ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ศัพท์ทางธรรมและความหมาย อักษร ส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48077
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 18:47 ]
หัวข้อกระทู้:  ศัพท์ทางธรรมและความหมาย อักษร ส

ศัพท์ทางธรรม ซึ่งพบเห็นจนชินตา และยกขึ้นพูดกันบ่อยๆ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 18:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๓ ในอินทรีย์ ๕, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)


สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าน ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพ และอาการของจิต

๔. ธรรมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม


เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 18:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สงสาร การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)

สงสารวัฏ, สงสารวัฏฏ์ วังวนแห่งสงสาร คือ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (สังสาระ สังสารวัฏ)


สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สมณะ ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล



สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

สิกขา การศึกษา, การสำเหนียก,การเรียน, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจ และฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตนหรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาบุคคล,


สิกขา มี ๓ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ที่เรียกง่ายๆ ศีล สมาธิ ปัญญา

(ไม่ลงรายละเอียดให้ยาว)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 18:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้ มักมาคู่กับสติ


สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่

๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ขัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย

๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ขัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

๓. โคจรสัมปชัญญะ รู้ขัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ขัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงไหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน


สันตติ การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง, ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป


สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา, ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา


สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจกำหนดแน่วให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอ้างเอาความจริงใจของตนเป็นกำลังอำนาจ, คำเดิมในคัมภีร์นิยมใช้ สัจกิริยา, สัตยาธิษฐาน เป็นรูปสันสกฤต รูปบาลีเป็นสัจจาธิษฐาน

เจ้าของ:  asoka [ 02 ก.ค. 2014, 18:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

s004
ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม
tongue

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 19:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สััตติกำลัง ในคำว่า "ตามสัตติกำลัง" แปลว่า ตามความสามารถ และตามกำลัง หรือ ตามกำลังความสามารถ (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี


สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะม่วง เป็นต้น และจำได้ คือ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้นเช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น ความหมายสามัญในภาษาบาลี ว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น


สัจธรรม, สัจจธรรม ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า อริยสัจจธรรมทั้งสี่


สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือ ภาวนา ๒)

สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ


สมถภาวนา การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ


สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึงผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา

สมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนา


สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแ่หงจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา, อธิจิตตสิกขา (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในอินทรีย์ ๕, ข้อ ๔ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗)


สมาธิ ๒ คือ ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่


สมาธิ ๓ คือ ๑. สุญญตสมาธิ ๒. อนิมิตสมาธิ ๓ อัปปณิหิตสมาธิ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. ขณิกสมาธิ ๒ อุปจารสมาธิ ๓ อัปปนาสมาธิ


สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)


สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค กายคตาสติ เป็นต้น

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 19:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

asoka เขียน:

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


อโศกนี่มองโลกในแง่ร้ายนะ อย่างนี้แหละถึงไปไม่ถึงไหน ห้องเขาก็บอกว่า "สนทนาธรรมทั่วไป" แต่อโศกมองเป็นทะเลาะธรรม

ที่นำศัพท์และความหมายมาลงไว้ ก็เพื่อให้อโศกมีหลักบ้าง ไม่ยังงั้นก็
:b21:


สมมติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้่ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ในภาษาไทย ในในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 09:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สังฆทาน ทานเพื่่อสงฆ์, การถวายแก่สงฆ์ คือ ถวายเป็นกลางๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือ เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด คิดแต่จะถวายอุทิศแก่สงฆ์ ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระอาราธนาศีล รับศีลจบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้ว ประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี



กรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้เป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่, เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเร่ิมสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเร่ิมสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป, คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" แปลว่า "ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด" จะต่ออีกก็ได้ว่า "สุขิตา โหนตุ ญาตโย" แปลว่า "ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด"

ไฟล์แนป:
1378142865-5619022970-o.jpg
1378142865-5619022970-o.jpg [ 20.06 KiB | เปิดดู 3008 ครั้ง ]

เจ้าของ:  asoka [ 03 ก.ค. 2014, 13:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


อโศกนี่มองโลกในแง่ร้ายนะ อย่างนี้แหละถึงไปไม่ถึงไหน ห้องเขาก็บอกว่า "สนทนาธรรมทั่วไป" แต่อโศกมองเป็นทะเลาะธรรม

ที่นำศัพท์และความหมายมาลงไว้ ก็เพื่อให้อโศกมีหลักบ้าง ไม่ยังงั้นก็
:b21:


สมมติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้่ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ในภาษาไทย ในในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ

:b16:
หลักตำราเอาไว้ให้กรัชกายเกาะยึดมิให้จมลงในโอฆะเถิด

เขาบอกว่า "ดีแล้ว" ยังมาเห็นเป็นอกุศล เพราะใจกรัชกายครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องอกุศล จนระแวงไปหมด

ศัพท์ธรรมะทั้งหมดจงอย่าดีแต่ก็อปแปะให้คนอื่นอ่าน พึงนำมาใส่ใจพิจารณาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนให้เจริญก้าวหน้า
:b40:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 15:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


อโศกนี่มองโลกในแง่ร้ายนะ อย่างนี้แหละถึงไปไม่ถึงไหน ห้องเขาก็บอกว่า "สนทนาธรรมทั่วไป" แต่อโศกมองเป็นทะเลาะธรรม

ที่นำศัพท์และความหมายมาลงไว้ ก็เพื่อให้อโศกมีหลักบ้าง ไม่ยังงั้นก็

หลักตำราเอาไว้ให้กรัชกายเกาะยึดมิให้จมลงในโอฆะเถิด

เขาบอกว่า "ดีแล้ว" ยังมาเห็นเป็นอกุศล เพราะใจกรัชกายครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องอกุศล จนระแวงไปหมด

ศัพท์ธรรมะทั้งหมดจงอย่าดีแต่ก็อปแปะให้คนอื่นอ่าน พึงนำมาใส่ใจพิจารณาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนให้เจริญก้าวหน้า
:b40:



เจ้าป่าเจ้าเขา :b8: เป็นพยาน เขาพูดเองแท้ๆว่า ทะเลาะธรรม (ในความหมาย คือ ก่อนหน้าทะเลาะธรรมมาทั้งเพ) พอตั้งหัวข้อนี้ชม "ดีแล้ว" (+50) แต่ลึกๆยังหวงความดี ก็จึง "ทะเลาะธรรม" (-50) ถ้าวิเคราะห์จิตใจของอโศกขณะนั้น คือยังนึกเสียดายคำชม ยังหวงความดีอยู่ เมื่อความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็ตัดด้วย "ทะเลาะธรรม" ซึ่งพระโสดาบันไม่มีแล้วความคิดนี้ :b32: หากพระโสดาบันท่านชมใครว่าดีแล้วนะท่านเต็ม 100 แต่อโศก 50/50 (ดี-เลว - เท่าทุน) ชัดนะ คิกๆๆ โสดาบันปลอม

นี่มาอีกแระ "โอฆะ" แช่งให้กรัชกายจมโอฆะอีกแระ ถามเลยงั้น หมายถึงอะไร "โอฆะ" เอาชัดๆ อโศก กรัชกายบ่หยั่นจมได้ก็โผล่ได้ ขึ้นได้ก็ลงได้ คิกๆๆ แต่ขอให้ชัดแล้วกัน เอ้าว่ามา

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 17:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สรณคมน์ การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึงที่ระลึก, หมายถึง การถึงรัตนะทั้งสาม (พระรัตนตรัย) คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึงที่ระลึก, เรียกว่า สรณาคมน์ บ้างก็มี (ในภาษาไทย บางทีพูดว่า "ไตรสรณคมน์" หรือ แม้แต่ "ไตรสรณาคมน์" ก็มี แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย ใช้เพียงว่า สรณคมน์)


คำถึงสรณะ ว่าดังนี้ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ) ธมฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ) สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ)


ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๒) ทุติยมฺปิ ธมฺมํ ....ทุติยมฺปี สงฺฆํ .... ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓) ตติยมฺปิ ธมฺมํ....ตติยมฺปิ สงฺฆํ....(ตามลำดับ)



การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทำให้เรามีเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ มีแหล่งที่สาดส่องให้แสงสว่างแห่งปัญญา ทำให้เกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ ปลอดภัย หายหวาดกลัว หายขุ่นมัวเศร้าหมอง มีจิตใจเบิกบานผ่องใส เกิดความเข้มแข็งที่จะทำความดีงามทำประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นการได้กัลยาณมิตรสูงสุด ที่จะชี้นำให้หยุดยั้งถอนตนจากบาป ให้ก้าวไปในกุศล พ้นจากอบาย บรรลุภูมิที่สูงขึ้นไปจนถึงความสุขแท้ที่เป็นอิสระไร้ทุกข์ทั้งปวง ทั้งนี้ จะต้องมีศรัทธาถูกต้อง ที่ประกอบด้วยปัญญา นับถือโดยมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนและมั่นใจ มิให้สรณคมน์นั้นเศร้าหมองด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจผิดเพี้ยนหลงงมงายหรือไม่ใส่ใจ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 17:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สรร เลือก, คัด

สรรค์ สร้าง

สรรพ ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุกสิ่ง

สรรพางค์ ทุกๆส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุกๆส่วน

สรีระ ร่างกาย

สรีรยนต์ กลไกคือร่างกาย

สรีราพยพ ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย


สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม) จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 17:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)


สสังขาริก "เป็นไปกับด้วยการชักนำ" มีการกระตุ้น ใช้แก่ จิตที่คิดดี หรือชั่วโดยถูกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน ตรงข้ามกับ อสังขาริก

สังกิเลส ความเศร้าหมอง, ความสกปรก, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ธรรมที่อยู่ในหานภาคคือในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการ อคติ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตรงข้ามกับ โวทาน



สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ไ้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม ตรงข้ามกับ อสังขตะ


สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม


สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง
๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ
๒. ความดับสลาย ปรากฏ
๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฎ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 03 ก.ค. 2014, 22:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

สังเวช
ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก;

ในทางธรรม ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท
เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช


หมายเหตุ : ความสลดใจแล้วหงอย หรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 04 ก.ค. 2014, 05:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศัพท์ทางธรรม (อักษร ส.)

ตั้งแต่พูดกับ เช่นนั้นมา เข้าท่า ก็ คห. ^ นี้แหละ สาธุ :b1:

ปล. ที่นำศัพท์ (บาลี) พร้อมความหมายมาลงไว้ มิใช่ให้หลุดพ้นจากทุกข์เพราะศัพท์ทางธรรม ไม่ใช่ แต่ให้รู้ว่า เมื่อเราใช้ศัพท์ทางธรรมแล้ว คนใช้เองก็ควรเข้าใจความหมายชองเขาด้วย ว่าเขาหมายถึงอะไร

เมื่อเบื้องต้น เราเข้าใจความหมายถูกตรงแล้ว จะคิดจะดำริข้อธรรมใด ก็เข้าใจถูกต้องลำดับถัดไป

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/