วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ

๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป

๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน


อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ (ข้อ ๓ ในมาร ๕)


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง, ทั้งยิ่งเกิน (อภิอติเรก) คือมากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งพิเศษ (อภิวิเสส) คือ เหนือกว่าธรรมอย่างปกติ, หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆ ล้วนๆ ซึ่งจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับ จนจบความอย่างบริบูรณ์ โดยไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชน หรือเหตุการณ์ อันแสดงโดยเว้นบัญญัติโวหาร มุ่งตรงต่อสภาวธรรม ที่ต่อมานิยมจัดเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน, เมื่อพูดว่า "อภิธรรม" บางทีหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก

บางทีหมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ตามที่ได้นำมาอธิบายและเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวที่ประมวลแสดงไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ, บางที เพื่อให้ชัดว่าหมายถึงอภิธรรมปิฎก ก็พูดว่า "อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์"


อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 มิ.ย. 2016, 19:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2014, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรหํ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์, หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสสิ้นแล้ว, หรือเป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักณิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อเร้นลับ, คือไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด (ข้อ ๑ ในพุทธคุณ ๙)


อรหัต ความเป็นพระอรหันต์, ชื่อมรรคผลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด, เขียนอย่างคำเดิมเป็น อรหัตต์


อรหัตตวิโมกข์ ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต คือหลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิง และเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์


อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสุงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตผล,


พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับ พระสมถยานิก,


พระอรหันต์ ๔ คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้ วิชชา ๓) ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้ อภิญญา ๖) ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)


พระอรหันต์ ๕ คือ ๑. พระปัญญาวิมุต ๒. พระอุภโตภาควิมุต ๓. พระเตวิชชะ ๔ พระฉฬภิญญะ ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ

พระอรรถกถาจารย์แสดงความของ อรหันต์ ไว้ ๕ นัย คือ

๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)

๒. กำจัดข้าศึก (อริ+หต) คือ กิเลสหมดสิ้นแล้ว

๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ (อร+หต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว

๔. เป็นผู้ควร (อรห) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

๕. ไม่มีที่ลับ (น+รห) ในการทำบาป คือ ไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง

ความหมายทั้ง ๕ นี้ ตามปกติใช้อธิบายคำว่า อรหันต์ ที่เป็นพุทธคุณ ข้อที่ ๑


อรหันตขีณาสพ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก, สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อกาลิโก (พระธรรม) ไม่ประกอบด้วยกาล, ให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น ไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู, อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป (ข้อ ๓ ในธรรมคุณ ๖)


อกุศล "ไม่ฉลาด" สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ หรือตรงข้ามกับกุศล, บาป, ชั่ว, ความชั่ว (อกุศลธรรม), กรรมชั่ว (อกุศลกรรม) เทียบกุศล


อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป, การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจาก อกุศลมูล


อกุศลเจตนา เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว


อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น ก. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ โมหะ อหิริกะ (ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ (ไม่กลัวบาป) อุทธัจจะ (ความคิดฟุ้งซ่าน)

ข. ปกิณณกอกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรื่ยรายไป) ๑๐ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา (ริษยา) มัจฉริยะ กุกกุจจะ (เดือดร้อนใจ) ถีนะ (หดหู่) มิทธะ (ซึมเซา) วิจิกิจฉา


อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว


อกุศลมูล รากเง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล, ต้นเหตุของความชั่ว, มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ


อกุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นอกุศล, ความนึกคิดที่ไม่ดี มี ๓ อย่าง คือ ๑. กามวิตก คิดแส่ไปในทางกาม หาทางปรนปรือตน ๒. พยาบาทวิตก คิดในทางพยาบาท ๓ วิหิงสาวิตก คิดในเบียดเบียนผู้อื่น


อคติ ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความลำเอียง มี ๔ คือ
๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อทิสสมานกาย กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย, อีกอย่างหนึง เป็นความเชื่อของพวกพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่า ปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมา แต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้นคงอยู่ที่บ้านเรือนเดิมอย่างที่เรียกว่า ผีเรือน


อโทสะ ความไม่ประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ ตรงข้ามกับโทสะ ได้แก่ เมตตา (ข้อ ๒ ในกุศลมูล ๓)


อธรรม ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม, ชั่วร้าย


อธรรมวาที ผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที


อธิศีล ศีลอันยิ่ง หมายถึงปาฏิโมกข์สังวรศีล ตลอดลงมาจนถึงศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ หรือเป็นปัจจัยให้ก้าวไปในมรรค


อธิศีลสิกขา เรืองอธิศีลอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง ที่จะให้ตั้งอยู่ในวินัย รู้จักใช้อินทรีย์ และมีพฤติกรรมทางกายวาจาดีงาม ในการสัมพันธ์ที่จะอยุู่ร่วมสังคมกับผู้อื่น และอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย และให้เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และเรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล


อธิจิต, อธิจิตต์ จิตอันยิ่ง, เรื่องในของการเจริญสมาธิอย่างสูง หมายถึงฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือแม้สมาธิที่เจริญด้วยความรู้เข้าใจโดดยมุ่งให้เป็นปัจจัยแห่งการก้าวไปในมรรค


อธิจิตตสิกขา เรืองอธิจิตต์อันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาจิตใจอย่างสูง เพื่อให้เกิดสมาธิ ความเข้มแข็งมั่นคงพร้อมทั้งคุณธรรมและคุณสมบัติที่เกื้อกูลทั้งหลาย เช่น สติ ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส อันจะทำให้จิตใจมีสภาพที่เหมาะแก่การใช้งาน เฉพาะอย่างยิ่ง ให้เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ


อธิปัญญา ปัญญาอันยิ่ง โดยเฉพาะวิปัสสนาปัญญา ที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์


อธิปัญญาสิกขา เรื่องอธิปัญญาอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง อันจะทำให้จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์ (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ ไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิโมกข์ ๑ ความปลงใจ, ความตกลงใจ, ความปักใจในอารมณ์ (ข้อ ๑๐ ในอัญญสมานาเจตสิก ๑๓)
๒. ความน้อมใจเชื่อ, ความเชื่อสนิทแน่ว, ความซาบซึ้่งศรัทธาหรือเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ซึ่งทำให้จิตใจเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง (ข้อ ๖ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)


อธิษฐาน ๑
ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้ ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไป เช่น อธิษฐานพรรษา ตั้งเอาไว้เป็นของเพื่อการนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดลงไปว่า ให้เป็นของใช้ประจำตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือ จะเป็นสังฆาฎิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ฯลฯ

๒. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี หรือ อธิฏฐานบารมี (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐)

๓. ธรรมเป็นที่มั่น, ในแบบเรียนธรรมของไทย เรียกว่า อธิษฐานธรรม

๔. ในภาษาไทยใช้เป็นคำกริยา และมักมีความหมายเพี้ยนไปว่า ตั้งใจมุ่งขอให้ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารรถนาเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งจิตขอต่อสิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ให้สำเร็จผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีข้อสังเกตว่า ในความหมายเดิมอธิษฐานเป็นการตั้งใจที่จะทำ (ให้สำเร็จด้วยความพยายามของตน)

แต่ความหมายในภาษาไทยกลายเป็นอธิษฐานโดยตั้งใจขอเพื่อจะได้หรือจะเอา เฉพาะอย่างยิ่งด้วยอำนาจดลบันดาล โดยตนเองไม่ต้องทำ (บาลี อธิฏฐาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาตมภาพ ฉัน, ข้าพเจ้า (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เรียกตัวเอง เมื่อพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดิน)


อาตมา ฉัน, ข้าพเจ้า (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้พูดกับผู้มีบรรดาศักดิ์ แต่บัดนี้ นิยมใช้พูดอย่างให้เกียรติแก่คนทั่วไป)


อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต, ตรงกับบาลีคือ อัตตา


อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบ อนัตตา


อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน


อาทิตตปริยายสูตร ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป มีอุรเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฎิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตผล (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระสุตตันตปิฎก)


อาทิพรหมจรรย์ หลักเบื้องต้นของพรหมจรรย์, หลักการพื้นฐานของชีวิตที่ประเสริฐ เทียบ อภิสมาจาร


อาทีนพ, อาทีนวะ โทษ, ส่วนเสีย, ข้อบกพร่อง, ผลร้าย, ตรงข้ามกับ อานิสงส์


อาทีนวสัญญา การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกาย ซึ่งมีอาพาธคือโรคต่างๆ เป็นอันมาก (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)


อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึ่งเห็นโทษ, ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน


อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มี โสดาปัตติมรรค เป็นต้น


อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อน พุทธกาล ถือตัวว่า เป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือพวกคนป่าคนดอย, พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน


อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ


อริยชาติ "เกิดเป็นอริยะ" คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ, อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติ คือ กำเนิด


อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓ หิริ ๔. โอตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา


อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์


อรรถรส "รสแห่งเนื้อความ" "รสแห่งความหมาย" สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า ถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)


อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตัมมยตา "ภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งนั้น" "ความไม่เกาะเกี่ยวกับมัน" ความเป็นอิสระ ไม่ติดไม่ข้องไม่ค้างใจกับสิ่งใดๆ ไม่มีอะไรยึดถือผูกพันที่จะได้ จะมี จะเป็น อย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ ความปลอดพ้นจากตัณหา (รวมทั้งมานะ และทิฏฐิที่เนื่องกันอยู่) ภาวะไร้ตัณหา,

อตัมมยตา (รวมทั้ง อตัมมโย หรือ อตัมมัย ที่เป็นคุณศัพท์) พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร ๔ สูตร และมาในคำอธิบายของพระสารีบุตรในคัมภีร์มหานิทเทสอีก ๑ แห่ง
พระพุทธพจน์และคำอธิบายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ศึกษา เข้าใจความประณีตแห่งธรรมที่ปัญญาอันรู้จำแนกแยกแยะจะมองเห็นความยิ่งความหย่อน และความเหมาะควรพอดี ถูกผิดขั้นตอนหรือไม่ เป็นต้น ในการปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อการปฏิบัติของตน เช่น ท่านกล่าวว่า (ขุ.ม.29/338/228) สำหรับอกุศลธรรม เราควรสลัดละ แต่สำหรับกุศลธรรมทั้งสามภูมิ เราควรมีอตัมมยตา (ความไม่ยึดติด)

ในสัปปุริสสูตร (ม.อุ.14/191/141) พระพุทธเจ้าแสดงสัปปุริสธรรม และอสัปปุริสธรรม ให้เห็นความแตกต่างระหว่างอสัตบุรุษ กับ สัตบุรุษว่า อสัตบุรุษถือเอาคุณสมบัติ การปฏิบัติ หรือความก้าวหน้าความสำเร็จในการปฏิบัติของตน เช่น ความมีชาติตระกูลสูง ลาภ ยศ ความเป็นพหูสูต ความเป็นธรรมกถึก การถือธุดงควัตร มีการอยู่ป่าอยู่โคนไม้ เป็นต้น จนถึงการได้ฌานสมาบัติ มาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น
ส่วนสัตบุรุษ จะมีดีหรือก้าวสูงไปได้สูงเท่าใด ก็ไม่ถือเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่นเช่นนั้น

ในเรื่องนี้ มีข้อพึงสังเกตที่สำคัญคือ ในระดับแห่งคุณสมบัติ และการถือปฏิบัติทั่วไป สัตบุรุษ "กระทำปฏิปทาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นหลัก หรือเอาการปฏิบัติที่ถูกต้องมาตั้งเป็นหลักไว้ในใจ) จึงไม่เอาคุณสมบัติใดๆ มาเป็นเหตุให้ยกตน-ข่มผู้อื่น

ส่วนในความสำเร็จขั้นฌานสมาบัติ สัตบุรุษ "กระทำอตัมมยตาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับอตัมมยตาที่ตระหนักรู้อยู่) จึงไม่ถือการได้ฌานสมาบัติมาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น (เหนือขั้นฌานสมาบัติขึ้นไป เป็นขั้นถึงความสิ้นอาสวะ ซึ่งเป็นสัตบุรุษอย่างเดียว ไม่มีอสัตบุรุษ จึงไม่มีความสำคัญมั่นหมายอะไรที่จะเป็นเหตุให้ยกตน-ข่มใครอีกต่อไป)

ในอตัมมยสูตร (องฺ.ฉกฺก.22/375/493) ตรัสว่า อานิสงส์อย่างแรก (ใน ๖ อย่าง) ของการตั้งอนัตตสัญญาอย่างไม่จำเพาะในธรรมทั้งปวง คือจะเป็นผู้อตัมมยตาในโลก, ในวิสุทธิมรรค กล่าวถึงอตัมมยตา ที่ตรัสในสฬายตนวิภังคสูตร ว่าเป็น วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (ม.อุ.14/632/407 วิสุทธิ. 3/318)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์)

อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕ ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (ข้อ ๑๐ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ในอนุสัย ๗)


อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓ ข้อ ๔ ในอาสวะ ๓)


อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง, ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ พระนิพพาน ตรงข้ามกับ สังขตะ


อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน (ข้อ ๒ ในธรรม ๒) ตรงข้ามกับ สังขตธรรม


อสังขาริก "ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ" ไม่มีการชักนำ ได้แก่ จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก ตรงข้ามกับ สสังขาริก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2016, 11:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ” มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดี หรือชั่ว โดยถูกกระตุ้น หรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน ตรงข้ามกับอสังขาริก

อายุ สภาวธรรมที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่หรือเป็นไป, พลังที่หล่อเลี้ยงดำรงรักษาชีวิต, พลังชีวิต, ความสามารถของชีวิตที่จะดำรงอยู่และดำเนินต่อไป,
ตามปกติท่านอธิบายว่า อายุ ก็คือ ชีวิตินทรีย์ นั่นเอง, ช่วงเวลาที่ชีวิตของมนุษย์สัตว์ประเภทนั้นๆ หรือของบุคคลนั้นๆ จะดำรงอยู่ได้, ช่วงเวลาที่ชีวิตจะเป็นอยู่ได้ หรือได้เป็นอยู่,
ในภาษาไทย อายุ มีความหมายเพี้ยนไปในทางที่ไม่น่าพอใจ เช่น กลายเป็นความผ่านล่วงไปหรือความลดถอยของชีวิต

อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์,
ในภาษาไทย ความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ไม่ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

อัตถะ ๑ ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, อัตถะ ๓ คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน

อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน

๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น

๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

๒. ความหมาย, ความหมายแห่งพุทธพจน์, พระสูตร พระธรรมเทศนา หรือพุทธพจน์ ว่าโดยการแปลความหมาย แยกเป็น อัตถะ ๒ คือ

๑. เนยยัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ, พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น ที่ตรัส เรื่องบุคคล ตัวตน เรา-เขา ว่า บุคคล ๔ ประเภท, ตนเป็นทีพึ่งของตน เป็นต้น

๒. นีตัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว, พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่นที่ตรัสว่า รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น อรรถ ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิริยาบถ "ทางแห่งการ เคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน, อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น

อุปาทาน ความถือมั่น, ความยึดติดถือค้างถือคาไว้ (ปัจจุบันมักแปลกันว่า ความยึดมั่น) ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ชอบใจหรือใฝ่ปรารถนาอย่างแรง ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน ตามสำนวนทางธรรม ไม่ใช่คำว่า "ถือมั่น" กับความมั่นแน่วในทางที่ดีงาม แต่ใช้คำว่า "ตั้งมั่น" เช่น ตั้งมั่นในศีล ตั้งมั่นในธรรม ตั้งมั่นในสัจจะ

ในภาษาไทย มักใช้ "อุปาทาน" ในความหมายที่แคบลงมาว่า ยึดติดอยู่กับความนึกคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือจะต้องเป็นไปเช่นนั้นเช่นนี้


อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ประกอบด้วยอาสวะ


อามิส เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ

อายุกัป, อายุกัปป์ กาลกำหนแห่งอายุ, กำหนดอายุ, ช่วงเวลาแต่เกิดถึงตายตามปกติหรือที่ควรจะเป็นของสัตว์ประเภทนั้นๆในยุคสมัยนั้นๆ

อายุสังขาร เครื่องปรุงแต่งอายุ, ปัจจัยต่างๆที่หล่อเลี้ยงชีวิตของสัตว์และพืชให้ดำอยู่และสืบต่อไปได้, มักพบในคำว่า “ปลงอายุสังขาร” และ “ปลงอายุพระชนมายุสังขาร”

อิทัปปัจจตา “ภาวะที่อันนี้ๆเป็นปัจจัย” ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาทหรือปัจจยาการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน วิริยะเป็นใหญ่ในการครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นต้น

อินทรีย์ ๕ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน โดยเป็นเจ้าการในการทำหน้า และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตตธรรมในการครอบงำกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มี ๕ อย่าง ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (ข้อธรรมตรงกับ พละ ๕) ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่าเป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้
เรียกอินทรีย์โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือ ความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ ดูโพธิปักขิยธรรม



อินทรีย์ ๒๒ สภาวะที่เป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการรับรู้ด้านนั้นๆ ในขณะที่เป็นเป็นไปอยู่นั้น มีดังนี้
หมวดที่ ๑
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท)
๓. ฆานิทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท)
๖.มนิทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ)
หมวด ๒
๗. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ)
๘. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ)
๙. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต)
หมวด ๓.
๑๐ สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา)
๑๑. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา)
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา)
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา)
๑๔. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา)
หมวด ๔.
๑๕. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา)
๑๖. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ)
๑๗. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ)
๑๘. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ)
๑๙. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา)
หมวด ๕
๒๐ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่ยังมิได้รูป ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ)
๒๑ อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง โสตาปัตติมัคคญาณ ถึง อรหัตมัคคญาณ)
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตผลญาณ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ่านแล้วรู้สึกหลากหลายอารมณ์
ขอร่วมอนุโมทนาอย่างสูงค่ะ สาธุ
:b12: :b27: :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ (หรือทุกขสัจจะ)
สมุทัย (หรือสมุทัยสัจจะ)
นิโรธ (หรือนิโรธสัจจะ)
มรรค (หรือมัคคสัจจะ)

เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัยอริสัจจ์ ทุกขโรธอริยสัจจ์ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์


อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มี ๓ อย่าง คือ
๑. ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้วจึงทรงสั่งสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผล ซึ่งผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ ไม่เลื่อนลอย
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ทำให้ผู้ฟังยอมรับและนำไปปฏิบัติตาม ได้รับผลจริง บังเกิดประโยชน์สมควรแก่การปฏิบัติ

อาคม ปริยัติที่เรียน, การเล่าเรียนพุทธพจน์, ในภาษาไทยมีความหมายเพี้ยนไปเป็นเวทมนตร์


อากาศธาตุ สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า, ช่องว่าในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ ในคัมภีร์อภิธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง เรียกปริจเฉทรูป

อานันตริกสมาธิ สมาธิอันไม่มีระหว่าง คือ ไม่มีอะไรคั่น หมายความว่า ให้เกิดผลตามมาทันที ได้แก่ มรรคสมาธิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิดมรรคญาณ คือ ปัญญาที่กำจัดอาสวะ ตามติดต่อมาในทันที, อานันตริกสมาธินี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นสมาธิเยี่ยมยอด ไม่มีสมาธิใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/5) เพราะทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ประเสริฐกว่ารูปาวจรสมาธิ และแม้แต่อรูปาวจรสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร