วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 10:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2014, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ ไม่ใช่รู้ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์


ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ทุกอย่าง ถ้าเราจับจุดถูกแล้ว มันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ จึงโยงถึงกันหมดทุกอย่าง จับที่นี่ ก็ถึงที่อื่นทั้งหมดด้วย


ดังนั้น ถ้าจับหลักการนี้ได้ ไม่ว่าใครจะพูดธรรมข้อไหนมา ก็จับโยงได้หมด ว่าธรรมนี้อยู่ที่จุดนั้น อยู่ในระดับนี้ สัมพันธ์ส่งผลต่อไปยังข้อโน้น มองเห็นธรรมนั้นในภาพรวมของระบบใหญ่ ความหมายในการปฏิบัติก็ชัดเจนโล่งไป อย่างพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีวิธีสรุปธรรมมากมายหลายแบบ


วิธีสรุปธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น สรุปลงในอริยสัจ ๔ แล้วพระองค์ก็ยังโยงอริยสัจ ๔ ไปสู่ธรรมทุกสิ่งทุกประการ


จะ ขอพูดให้ผู้ศึกษาธรรมฟังอีกนิดหนึ่ง ให้เห็นตัวอย่างวิธีสรุปของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์สรุปไว้หลายนัย สรุปเป็น ๒ ก็ได้ สรุปเป็น ๓ ก็ได้ สรุปเป็น ๔ ก็ได้ ไม่ต้องมาเถียงกัน


บางคนไปยึดอย่างเดียว แล้วไปเถียงกับคนอื่น ก็ยุ่งอยู่นั่นแหละ ทั้งๆที่ว่าธรรมนั้นเป็นความจริงตามธรรมดาที่มีระบบของมัน และในระบบสัมพันธ์นั้น ก็เอามาแสดงให้เห็นได้หลายอย่าง เป็นเรื่องของวิธีการจำแนก แต่ไม่ว่าจะแสดงอย่างไร มันก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ดังตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้าตรัสธรรมว่า ทั้งหมดรวมในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

จากอริยสัจนั้น พระองค์ก็โยงไปหาหลักอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการประมวลธรรมทั้งปวงให้เข้าเป็นชุดเดียวกันอีก โดยตรัสว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ เป็นต้น

นี่คือหลักที่เรียกว่ากิจในอริยสัจ ๔ ถ้าใครจะปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ ให้ถูกต้อง ไม่รู้หลักกิจในอริยสัจ ก็พลาด


อริยสัจ ๔ จะรู้แต่อริยสัจไม่ได้ ต้องรู้กิจในอริยสัจด้วย มิฉะนั้น จะเสียดุลอีก ถ้าปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจผิด ก็พลาดไปเลย เพราะว่า อริยสัจ ๔ แต่ละข้อเรามีหน้าที่ต่อมัน


หน้าที่เหล่านั้นตรัส ไว้แล้วในธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี่แหละ ซึ่งเราก็สวดกันอยู่เรื่อยว่า ทุกขอริยสัจนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องปริญญา หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา แปลว่า กำหนดรู้


*เรามีหน้าที่รู้ทุกข์ เราไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์


-คุณหมอรู้โรค ก็ไม่ใช่คุณหมอเป็นโรค แต่คุณหมอต้องรู้โรค คุณหมอจึงบำบัดโรครักษาคนได้

-คนที่รู้ปัญหา ก็ไม่ใช่คนเป็นปัญหา แต่คนต้องรู้ปัญหา คนจึงจะแก้ปัญหาได้


-คนที่รู้ทุกข์ ก็ไม่ใช่คนเป็นทุกข์ แต่คนต้องรู้ทุกข์ คนจึงจะดับทุกข์ได้


การรู้ทันทุกข์ หรือจู้จักทุกข์ กับการเป็นทุกข์ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน

การเป็นทุกข์ เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ต่ออริยสัจ ถ้าใครปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจผิด ก็ผิดพลาดออกนอกทาง

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใครเป็นทุกข์ แต่ทรงสอนให้รู้ทันทุกข์ แค่กิจในอริยสัจข้อที่หนึ่งนี้ หลายคนก็พลาด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2014, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า ทุกข์เป็นสภาวะสำหรับปัญญารู้ เอาปัญญาเผชิญหน้ากับมัน ทุกข์นี้เราต้องมีปริญญา คือรู้ทันมัน

ดูกันให้ครบ กิจในอริยสัจทั้ง ๔ ข้อ


๑.ทุกข์ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ

ทุกขอริยสัจ เป็นสิ่งที่พึงกำหนด-รู้


๒.ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ

ทุกฺขสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่พึง-ละ


๓.ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ ฉจฺฉิกาตพฺพํ

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้-แจ้ง ทำให้เป็นจริง บรรลุถึง


๔. ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่พึง-เจริญ ปฏิบัติ ลงมือทำ



พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นในภาษาไทยว่า


๑. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่หนึ่ง คือทุกข์ ได้แก่ ปริญญา การกำหนดรู้ รู้จัก รู้เข้าใจ รู้ทัน

๒. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สอง คือสมุทัย ได้แก่ ปหานะ การละ หรือกำจัด

๓. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สาม คือนิโรธ ได้แก่ สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง บรรลุ หรือทำให้เป็นจริง

๔. หน้าที่ต่ออริยสัจข้อที่สี่ คือมรรค ได้แก่ ภาวนา การลงมือปฏิบัติ


การปฏิบัติอยู่ที่ข้อ ๔ เรียกว่า ภาวนา เราต้องปฏิบัติข้อเดียว คือ ข้อสี่ - มรรค


นอกนั้น เมื่อเราปฏิบัติไปตามข้อสี่แล้ว มันถึงกันหมด แต่เรารู้ไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2014, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา :b8: :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อนุโมทนา :b8: :b17: :b17: :b17:


บอกเหตุผลด้วยซี่ แล้วเหตุผลมิใช่แค่พูดว่า ได้อ่านบทความของ ป.อ.ปยุตฺโต เท่านั้น บอกอีกว่าอ่านแล้วทำให้ตนเองเข้าใจชีวิตมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ก่อนอ่านพระสูตรอย่างเดียวเห็นชีวิตจิตใจเป็นชีวิตสำเร็จรูป ชีวิตกระดาษ ประมาณนี้แหละขอรับ :b1: แล้ว

ลงท้าย

อนุโมทนา :b8:

แล้วผู้ดูแลก็ย้ายหัวนี้ๆ นั้นๆไปไว้ห้องที่เห็นสมควร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาให้ก็ดีแล้วสำหรับกระทู้นี้
ใจความที่เหลือ ก็ Dream ๆๆๆๆๆ
ให้กรัชกาย ไปนั่งฝันกับท่านแล้วกัน huh huh

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อนุโมทนาให้ก็ดีแล้วสำหรับกระทู้นี้
ใจความที่เหลือ ก็ Dream ๆๆๆๆๆ
ให้กรัชกาย ไปนั่งฝันกับท่านแล้วกัน huh huh



คิกๆๆ เอาเป็นว่าตอนนี้ ให้เข่นนั้น โพสต์ข้อความอะไรก็ได้ที่ตนเองเรียกว่าธรรมะบ้าง :b13: แล้ว กรัชกายจะร่วมอนุโมทนาบุญ อ้าว ว่าไปครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร