วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2017, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"วัดที่ใจของเรา"

ถาม : ญาติโยมส่วนใหญ่ก็จะเลือกทำบุญที่ได้บุญเยอะๆ แต่ที่นี้เราก็ประมาณไม่ถูกว่าทำทานแบบไหนที่ให้บุญมาก คนส่วนใหญ่จะเลือกทำบุญในสิ่งที่ร่ำลือกันว่าให้ผลเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่จริงๆ มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่

พระอาจารย์ : มันต้องวัดที่ใจของเรานะ เราทำอะไรแล้วเรามีความสุขซาบซึ้งใจมาก มันกระทบกระเทือนใจเรามาก อันนี้แหละเป็นบุญมากสำหรับเรา สมมุติว่าเรากำลังหิวข้าว มีข้าวอยู่จานเดียว แต่เราเห็นคนที่กำลังผอมโซเดินมา เค้าไม่ได้กินค่ะตั้ง ๔-๕ วัน ถึงแม้เราจะหิวข้าวแล้วอยากจะกินข้าวจานนั้น เราเกิดความสงสารคนนั้นมากกว่าสงสารเรา เราเอาข้าวจานน้ำให้เขากิน อันนั้นก็เป็นบุญมากแล้วเพราะมันชนะกิเลสในใจเราได้.

หนังสือตอบปัญหาคาใจ เล่ม ๑

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต






"การทําบุญ ทําทาน บุญกุศล และเรื่องของกรรม"

...อย่าไปผิดศีล ๕ มีเงินทองเหลือใช้ก็เอาไปทำบุญ จะทำในลักษณะไหนก็ได้ ทำกับพระก็ได้ ทำกับเด็กกำพร้าก็ได้ ทำกับขอทานก็ได้ ทำกับพ่อกับแม่ก็ได้ ทำกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงก็ได้ แล้วแต่ความจำเป็น แล้วแต่กรณี

...บุญที่เราทำนี่เป็นความสุขใจ อย่างที่บอกว่าอยู่ที่ใจเรา ถ้าทำแล้วเรามีความสุขใจมากบุญก็มาก นี่เป็นบุญส่วนหนึ่ง แต่บุญอีกส่วนหนึ่งที่เราจะได้รับจากบุคคลที่เราทำนั้น ไม่เกี่ยวกับบุญส่วนนี้ บุญที่เราจะได้รับจากบุคคลที่เราทำบุญด้วย เช่นถ้าเราทำบุญกับพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ทำให้เราหลุดพ้นจากทุกข์ได้ นี่เป็นบุญอีกส่วนหนึ่ง ที่เราได้รับจากบุคคลที่เราทำบุญด้วย.

หนังสือตอบปัญหาคาใจ เล่ม ๑

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต






ถาม : คุณแม่อายุ ๗๖ แล้ว ไม่สะดวกไปอยู่วัด จะภาวนาที่บ้าน ควรเริ่มอย่างไร?

พระอาจารย์ : ถ้ามาวัดไม่ได้ก็ทำบ้านให้เป็นวัด บ้านก็ต้องสงบ คือไม่มีอะไรมารบกวน ควรจะทำที่บ้านให้เหมือนวัด คือไม่มีแสงสีเสียง รูปเสียงกลิ่นรส มายั่วยวนกวนใจ แล้วก็เจริญสติอย่างต่อเนื่อง รักษาศีล ๘ และก็เจริญสติ พุทโธๆ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็เฝ้าดูอาการ ๓๒ ดูร่างกายหรือว่าจะบริกรรมพุทโธไปก็ได้ เวลานั่งก็หลับตาแล้วก็บริกรรมพุทโธไป หรือสวดมนต์ไป อย่าไปคลุกคลี อย่าไปคุยกับคนนั้นคนนี้ อย่าไปเปิดดูทีวี อย่าไปกิน ไปดื่ม ในเวลาที่ไม่ใช่ ในเวลาที่จะกินจะดื่มอย่างนี้ ถ้าทำอยู่ที่บ้านได้ แต่มักจะเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเวลาอยู่ที่บ้านคนเขาจะไม่ถือศีล ๘ กัน คนเขาจะดื่มจะกินกันตามอารมณ์ตามความอยาก อยากจะดื่มเมื่อไหร่ก็ดื่ม อยากจะรับประทานเมื่อไหร่ก็รับประทาน อยากดูอยากจะฟังอะไรก็ดูฟังไป มันก็จะรบกวนผู้ที่จะแสวงหาความสงบ ถ้าเป็นเช่นนั้นเราต้องสร้างห้องอยู่คนเดียว ห้องปรับอากาศ ไม่มีเสียงเข้าไปรบกวน ถ้ามาวัดไม่ได้ก็ต้องทำบ้านให้เป็นวัดเข้าใจไหม

โยมที่เป็นลูกศิษย์หลวงตา เขาไปอยู่วัด พอเขาออกจากวัดมาเขาก็ไปทำกุฏิในบ้านเขา แล้วก็เขียนป้ายว่านี่เป็นวัด แล้วแกก็จะขังตัวเองอยู่ในบ้านนั่น ภาวนาอยู่ในบ้านนั้นถือศีล ๘ ในบ้านนั้นก็จะเป็นเหมือนกุฏิวัดเลย จะไม่มีทีวีไม่มีอะไรต่างๆ อันนี้ก็อยู่ที่เรา ถ้าเราไปวัดไม่ได้ เราก็สร้างวัดขึ้นมาในบ้านเราก็ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม ถ้าเราไม่ไปตั้งชื่อวัดเท่านั้นเอง

วัดก็คือที่สงบ วัดในสมัยพระพุทธเจ้าก็คือป่าเขานี่เอง สมัยพระพุทธเจ้านี้ไม่มีวัดวาอารามเหมือนสมัยนี้ วัดที่แท้จริงต้องเป็นวัดแบบนั้น วัดป่าวัดเขา ป่าเขานี่แหละคือวัดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ พระอริยเจ้าทั้งหลายมักจะไปบรรลุมรรคผลนิพพานในวัดแบบนั้น หลวงปู่มั่นก็ไปบรรลุธรรมที่ป่าในเชียงใหม่ ไม่มีใครที่จะไปบรรลุธรรมในบ้านกันหรอก น้อยคน

ดังนั้นถ้าเราอยากจะบรรลุธรรม อยากจะปฏิบัติธรรม ก็ต้องหาที่เป็นวัดจริงๆ ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องสร้างวัดจริงๆขึ้นมาในบ้านเราก็ได้ สร้างห้องขึ้นมา แล้วก็ปิดการรับรู้เรื่องราวต่างๆทั้งหมด แล้วก็คอยควบคุมใจของเรา ควบคุมความอยากของเรา ทำใจให้สงบให้ได้ ดับความอยากให้ได้ ก็จะบรรลุธรรมได้เช่นกัน

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอน
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๖






"...กรรม แปลว่าการกระทำ จะร้ายจะดีจะ สุขหรือทุกข์ ย่อมเกิดมาแต่กรรม ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กมฺมุนา วตฺตติ โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม มนุษย์เราทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมเป็นไปตามกรรม มีกรรมเป็นของของตนเหมือนกันทุกคน

กรรม คือ การกระทำ ใครกระทำอย่างใดก็ได้รับผลอย่างนั้น กรรมที่ทำแล้วย่อมให้ผลที่ผู้ทำย่อมได้รับและเสวยผลของกรรมนั้น ใครจะหนีเร้นหรือแบ่งปันคนอื่นไม่ได้ ผู้ที่กระทำนั้นแหละจะเป็นผู้ได้รับ..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงพ่อพระสุพรหมยานเถระ (พรหมา พรหฺมจกฺโก)
วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน






"...ศีล๕ ถ้าใครละเมิดก็เป็นบาป ครั้นละเว้นโทษ๕อย่างนี้ นั่นแหละเป็นศีล ศีลคือใจ บาปก็คือใจ ศีลอยู่ในใจ บาปก็อยู่ที่ใจเหมือนกันนั่นแหละ

เรื่องทำบุญทำกุศล ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา อยู่แต่ใจทั้งนั้น อะไรทั้งหมดอยู่กับใจ สงสัยก็พิจารณาดวงใจ ทำบาป ๕ อย่างนี้แล้ว ศีลไม่มี เป็นคนไม่มีศีล

คนมันชอบทำแต่บาป ศีลไม่ชอบทำ อยากทำแต่บาป ท่านเปรียบไว้ว่า คนไปสวรรค์เท่ากับเขาวัว คนไปนรกเท่าขนวัว วัวมีสองเขา แต่ขนมันนับไม่ถ้วน..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่ขาว อนาลโย





เห็นธรรมในกาย

“...ธรรมไม่มีอยู่ที่อื่น นี่แหละ ก้อนธรรมทั้งหมดทั้งก้อน นี่แหละ สกนธ์กายของเรานี่แหละ ที่มีอยู่นี่แหละ กายเรียกว่ารูปธรรม, นามธรรมคือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ความจำ ความหมาย ความปรุง ความแต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้ทางทวารทั้งหมด เรียกว่าวิญญาณ, รวมเป็นหมดทั้งรูปก็เรียกว่ารูปธรรม, ความรู้ทั้งหมด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่านามธรรม

มีอยู่สำหรับในโลกนี้ แต่ว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่แน่นอน พระพุทธเจ้าจึงแสดงว่า 'สัพเพสังขารา อนิจจาติ ยทา ปัญญาย ปัสสติ อถ นิพพินทติ ทุกเข เอสะ มัคคโค สิสทธิยา' ผู้มีปัญญาใคร่ครวญพิจารณาเห็นอัตภาพร่างกาย เช่น มนุษย์ก็ตาม สัตว์เดรัจฉานอะไรก็ตาม มาพิจารณาเห็นเป็นของไม่แน่นอน ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นของเป็นทุกข์

เมื่อพิจารณาเห็นด้วยปัญญา อันนี้เรียกว่าเป็นทางหมดจดของผู้นั้น เป็นทางบริสุทธิ์ของผู้นั้น 'สัพเพ สังขารา ทุกขยาติ ยหา ปัญญาย ปัสสติ อถนิพพินทติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา' สังขารร่างกายมาเห็นเป็นทุกข์ ให้พิจารณาธรรมอันนี้ คือสกนธ์กายอันนี้เป็นทุกข์ ย่อมมีความเบื่อหน่ายต่อสังขารที่เป็นอยู่ 'สัพเพธัมมา อนัตตาติ ยทา ปัญญาย ปัสสติ อถ นิพพินทติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา' ธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล คือสกนธ์กายของเรานี่แหละ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

พระพุทธเจ้าแสดงไว้ง่าย ๆ ไม่ลึกซึ้งซับซ้อน เปิดเผย ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนกันกับภาชนะที่คว่ำอยู่ พระพุทธเจ้าเป็นผู้เปิดขึ้นให้เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันนั้น ๆ

เหมือนอยู่ในที่มืด พระพุทธเจ้าเป็นผู้จุดตะเกียงให้คนอื่นเห็นของ เห็นสิ่งทั้งปวง ท่านแสดงให้เห็นอันนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นออกไปนอกสกนธ์กายนี้ เห็นจิตเห็นใจของตนนี้...”

เทศนาธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่ขาว อนาลโย








"...ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้สมาธิที่ถูกต้อง เป็น'สัมมาสมาธิ' ให้ได้ปัญญา เป็น 'สัมมาทิฏฐิ' ต้องอาศัย 'ศีล' เป็นมูลฐาน

ศีลที่เรารักษาบริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้วนั้นแหละ จะประคับประคองจิตใจให้มีความสงบลงสู่ความเป็นสมาธิอย่างถูกต้อง

เมื่อสมาธิอาศัยอำนาจแห่งศีลเป็นเครื่องอบรม 'ปัญญา' คือความรู้ที่เกิดขึ้นมา ย่อมเป็น สัมมาทิฏฐิ..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา





บุคคลผู้ประสงค์จะแก้บาปนั้น นอกจากการนั่งสมาธิภาวนาแล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะแก้ได้ เพราะมีอานิสงส์มาก เป็นวิธีแก้จิตที่เป็นบาปให้กลับมาเป็นบุญได้ แก้จิตที่เป็นโลกีย์ให้เป็นโลกุตระได้ เมื่อแก้จิตให้บริสุทธิ์ดีแล้ว บาปอกุศลก็หลุดหายไปเอง
พึงเห็นองคุลิมาลเป็นตัวอย่าง
หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา




บุญนั้นเป็นแก้วสารพัดนึก
ความทุกข์บางอย่าง..
ถ้าไม่มีบุญแล้วช่วยไม่ได้จริงๆ
หลวงปู่หลุย จันทสาโร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2017, 08:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


... สาธุ สาธุ สาธุ ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร