วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2014, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือ โดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝัน ตามอำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กรรมฐานเบื้องต้น)

ตถตา ความเป็นอย่าง่นั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ได้เรียกฎก ปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา

ตรัสรู้ รู้เจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียก หรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ

๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น

๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น

๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง

๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือ ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน

๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฎแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตว์โลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง

๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น

๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น

๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุดเป็นผู่้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะท้ดเทียมพระองค์ด้่วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ

ตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต (ผูกศัพท์ขึ้นจากความบาลีว่า สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2014, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตทังคนิพพาน "นิพพานด้วยองค์นั้น" นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ, นิพพานเฉพาะกรณี


ตทังคปหาน "การละด้วยองค์ธรรม" การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆว่า "การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ" เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่า การละกิเลสได้ชั่วคราว)


ตทังควิมุตติ "พ้นด้วยองค์นั้นๆ" หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกียวิมุตติ


ตบะ ๑. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส ๒. พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล


ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆกันไป ทำให้มีการเวียนตายเวียนเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก

(เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วยสังขาร ภพ ๓. วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ

กิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรง และมากยิ่งขึ้น จึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือ

ในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร สังสารจักร หรือสังสารวัฏ, ไตรวัฏ ก็เขียน


ไตรสรณะ ที่พึงสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์, สรณตรัย ก็เรียก


ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะทั้งสาม (พระรัตนตรัย) คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ระลึก, ตามปกติ คัมภีร์ทั้งหลาย ใช้เพียงว่า "สรณคมน์"


ไตรสิกขา สิกขาสาม, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เรียกง่ายๆสั้นๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา


ไตรรัตน์ แก้วสามประการ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์


ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ๓ ประการ ได้แก่

๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้

๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน (คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์ ลักษณะทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะ คือ สังขาร และอสังขตะ คือ วิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ ลักษณะเหล่านี้ เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม

ในพระไตรปิฎก หลักนี้ชื่อว่า ธมฺมนิยามตา ส่วน ไตรลักษณ์ และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐวีธาตุ ธาตุดิน, สภาวะที่มีลักษณะแข้นแข็ง, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า, อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทั่วไปจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลม ที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส, ปถวีธาตุก็เขียน



อาโปธาตุ ธาตุน้ำ, สภาวะที่มีลักษณะเอิบอาบ ดูดซึม เกาะกุม, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร, ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทั่วไปจะเข้าใจได้ และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษ ก้อนหิน เหล็ก และแผ่นพลาสติก



เตโชธาตุ ธาตุไฟ, สภาวะที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน, ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารให้ย่อย, อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงเตโชธาตุในลักษณะที่คนสามัญทั่วไปจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม เตโชธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำเป็นภาวะที่ทำให้เรารู้สึกร้อน อุ่น เย็น เป็นต้น



วาโยธาตุ ธาตุลม, สภาวะที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว, เคร่งตึง ค้ำจุน, ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน, ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ, อย่างนี้ เป็นการกล่าวถึงวาโยธาตุในลักษณะที่คนสามัญทั่วไปจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ในทางอภิธรรม วาโยธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีในรูปธรรมทุกอย่าง ได้แก่ ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตุลา ตราชู, ประมาณ, เกณฑ์วัด, มาตรฐาน, ต้นแบบ, แบบอย่าง, สาวกหรือสาวิกา ที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็นตราชู หรือเป็นแบบอย่างในพุทธบริษัทนั้นๆ อันสาวกและสาวิกาทั้งหลาย ควรใฝ่ปราถนาจะดำเนินตามหรือจะเป็นได้ให้เหมือน คือ

๑. ตุลา สำหรับภิกษุสาวกทั้งหลาย ได้แก่ พระสารีบุตร และพระหาโมคคัลานะ

๒. ตุลา สำหรับภิกษุณีสาวิกาทั้งหลาย ได้แก่ พระเขมา และพระอุบลวรรณา

๓. ตุลา สำหรับอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ได้แก่ จิตตคฤหบดี และหัตถกะอาฬวกะ

๔. ตุลา สำหรับอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลาย ได้แก่ ขุขชุตราอุบาสิกา และเวฬุกัณฎกี นันทมารดา

พระสาวกและพระสาวิกา ที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็น "ตุลา" นี้ ในที่ทั่วไป มักเรียกกันว่า พระอัครสาวก และ พระอัครสาวิกา เป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าเองไม่ทรงใช้คำเรียกว่า "อัครสาวก" เป็นต้น นั้น โดยตรง แม้ว่าคำว่า "อัครสาวก" นั้นจะสืบเนื่องมาจากพระดำรัสครั้งแรกที่ตรัสถึงพระเถระทั้งสองท่านนั้น คือ เมื่อพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากสำนักของสัญชัยปริพาชกแล้ว นำปริพาชก ๒๕๐ คนมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเวฬุวัน ครั้งนั้น พระพุทธเจ้า ทอดพระเนตรเห็นทั้งสองท่านนั้นกำลังเข้ามาแต่ไกล ก็ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า (วินย.4/71/77) "ภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนที่มานั่น คือ โกลิตะ และอุปติสสะ จักเป็นคู่สาวกของเรา เป็นคู่ที่ีเลิศ ยอดเยี่ยม (สาวกยุคํ ภวิฺสสติ อคฺคํ ภทฺทยุคํ) คำเรียกท่านผู้เป็น ตุลา ว่าเป็น "อัคร" ในพระไตรปิฎก ครบทั้ง ๔ คู่ มีแต่ในพุทธวงส์ โดยเฉพาะโคตมพุทธวงส์ (ขุ.พุทธ.33/206/545) กล่าว่คือ

๑. อัครสาวก ได้แก่ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ

๒. อัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมา และพระอุบลวรรณา

๓. อัครอุปัฏฐากอุบาสก ได้แก่ จิตตะ (คือ จิตตคฤหบดี) และหัตถาฬวกะ (คือ หัตถกะอาฬวกะ)

๔. อัครอุปัฏฐิกาอุบาสิกา ได้แก่ (เวฬุกัณฎกี) นันทมารดา และอุตตรา (คือ ขุขชุตรา) ฯลฯ


ตุลาการ "ผู้ทำตุลา" "ผู้สร้างตุลา" "ผู้มีอาการเหมือนตราชู" คือ ผู้ดำรงรักษาหรือทำให้เกิดความสม่ำเสมอเที่ยงธรรม, ผู้วินิจฉัยอรรถคดี, ผู้ตัดสินคดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรปิฎก "ปิฎกสาม" ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆว่า กระจาด หรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎก จึงแปลว่า "คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด" หรือ "ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด" กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก


พระไตรปิฎกบาลี ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยครั้งแรก ในรัชกาลที่ ๕ เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ เสร็จและฉลองพร้อมกับงานรัชดาภิเษก ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ แต่ยังมีเพียง ๓๔ เล่ม (ขาดคัมภีร์ปัฏฐาน) ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ใหม่เป็นฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฎกํ (พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ) มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม


พระไตรปิฎก มีสาระสำคัญและการจัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อ ดังนี้

๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อ หรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ

๑.อาทิกัมมิกะ หรือปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปราชิกถึงอนิยต

๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด

๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน

๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ

๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย


๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ

๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องทีเนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร

๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร

๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์


๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรม และคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่ง เป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ

๑. สังคณี หรือธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ

๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวข้อแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด

๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ

๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ

กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓

๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ

๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

พระไตรปิฎกบาลีที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม

ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม

ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2016, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...อนุโมทนาค่ะ...การศึกษามีชื่อ...การตรัสรู้ความจริงไม่มีชื่อ...สติระลึกตัวทั่วพร้อมสิ่งที่กำลังมี...
:b8:
http://www.dhammahome.com/audio/topic/10426
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรัส (ราชาศัพท์) ก. พูด, ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน

ตรัสรู้ (ตฺรัดสะ-) ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) โดยปริยายหมายความว่า รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ตกขุย ออกดอกเป็นเมล็ด (ใช้แก่ไม้ไผ่)

ตราบาป น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป

ตรึก 1. (ตฺรึก) นึก, คิด, (ส. ตรฺก ป. ตกฺก) ตรึกตรอง, ใคร่ครวญ, คิดทบทวน, ตริตรอง 2. หมดไป, สิ้นไป, เปลืองไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ในการกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับหรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง


ติณชาติ หญ้า


ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่งติณวัตถารกวินัย


ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกัน เป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับด้วยวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลิงค์ สามเพศ หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์ กล่าวคือ

ปุงลิงค์ เพศชาย

อิตถีลิงค์ เพศหญิง

นปุงสกลิงค์ มิใช่เพศชาย และหญิง,

คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตระกูลอันมั่งคั่ง จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว

๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า

๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ

๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน


ต่อหนังสือค่ำ เรียนหนังสือโดยวิธีที่อาจารย์บอกปากเปล่าให้โดยตรงเป็นรายตัว ซึ่งเน้นการจำเป็นฐาน อันสืบมาแต่ยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าที่ละคำหรือทีละวรรคที่ละตอน
ศิษย์ว่าตามว่าซ้ำๆ จนจำได้ แล้วอาจารย์อธิบายให้เข้าใจ หรืออาจารย์กำหนดให้นำไปท่อง แล้วมาว่าให้อาจารย์ฟัง
เมื่อศิษย์จำได้และเข้าใจแม่นยำแล้ว อาจารย์ก็สอนหรือให้รับส่วนที่กำหนดใหม่ไปท่องเพิ่มต่อไปทุกๆวัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่า ต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่า ต่อหนังสือค่ำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตระบัด ยืมของเขาไปแล้วเอาเสีย เช่น ขอยืมของไปใช้แล้วไม่ส่งคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย


ตระหนี่ เหนี่ยว, เหนี่ยวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)


ตรุณวิปัสสนา วิปัสสนาอย่างอ่อน


ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา


จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขา กับ เอกัคคตา


ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียกอุเบกขา


ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


(แง่คิดสำหรับผู้ปฏิบัติ - วิปัสสนา คือ รู้เห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ไม่ใช่เห็นตามที่ (กู) เราอยากให้มันเป็น หรือไม่อยากให้มันเป็น <=ถ้าเห็นอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนึก คือ นึกๆคิดๆเอาเอง :b32: สังขารมันเป็นไตรลักษณ์ของมันอยู่เองแล้ว เราต้องมองให้เห็นความเป็นเช่นนั้นของมัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา ความทะยานอยาก, ความร่านรน, ความปรารถนา, ความอยากเสพ, อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว, ความเสน่หา, มี ๓ คือ

๑. กามตัณหา ความทะยานอยากให้กาม อยากได้อารมณ์อันน่าใคร่

๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่

๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย,

ตัณหา ๑๐๘ ตามนัยอย่างง่าย = ตัณหา ๓* อารมณ์ ๖* ๒ (ภายใน + ภายนอก)



ตณฺหกฺขโย ความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นไวพจน์อย่างหนึ่งแห่ง วิราคะ และนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2017, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ๓ เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งพุทธกาล

ต่อมา เมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา



ตู่, กล่าวตู่ กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า “กล่าวตู่พระพุทธเจ้า” หรือ “ตู่พุทธพจน์” หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่าไม่จริงหรือไม่สำคัญ


ไตรทวาร ทวารสาม, ทางทำกรรม ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร และ มโนทวาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2017, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติตถิยะ เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา


ติตถิยปริวาส วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าสงฆ์จะพอใจ จึงจะอุปสมบทให้ ทั้งนี้ เพื่อปรับตัวปรับวิถีชีวิตให้พร้อมที่จะเข้าอยู่ในระบบอย่างใหม่ และเป็นการทดสอบตนเองด้วย


ติตถิยปักกันตกะ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)


ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน, เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งซ่านและพากันหลงเพลินเสียวเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจร ว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่น ได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ เป็นต้น


ติรัจฉานโยนิ กำเนิดติรัจฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2017, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรภพ ภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ



ไตรภูมิ ภูมิ ๓ คือ หมายถึงโลกียภูมิทั้ง ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (เรียกเต็มว่า กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ) ไม่นับภูมิที่ ๔ คือ โลกุตรภูมิ อันพ้นเหนือไตรภูมินั้น


ไตรจีวร จีวรสาม, ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ๑. สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่า จีวร ๓. อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่า สบง


ไตรเพท พระเวท ๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่

๑. ฤคเวท ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า

๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ

๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ

ต่อมาเพิ่ม อถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท อันว่าด้วยคาถาทางไสยศาสตร์เข้ามาอีก เป็น ๔

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร