วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2014, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมทำสมาธิถึงอย่าพยายามทำให้คนเห็น ขอให้ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นให้หน่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะเป็นกิเลสครับ

คำว่าอย่าพยายามทำให้คนเห็นนั่นแหละกิเลส

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันอาจทำให้ ว้อกแว้ก คือ บางครั้งทำเงียบๆ คนเดียวได้สมาธิความสงบไว และนาน แต่ทำเป็นหมู่คณะ อาจจะเข้าถึงสมาธิได้ช้ากว่า หรือบางท่าน อาจไม่ได้สมาธิเลยก็ได้
:b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่คุนน้องนั่งให้คนเห็นและไม่แคร์สื่อ เพราะคุนน้องพักที่ทำงาน และบ้านพักก็เป็นห้องโล่งนอนรวมกัน คุนน้องสวดมนต์นั่งสมาธิแล้วค่อยนอนประจำ คุนน้องก็ไม่รู้ว่าคนอื่นเขาคิดไงนะ แต่แม่เพื่อนอายุ50กว่าแล้ว แกมีวิธีพึ่งทางใจคือฟังเพลงกับคุยไลน์รุ่นสมัยมัธยม(ตอนนี้50ละ)แกไม่เคยสวดมนต์นั่งสมาธิเลย ทำไมการนั่งสมาธิเป็นการง่ายยิ่งกว่าไปทำทานหรือไปเดินจงกรมบวชชีพรามห์ที่วัดซะอีก เราทำที่บ้านได้ แถมการทำสมาธิเป็นการภาวนาเป็นบุญที่สูงกว่าทานและศีล ทำไมหนอถึงไม่อยากเจริญภาวนากัน บางทีคุนน้องยังนึกกับตนเองเลยนะ แสดงว่าเขาคงไม่เคยสร้างเหตุมาเช่นนี้ ต่อให้พูดปากเปียกปากแฉะว่าการภาวนาเจริญให้มาก มีอานิสงค์มาก แต่ก็ไม่เห็นเขาอยากทำเหมือนเรา บางคนเป็นห่วงเราก็ถามนะ ไม่นั่งสมาธิหรอ มีคนนึงเขาควรจะปฏิบัติในด้านบำเพ็ญภาวนา เราถามเขานะ ขอบทำบุญแถมมีหิริโอตัปปะสำรวมรักษาศีล ทำไมไม่ชอบนั่งสมาธิ เขาตอบกลับมาว่า ไม่รู้จะนั่งไปทำไม เจอประโยคนี้ เงิบเลย s002 ก็คงจริงของเขา เพราะจิตใจเขาคงไม่มีความทุกข์ไรมั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ เป็นความตั้งมั่นต่ออารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดของจิต

นักกีฬายกน้ำหนัก ก่อนยกน้ำหนัก ก็ทำสมาธิก่อนยกน้ำหนัก
นักเรียนในห้องเรียน ก็ต้องทำสมาธิในการเรียน
นักดนตรี ก็ต้องทำสมาธิในการเล่นดนตรี
นักเต้นรำ ก็ต้องทำสมาธิในการเต้นรำ

แต่ถ้ายังไม่มีสมาธิเพื่อให้พ้นจากกิเลส ที่ยั่วยวนให้รักชวนให้กำหนัด
เวลาจะทำสมาธิภาวนา ก็ต้องหลีกเร้นไปจากสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นก่อนครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2014, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่มีคำยืนยันจากอาจารย์ท่านใดบอกเลยว่า
ทำสมาธิอย่าให้ใครเห็น...........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2014, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันจะเกิดการเปรียบเทียบกัน ไม่เขาเปรียบเทียบเรา ก็เราเปรียบเทียบเขา เปรียบเทียบกันไปกันมาเดี๋ยวจิตมันก็อยากก่อเวรต่อกัน

หากพูดเต็มๆ ก็คืออย่าไปดูคนอื่น และอย่าพยายามไปทำให้คนอื่นเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศรีสมบัติเขียน




อ้างคำพูด:
มันอาจทำให้ ว้อกแว้ก คือ บางครั้งทำเงียบๆ คนเดียวได้สมาธิความสงบไว และนาน แต่ทำเป็นหมู่คณะ อาจจะเข้าถึงสมาธิได้ช้ากว่า หรือบางท่าน อาจไม่ได้สมาธิเลยก็ได้
เจริญในธรรม



เห็นด้วยคุณศรีสมบัติค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


สมาธิ คือ ความตั้งมั่น

องค์ฌานสมาธิ ข่ม นิวรณ์
สมาธินั้นมีองค์ฌานอยู่ 5
วิตก1 วิจาร์1 ปีติ1 สุข1 เอกัคตา1

นิวรณ์ธรรม5 เครื่องเศร้าหมอง
กามฉันทะ1 พยาบาท1 ถีนะมิทธะ1 อุทธัจจกุกกุจจะ1 วิจิกิจฉา1

เอกัคตา ข่ม กามฉันทะ
สุข ข่ม พยาบาท
วิตก ข่ม วิจิกิจฉา
วิจาร์ ข่ม ถีนะมิทธะ
ปีติ ข่ม อุทธัจจกุกกุจจะ

นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี,
สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ
๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

องค์ฌาน 5 อย่าง คือ
วิตก ความตรึก
วิจาร ความตรอง
ปีติ ความอิ่มใจ
สุข ความสุข
เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว

เจริญเหตุ ก็ย่อมได้ผล ฉันใดก็ฉันนั้น ซึ่ง การเจริญสมาธิ อยู่ที่ สัปปายะ เหมาะสม ก็เจริญได้ดี

สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)

** สรุปว่า ผู้ที่มีความชำนาญในการเข้าออก ฌานสมาธิ อยู่ที่ไหน ก็พิจารณาสมาธิภาวนาได้ทั้งนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร