วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายสมมุติบัญญัติที่นี่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47841

ให้เข้าใจก่อน จึงจะดูหัวข้อนี้เข้าใจ

อะไรก็ตามที่คนพูดถึงได้ ก็สมมุติได้ทั้งนั้น ไม่พ้นไปได้เลย การที่จะไปจากสมมุติได้นั้น ไม่มีทาง และก็ไม่รู้จะพ้นไปทำไม

เพราะว่า ธรรมอะไรๆ ก็เป็นอยู่ตามสภาวะของมันอย่างนั้นๆ เป็นเรื่องของคนต่างหากที่จะหลุดพ้น คือจิตใจหลุดพ้น และก็ไม่ใช่หลุดพ้นจากสมมุติ แต่หลุดพ้นจากกิเลสที่ทำให้หลงผิดแล้วก็ยึดติดในสมมุติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมติ ไม่มีใครหลุด ไม่ต้องไปพ้น เอาแค่รู้ทัน และใช้มันให้เป็น


พึง สังเกตด้วยว่า “สมมุติ” หรือ “สมมติ” นี้ เป็นคำที่นิยมใช้มากในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา ส่วนในพระไตรปิฎก ก็มีใช้บ้าง แต่โดยมากมาในคำกล่าวของพระสาวก โดยเฉพาะพระสารีบุตร (เช่นในสังคีติสูตร ทสุตตรสูตร ในนิทเส และปฏิสัมภิทามัคค์) ส่วนท่านอื่นก็มีพระวชิราภิกษุณี เป็นตัวอย่าง....(“นี่แน่ะมาร ท่านจะมีความเห็นยึดถือว่าเป็นสัตว์ได้อย่างไร ในสภาวะที่เป็นเพียงกองแห่งสังขารล้วนๆนี้ จะหาตัวสัตว์ไม่ได้เลย เปรียบเหมือนว่า เพราะคุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ศัพท์ว่า รถ ย่อมมี ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น”)


แล้ว ในพระอภิธรรมปิฎก ได้เกิดคำว่า “สมมติสัจจะ/สมมุติสัจจะ” ขึ้นในคัมภีร์กถาวัตถุ แห่งสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ (ประมาณ พ.ศ.๒๕๐)


แต่ สำหรับพระพุทธเจ้าเอง ตามปกติ ทรงใช้คำว่า “สมมุติ” หรือ “สมมติ” ในพระวินัย ซึ่งเป็นเรื่องทางสังคม คือการที่ภิกษุสงฆ์ ตกลงกันตั้งพระภิกษุ หรือภิกษุณีสงฆ์ตกลงกันตั้ง พระภิกษุณีสงฆ์ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในกิจการต่างๆ (เช่น ภัตตุทเทสกสมมุติ คือ การที่สงฆ์ประชุมกันตั้งพระเป็นภัตตุเทศก์ ได้แก่พระเจ้าหน้าที่จัดแจกอาหาร คล้ายกับที่ประชาชนมาลงคะแนนสมมุติคือเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) หรือตกลงกันกำหนดบริเวณหนึ่งให้เป็นเขตที่ประชุมทำ กิจการของสงฆ์ ดังที่เรียกว่า สมมติสีมา (บาลีว่า สีมาสมฺมติ หรือสีมาสมฺมุติ) ตลอดจนกำหนดสถานที่นั้นๆให้เป็นที่ทำการนั้นๆ (เช่น ภัณฑาคารสมมุติ คือการที่สงฆ์ประชมกันตกลงกำหนดให้ใช้ที่นั้นเป็นโรงเก็บของ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

พุทธพจน์ที่ตรัสใช้คำว่า “สมมุติ” ในทางธรรม พบในพระสูตรเดียว เป็นคาถาในสุตตนิบาต (ขุ.สุ.๒๕/๔๒๐/๕๐๙-๕๑๒) และทรงใช้ในความหมายอย่างเดียวกับทิฏฐิ

ถ้าจะใช้คำตามอย่างพุทธพจน์ คำที่ทรงใช้ในความหมายอย่างนี้ ก็คือ “โวหาร” (การแลกเปลี่ยนข่าวสาร การโต้ตอบ การสื่อภาษา ถ้อยคำที่สื่อสารกัน) และคำอื่นๆที่มักมาด้วยกันเป็นชุด (คือ สมัญญา นิรุตติ บัญญัติ เป็นต้น) (สังเกตตัวอย่าง “ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น” “เหล่านี้เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ทีตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด”

อ่านพุทธพจน์เพียงสั้นๆ ต่อไปนี้ ก็จะมองเห็นความหมาย และแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้พอสมควร ขอยกตัวอย่างมาดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย...ไม่พึงยึดแน่นติดคากับภาษาถิ่น ไม่พึงแล่นเลยเถิดข้ามถ้อยคำที่ชาวโลกรู้เข้าใจกัน (...ชนปทนิรุตฺตึ นาภินิเวเสยฺย สมญฺญํ นาติธาเวยฺย) ... ในถิ่นแดนนั้นๆ ชนทั้งหลายรู้จักสิ่งนั้นกันอย่างไรๆ ว่า ‘ดังที่รู้มาว่า ที่ท่านเหล่านี้ พูดหมายถึงสิ่งนี้’ ภิกษุก็พูดจากล่าวขานไปอย่างนั้นๆ โดยไม่ยึดติดถือมั่น

(ม.อุ.๑๑/๖๖๒/๔๒๙)

ดูกร จิตตะ การได้ตัวตน (อัตตา) เหล่านี้แล เป็นถ้อยคำที่รู้เข้าใจกันของชาวโลก (โลกสมัญญา) เป็นภาษาของชาวโลก (โลกนิรุตติ) เป็นคำสื่อสารกันของชาวโลก (โลกโวหาร) เป็นบัญญัติของชาวโลก (โลกบัญญัติ) ที่ตถาคตใช้พูดจา โดยมิได้ถือมั่นยึดติด (อิมา โข จิตฺต โลกสมัญญา โลกนิรุตติโย โลกโวหารา โลกบัญญัติโย ยาหิ ตถาคโต โวหรติ อปรามสนฺโต)

(ที.สี.๙/๓๐๒/๒๔๒-๒๕๗)



ถึงแม้ คำว่า “สมมติ” จะเป็นคำที่นิยมใช้ในชั้นรอง และชั้นหลังตั้งแต่อรรถกถาลงมา ก็มิได้น่ารังเกียจอะไร แต่กลับน่าใช้ในแง่เป็นคำที่สื่อสารได้ง่าย คนไทยคุ้นกันดี แต่ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ควรระวังทั้งในแง่ที่จะใช้ให้สื่อความหมายที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด และถูกตรงตามระบบของธรรม ไม่ให้เกิดความสับสนไขว้เขว

พูดสั้นๆว่า ไม่ต้องพ้นจากสมมุติ แต่พ้นจากการยึดติดสมมุติ

หลุด พ้นด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ก็หลุดพ้นจากโมหะของตัวเอง ไม่ใช่หลุดพ้นจากสมมุติหรอก ส่วนสมมุตินั้นก็ไม่ต้องไปหลุดพ้น มีแต่ให้รู้เท่าทันมัน

สมมุติไม่ใช่เรื่องที่จะ ต้องไปหลุดพ้น คือ สิ่งทั้งหลายที่มีจริงก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ของมันอย่างนั้นๆ สิ่งที่ไม่มีจริง ก็ไม่เป็นสภาวะที่มีอยู่ สมมุติเป็นเรื่องของมนุษย์ที่พยายามสื่อสารกัน ถ้าใช้มันเป็น ก็คือเอามันมาช่วยให้เรารู้ต่อไปถึง หรือไปเข้าถึงสภาวะ สมมุติก็เหมือนมาซ้อนอยู่เท่านั้น

เมื่อรู้ถึงสภาวะแล้ว เรารู้ว่าสมมุติเป็นสมมุติ ก็ใช้มันต่อไป เรียกว่าใช้มันอย่างรู้เท่าทัน ไม่ยึดติดถือมั่น ไม่ตกเป็นทาสของมัน มันก็เป็นประโยชน์ไปตามฐานะที่แท้จริงของมัน

เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนเตือนไว้ให้รู่เท่าทันสมมุติ คือรู้จักสมมุติว่าเป็นสมมุติ แล้วก็ใช้มันอย่างรู้เข้าใจ ไม่ติดค้างถือคาอยู่กับมัน พูดจาไปตามสมมุติ แต่ปัญญาหยั่งไปถึงสภาวะโน่น อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสดังยกมาให้ดูข้างบนนั้น ก็หมดปัญหา


แต่ ถ้าไม่รู้เข้าใจตามเป็นจริง เอาสมมุติเป็นตัวความจริง ก็ติดอยู่กับสมมุตินั้น มองไม่ถึงสภาวะ เหมือนกับว่าสมมุติมาบังตาไว้ ทำให้ไม่เห็นความจริง เรียกว่าหลงสมมุติ ไม่รู้เท่าทันมัน สมมุติกลายเป็นทิฏฐิ แล้วก็ยึดติดถือมั่นไปตามสมมุติ ใช้สมมุติไม่เป็น ก็กลายเป็นโทษไป


เป็นอันว่า เรื่องสมมุตินี่ ไม่ต้องพ้นมันหรอก ไม่ต้องไปหลุดพ้นจากสมมุติหรอก ธรรมไหนๆ ก็อยู่ตามสภาวะของมัน ไม่ต้องหลุดพ้นจากสมมุติ คนรู้เข้าใจธรรมไปตามสภาวะ คือเกิดปัญญารู้ทันมัน ถึงความจริงของมัน ก็จบ ไม่ต้องไปหลุดพ้นจากสมมุติ เรามีหน้าที่เพียงรู้เท่าทัน อย่ายึดติดอยู่กับมัน และไปให้ถึงสภาวะ

สมมุติคู่กับสภาวะ (สภาวะในแง่นี้ มาถึงยุคหนึ่ง ได้นิยมใช้คำเรียกให้มีความหมายจำเพาะ และหนักแน่นมากขึ้นว่า “ปรมัตถ”)

เราสมมุติขึ้นมาบนสภาวะบ้าง สมมุติซ้อนต่อกันขึ้นไปบนสมมุติ เป็นสมมุติลอยๆ โดยไม่มีสภาวะบ้าง แล้วในที่สุด เมื่อเรารู้ทันสมมุติ และรู้ถึงสภาวะ ก็ปฏิบัติต่อมัน อยู่กับมันได้ด้วยดีโดยชอบ อย่างเป็นอิสระทั้งสองอย่าง


รู้ทันสมมุติ ก็จะวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1cbaba340c7c96e68cff5a48d576c1df.jpg
1cbaba340c7c96e68cff5a48d576c1df.jpg [ 21.29 KiB | เปิดดู 3776 ครั้ง ]
ต่อที่ viewtopic.php?f=1&t=47853&p=353508#p353508 สาระลึกซึ้งลงไปอีกหน่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2014, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติต้องมาคู่กับความเห็น

เห็นว่าเป็นสมมุติ ก็คือการสร้างทิฎฐิ เป็นสัมมาทิฎฐิได้

เช่นสมมุตินี่เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แต่คำถามก็คือ การเข้าไปเกิดความศรัทธาต่อสิ่งที่สมมุติ อาจจะเกิดทั้งมิจฉาทิฎฐิ หรือ สัมมาทิฎฐิ

อย่างคลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เกิดเป็นเสียง ก็สมมุติว่าเสียงคนพูด เสียงโลหะกระทบกัน เสียงสัตว์ ลมพัด รถวิ่ง ล้วนแต่เป็นสมมุติ บนธรรมที่เป็นความจริงเพราะมีเหตุ ตั้งแต่การประกอบด้วยธาตุ การมีอายตนะที่ทำงาน การมีผัสสะ ก็พิจารณากันไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2014, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย ไปกราบคนนี้เป็นอาจารย์ ดีไหม น่าจะเหมาะกับกรัชกาย
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ilqJWGj0Mi4
[/youtube]



กรัชกายชอบเที่ยวตามเว็ปดูยูทุปนิ คนนี้ล่ะเหมาะเลย :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย ไปกราบคนนี้เป็นอาจารย์ ดีไหม น่าจะเหมาะกับกรัชกาย
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ilqJWGj0Mi4
[/youtube]



กรัชกายชอบเที่ยวตามเว็ปดูยูทุปนิ คนนี้ล่ะเหมาะเลย :b17:


ดูแล้วเรียกเสียงหัวเราะครับ คือเหมือนเขาชอบดักทางคน ต้องถามคุณกรัชกายว่า คนนี้กำลังสอนอะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งสองทำความเข้าใจระหว่าง สมมุติ กับ ปรมัตถ์ (สภาวะ) จากคาถานี่ซี่ :b1:

“นี่แน่ะมาร ท่านจะมีความเห็นยึดถือว่าเป็นสัตว์ได้อย่างไร ในสภาวะที่เป็นเพียงกองแห่งสังขารล้วนๆนี้ จะหาตัวสัตว์ไม่ได้เลย เปรียบเหมือนว่า เพราะคุมส่วนประกอบเข้าด้วยกันศัพท์ว่า "รถ" ย่อมมี ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น”

เทียบกับคำพูดของไอ้หนุ่มผมยาวนั่น :b9:

ไอ้หนุ่มยาว :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=g7hIbg6x9Bk

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 7.23 KiB | เปิดดู 3637 ครั้ง ]
student เขียน:
สมมุติต้องมาคู่กับความเห็น

เห็นว่าเป็นสมมุติ ก็คือการสร้างทิฎฐิ เป็นสัมมาทิฎฐิได้

เช่นสมมุตินี่เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แต่คำถามก็คือ การเข้าไปเกิดความศรัทธาต่อสิ่งที่สมมุติ อาจจะเกิดทั้งมิจฉาทิฎฐิ หรือ สัมมาทิฎฐิ

อย่างคลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เกิดเป็นเสียง ก็สมมุติว่าเสียงคนพูด เสียงโลหะกระทบกัน เสียงสัตว์ ลมพัด รถวิ่ง ล้วนแต่เป็นสมมุติ บนธรรมที่เป็นความจริงเพราะมีเหตุ ตั้งแต่การประกอบด้วยธาตุ การมีอายตนะที่ทำงาน การมีผัสสะ ก็พิจารณากันไป



คุณ student หลังจากดูคาถาของพระภิกษุณีข้างบนนั่นแล้ว ทีนี้ดูตัวอย่าง "รถ" คำว่า รถ เพราะมีส่วนประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบครบแล้ว เขาก็สมมุติ เรียกกันว่า "รถ" ที่นี่คุณ student ชี้ลงไปสิว่า ส่วนไหน เรียกว่า รถ (ดูรูปด้านบนประกอบการพิจารณาตอบคำถาม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
สมมุติต้องมาคู่กับความเห็น

เห็นว่าเป็นสมมุติ ก็คือการสร้างทิฎฐิ เป็นสัมมาทิฎฐิได้

เช่นสมมุตินี่เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แต่คำถามก็คือ การเข้าไปเกิดความศรัทธาต่อสิ่งที่สมมุติ อาจจะเกิดทั้งมิจฉาทิฎฐิ หรือ สัมมาทิฎฐิ

อย่างคลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เกิดเป็นเสียง ก็สมมุติว่าเสียงคนพูด เสียงโลหะกระทบกัน เสียงสัตว์ ลมพัด รถวิ่ง ล้วนแต่เป็นสมมุติ บนธรรมที่เป็นความจริงเพราะมีเหตุ ตั้งแต่การประกอบด้วยธาตุ การมีอายตนะที่ทำงาน การมีผัสสะ ก็พิจารณากันไป



คุณ student หลังจากดูคาถาของพระภิกษุณีข้างบนนั่นแล้ว ทีนี้ดูตัวอย่าง "รถ" คำว่า รถ เพราะมีส่วนประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบครบแล้ว เขาก็สมมุติ เรียกกันว่า "รถ" ที่นี่คุณ student ชี้ลงไปสิว่า ส่วนไหน เรียกว่า รถ (ดูรูปด้านบนประกอบการพิจารณาตอบคำถาม)


ส่วนที่ปรากฎด้วยความเป็นธาตุรู้ คือจักษุธาตุ (เหตุเพราะกองสังขาร จึงมีดวงตาไว้มอง)จึงมีภาพรถปรากฎ ภาพรถจึงเป็นรถ ธาตุรู้คือจักษุและการกระทบของวิญญาณจึงเป็นรูปขันธ์ (ปราสาทรูป)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
สมมุติต้องมาคู่กับความเห็น

เห็นว่าเป็นสมมุติ ก็คือการสร้างทิฎฐิ เป็นสัมมาทิฎฐิได้

เช่นสมมุตินี่เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แต่คำถามก็คือ การเข้าไปเกิดความศรัทธาต่อสิ่งที่สมมุติ อาจจะเกิดทั้งมิจฉาทิฎฐิ หรือ สัมมาทิฎฐิ

อย่างคลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เกิดเป็นเสียง ก็สมมุติว่าเสียงคนพูด เสียงโลหะกระทบกัน เสียงสัตว์ ลมพัด รถวิ่ง ล้วนแต่เป็นสมมุติ บนธรรมที่เป็นความจริงเพราะมีเหตุ ตั้งแต่การประกอบด้วยธาตุ การมีอายตนะที่ทำงาน การมีผัสสะ ก็พิจารณากันไป



คุณ student หลังจากดูคาถาของพระภิกษุณีข้างบนนั่นแล้ว ทีนี้ดูตัวอย่าง "รถ" คำว่า รถ เพราะมีส่วนประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบครบแล้ว เขาก็สมมุติ เรียกกันว่า "รถ" ที่นี่คุณ student ชี้ลงไปสิว่า ส่วนไหน เรียกว่า รถ (ดูรูปด้านบนประกอบการพิจารณาตอบคำถาม)

กรัชโก๊ะ เที่ยวโร่ไปถาม น่ะ
รูปข้างบน กรัชกายชี้นำไปแล้ว เรียกว่า "รถ"
ชี้มาสิ กรัชกาย ส่วนไหนที่เรียกว่า รถ ถึงได้ไปชี้นำ
กรัชกายมั่นใจรึ ว่า ทุกคนจะเห็นว่าเป็น รถ น่ะ
ดูรูป แล้วพิจารณาก่อนถาม อย่าตั้งธง ที่กรัชกายนึกไว้แล้วถาม

คำว่า "รถ" มีอัขระ ใช้แทนเสียง ประกอบด้วย พยัญชนะ และสระ อีกทั้งตัวสะกด พวกนี้ สมมติทั้งสิ้น

กรัชกายชี้มาสิ ว่า คำว่า "รถ" ส่วนไหนของคำว่า "รถ" เรียกรูปนั้นว่า รถ ที่กรัชกายชี้นำไว้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
สมมุติต้องมาคู่กับความเห็น

เห็นว่าเป็นสมมุติ ก็คือการสร้างทิฎฐิ เป็นสัมมาทิฎฐิได้

เช่นสมมุตินี่เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แต่คำถามก็คือ การเข้าไปเกิดความศรัทธาต่อสิ่งที่สมมุติ อาจจะเกิดทั้งมิจฉาทิฎฐิ หรือ สัมมาทิฎฐิ

อย่างคลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เกิดเป็นเสียง ก็สมมุติว่าเสียงคนพูด เสียงโลหะกระทบกัน เสียงสัตว์ ลมพัด รถวิ่ง ล้วนแต่เป็นสมมุติ บนธรรมที่เป็นความจริงเพราะมีเหตุ ตั้งแต่การประกอบด้วยธาตุ การมีอายตนะที่ทำงาน การมีผัสสะ ก็พิจารณากันไป



คุณ student หลังจากดูคาถาของพระภิกษุณีข้างบนนั่นแล้ว ทีนี้ดูตัวอย่าง "รถ" คำว่า รถ เพราะมีส่วนประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบครบแล้ว เขาก็สมมุติ เรียกกันว่า "รถ" ที่นี่คุณ student ชี้ลงไปสิว่า ส่วนไหน เรียกว่า รถ (ดูรูปด้านบนประกอบการพิจารณาตอบคำถาม)

กรัชโก๊ะ เที่ยวโร่ไปถาม น่ะ
รูปข้างบน กรัชกายชี้นำไปแล้ว เรียกว่า "รถ"
ชี้มาสิ กรัชกาย ส่วนไหนที่เรียกว่า รถ ถึงได้ไปชี้นำ
กรัชกายมั่นใจรึ ว่า ทุกคนจะเห็นว่าเป็น รถ น่ะ
ดูรูป แล้วพิจารณาก่อนถาม อย่าตั้งธง ที่กรัชกายนึกไว้แล้วถาม

คำว่า "รถ" มีอัขระ ใช้แทนเสียง ประกอบด้วย พยัญชนะ และสระ อีกทั้งตัวสะกด พวกนี้ สมมติทั้งสิ้น

กรัชกายชี้มาสิ ว่า คำว่า "รถ" ส่วนไหนของคำว่า "รถ" เรียกรูปนั้นว่า รถ ที่กรัชกายชี้นำไว้



เช่นนั้นไฟธาตุแตก ใกล้อวสานแล้ว :b14: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นไฟธาตุแตก ใกล้อวสานแล้ว :b14: :b9:
wink

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นไฟธาตุแตก ใกล้อวสานแล้ว :b14: :b9:
wink



เอาเรื่องง่ายๆเห็นๆเถอะขอรับเช่นนั้น (พูดเป็นงานเป็นการนะ ทำเป็นเล่นไป) เช่น สวดอิติปิโส-พาหุง -มหากา ทำวัตรเข้า-เย็น ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ปล่อยสัตว์บกสัตว์น้ำ ฯลฯ

เทียบตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าประยุกต์ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็น ทาน ศีล ภาวนา (เมตตาภาวนา) ที่เน้นสำหรับคฤหัตถ์ เพื่อให้ง่ายขึ้น :b1: นะครับ เชื่อกรัชกาย เอ้ยกรัชโก๊ะเถอะนะขอรับ :b1:

เรื่องจิตใจหรือนามธรรมมันยาก ไม่ง่ายหรอก ถ้าง่ายๆ โลกนี้คงเต็มไปด้วยพระขีณาสพแล้ว จริงๆ :b1:

อ้างคำพูด:
กำลังต่อสู้กับใจตัวเอง

มันยากเลยใช่มั้ยคะ กับการที่เราต้องต่อสู้กับใจตัวเอง เข้าเรื่องเลยนะคะ เคยตั้งกระทู้ครั้ง หนึ่งในนี้ว่า มีปัญหาครอบครัว จนอยากปรึกษาจิตแพทย์ เพราะในอดีต สามีเคยนอกใจ จนทำให้ไม่สามารถเชื่อใจได้อีก เราเลยกลายเป็นคนไม่เชื่อใจใครอีกเลย โดยเฉพาะเขา
เรา เข้าใจ ว่า เขาก็เป็นมนุษย์ คนนึง เหมือนคนอื่นๆ ที่ทำให้เรา เจ็บได้ เหมือน เพื่อน พ่อแม่ พี่น้อง ญาติๆ ลูกชาย ที่อาจจะทำให้เราไม่พอใจ หรือแม้ แต่ตัวเราเอง ก็อาจจะเคยทำให้คนที่เรารักต้องทุกข์ใจ ขาดความเชื่อใจไปก็ได้ ตอนนี้ เราเหมือนคนใกล้บ้า จิตใจไม่ปกติ เก็บกด เราร้องไห้บ่อย ไมเกรนที่เคยรักษาหาย กลับมาเป็นและหนักขึ้น ต้องกลับมากินยา กลับมารักษาตัว ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย เพียงเพราะ เราหลงทาง ที่ผู้หญิงคนนึงดักทางไว้ ผู้หญิงใจร้ายคนนึง ที่เราไปทำให้เขา ทำสำเร็จ เราทำร้ายตัวเองแท้ๆ มันทรมานมากที่ต้องต่อสู้กับตัวเอง ยากมากจริงๆ เราเข้ามานั่งอ่านชีวิตของหลายคนในนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้เราได้สู้ต่อ เพื่อเป็นแบบแผน และตัวอย่างในการเดินต่อไป มองหน้าลูก สู้เพื่อเขาคนเดียวเท่านั้น ใช่มั้ย คือ คำตอบที่ดีที่สุด ทำไม ? เราก็รู้คำตอบดีอยู่แล้ว เป็นเพราะเรายังรักตัวเองไม่มากพอใช่มั้ย ถึงได้ปล่อยให้ ความทุกข์ทำร้ายตัวเองอยู่แบบนี้ ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

เอาเรื่องง่ายๆเห็นๆเถอะขอรับเช่นนั้น (พูดเป็นงานเป็นการนะ ทำเป็นเล่นไป) เช่น สวดอิติปิโส-พาหุง -มหากา ทำวัตรเข้า-เย็น ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ปล่อยสัตว์บกสัตว์น้ำ ฯลฯ

เทียบตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าประยุกต์ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็น ทาน ศีล ภาวนา (เมตตาภาวนา) ที่เน้นสำหรับคฤหัตถ์ เพื่อให้ง่ายขึ้น :b1: นะครับ เชื่อกรัชกาย เอ้ยกรัชโก๊ะเถอะนะขอรับ :b1:

เรื่องจิตใจหรือนามธรรมมันยาก ไม่ง่ายหรอก ถ้าง่ายๆ โลกนี้คงเต็มไปด้วยพระขีณาสพแล้ว จริงๆ :b1:


ดีแล้วกรัชกาย

กรัชกายตื่นเช้าๆ ตักบาตร สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ฯลฯ ดังว่า ก่อนนะครับ
แล้วค่อยๆ ศึกษาพระสูตรต่างๆ ให้ดี
อย่าเที่ยวแนะนำอะไร มั่วๆ ให้ผู้ทุกข์ทำเจตนาฟุ้งให้มากขึ้น

รู้ตัวอย่างนี้แล้วก็ดีครับ กรัชโก๊ะ

เรื่องจิตใจหรือนามธรรมมันยาก ต้องศึกษานานๆ จากสิ่งที่ถูกต้อง ค่อยๆ ศึกษาไปนะครับ กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 134 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร