วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 16:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 03:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจำได้ หมายรู้ จะบังอนัตตา ได้อย่างไร ต้องให้ ผู้รู้ ช่วยตอบที มันจริงหรือ มันหมายความว่าอย่างไร
ขออนุโมทนา :b8: เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
ความจำได้ หมายรู้ จะบังอนัตตา ได้อย่างไร ต้องให้ ผู้รู้ ช่วยตอบที มันจริงหรือ มันหมายความว่าอย่างไร
ขออนุโมทนา :b8: เจริญในธรรม :b8:


ความจำได้หมายรู้(สัญญาขันธ์) ไม่ได้บังอนัตตาครับ
แต่สัญญาวิปลาสนั้นบังอนัตตา

สิ่งที่เห็นนั้นใครเห็น
เราเห็นเมื่อไหร่ก็บังอนัตตา
ธรรมเห็นเมื่อไหร่(ขันธ์5) ก็แสดงความเป็นอนัตตาอยู่ในตัวแล้วครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
ความจำได้ หมายรู้ จะบังอนัตตา ได้อย่างไร ต้องให้ ผู้รู้ ช่วยตอบที มันจริงหรือ มันหมายความว่าอย่างไร
ขออนุโมทนา :b8: เจริญในธรรม :b8:


ศรีสมบัติถามนั้นน่าจะเป็นคำว่า "ฆนสัญญา" มากกว่า ที่ปิดบังอนัตตา

คำว่า "ฆน" ในความหมายคือ ความเป็นกลุ่ม เป็นก้อน
คำว่า "สัญญา" ในความหมายคือความจำได้ คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน และยังเกี่ยวข้องกับบัญญัติ

เช่น ขณะตาเห็น เพียง สี แล้วใจก็คิดนึก ต่อ เป็นรูปร่างต่างๆ เป็นโต๊ะ เก้าอี้ เป็นกลุ่ม
ก้อนอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่สมมติเรียกชื่อว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ซึ่งเกี่ยวข้องกับบัญญัติ โดยความ
หมายที่ว่า อาศัยการคึดนึกในรูปร่างสัณฐาน จำว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นการนึกถึงรูปร่างสัณฐาน

เมื่อมีการนึกคิดเป็นรูปร่างสัณฐานแล้ว ก็มีการจำในรูปร่างเหล่านั้น ที่เป็น ฆนสัญญา
ที่ปิดบังความเป็นอนัตตา และ ทำให้สมมติ เรียกชื่อ ในสิ่งนั้น ว่าเป็นอะไร ก็เป็นบัญญัติในขณะนั้นแล้ว
เพราะ บัญญัติเกิดขึ้นของปรมัตถธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก รูป

เมื่อมีการนึกคิด เป็นรูปร่างสัณฐาน มีการจำว่ามีรูปร่าง สิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นก็เป็นบัญญัติแล้ว
แม้จะไม่เรียกชื่อ จึงกล่าวได้ว่า มีสัญญาเจตสิก ที่จำ ในอารมณ์บัญญัติเรื่องราวในขณะนั้น
ที่เกิดฆนสัญญา ที่จำในอารมณ์บัญญัตินั้นนั่นเอง

ในความหมายง่ายๆ ก็คือ อัตตา ปิดบัง อนัตตา ครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 09:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาทำความเข้าใจสัญญาในขันธ์ห้า
สัญญา ความจำได้ หมายรู้ กำหนดรู้ เช่นกำหนดชื่อของรูปนี้นามนี้ ปกติคนเราก็ใช้สัญญาไปตามอวิชชา ตามนิสัยโลกปกคลุมจิตไปตามลักษณะสามัญชนหรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมาตั้งอยู่ดับไป ด้วยสังขารที่อาศัย คือเกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตาย
สัญญากรรม / สัญญาธรรม
สัญญากรรมที่มีอวิชชา อุปทาน วิบากกรรม มีอารมณ์กรรมเป็นตัวปรุง มีตัวจำหน่ายคือกาย วาจา คอยตอกย้ำสัญญากรรม เหมือนคนที่มีอารมณ์โกรธบ่อยๆ มีอะไรกระทบนิดท่างหูทางตาก็ไม่ชอบใจ ยิ่งพบเจอคนใกล้ชิดที่ทำให้ไม่ชอบใจบ่อยๆ สะสมอารมณ์ไม่ชอบใจบ่อยๆ โมโหโกรธบ่อยๆ ก็เหมือนเราสร้างสัญญากับอารมณ์กรรม คล้องเวรคล้องกรรมไว้ เมื่อหูตาจมูกลิ้นกายใจกระทบกับวัตถุหรือรูปที่ไม่ชอบใจ อารมณ์กรรมที่สะสมมาบ่อยๆก็มีน้ำหนักปรุงแต่งบีบบังคับจิต จนทนไม่ไหว ความขันติอดทนต่ออารมณ์ก็ไม่มี สติปัญญาที่จะบรรเทาคลี่คลายอารมณ์ที่เป็นไฟก็ไม่เกิดหรือมาไม่ทันกาล จิตจึงอ่อนต่ออารมณ์รับใข้อารมณ์ ต้องมีกิริยากายวาจาใจไปตามอารมณ์ สร้างกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมเก็บไว้กับธาตุทั้งสี่ธาตุพ่อธาตุแม่ที่เป็นสักขีพยานในการกระทำของตน ซึ่งวันหนึ่งกรรมเหล่านี้ก็ไหลออกมาจากธาตุทั้งสี่เป็นวิบากกรรมที่ตนเองต้องเป็นผู้รับ เราจึงควรสร้างสัญญาดีๆ ไว้ เพื่อหลีกออกจากเวรกรรม
สัญญาทุกข์ สัญญาเกิด สัญญาตาย สัญญาตามสัญชาติญาณการดำรงชีวิต
สัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับความพอใจไม่พอใจ
รู้จักสัญญาที่หมายรู้หมายจำ ก็สร้างสัญญาที่ดีด้วยการใช้วาจาที่ดี กายกรรมที่ดี เป็นสัมมาทิฎฐิ ไม่มีภัยด้วยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วไม่ทำให้ตนเองต้องเดือดร้อนในในภายหล้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ศรีสมบัติถามนั้นน่าจะเป็นคำว่า "ฆนสัญญา" มากกว่า ที่ปิดบังอนัตตา

ขออนุโมทนา กับทุกคำตอบที่มาแขร์ ครับ :b8:
ขอบพระคุณท่าน ลุงหมาน ที่ให้ความกระจ่างกับ ภาษาทางธรรมด้วย จากคำที่กระผมได้ฟังมาและสะกด คำว่า คะ-นะ เป็น" คณะ" ที่ถูกต้องคือ " ฆน " วันนี้ได้รับความกระจ่างแล้วครับ :b8:
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2014, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เมื่อมีการนึกคิดเป็นรูปร่างสัณฐานแล้ว ก็มีการจำในรูปร่างเหล่านั้น ที่เป็น ฆนสัญญา
ที่ปิดบังความเป็นอนัตตา และ ทำให้สมมติ เรียกชื่อ ในสิ่งนั้น ว่าเป็นอะไร ก็เป็นบัญญัติในขณะนั้นแล้ว
เพราะ บัญญัติเกิดขึ้นของปรมัตถธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก รูป

ขออนุญาตลิงค์ ท่านลุงหมานอีก ครับ ตอนนี้ดูเหมือนจะได้คำตอบ ฆนสัญญา จะปิดบังอนัตตา โดยเหตุผลของความ จำได้ หมายรู้ จำเป็นกลุ่มเป็นก้อน รูปร่าง สัญฐาน เลยออกมาเป็นสมมติบัญญัติ เป็นชื่อเรียกที่สมมติกันขึ้นมา เช่น นาย แดง นายดำ นางสวย รูป โค้ง เหลี่ยม กลม สิ่งของโตีะ เก้าอี้ บ้าน- ผัว เมีย สามีภรรยา ลูก หลาน ฯลฯ :b16: :b16: :b13:
หมายความว่า ถ้าจะไปสู่ อนัตตา หรือ ทางวิปัสสนา หรือ ปรมัตถธรรม ธรรมที่สูงขึ้นไป จะต้องละสมมุติ บัญญัติ ใช่ หรือ ไม่ ครับ(ความเข้าใจส่วนตัว) ขออนุโมทนา
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2014, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
เมื่อมีการนึกคิดเป็นรูปร่างสัณฐานแล้ว ก็มีการจำในรูปร่างเหล่านั้น ที่เป็น ฆนสัญญา
ที่ปิดบังความเป็นอนัตตา และ ทำให้สมมติ เรียกชื่อ ในสิ่งนั้น ว่าเป็นอะไร ก็เป็นบัญญัติในขณะนั้นแล้ว
เพราะ บัญญัติเกิดขึ้นของปรมัตถธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก รูป

ขออนุญาตลิงค์ ท่านลุงหมานอีก ครับ ตอนนี้ดูเหมือนจะได้คำตอบ ฆนสัญญา จะปิดบังอนัตตา โดยเหตุผลของความ จำได้ หมายรู้ จำเป็นกลุ่มเป็นก้อน รูปร่าง สัญฐาน เลยออกมาเป็นสมมติบัญญัติ เป็นชื่อเรียกที่สมมติกันขึ้นมา เช่น นาย แดง นายดำ นางสวย รูป โค้ง เหลี่ยม กลม สิ่งของโตีะ เก้าอี้ บ้าน- ผัว เมีย สามีภรรยา ลูก หลาน ฯลฯ :b16: :b16: :b13:
หมายความว่า ถ้าจะไปสู่ อนัตตา หรือ ทางวิปัสสนา หรือ ปรมัตถธรรม ธรรมที่สูงขึ้นไป จะต้องละสมมุติ บัญญัติ ใช่ หรือ ไม่ ครับ(ความเข้าใจส่วนตัว) ขออนุโมทนา
เจริญในธรรม :b8:


ปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ก็ยังถูกบัญญัติขึ้นเรียกว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ปรมัตถธรรมก็อาศัยบัญญัติเพื่อสื่อความหมายให้เข้าไปรู้ความจริงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงเป็นสภาพธรรมที่มีจริงโดยอาศัยสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์รับรองว่ามีจริง

สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป จึงได้บัญญัติ สมติว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา
ฉะนั้น สภาพธรรมที่ปรากฎทางตาก็ได้แก่สีต่างๆ ตาจึงสามารถเห็นสีได้เท่านั้น และเมือ่มีการเห็นสี
แล้ว ก็เป็นการสิ้นสุดทางทวารตา ต่อไปก็เป็นทางทวารใจเกิดความนึกคิด ต่อจากทางทวารตาอีกที
เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นสัตว์ บุคคล ชื่อนั้นชื่อนี้ และเป็นสิ่งต่างๆ แท้ที่จริง ก็เป็นเพียง
สิ่งที่ปรากฎทางตา ที่เป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น

หู เป็นสภาพธรรมที่รับเสียงได้เท่านั้น ที่บัญญัติว่าเสียงนั้นเสียงนี้
เป็นทางทวารใจ ในทางทวารอื่นก็ในทำนองเดียวกัน ฉะนั้นการที่เราจะเข้าไปรู้ธรรมที่เป็นจริงได้
ก็ต้องอาศัยบัญญัติธรรมเข้าไปเห็นปรมัตถธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นอนัตตา

:b1: ขอให้เจริญในธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


ฆนสญฺญา

ก้อน (ฆน)

ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น ทุกขัง สิ่งใดเป็น ทุกขัง สิ่งนั้นเป็น อนัตตา

อุปทาน ขันธ์ 5 อุปมา เหมือนเป็น หนี้ เมื่อจ่ายหนี้ ทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือ ใช้หนี้จนหมด มีหนี้ มันไม่สบาย พอ ** หมดหนี้ ว่างจากหนี้ มันก็สบาย

ไม่ใช่ว่า ขันธ์ เป็น กิเลส ..... ขันธ์ เป็น ขันธ์ กิเลส เป็น กิเลส

หมดกิเลส ก็ยังคงใช้ คงอยู่ ขันธ์ 5 เดิม นั้นแหละ


อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า

รูปดังนี้ ความเกิดแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่ง

รูปดังนี้. เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้

ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนขึ้น

ซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะ

ทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


คำถามที่ตั้งผิด ใครก็ตอบให้ถูกไม่ได้ ...

ฆนสัญญาบังอนัตตา จริงหรือไม่ ... เชื่อใน พุทธองค์ หรือ ไม่ - เมื่อประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ย่อมลงสนิทใจ

มีความหมายว่า อย่างไร ?

หาก - ฆน ที่ว่า เป็น ต้อหินในตา บังที่ว่า เป็น อุปมา อย่างนี้

คือ ไปสอน คนตาบอดให้ รู้สี เขาก็ จิตนาการ ไปว่า นี้ ขาว นี้ ดำ ก็ได้แต่คิด เหมือน กับ เราๆท่านๆ ณ ขณะนี้

ความหมาย จึง สื่อโดยการพิจารณาธรรม ให้แตก โดยที่ ต้องรู้ว่า สูตรยา ต้องปรุงยา อย่างไร แล้วจึงมาหยอด จนกระทั้ง ตาพอเริ่มมองเห็น ก็จะยังคลายความสงสัยทั้งหมด เห็นแล้ว สีอะไร รู้เอง ประจักษ์เอง เชื่อเอง .... ผู้ที่ไปสอน ว่านี้ ถ่านสี ดำ มันก็ยัง มีความลังเล สงสัย คลางแคลงใจอยู่ นั้นแหละ มากน้อยต้องมี

จึงไปที่ว่า เจริญเหตุ อย่างไร เริ่มต้นอย่างไร พิจารณาไตรลักษณ์ อย่างไร พิจารณาไปที่ ขันธ์ 5 ไปดู ทุกข์ที่กาย ไปดูทุกข์ที่ใจ ไปดูความสงบที่กาย ไปดูความสงบที่ใจ ไปดู ขันธ์ ใน ขันธ์ แลไปดูอัศจรรย์ภายในใจ

อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข

แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
การระงับดับเสียซึ่งสังขารทั้งหลาย ซึ่งไม่เที่ยง
และเกิดขึ้นแล้ว ดับไปนั้น เป็นความสุขอันยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2014, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
ความจำได้ หมายรู้ จะบังอนัตตา ได้อย่างไร ต้องให้ ผู้รู้ ช่วยตอบที มันจริงหรือ มันหมายความว่าอย่างไร
ขออนุโมทนา :b8: เจริญในธรรม :b8:

จำมาผิด รู้มาผิด ก็บังอนัตตา
ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยฟัง อนัตตา อนัตตาก็ถูกบัง
แม้ได้เคยได้ยินได้ฟัง "อนัตตา" แต่ไม่เคยใส่ใจพิจารณาอย่างจริงจัง อนัตตาก็ถูกบัง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2014, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จำมาผิด รู้มาผิด ก็บังอนัตตา
ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยฟัง อนัตตา อนัตตาก็ถูกบัง
แม้ได้เคยได้ยินได้ฟัง "อนัตตา" แต่ไม่เคยใส่ใจพิจารณาอย่างจริงจัง อนัตตาก็ถูกบัง

ขออนุโมทนา ครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร