วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 02:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2014, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๓ ข้อ ๕ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐)


ปัจฉิมาชนตา ชุมชนที่มีในภายหลัง, หมู่ชนที่จะเกิดตามมาภายหลัง, คนรุ่นหลัง,

โดยทั่วไป มาในข้อความเกี่ยวกับจริยาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ที่คำนึงถึงประโยชน์ของคนรุ่นหลัง หรือปฏิบัติเพื่อให้คนรุ่นหลังมีแบบอย่างที่จะยึดถือ เช่น ที่ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรามองเห็นอำนาจ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว กล่าวคือ มองเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง" (องฺ.ทุก.20/274/77) และที่พระมหากัสสปะกราบทูลพระพุทธเจ้าถึงเหตุผลที่ว่า ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้เฒ่าชราลงแล้ว ก็ยังขอถือธุดงค์ต่อไป ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ ... กล่าวคือ เล็งเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์ชนในภายหลัง ด้วยหมายว่า ชุมชนในภายหลังจะพึงถึงทิฏฐานุคติ" (สํ.นิ.16/481/239) คำบาลีเดิมเป็น ปจฺฉิมา ชนตา


ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์, บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อ ถือ หรือความนิยมเลื่อมใส ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ

๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่างเป็นประมาณ

๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ

๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ

๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและคาวมถูกต้องเป็นประมาณ


ปฏิกรรม "การทำคืน" "การแก้กรรม" การแก้ไข, การกลับทำใหม่ให้เป็นคนดี, เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำกรรม มีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศลหรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้น และหันมาทำความดีงามถูกต้องหรือบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตนเปลี่ยนแปรกรรมให้ดี,

ในทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้าได้ทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นระบบวิธีปฏิบัติทางสังคม คือ ในด้านวินัย ขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ ได้แก่

๑. วินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เรื่องอาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลกันว่าการทำคืนอาบัติ คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณี บอกแจ้งความผดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป แม้แต่แค่สงสัย ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบถส ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยว่าตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่นรูปหนึ่งว่า "เช่น วินย. 4/186/246) "อหํ อาวุโส อิตฺถนฺนามาย อาปตติยา เวมติโก ยทา นิพฺเพมติโก ภวิสฺสามิ ตทา ตํ อาปตฺตึ ปฏิกริสสามิ" (ท่านครับ ผมมีความสงสัย ในอบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น, "ปฏิกริสสามี" เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

๒. วินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เรื่องปวารณาปฏิกรรม คือหลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาส หรือเชิญชวนแก่ที่ประชุม เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใญ่ที่สุดว่า (วินย. 4/226/314) "สงฺฆํ อาวุโส ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสามิ" (เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็น ก็ดี ด้วยได้ฟัง ก็ดี ด้วยสงสัย ก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืน "ปฏิกริสสามี" เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

๓. อริยวินัย (สำหรับพระสงฆ์ และคฤหัสถ์) เรื่องอัจจยเทศนา คือการแสดงความยอมรับหรือสำนึกผิด ในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้อื่น และมาบอกขอให้ผู้อื่นนั้น ยอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตยจะได้สำรวมระวังต่อไป ดังเช่นในกรณี

นายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน พระพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย.7369/180) "ยโต จ โข ตฺวํ อาวุโส อุจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ตนฺเต มยํ ปฏิคณฺหาม วุทฺธึ เหสา อาวุโส อริยสฺส วินเย โย อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ กโรติ อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ" (เพราะการที่เธอมองเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย "ปฏิกโรสิ" และ "ปฏิกโรติ" เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, การทำตามอย่าง, การเอาอย่าง ในทางดี หรือร้ายก็ได้ มักใช้ในข้อความว่า "จะถึงทิฏฐานุคติของผู้นั้น" แต่ในภาษาไทย นิยมนำมาใช้ด้านดี หมายถึง ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง เช่น พระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ พระผู้น้อยก็จะได้ถือเอาเป็นทิฏฐานุคติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2014, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริง คือ ปรมัตถะ แปลว่า "ประโยชน์อย่างยิ่ง" เหมือน ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์ปัจจุบัน" และ สัมปรายิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์เบื้องหน้า" ก็เรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ สัมปรายิกัตถประโยชน์


ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็น ต้น


ปรมัตถ์, ปรมัตถะ ๑ ประโยชน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ๒. ก) ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ ข) สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก ตามปกติในใช้ในความหมายนัยที่ คือ จุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ นิพพาน แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่ ๒. บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ไม่ว่า จะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้ (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย)


ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจครบถ้วน มี ๓ คือ

๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก

๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา

๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้


ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา (ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตตะ ๔)


ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า "กระจาด" หรือ "ตะกร้า" อันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่ แล้ว มี ๓ คือ

๑. วินัยปิฎก รวบรวมพระวินัย

๒. สุตตันตปิฎก รวบรวมพระสูตร

๓. อภิธรรมปิฎก รวบรวมพระอภิธรรม

รวมกันเรียกว่า พระไตรปิฎก (ปิฏก ๓)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 10:08 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาคะ :b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร