วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อนี้ตัดมาจากหัวข้อใหญ่ คือ สัมมาสติ หรือสติปัฏฐาน หากผู้อ่านมีพื้นฐานทางธรรมปฏิบัติอยู่บ้าง จะแลเห็นการทำงานร่วมกันระหว่างสติกับสัมปชัญญะ (หรือปัญญา) จะแลเห็นวิปัสสนา

ยิ่งกว่านั้น จะเห็นอารมณ์ของสมถะ กับ อารมณ์ของวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานเป็นอาหารของโพชฌงค์



ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหาก เป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อใช้ปัญญาได้เต็มที่ ่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ในภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็งและรวมถึงสัมปชัญญะที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน


ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณะอาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัย ในโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น

ถึงตรงนี้ เห็นควรทบทวนหลักซึ่งได้แสดงไว้ตั้งแต่เริ่มมัชฌิมาปฏิปทา ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็หล่อเลี้ยงวิชชาและวิมุตติ โดยยกพุทธพจน์มาย้ำ ดังนี้


"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ พึงกล่าวว่า คือ โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ พึงกล่าวว่า คือ สติปัฏฐาน ๔ ...


"สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้"


ตามพุทธพจน์นี้ ชัดว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ส่งผลแก่วิชชาวิมุตติ เท่ากับเป็นตัวที่ให้สำเร็จมรรคผล ส่วนสติปัฏฐานก็ช่วยโดยหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ นั้น


พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่าสัมปชัญญะก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ได้ดูเห็นสิ่งนั้น


พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่าสัมปชัญญะก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ไดดูเห็นสิ่งนั้น

ส่วนโพชฌงค์ ก็คือ บนพื้นของสติปัฏฐานนี่แหละ คราวนี้สติจับเรื่องส่งให้ปัญญา ที่ชื่อว่าธรรมวิจัย แล้วคราวนี้ปัญญาเป็นเจ้าบทบาทรับเรื่องไปวิจัย เหมือนตาได้ดูต่อเนื่องไปทั่วตลอด ตอนนี้ก็เป็นกระบวนธรรมของปัญญา ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งแปลว่า "องค์แห่งการตรัสรู้"


สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่มีสติ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ธรรมได้ดีที่สุด แต่คนที่จะประหารกิเลสได้คือคนที่ถึงพร้อมด้วยมรรค

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
คนที่มีสติ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ธรรมได้ดีที่สุด แต่คนที่จะประหารกิเลสได้คือคนที่ถึงพร้อมด้วยมรรค

คนที่มีสติเป็นคนที่เรียนรู้ธรรมได้ดีและเร็ว และเป็นคนที่จะประหารกิเลศเข้าถึง มรรค ผล ได้เร็ว เพราะคนที่มีสติถึงจะเป็นผุ้มีปัญญา เคยได้ยินคำนี้มั้ยค่ะสติมาปัญญาเกิด แล้วถ้ามีปัญญาควบคู่กับสติก็ต้องเป็นไปโดนใช้สติคอลโทรลปัญญา หรือพูดง่ายๆ สตินำปัญญาตาม
สติ หมายถึง ความพินิจไตร่ตรอง ความนึกขึ้นได้ไม่หลงลืม สตินี้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในการดำเนินชีวิต คนเราต้องมีสติอยู่เสมอ คนที่เผลอสติหรือขาดสติ จะทำอะไรพูดอะไรก็มักจะผิดพลาดเผลอไผล ลืมโน่นลืมนี่ เมื่อขาดสติ ก็ทำให้เสียหายร่ำไป ต้องมาเสียเวลาแก้ตัว หรือแก้ปัญหาภายหลัง ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น การมีสติ เท่ากับ มีเครื่องป้องกัน ความผิดพลาด และความเสียหายไว้ชั้นต้น

สตินั้น จะต้องนำปัญญา คือ ความรู้ความสามารถ ปัญญาจะต้องมีสติคอยควบคุมอีกชั้นหนึ่ง สติต้องเป็นตัวนำ ปัญญา เป็นตัวตาม คนที่มีปัญญาฉลาดรอบรู้สารพัดแต่ขาดสติ ก็มักจะทำอะไรผลีผลาม ไม่ทันคิด หรือไม่ได้คิด ดันทุรังไปข้างหน้า เรื่อยไป พอเกิดเหตุผิดพลาดหรือเสียหายขึ้นมา ก็มักจะบ่นเสียใจภายหลังว่ารู้อย่างนี้ไม่ทำเสียดีกว่า อะไรทำนองนี้ ประเภทนี้เรียกว่า มีปัญญานำ สติตาม ถ้ามีสตินำ ปัญญาตาม ทุกอย่างก็จะไม่เกิดความยุ่งยากเสียหาย จะสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า สติ กับ ปัญญา เป็นสิ่งที่มีอุปการะมาก ในการทำงานทุกอย่าง และจะต้องให้มีคู่กันไป มีสติแต่ขาดปัญญา หรือ มีปัญญาแต่ขาดสติ ก็เอาดีได้ยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
คนที่มีสติ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ธรรมได้ดีที่สุด แต่คนที่จะประหารกิเลสได้คือคนที่ถึงพร้อมด้วยมรรค



คือ เราพูดกันมามากพอสมควรแล้ว ต่อไปมาว่าถึงวิธีทำหรือปฏิบัติกันบ้าง ตามสะเตบ นี้ (ปริยัติ => ปฏิบัติ => ปฏิเวธ) student มีวิธีทำยังไงเพื่อให้มีสติครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


จะสร้าง..สติ..หรือกรัชกาย.. :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
จะสร้าง..สติ..หรือกรัชกาย.. :b9: :b9:



จะใช้ สร้าง เจริญ พัฒนา ภาวนา หรืออะไรก็ได้เลือกเอา ให้สติมันมีมันเป็นขึ้นมา กบล่ะทำยังไง :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
คนที่มีสติ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ธรรมได้ดีที่สุด แต่คนที่จะประหารกิเลสได้คือคนที่ถึงพร้อมด้วยมรรค



คือ เราพูดกันมามากพอสมควรแล้ว ต่อไปมาว่าถึงวิธีทำหรือปฏิบัติกันบ้าง ตามสะเตบ นี้ (ปริยัติ => ปฏิบัติ => ปฏิเวธ) student มีวิธีทำยังไงเพื่อให้มีสติครับ :b1:

รับรู้ธรรมเฉพาะหน้าครับ เป็นผู้ที่ทำกายให้พร้อมอยู่ (ไม่ง่วงนอน ไม่เมามาย เป็นต้น)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 22:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
จะสร้าง..สติ..หรือกรัชกาย.. :b9: :b9:


จะใช้ สร้าง เจริญ พัฒนา ภาวนา หรืออะไรก็ได้เลือกเอา ให้สติมันมีมันเป็นขึ้นมา กบล่ะทำยังไง :b14:


มันมี...ของมันอยู่แล้ว...สติ..นะ
แต่...มันชอบไประลึก..ในอะไร..นี้ซิ...แล้วอะไร...ทำให้มันชอบระลึกของอย่างนั้น....นี้ซิ

อิอิ..ว่ามัยกรัชกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
student เขียน:
คนที่มีสติ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ธรรมได้ดีที่สุด แต่คนที่จะประหารกิเลสได้คือคนที่ถึงพร้อมด้วยมรรค

คนที่มีสติเป็นคนที่เรียนรู้ธรรมได้ดีและเร็ว และเป็นคนที่จะประหารกิเลศเข้าถึง มรรค ผล ได้เร็ว เพราะคนที่มีสติถึงจะเป็นผุ้มีปัญญา เคยได้ยินคำนี้มั้ยค่ะสติมาปัญญาเกิด แล้วถ้ามีปัญญาควบคู่กับสติก็ต้องเป็นไปโดนใช้สติคอลโทรลปัญญา หรือพูดง่ายๆ สตินำปัญญาตาม
สติ หมายถึง ความพินิจไตร่ตรอง ความนึกขึ้นได้ไม่หลงลืม สตินี้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในการดำเนินชีวิต คนเราต้องมีสติอยู่เสมอ คนที่เผลอสติหรือขาดสติ จะทำอะไรพูดอะไรก็มักจะผิดพลาดเผลอไผล ลืมโน่นลืมนี่ เมื่อขาดสติ ก็ทำให้เสียหายร่ำไป ต้องมาเสียเวลาแก้ตัว หรือแก้ปัญหาภายหลัง ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น การมีสติ เท่ากับ มีเครื่องป้องกัน ความผิดพลาด และความเสียหายไว้ชั้นต้น

สตินั้น จะต้องนำปัญญา คือ ความรู้ความสามารถ ปัญญาจะต้องมีสติคอยควบคุมอีกชั้นหนึ่ง สติต้องเป็นตัวนำ ปัญญา เป็นตัวตาม คนที่มีปัญญาฉลาดรอบรู้สารพัดแต่ขาดสติ ก็มักจะทำอะไรผลีผลาม ไม่ทันคิด หรือไม่ได้คิด ดันทุรังไปข้างหน้า เรื่อยไป พอเกิดเหตุผิดพลาดหรือเสียหายขึ้นมา ก็มักจะบ่นเสียใจภายหลังว่ารู้อย่างนี้ไม่ทำเสียดีกว่า อะไรทำนองนี้ ประเภทนี้เรียกว่า มีปัญญานำ สติตาม ถ้ามีสตินำ ปัญญาตาม ทุกอย่างก็จะไม่เกิดความยุ่งยากเสียหาย จะสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า สติ กับ ปัญญา เป็นสิ่งที่มีอุปการะมาก ในการทำงานทุกอย่าง และจะต้องให้มีคู่กันไป มีสติแต่ขาดปัญญา หรือ มีปัญญาแต่ขาดสติ ก็เอาดีได้ยาก


สติมาปัญญาเกิดก็จริงครับ แต่ปัญญาก็เกิดจากการพิจารณาน้อมลง เช่น นักกีฬายิงธนู ต้องมีทั้งสติ และสมาธิ เขาย่อมกะองศาการยิงเพราะเป้าข้างหน้า กะเวลาในการใช้กำลังดึง แต่หากไม่พิจารณาก็จะไม่เห็นถึงทุกข์เวทนาจากการดึง ไม่เห็นการแปรสภาพจากการมอง เพราะเกิดความเคยชินกับสิ่งที่ประสบอยู่แล้ว

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 03:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
จะสร้าง..สติ..หรือกรัชกาย.. :b9: :b9:


จะใช้ สร้าง เจริญ พัฒนา ภาวนา หรืออะไรก็ได้เลือกเอา ให้สติมันมีมันเป็นขึ้นมา กบล่ะทำยังไง :b14:


มันมี...ของมันอยู่แล้ว...สติ..นะ
แต่...มันชอบไประลึก..ในอะไร..นี้ซิ...แล้วอะไร...ทำให้มันชอบระลึกของอย่างนั้น....นี้ซิ

อิอิ..ว่ามัยกรัชกาย


ok มีอยู่แล้วก็ดี งั้นกบบอกสิเราจะทำยังไง ให้มันระลึกตามที่ตนเองต้องการ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สติปัฏฐานเป็นอาหารของโพชฌงค์



ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหาก เป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อใช้ปัญญาได้เต็มที่ ่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ในภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็งและรวมถึงสัมปชัญญะที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน


ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณะอาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัย ในโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น

ถึงตรงนี้ เห็นควรทบทวนหลักซึ่งได้แสดงไว้ตั้งแต่เริ่มมัชฌิมาปฏิปทา ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็หล่อเลี้ยงวิชชาและวิมุตติ โดยยกพุทธพจน์มาย้ำ ดังนี้


"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ พึงกล่าวว่า คือ โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ พึงกล่าวว่า คือ สติปัฏฐาน ๔ ...


"สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้"


ตามพุทธพจน์นี้ ชัดว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ส่งผลแก่วิชชาวิมุตติ เท่ากับเป็นตัวที่ให้สำเร็จมรรคผล ส่วนสติปัฏฐานก็ช่วยโดยหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ นั้น


พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่าสัมปชัญญะก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ได้ดูเห็นสิ่งนั้น


พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่าสัมปชัญญะก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ไดดูเห็นสิ่งนั้น

ส่วนโพชฌงค์ ก็คือ บนพื้นของสติปัฏฐานนี่แหละ คราวนี้สติจับเรื่องส่งให้ปัญญา ที่ชื่อว่าธรรมวิจัย แล้วคราวนี้ปัญญาเป็นเจ้าบทบาทรับเรื่องไปวิจัย เหมือนตาได้ดูต่อเนื่องไปทั่วตลอด ตอนนี้ก็เป็นกระบวนธรรมของปัญญา ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งแปลว่า "องค์แห่งการตรัสรู้"


สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา


:b8: อนุโมทนาค่ะ
สติปัฏฐาน เมื่อเจริญมากย่อมมีกำลังที่จะพัฒนาไปเป็นสติและธรรมวิจัยในโพชฌงค์ 7 ซึ่งมีทั้งสติ สมาธิ และปัญญา

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron