วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้,

๑. ในที่ทั่วไป หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
๒. บางแห่ง หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้น และนิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ)
๓. บางแห่ง เช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย, เทียบ รูป


นามกาย "กองแห่งนามธรรม" หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย, เทียบ รูปกาย


นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


นามธรรม สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ


นามรูป นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ ทั้งหมด


นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่า สิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่า สิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)


นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกสั้นๆ ว่า ปริคคหญาณ


นารายณ์ ชื่อเรียกพระวิษณุ ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2014, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นมัสการ "การทำความนอบน้อม" การไหว้, การเคารพ, การนอบน้อม, ใช้เป็นคำขึ้นต้นและส่วนหนึ่งของคำลงท้ายจดหมายที่คฤหัสถ์มีไปถึงพระภิกษุ สามเณร


นิมนต์ เชิญ หมายถึงเชิญพระ เชิญนักบวช


นิจศีล ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ, ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ ศีล ๕


นิทาน เหตุ, ที่มา, ต้นเรื่อง, ความเป็นมาแต่เดิม หรือเรื่องเดิมที่เป็นมา เช่น ในคำว่า "ให้ทาน ที่เป็นสุขนิทานของสรรพสัตว์" สุขนิทาน คือเหตุแห่งความสุข, ในภาษาไทย ความหมายได้เพี้ยนไป กลายเป็นว่า เรื่องที่เล่ากันมา


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันนิยมใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ


นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน, นิพพานหรือนิพพานธาตุ ๒ คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


นิพพิทา "ความหน่าย" หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา, ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์


นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย


นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 10:08 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาคะ :b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร