราปฎิบัติต่อเนื่อง รายได้ก็มีต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง แล้วรายได้ก็ไม่วันตกอีกเลย


แก้ไขล่าสุดโดย muisun เมื่อ 19 ก.พ. 2015, 20:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 17:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลหนึ่ง
(รักษาศีลเพียงข้อเดียวพ้นทุกข์ได้)

อรรถกถาธรรมบท จิตตวรรควรรณนา
เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ


พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร

ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งเข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้น (ภิกษุที่คุ้นเคย ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์ เป็นที่ปรึกษา เรียกอีกอย่างว่ากุลุปกะ - ธัมมโชติ) ของตน เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ กระผมใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่กระผมสักอย่างหนึ่ง."

พระเถระกล่าวว่า "ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้, เธอจงถวายสลากภัต (อาหารที่ทายกถวายตามสลาก คือผู้ประสงค์จะทำบุญแต่ละคนจะจับสลาก ว่าตนจะได้ถวายอาหารแก่ภิกษุรูปใด - ธัมมโชติ) ถวายปักขิกภัต (ภัตที่ทายกถวายในวันปักษ์ คือทุก 15 วัน - ธัมมโชติ) ถวายวัสสาวาสิกภัต (ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา) ถวายปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น ๓ ส่วน ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน ๑ เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน ๑ ถวายทรัพย์ส่วน ๑ ไว้ในพระพุทธศาสนา."

เขารับว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถามพระเถระอีกว่า "กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ? ขอรับ."

พระเถระตอบว่า "ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (คือยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง - ธัมมโชติ) (และ) ศีล ๕." เขารับไตรสรณะและศีล ๕ แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึงบุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.

พระเถระก็แนะว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงรับศีล ๑๐." เขากล่าวว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วก็รับ (ศีล ๑๐). เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพเศรษฐีบุตร.

เขาเรียนถามอีกว่า "บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่หรือ ? ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ถ้ากระนั้นเธอจงบวช," จึงออกบวชแล้ว.

ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่งได้เป็นอาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์, ในเวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมบทแล้วมาสู่สำนักของ (อาจารย์ของ) ตน อาจารย์กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า "ชื่อว่าในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจนี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร."

ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาสู่สำนักของตนว่า "ชื่อว่าในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร, ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ."

อยากสึกจนซูบผอม

ท่านคิดว่า "โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์จึงบวช, แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่ปรากฏ, (คือมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติมากมายเต็มไปหมด จนแทบทำอะไรตามความพอใจไม่ได้เลย - ธัมมโชติ) เราดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์ (ดีกว่า)."

ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหมจรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, (การพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย 32 อย่าง เพื่อคลายความยึดมั่น - ธัมมโชติ) ไม่เรียนอุเทศ (หัวข้อธรรม บางครั้งหมายถึงปาฏิโมกข์ คือศีล 227 ข้อ - ธัมมโชติ) ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย.

ลำดับนั้น พวกภิกษุหนุ่มและสามเณรถามท่านว่า "ผู้มีอายุ ทำไม ? ท่านจึงยืนแฉะอยู่ในที่ยืนแล้ว นั่งแฉะในที่นั่งแล้ว ถูกโรคผอมเหลืองครอบงำ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ถูกความ เกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย, ท่านทำกรรมอะไรเล่า ?"

ภิกษุ. (นั้นตอบว่า) ผู้มีอายุ ผมเป็นผู้กระสัน.

ภิกษุหนุ่มและสามเณร. (ถามว่า) เพราะเหตุไร ?

ภิกษุนั้นบอกพฤติการณ์นั้นแล้ว, ภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้นบอกแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้ว. พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ได้พากันไปยังสำนักพระศาสดา.

รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้

(คำว่าอาจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า 1. กล้า, ห้าวหาญ 2. มีคุณสมบัติเหมาะแก่การจัดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3. คำช่วยกริยาบอกการคาดคะเน ในที่นี้น่าจะเป็นความหมายที่ 2. มากกว่าความหมายอื่น - ธัมมโชติ)

พระศาสดาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน ?"

อาจารย์และอุปัชฌาย์. (ทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันในศาสนาของพระองค์.

พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุ.

ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ?

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้นจากทุกข์จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้นกล่าวอภิธรรมกถา, พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา. ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า 'ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์' ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น, กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.

ภิกษุ. อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม ?

ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาประทานพระโอวาทนี้ว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้" ดังนี้เเล้ว จึงตรัสพระคาถานี้

สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
.

"ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้."


(ในที่สุดภิกษุรูปนี้ก็บรรลุเป็นโสดาบัน สำหรับมรรคผลขั้นสูงกว่านี้ไม่ได้กล่าวถึงเอาไว้ในเรื่องนี้ - ธัมมโชติ)
http://www.geocities.ws/tmchote/Thumma/Sila/sl015.htm


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 18 ก.พ. 2015, 17:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 17:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=13&p=3

อีกอัน..เพื่อความขัวร์ :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 17:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
พระสารีบุตรชี้แจงให้พระลูกศิษย์ฟังว่าศีลเบื้องต้นมี 227 ข้อ ท่ามกลางมี 9 แสน 9 หมื่นโกฏิ ที่สุดหาประมาณมิได้ พระลูกศิษย์รู้สึกท้อถอยเลยขอลาสึกกับพระพุทธเจ้าว่าศีลมีมากไป รักษาไม่ไหว พระพุทธเจ้าถามว่าถ้าเหลือข้อเดียว เธอจะรักษาได้ไหม พระตอบพระพุทธเจ้าว่าถ้าเหลือข้อเดียวข้าพระองค์บวชตลอดชีวิตเลย พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ถ้าเหลือข้อเดียว เธอจงรักษาใจให้รู้ทันตลอดเวลา จะคิดดับๆๆ ตลอดเวลา แล้ว (อยากได้รายละเอียดเพิ่มไปดูใน facebook หยุด คิด ก็ได้) ......

..


เนื้อหาดูคล้ายกัน....แต่ต่างกัน

ซึ่งไม่ทราบว่า...ต่างกันเพราะเป็นคนละเรื่อง...หรือว่า...เพราะความเข้าใจไม่ถูกต้อง...กันแน่

มีลิงค์มาให้ดูมั้ยครับ... s006 s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 17:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีลิงค์ยืนยัน เสียเวล่ำเวลา ลองทำดูได้ผลแล้วถึงจะเชื่อ ถ้ามัวแต่ถามก็ไม่ต้องทำกัน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค

๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)




[๘๐] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕
ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับ
กองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่หนึ่ง
แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ

อีกข้อหนึ่ง เกียรติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อม
ขจรไป อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สอง แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ
ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจ
ไม่เก้อเขิน อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สาม แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ อันนี้
เป็นอานิสงส์ข้อที่สี่ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ห้า แห่งศีลสมบัติ
ของคนมีศีล ฯ
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการ
เหล่านี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 888&Z=3915


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 18:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


และก็ค้นหา..facebook หยุดคิด ก็ได้....หาไม่เจอคับ
:b6: :b6:
muisun เขียน:
ไม่มีลิงค์ยืนยัน เสียเวล่ำเวลา ลองทำดูได้ผลแล้วถึงจะเชื่อ ถ้ามัวแต่ถามก็ไม่ต้องทำกัน...


:b32: :b32: :b32:

แฮะ....แฮะ....
รู้ได้งัยคับว่า..เค้าไม่ทำ :b32: :b32:

กลัวแต่คน..มั่วๆ...เดาๆ...แล้วกล่าวตู่ว่า..พระพุทธเจ้าพูด

พวกนี้...ไปนรกซะมากครับผม... s002


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร