วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากหัวข้อนี้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=43806

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงหรือที่ว่า ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องไม่มีความอยาก


ข้อสังเกตที่ควรมาทำความเข้าใจกันเรื่องต่อไป คือ หลายคนมีความรู้สึกว่า ถ้ามาปฏิบัติธรรม

หรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลแล้ว ก็จะไม่อยากได้อยากดีอะไร เป็นคนไม่มีความอยาก ถ้าจะไปเป็น

เป็นชาวพุทธมีชื่อว่า เป็นนักปฏิบัติก็ให้รู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดถึงคำว่า “อยาก” แล้วก็จะพยายาม

หลีกเลี่ยงอาการของความอยาก และพยายามแสดงตัวให้คนอื่นรู้สึกว่า ตัวเรานี้ไม่มีความอยาก อันนี้

ก็เป็นเรื่องอันตรายอย่างหนึ่ง ทำกันจนกระทั่งชักจะให้เกิดความรู้สึกหรือมีภาพพจน์ของผู้ปฏิบัติ หรือ

แม้แต่ชาวพุทธทั่วไปว่าเป็นคนที่ไม่มีความอยาก


ทีนี้ ความอยากนั้นเป็นคำที่ยังน่าสงสัยอยู่ ยังจะต้องทำความเข้าใจ เหตุที่เราไปจำกัดๆ ถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องกำจัดความอยาก ต้องเลิก ไม่ให้มีความอยาก ก็เพราะเข้าใจความอยากนั้นว่าเป็นตัณหา เป็นอกุศลธรรม แล้วเราก็เข้าใจความอยากนี้มีประเภทเดียว คือตัณหาเท่านั้น


พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ตัณหาคือความอยากเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ จะต้องตัดต้องละต้องเลิกให้หมด เราก็เลยต้องพยายามไม่อยาก พยายามละเลิกความอยาก ต้องพยายามเป็นคนที่ไม่มีความอยาก แสดงตัวว่าเป็นคนปราศจากความอยาก อะไรทำนองนี้

จึงจะต้องมาทำความเข้าใจกันว่า ความอยากนั้นมี ๒ อย่าง มีทั้งความอยากที่ถูกต้อง และความอยากที่ไม่ถูกต้องอย่ารังเกียจความอยากกราดไปหมด ต้องระวังมาก ถ้าไม่มีความอยาก บางทีความไม่อยากหรือการไม่มีความอยากนั่นแหละ อาจจะเป็นตัวกิเลส และเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติก็ได้ ความอยากมี ๒ แบบ คืออะไร

ความอยาก นั้น ในภาษาพระ ใช้คำกลางๆว่า ฉันทะ ฉันทะ แปลว่า ความอยาก เรากลับไปเริ่มต้นความอยากที่ฉันทะไม่เริ่มต้นที่ตัณหา

ความอยาก เรียกว่า ฉันทะ หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า ฉันทะ ทีนี้ ฉันทะที่แปลว่าความอยากนั้นมี ๒ แบบ

ฉันทะ ประเภทที่ ๑ เรียกว่า ตัณหาฉันทะ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากแบบตัณหา ความอยากแบบตัณหา คือความอยากได้สิ่งปรนเปรอตน ปรนเปรอตา ปรนเปรอหู ปรนเปรอจมูก ปรนเปรอลิ้น ปรนเปรอกาย ปรนเปรอใจ คือ ได้สิ่งที่ทำให้เกิด ความสุขสบายทางประสาทสัมผัส

ความอยากประเภทนี้ มันมีตามธรรมดาของมันเอง โดยที่มนุษย์ไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย พอมนุษย์เกิดมา ก็ต้องมีความปรารถนา ความอยากจะได้สิ่งเสพมาบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยไม่ต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นคุณแก่ชีวิตหรือไม่


ในเมื่อความอยากแบบนี้เป็นไปโดยไม่ต้องมีความรู้จึงเรียกว่า เป็นความอยากที่เกิดจากอวิชชา ฉะนั้น ความอยากที่เรียกว่าตัณหานี้จึงสัมพันธ์กับอวิชชา ไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย เป็นไปตามความรู้สึกเท่านั้น พอรู้สึกถูกตา ถูกหู ถูกลิ้น ก็อยากทันที แต่ถ้าไม่ถูกตา ไม่ถูกหู ไม่ถูกลิ้น ก็ไม่อยากไม่ชอบใจทันที อยากได้แต่สิ่งที่บำรุงบำเรอปรนเปรอตนเอง เอาแค่สุขตา สุขหู สุขลิ้น

พออยากขึ้นมาแบบนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะเกิดคุณค่าแก่ชีวิตหรือไม่ สิ่งที่บำรุงบำเรอตนเองนั้น อาจจะทำให้เกิดโทษเกิดภัยแก่ชีวิตก็ได้ หรือโดยบังเอิญอาจจะเกิดประโยชน์ก็ได้ พูดอย่างภาษาสมัยปัจจุบันก็ว่าอาจจะทำให้เกิดคุณภาพชีวิต หรืออาจจะทำลายคุณภาพชีวิตก็ได้ เป็นเรื่องสุ่มๆเสี่ยงๆ เพราะไม่เป็นไปด้วยความรู้ แต่เอาแค่ความรู้สึกเท่านั้น จึงมักจะทำลายคุณภาพชีวิตเสียมากกว่า

เหมือนตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกมาพูดบ่อยๆ เช่นอยากในรสอาหาร ใครๆพอเกิดมาไม่ต้องเรียนรู้อะไร ก็มีความรู้สึกว่าอร่อย และไม่อร่อย แล้วก็อยากในสิ่งที่อร่อย เมื่ออยากในสิ่งที่อร่อย ถ้าไม่มีความรู้เลย ก็มุ่งแต่อร่อยอย่างเดียว ทำไปตามความอยาก กินจนกระทั่งเกิดขนาด อาจจะกินสิ่งที่เป็นพิษ เป็นอันตรายทำลายคุณภาพชีวิต นี้คือความอยากด้วยตัณหา


แต่ถ้ามีความรู้ขึ้นมา ก็จะมีความอยากอีกประเภทหนึ่งเกิดขึ้น เป็นความอยากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ซึ่งต้องเกิดจากความรู้หรือต้องมีความรู้ความเข้าใจจึงจะเกิดขึ้นได้ คือมีความรู้ว่าสิ่งนี้จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตเป็นประโยชน์แก่ชีวิตหรือไม่ ความอยากอย่างนี้เป็นความอยาก หรือฉันทะประเภทที่ ๒ เรียกชื่อว่า กุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ แปลว่า ความอยากที่เป็นกุศล หรือ ความอยากในธรรม ตอนนี้เราก็ได้ความอยากครบ ๒ แบบ

ความอยากประเภทที่ ๒ เป็นความอยากในสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้เกิดคุณภาพชีวิต สัมพันธ์ กับ ความรู้ โดยจะต้องมีการทำลาย หรือลดอวิชชา และต้องมีวิชชาเกิดขึ้นบ้าง พอเริ่มมีวิชชา มีความรู้ เราก็เริ่มรู้จักแยกว่าอะไรจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต แล้วก็จะมีความอยากประเภทที่ ๒ คือ อยากในสิ่งที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิต หรืออยากทำให้เกิดคุณภาพชีวิต

ความอยากประเภทที่ ๒ คือกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะนี้ เมื่อจะเรียกสั้นๆ ท่านเรียกแค่ว่า ฉันทะ ระวังจะสับสนตรงนี้

ความอยากประเภทที่ ๑ ที่เรียกว่า ตัณหาฉันทะ เวลาเรียกสั้นๆก็เหลือแค่ ตัณหา

เพราะฉะนั้นคำว่า ตัณหาและคำว่า ฉันทะ ก็เลยกลายเป็นความอยากคนละประเภทไปเลย แต่ที่จริงนั้น ถ้าเรียกให้เต็ม ตัณหาก็เป็นตัณหาฉันทะ และฉันทะที่เป็นความอยากฝ่ายดี ก็เป็นกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ชื่อเต็มเป็นอย่างนั้น

รวมความตอนนี้ เพื่อให้จำง่ายๆ ก็แยกเป็นความอยาก ๒ อย่าง คือ ตัณหา อย่างหนึ่ง ฉันทะ อย่างหนึ่ง

ตัณหา คือความอยากโดยไม่มีความรู้ เพียงแต่จะสนองความรู้สึกเสพสม บำรุงบำเรอปรนเปรอประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของตนเอง

ส่วนฉันทะ หรือความอยากประเภทที่ ๒ คือความอยากในคุณภาพชีวิต ในสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ เริ่มตั้งแต่รู้จักแยกว่าอะไรเป็นโทษแก่ชีวิตอย่างแท้จริง

นี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกพออ่านเข้าใจแยกออกไหมขอรับ ถ้าอยากทำให้มันดีแล้วล่ะก็ อยากเถอะครับ :b15: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านอโศกพออ่านเข้าใจแยกออกไหมขอรับ ถ้าอยากทำให้มันดีแล้วล่ะก็ อยากเถอะครับ :b15: :b32:

:b12: :b12:
กรัชกายเคยได้ยินภาษิตว่า "เกลือจิ้มเกลือ"......"อัฐยาย ซื้อขนมยาย"......เนื้อเต่า ยำเต่า" บ้างไหม

ธรรมะนี่ มีความหมายไปถึง ความสมดุลย์ ความพอดี ความเหมาะเจาะ ก็ได้นะ

ตอนที่คิดจะปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ เป็นความคิดขณะที่ยังเป็นปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส มันก็เลยต้องใช้ตัณหาหรือความอยากแบบปุถุชนธรรมดานำไปก่อน เอาตัณหานั่นแหละนำไปสู่ความหมดตัณหา

จะข้ามน้ำ ก็ต้องพายเรือไปบนน้ำนั่นแหละ ถ้ายังเหาะ บินข้ามน้ำไปไม่ได้

หลังจากฝึกหัดปฏิบัติธรรมจริงๆไปพอสมควร สติปัญญาเริ่มมีความคมกล้า ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ตอนนั้น กิเลสอนุสัย ตัณหา อัตตาก็เริ่มเบาบางลง จิตใจก็ขาวสะอาดมากขึ้น ปัญญาเขาจะรู้จักเลือกวิธีที่จะใช้ในการปฏิบัติธรรมที่ดีและสะอาดยิ่งขึ้น คือ ใช้อิทธิบาทธรรม ทั้ง 4 มีตัณหาปุถุชนเจือนิดๆพอเป็นกระสาย นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นความพอดีที่ธรรมชาติเขาจะจัดสรรให้เมื่อทำไปได้ที่และถึงเวลา

ถึงตอนท้ายเมื่อนั่งแท่นทางธรรมแล้ว กำจัดสมุทัยเหตุใหญ่แห่งตัณหาตัวแรกได้แล้ว คือวิจิกิจฉาหรืออัตตทิฏฐิ

งานที่จะปฏิบัติธรรมต่อจากนั้นไปย่อมจะไม่ใช่แรงตัณหา แต่จะเป็นแรงแห่งเหตุผล สติปัญญา ความสำนึกในหน้าที่ เป็นตัวทำงาน นี่สูงกว่าอยากของปุถุชนคนธรรมดาที่หนาด้วยกิเลส ครับ

เขาเป็นเองไปตามลำดับนะครับไม่ต้องร้อนใจ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านอโศกพออ่านเข้าใจแยกออกไหมขอรับ ถ้าอยากทำให้มันดีแล้วล่ะก็ อยากเถอะครับ :b15: :b32:

:b12: :b12:
กรัชกายเคยได้ยินภาษิตว่า "เกลือจิ้มเกลือ"......"อัฐยาย ซื้อขนมยาย"......เนื้อเต่า ยำเต่า" บ้างไหม

ธรรมะนี่ มีความหมายไปถึง ความสมดุลย์ ความพอดี ความเหมาะเจาะ ก็ได้นะ

ตอนที่คิดจะปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ เป็นความคิดขณะที่ยังเป็นปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส มันก็เลยต้องใช้ตัณหาหรือความอยากแบบปุถุชนธรรมดานำไปก่อน เอาตัณหานั่นแหละนำไปสู่ความหมดตัณหา

จะข้ามน้ำ ก็ต้องพายเรือไปบนน้ำนั่นแหละ ถ้ายังเหาะ บินข้ามน้ำไปไม่ได้

หลังจากฝึกหัดปฏิบัติธรรมจริงๆไปพอสมควร สติปัญญาเริ่มมีความคมกล้า ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ตอนนั้น กิเลสอนุสัย ตัณหา อัตตาก็เริ่มเบาบางลง จิตใจก็ขาวสะอาดมากขึ้น ปัญญาเขาจะรู้จักเลือกวิธีที่จะใช้ในการปฏิบัติธรรมที่ดีและสะอาดยิ่งขึ้น คือ ใช้อิทธิบาทธรรม ทั้ง 4 มีตัณหาปุถุชนเจือนิดๆพอเป็นกระสาย นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นความพอดีที่ธรรมชาติเขาจะจัดสรรให้เมื่อทำไปได้ที่และถึงเวลา

ถึงตอนท้ายเมื่อนั่งแท่นทางธรรมแล้ว กำจัดสมุทัยเหตุใหญ่แห่งตัณหาตัวแรกได้แล้ว คือวิจิกิจฉาหรืออัตตทิฏฐิ

งานที่จะปฏิบัติธรรมต่อจากนั้นไปย่อมจะไม่ใช่แรงตัณหา แต่จะเป็นแรงแห่งเหตุผล สติปัญญา ความสำนึกในหน้าที่ เป็นตัวทำงาน นี่สูงกว่าอยากของปุถุชนคนธรรมดาที่หนาด้วยกิเลส ครับ

เขาเป็นเองไปตามลำดับนะครับไม่ต้องร้อนใจ



ยกศัพท์ทางธรรมนั่นนี่มาแล้วพร่ำไปตามมโนตนเอง ไม่เห็นมีอะไรเลยนิ

อ้างคำพูด:
กรัชกายเคยได้ยินภาษิตว่า"เกลือจิ้มเกลือ"......"อัฐยาย ซื้อขนมยาย"......เนื้อเต่า ยำเต่า" บ้างไหม


ระยะนี้อโศกนำสุภาษิตชาวบ้านพูดบ่อยจัง เดี๋ยวก็ "เสือติดปีก" คนติดดาว นี่เอาอีกแระ เกลือจิ้มเกลือ ฯลฯ แล้วก็ถามว่าเคยได้ยินไหม พอได้ยินขอรับ คิกๆ แต่่ยังไม่เคยเห็นใครเอาเกลือมาจิ้มเกลือ เคยเห็นเขาเอามะขามเปียกจิ้มเกลือ อย่างนี้อโศกเคยเห็นแบบเนี่ย :b9: ปู้โธ่ :b13:

อโศกเคยเห็นนี่ไหม คิกๆๆ

http://www.youtube.com/watch?v=oxhFTaLfnNc

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34:
เอาตัณหา ไปถอนตัณหา นั่นแหละ เหมือนอุปมาว่า "เกลือจิ้มเกลือ" อัฐยายซื้อขนมยาย"

เข้าใจ๋บ่........นักวิชาการใหญ่
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b34:
เอาตัณหา ไปถอนตัณหา นั่นแหละ เหมือนอุปมาว่า "เกลือจิ้มเกลือ" อัฐยายซื้อขนมยาย"

เข้าใจ๋บ่........นักวิชาการใหญ่


วิธีทำ ทำยังไง :b10: ขอรับ นักปฏิบัติใหญ่ คิกๆๆ

ดูนะ อโศกจะเหมือนๆนักชิม ดื่มๆซดๆว่านั่นอร่อยลิ้น นี่ไม่อร่อย แต่พอให้ทำกินเอง หงายท้องเลย แล้วลุกขึ้นมาถามกลับว่า ใช้อะไรใส่อะไรบ้างล่ะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 16:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b34:
เอาตัณหา ไปถอนตัณหา นั่นแหละ เหมือนอุปมาว่า "เกลือจิ้มเกลือ" อัฐยายซื้อขนมยาย"

เข้าใจ๋บ่........นักวิชาการใหญ่


วิธีทำ ทำยังไง :b10: ขอรับ นักปฏิบัติใหญ่ คิกๆๆ

ดูนะ อโศกจะเหมือนๆนักชิม ดื่มๆซดๆว่านั่นอร่อยลิ้น นี่ไม่อร่อย แต่พอให้ทำกินเอง หงายท้องเลย แล้วลุกขึ้นมาถามกลับว่า ใช้อะไรใส่อะไรบ้างล่ะ :b32:

:b12: :b12: :b12:
ถามแบบไม่คิดพิจารณาให้ดีเหมือนเด็กปัญญาอ่อนอีกแล้ว นักวิชาการใหญ่กรัชกาย ภาษิตไทยง่ายๆอย่างนี้ยังตีความไม่ออก บอกใครไม่เป็น แล้วมันจะไปรอดรื้อ
:b7: :b7:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b34:
เอาตัณหา ไปถอนตัณหา นั่นแหละ เหมือนอุปมาว่า "เกลือจิ้มเกลือ" อัฐยายซื้อขนมยาย"

เข้าใจ๋บ่........นักวิชาการใหญ่


วิธีทำ ทำยังไง :b10: ขอรับ นักปฏิบัติใหญ่ คิกๆๆ

ดูนะ อโศกจะเหมือนๆนักชิม ดื่มๆซดๆว่านั่นอร่อยลิ้น นี่ไม่อร่อย แต่พอให้ทำกินเอง หงายท้องเลย แล้วลุกขึ้นมาถามกลับว่า ใช้อะไรใส่อะไรบ้างล่ะ :b32:

:b12: :b12: :b12:
ถามแบบไม่คิดพิจารณาให้ดีเหมือนเด็กปัญญาอ่อนอีกแล้ว นักวิชาการใหญ่กรัชกาย ภาษิตไทยง่ายๆอย่างนี้ยังตีความไม่ออก บอกใครไม่เป็น แล้วมันจะไปรอดรื้อ


แทนที่จะตอบคำถาม กลับประชดประชันฝันใฝ่ :b1: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
สอนให้ย้อนคิด หาคำตอบให้ได้ด้วยตัวเอง ยังไม่รู้ตัวเองอีก

่คิดเองไม่เป็นแล้วหรือหรือ กรัชกาย เสียชื่อนักวิชาการใหญ่นะ

grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
สอนให้ย้อนคิด หาคำตอบให้ได้ด้วยตัวเอง ยังไม่รู้ตัวเองอีก

่คิดเองไม่เป็นแล้วหรือหรือ กรัชกาย เสียชื่อนักวิชาการใหญ่นะ

grin


ท่านอโศกขอรับ ขอแบบตรงๆชัดๆ แบบไม่ต้องตีความเถอะครับ นี่อะไรไปยกสุภาษิตคำคม เสือติดปีกบ้าง อัฐยายขนมยายบ้าง ธรรมติดปีก เป็นต้นบ้าง แล้วให้เราคิดหาคำตอบ นี่หรือวิธีไปนิพพานของอโศก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อหัวข้อวิธีปฏิบัติต่อความอยากที่ viewtopic.php?f=1&t=47742

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
สอนให้ย้อนคิด หาคำตอบให้ได้ด้วยตัวเอง ยังไม่รู้ตัวเองอีก

่คิดเองไม่เป็นแล้วหรือหรือ กรัชกาย เสียชื่อนักวิชาการใหญ่นะ

grin


ท่านอโศกขอรับ ขอแบบตรงๆชัดๆ แบบไม่ต้องตีความเถอะครับ นี่อะไรไปยกสุภาษิตคำคม เสือติดปีกบ้าง อัฐยายขนมยายบ้าง ธรรมติดปีก เป็นต้นบ้าง แล้วให้เราคิดหาคำตอบ นี่หรือวิธีไปนิพพานของอโศก :b1:

:b12: :b12:
การคิดช่วยตัวเอง การคิดยืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง การคิดค้นและเพียรพยายามแกไขปัญหาต่างๆให้ได้ด้วยตนเอง "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ" เป็นพื้นฐาน บาทฐานที่สำคัญในการจะเดินทางเข้าสู่นิพพาน ถ้าจะมัวเอาแต่การยืมจมูกผู้อื่นมาหายใจนั้นใช่ที่

นี่หละบทเรียนเบื้องต้นของการเดินทางไปสู่นิพพาน


ส่วนเส้นทางเดิน วิธีเดินไปนิพพานนั้น ได้บอกแก่น บอกหลัก บอกหัวใจ รวมถึงวิธีจำง่ายๆใหแล้ว ในเรื่องโพธิปักขิยธรรม ทำไมไม่ไปใส่ใจจำให้ได้ ขยายความให้เป็นและนำไปสู่การปฏิบัติให้จริงจังล่ะ

นิดก็ถามหน่อยก็ถามก็ทวง นั่นไม่ใช่วิสัยของนักปราชญ์ บัณฑิต ที่จะมีชีวิตพ้นอบายได้ทันในปัจจุบันชาติ
พึงรีบปรับปรุงเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความเห็นและทัศนคติให้ถูกต้องเสียนะ กรัชกาย

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
สอนให้ย้อนคิด หาคำตอบให้ได้ด้วยตัวเอง ยังไม่รู้ตัวเองอีก

่คิดเองไม่เป็นแล้วหรือหรือ กรัชกาย เสียชื่อนักวิชาการใหญ่นะ

grin


ท่านอโศกขอรับ ขอแบบตรงๆชัดๆ แบบไม่ต้องตีความเถอะครับ นี่อะไรไปยกสุภาษิตคำคม เสือติดปีกบ้าง อัฐยายขนมยายบ้าง ธรรมติดปีก เป็นต้นบ้าง แล้วให้เราคิดหาคำตอบ นี่หรือวิธีไปนิพพานของอโศก :b1:

:b12: :b12:
[b]การคิดช่วยตัวเอง การคิดยืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง การคิดค้นและเพียรพยายามแกไขปัญหาต่างๆให้ได้ด้วยตนเอง "อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ" เป็นพื้นฐาน บาทฐานที่สำคัญในการจะเดินทางเข้าสู่นิพพาน ถ้าจะมัวเอาแต่การยืมจมูกผู้อื่นมาหายใจนั้นใช่ที่

นี่หละบทเรียนเบื้องต้นของการเดินทางไปสู่นิพพาน


ส่วนเส้นทางเดิน วิธีเดินไปนิพพานนั้น ได้บอกแก่น บอกหลัก บอกหัวใจ รวมถึงวิธีจำง่ายๆใหแล้ว ในเรื่องโพธิปักขิยธรรม ทำไมไม่ไปใส่ใจจำให้ได้ ขยายความให้เป็นและนำไปสู่การปฏิบัติให้จริงจังล่ะ

นิดก็ถามหน่อยก็ถามก็ทวง นั่นไม่ใช่วิสัยของนักปราชญ์ บัณฑิต ที่จะมีชีวิตพ้นอบายได้ทันในปัจจุบันชาติ
พึงรีบปรับปรุงเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความเห็นและทัศนคติให้ถูกต้องเสียนะ กรัชกาย



โพธิปักขิยธรรม ที่ว่าธรรมติดปีก บินไปสู่นิพพานนะหรือขอรับ ok ประเด็นนี้จบ ถ้าไม่จบเดียวก็ติดปีกรถอีก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร