วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2015, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้มาเข้าเรื่องที่ว่ากินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่บาป. มีมากที่เข้าใจผิดว่าการกินเนื้อสัตว์บาป. การไม่กินเนื้อสัตว์จะได้บุญ. อันนี้เป็นความเห็นไม่ถูกต้อง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2015, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. อติตติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม
{๕๔๘}[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ
ย่อมไม่มีความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความอิ่มในการนอนหลับ
๒. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มคือสุราและเมรัย
๓. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการนี้แลย่อมไม่มี




เวร ๕
[๑๑๙๗] อุ. เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี เวรนี้มี ๕ เวร ๕ อะไรบ้าง? คือ:
๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม
๔. พูดเท็จ
๕. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
ดูกรอุบาลี เวร ๕ นี้แล.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๘
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
หน้าที่ ๔๔๓/๕๑๗



------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 7
ตั้งแต่เกิดมา21ปีเหล้าหรือสุรานั้นไม่เคยลงคอผมแม้แต่หยดเดียว และก็ไม่มีใครมาบังคับหรืออ้อนวอนให้ผมดื่มมันได้

มันเป็นสิ่งที่ผมยินดีและชื่นชมมากในตัวผม ผมภูมิใจเป็นอย่างมาก

และผมตั้งใจว่าไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหนๆ ผมก็จะไม่ขอดื่มมันเป็นอันเด็ดขาด ผมไม่ได้ฝืนและไม่ได้จำใจที่จะไม่ดื่มด้วย

ดูเหมือนว่าผมจะเป็นคนไม่เข้าสังคมเหรอ? เปล่าเลย ผมเข้าได้ทุกสังคม ผมเคยเที่ยวผับ2ครั้งร้านเหล้า2ครั้ง
ทุกครั้งผมจะกินแต่น้ำอัดลมเท่านั้น!! ซึ่งก็มีเพื่อนยุให้ ลองหน่อยๆเอาน่าๆเอาหน่อยๆ แต่ผมอยากบอกว่าไม่มีใครจะทำให้ผมดื่มมันได้เลย
ซึ่งไม่ว่าจะร้อยพันหื่นแสนหรือล้านครั้ง ก็ยังเหมือนเดิม
คงมีแต่พระพุทธองค์เท่านั้นแหละที่จะสั่งให้ผมดื่มมันได้ และซึ่งก็ไม่มีทางเป็นเช่นนั้นแน่

...มันเป็นความภาคภูมิใจสุดๆที่ผมทำได้แบบนี้ มันเป็นปกติของผม มันเป็น1ในศีล5ข้อที่ผมทำได้


ที่พูดไม่ได้จะโอ้อวดอะไรหรอกนะครับแต่ผมอยากให้ทุกๆคนไม่ดื่มมัน เพราะมันไม่มีอะไรดีเลยแม้แต่นิด ผมเห็นเพื่อนดื่มนะ แล้วก็สังเกตุมันดูว่า มันเป็นไง เออมันก็สนุกของมันเนาะ ผมก็สนุกด้วยนะ ถึงแม้ไม่ได้ดื่มเลย มันก็ไม่ใช่สนุกอย่างเดียว มันดื่มแล้วมันบ้าก็มี ทำอะไรไม่รู้ตัวก็มี

เนี่ยแหละครับโทษของสุราในทางโลกแบบพื้นๆเลย ตายไปไม่รู้ว่าจะได้เจอกับอะไรบ้าง แค่ผมคิดว่าจะได้ดื่มน้ำกระทะทองแดงร้อนๆแค่จิบเดียวยังแทบจะไม่อยากเจอไม่อยากเลยกลัวมากๆ

และอีกอย่างนะครับ คนไหนไม่มีศีลจะเข้าหาพระอริยะไม่ได้เลย เทวดาจะกันไว้หมด

สุดท้ายนี้ผมเชื่ออย่างนึงว่าจะต้องมีคนอย่างผมอยู่ในโลกนี้แน่ อิอิ

------------------------------------------------------------------------------------



ตรงนี้ ยกตย.ให้ดู ถึงการรักษาศิล ถึงจะได้เพียงหนึ่งข้อ(ใหญ่)
เจ้าตัวก็รู้สึกภูมิใจกับศิลที่ตัวเองรักษาไว้ได้


เรื่องที่ยกตย.มานี่ ไม่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความมี ความเป็น
ความมี ความเป็นนั่น เป็นนี่ ล้วนเกิดจาก อวิชชาที่มีอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่สรรเสริญ
กลับตำหนิด้วยซ้ำ หากใครเอ่ยอ้างเกี่ยวกับความมี ความเป็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 11 มิ.ย. 2015, 21:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2015, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยมีเพื่อนคนหนึ่งเขาไม่ดื่มเหล้าเลยไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนกินแป๊ปซี่ตลอด. แต่ศิลข้ออื่นผิดหมดทุกข้อ. การไม่ดื่มเหล้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอริยได้. การก้าวสู่อริยะนั้นจะต้องประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรมเห็นการเกิดดับของรูปนามจนทำลายสักกายทิฎฐิ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2015, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. อติตติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม
{๕๔๘}[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ
ย่อมไม่มีความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความอิ่มในการนอนหลับ
๒. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มคือสุราและเมรัย
๓. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการนี้แลย่อมไม่มี




เวร ๕
[๑๑๙๗] อุ. เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี เวรนี้มี ๕ เวร ๕ อะไรบ้าง? คือ:
๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม
๔. พูดเท็จ
๕. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
ดูกรอุบาลี เวร ๕ นี้แล.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๘
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
หน้าที่ ๔๔๓/๕๑๗






ผัสสะ

ภิกษุ ท. ! ....ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลายตามที่เป็นจริง,
เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณตามที่เป็นจริง,
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัสตามที่เป็นจริง,

เมื่อ รู้เมื่อเห็นซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว ;

เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ,
ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย,
ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ,
ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส,
และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว
ไม่ติดพันแล้วไม่ลุ่มหลงแล้วตามเห็นอาทีนวะ(โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนืองๆ,
ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป;

และตัณหาอัน เป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่าง ยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้;

ความกระวนกระวาย แม้ ทางกายอันเขาย่อมละเสียได้,
ความกระวนกระวายแม้ ทางจิตอันเขาย่อมละเสียได้;
ความแผดเผา แม้ทางกายอันเขาย่อมละเสียได้,
ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้;
ความเร่าร้อน แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้.

บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางกาย ด้วย.
ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิตด้วย.

เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ;
ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ;
ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ ;
สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ;
สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ;
ส่วน กายกรรมวจีกรรมและ อาชีวะของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว.
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ ของเขานั้น ย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
สัมมัปปธานแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อิทธิบาทแม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อินทรีย์แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
พละแม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
โพชฌงค์ แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.
ธรรมทั้งสองคือสมถะและวิปัสสนาของเขานั้นย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป.

บุคคลนั้น ย่อม กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง;
ย่อม ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.


ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง?
คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือ
อุปาทานขันธ์ คือ รูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือ สังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง?
คำตอบ พึงมีว่า อวิชชาด้วย ภวตัณหาด้วย :
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง.


ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง?
คำตอบ พึงมีว่า สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย :
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.


ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง?
คำตอบ พึงมีว่า วิชชาด้วย วิมุตติด้วย :
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ โสตฆานชิวหากายมโนและ สหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสตเป็นต้นก็ มีเนื้อความเหมือนกับที่กล่าวแล้วในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าวข้างบนนี้ทุกประการ พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น).

- อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2015, 22:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรก.....ก็ให้เอาอริยะออกไปก่อน...

ผมไม่แปลกใจหรอก...จะเป็นอบายมุกมันก็ต้องทำบ่อยๆ..ติดง่อมแง่มเป็นธรรมดา

bigtoo เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
การเล่นการพนันไม่ได้บัญญัติไว้ในศีล ๕ ก็จริง แต่บัญญัติไว้ใน อกุศลกรรมบท ๑๐ ว่าด้วย
การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของๆตน และ ตรัสไว้ในอริยะสัจจ์ ๔ ซึ่งเป็นตัว สมุทัย และยังกล่าวว่า
หนทางแห่งความเสื่อมของชีวิต....อบายมุข ๖ เราจะต้องเข้าใจคำสอนด้วย จะเอาศีลมาเป็นตัวตั้ง
นั้นคงไม่ถูกต้องทั้งหมด

ถ้าเป็นหลักคำสอน ที่จัดอยู่ในสมุทัย (คือ "ตัณหา" ธรรมที่ควรละ) หมายถึง หนทางหรือช่องทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศของทรัพย์สมบัติและตนเอง พระพุทธศาสนาได้แสดงหนทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศไว้ ๖ ประการ

๑. การชอบเที่ยวกลางคืน หมายถึง การเที่ยวผับ บาร์ หรือสถายเริงอารมณ์อื่นๆในเวลาวิกาล
หรือเวลากลางคืน

๒. การชอบเที่ยวดูการละเล่น หมายถึง มีการละเล่นอะไร ที่ไหน เป็นต้องไปดูทุกครั้ง
ดูอย่างพร่ำเพรื่อ เกินความจำเป็น

๓. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึง การติดสุราและของมึนเมาต่างๆ ผู้ที่ติสิ่งเหล่านี้จะต้องดื่มและเสพ
เป็นประจำ ถือว่าเป็นภัยร้ายแรง เท่ากับตกนรกทั้งเป็น

๔. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง การชอบเล่นการพนันขันต่อมีได้เสีย เช่น เล่นไพ่
เล่นหวย จนถึงขั้นที่เรียกว่า ผีพนันเข้าสิง การเป็นนักเลงการพนัน


๕. การเกียจคร้านทำการงาน หมายถึง การไม่ขยันทำงานตามเวลาและหน้าที่รับผิดชอบ
ปล่อยการงานให้คั่งค้าง เหมือน ดินพอกหางหมู คนเกียจคร้านการงาน ได้ชื่อว่าเป็น คนไม่เอา. ไหน
หาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้

๖. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเที่ยว ร่วมพวกหรือไปหาสู่กับคนชั่ว
ผู้ที่คบคนชั่วมิตรจึงเป็นผู้ที่ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย อีกทั้งอาจจะนำความเดือดร้อนอื่นๆ
มาสู่ตนเองและครอบครัวได้

อบายมุข6. จะเป็นอบายมุข6นั้นจะต้องทำประจำดั่งที่พระองค์กล่าวไว้ถึงเรียกว่าอบายมุข6. อะไรที่เป็นบางครั้งครั้งคราวไม่ถือเป็นอบายมุข


แล้ว..บิ๊กทู...ก็โพสต์อันนี้

bigtoo เขียน:
[๑๗๘] อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ. อ่านตรงที่เน้นๆจะเข้าใจว่าคืออะไร


คุณบิ๊กทูครับ....คุณมาเน้นว่าต้องประกอบเนืองๆ....งั้น...อริยะสาวกก็ดื่มสุรา ปีละครั้ง...จะได้มั้ยละท่าน....ไม่ได้ทำเนืองๆ..ซะหน่อย...:b32:

มันไม่ใช่..ใช่มั้ยละท่านบิ๊กทู

ตรงนี้....ผมเห็นว่า...มีสอง..คือ..
1. บอกอาการของอริยะว่า...อริยะสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ 6
2. บอกรายละเอียดของทางเสื่อมของโภคะ 6 อันเป็นธรรมของปุถุชน

อริยะสาวก...ไม่เสพ..ก็คือ..ไม่เสพ...
ส่วนปุถุชน..นานๆเสพที..ก็ดีถ่มไปแล้ว...ไม่ติดง่อมแง่มก็ดีมากแล้วสำหรับปุถุชน

จบป๊ะ..บิ๊กทู :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตอนแรก.....ก็ให้เอาอริยะออกไปก่อน...

ผมไม่แปลกใจหรอก...จะเป็นอบายมุกมันก็ต้องทำบ่อยๆ..ติดง่อมแง่มเป็นธรรมดา

bigtoo เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
การเล่นการพนันไม่ได้บัญญัติไว้ในศีล ๕ ก็จริง แต่บัญญัติไว้ใน อกุศลกรรมบท ๑๐ ว่าด้วย
การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของๆตน และ ตรัสไว้ในอริยะสัจจ์ ๔ ซึ่งเป็นตัว สมุทัย และยังกล่าวว่า
หนทางแห่งความเสื่อมของชีวิต....อบายมุข ๖ เราจะต้องเข้าใจคำสอนด้วย จะเอาศีลมาเป็นตัวตั้ง
นั้นคงไม่ถูกต้องทั้งหมด

ถ้าเป็นหลักคำสอน ที่จัดอยู่ในสมุทัย (คือ "ตัณหา" ธรรมที่ควรละ) หมายถึง หนทางหรือช่องทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศของทรัพย์สมบัติและตนเอง พระพุทธศาสนาได้แสดงหนทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศไว้ ๖ ประการ

๑. การชอบเที่ยวกลางคืน หมายถึง การเที่ยวผับ บาร์ หรือสถายเริงอารมณ์อื่นๆในเวลาวิกาล
หรือเวลากลางคืน

๒. การชอบเที่ยวดูการละเล่น หมายถึง มีการละเล่นอะไร ที่ไหน เป็นต้องไปดูทุกครั้ง
ดูอย่างพร่ำเพรื่อ เกินความจำเป็น

๓. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึง การติดสุราและของมึนเมาต่างๆ ผู้ที่ติสิ่งเหล่านี้จะต้องดื่มและเสพ
เป็นประจำ ถือว่าเป็นภัยร้ายแรง เท่ากับตกนรกทั้งเป็น

๔. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง การชอบเล่นการพนันขันต่อมีได้เสีย เช่น เล่นไพ่
เล่นหวย จนถึงขั้นที่เรียกว่า ผีพนันเข้าสิง การเป็นนักเลงการพนัน


๕. การเกียจคร้านทำการงาน หมายถึง การไม่ขยันทำงานตามเวลาและหน้าที่รับผิดชอบ
ปล่อยการงานให้คั่งค้าง เหมือน ดินพอกหางหมู คนเกียจคร้านการงาน ได้ชื่อว่าเป็น คนไม่เอา. ไหน
หาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้

๖. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเที่ยว ร่วมพวกหรือไปหาสู่กับคนชั่ว
ผู้ที่คบคนชั่วมิตรจึงเป็นผู้ที่ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย อีกทั้งอาจจะนำความเดือดร้อนอื่นๆ
มาสู่ตนเองและครอบครัวได้

อบายมุข6. จะเป็นอบายมุข6นั้นจะต้องทำประจำดั่งที่พระองค์กล่าวไว้ถึงเรียกว่าอบายมุข6. อะไรที่เป็นบางครั้งครั้งคราวไม่ถือเป็นอบายมุข


แล้ว..บิ๊กทู...ก็โพสต์อันนี้

bigtoo เขียน:
[๑๗๘] อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ. อ่านตรงที่เน้นๆจะเข้าใจว่าคืออะไร


คุณบิ๊กทูครับ....คุณมาเน้นว่าต้องประกอบเนืองๆ....งั้น...อริยะสาวกก็ดื่มสุรา ปีละครั้ง...จะได้มั้ยละท่าน....ไม่ได้ทำเนืองๆ..ซะหน่อย...:b32:

มันไม่ใช่..ใช่มั้ยละท่านบิ๊กทู

ตรงนี้....ผมเห็นว่า...มีสอง..คือ..
1. บอกอาการของอริยะว่า...อริยะสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ 6
2. บอกรายละเอียดของทางเสื่อมของโภคะ 6 อันเป็นธรรมของปุถุชน

อริยะสาวก...ไม่เสพ..ก็คือ..ไม่เสพ...
ส่วนปุถุชน..นานๆเสพที..ก็ดีถ่มไปแล้ว...ไม่ติดง่อมแง่มก็ดีมากแล้วสำหรับปุถุชน

จบป๊ะ..บิ๊กทู :b12: :b12:

ท่านยังเข้าใจผิดนะ. มีคนไปถามพระองค์ว่า. อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อม6ประการเป็นไฉน?(นี่คือคำถาม)
พระองค์ตรัสตอบว่า. ดูกรคหบดี. การประกอบเนื่องๆ.....(.ทั้ง6อย่างนั้น เป็นคำตอบ). ท่านจะเห็นคำตอบของพระองค์ชัดเจน. ว่าคือการประกอบเนืองๆถึงเรียกว่าทางเสื่อม6ประการ

อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ[/color] ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ.


ถ้าท่านไม่เข้าใจคำตอบที่พระองค์ตอบไว้. ก็ผ่านเลยเรื่องนี้

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตุเลยว่า พระพุทธองค์จะใช้คำว่า..ดูกร..ภิกษุทั้งหลาย..ดูกร..อานนท์..ดูกร คฤหบดีบุตร..
ถ้าใครไม่ แยกแยะธรรมที่พระพุทธองค์กล่าวกับผู้ใด..แล้วเอาไปเหมารวมหมด.ก็จบกัน..ก็ย่อมจะทำให้ธรรมของพระองค์บิดเบือน..พระพุทธองค์กล่าวธรรมนี้..กับฆราวาส..มีนามว่า คฤหบดีบุตร..พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวธรรมบทนี้กับ อริยสาวกภิกษุทั้งหลาย...
ถึงได้บอกต้องแยกแยะ..พิจารณา.โยนิโสมนสิการ
ถ้าพระพุทธองค์กล่าวธรรมนี้กับอริยสาวกของพระองค์..พระองค์จะใช้คำว่า..ดูกร ภิกษุทั้งหลาย..

เป็นอันว่าเข้าใจตรงกันนะเจ้าค่ะ..จริงๆไม่อยากจะพูดแล้ว..แต่เหมือนมีใครจูนคลื่นแทรกเข้ามาในจิต
ทำให้คุนน้องมาแสดงความเห็นนี้..มันเกิดตัวรู้ ขึ้นจากการ overdrive ในจิต :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
สังเกตุเลยว่า พระพุทธองค์จะใช้คำว่า..ดูกร..ภิกษุทั้งหลาย..ดูกร..อานนท์..ดูกร คฤหบดีบุตร..
ถ้าใครไม่ แยกแยะธรรมที่พระพุทธองค์กล่าวกับผู้ใด..แล้วเอาไปเหมารวมหมด.ก็จบกัน..ก็ย่อมจะทำให้ธรรมของพระองค์บิดเบือน..พระพุทธองค์กล่าวธรรมนี้..กับฆราวาส..มีนามว่า คฤหบดีบุตร..พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวธรรมบทนี้กับ อริยสาวกภิกษุทั้งหลาย...
ถึงได้บอกต้องแยกแยะ..พิจารณา.โยนิโสมนสิการ
ถ้าพระพุทธองค์กล่าวธรรมนี้กับอริยสาวกของพระองค์..พระองค์จะใช้คำว่า..ดูกร ภิกษุทั้งหลาย..

เป็นอันว่าเข้าใจตรงกันนะเจ้าค่ะ..จริงๆไม่อยากจะพูดแล้ว..แต่เหมือนมีใครจูนคลื่นแทรกเข้ามาในจิต
ทำให้คุนน้องมาแสดงความเห็นนี้..มันเกิดตัวรู้ ขึ้นจากการ overdrive ในจิต :b32: :b32:

แล้วไงล่ะ. ตกลงเข้าใจแล้วใช่มั้ยว่าอบายมุข6คืออะไรอย่างไรถึงเรียกว่าอบายมุข6 และไม่จัดลงในศิลห้า

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 12 มิ.ย. 2015, 10:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ปุจฉา
มีเรื่ิงขอคำปรึกษาได้ไหมคะ
คือ อาทิตย์ หน้า บริษัทที่รับช่อเข้างาน จะจัดงานเลี้ยงต้อนรับ 2 งาน 2 วัน...
สิ่งที่ห่วง คือ เรื่องเหล้า ..ไม่อยากผิดศีล...
เเต่เหมือนเป็นมารยาทสังคม ...
หากเราไม่ได้ให้ค่า(ไม่ทราบว่าคิดงี้ผิดไหม) มันคือ ของเหลว ชนิดหนึ่ง เเล้วเราไม่ดื่มจนเมา...จะผิดศีลไหมคะ
หรือขึ้นชื่อว่าเป็นสุรา ไม่ได้หมด

วิสัชนา
เป็นกฏข้อบังคับหรือคะ ประมาณว่า ถ้าไม่ดื่ม เขาจะไล่ออก ประมาณนี้หรือเปล่า

ปุจฉา
ไม่ใช่ข้อบังคับค่ะ
งั้นหากดื่ม ไป ก้อศีล ไม่ครบ 5 ข้อใช่ไหมคะ

วิสัชนา
ชีวิตที่เหลืออยู่ ซึ่งไม่รู้ว่า เหลืออยู่มาก น้อยแค่ไหน จงถามใจตัวเองว่า ชีวิตนี้ ที่เหลืออยู่อันน้อยนิด ในขณะนี้ ต้องการอะไรในชีวิต
แฟนพี่ ก่อนที่จะมาอยู่ด้วยกัน เขาก็ทำงานกับคนต่างชาติ มีสังสสรค์ มีดื่ม เขาเองก็เคยดื่ม
พอมาอยู่กับพี่ พี่อธิบายเรื่องสภาวะต่างๆให้ฟัง พอรู้ว่า การดื่มแอลลกอฮอลล์ ทุกชนิด ส่งผต่อกระทบต่อการปฏิบัติ ตั้งแต่นั้นมา เขาเลิกดื่ม เครื่องดื่มประเภทนี้ทุกชนิด เพราะ เขารักตัวเอง

ส่วนคำถาม ที่ถามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของศิลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ ชีวิตที่เหลืออยู่ ว่าจะเลือกเดินไปทางไหน









นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร


[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความ
ปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ-
*ทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็น
อานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
อานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะ
เป็นอานิสงส์


ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด
ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์
เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็น
อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามี
วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 521&Z=7566









คงเข้าใจแล้วนะว่า คนที่ปฏิบัติเพื่อดับเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดภพชาติอยู่
เขาจะปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

อะไรที่เป็นเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดภพชาติใหม่ได้อยู่
เขาจึงพยายามละเนืองๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนติดดี คิดว่าทำสิ่งนั้นดี ไม่ทำสิ่งนั้นดี จนกลายเป็นวัตรแห่งการรังเกลียดจนไม่เข้าใจความจริงคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นถูกสิ่งอื่นผิด.ฆราวาสธรรม กับบรรพชิตนั้นกฎเกณฑ์ต่างกันมาก บางคนตอนแรกคิดว่ากินเจดีกินอยู่หลายปีพอเริ่มเข้าใจธรรมะก็เลิกกินเจหันไปกินได้ทุกอย่าง. ตอนแรกคิดว่าอะไรๆก็ห้ามทำ. พอเจ้าใจธรรมะจริงๆว่าทุกอย่างอยู่ที่เจตนาไม่กระทำเนื่องๆ กระทำเพราะเหตุปัจจัยตามบริบทของสังคม ก็จะรู้ว่าสบายๆ ผู้ที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วงก็มีมากมาย. สาวกพระองค์ที่บรรลุธรรมมีตั้งหลายแบบหลากหลายท่านกล่าวไว้มากมาย. อย่าคิดว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอืนไม่.

วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา) นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตาม
รักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถาม
พระโคดมผู้เจริญถึงวิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษา ไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....

ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน...
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น ของบุรุษ
มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น
อย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล
การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง.

***จากพระสูตรนี้ สรุปได้ว่า อย่าคิดว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า”

เพราะเรื่องที่คิดว่าจริง อาจจะอนิจจัง...เมื่อเวลาผ่านไป

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
บางคนตอนแรกคิดว่ากินเจดีกินอยู่หลายปีพอเริ่มเข้าใจธรรมะก็เลิกกินเจหันไปกินได้ทุกอย่าง. ตอนแรกคิดว่าอะไรๆก็ห้ามทำ. พอเจ้าใจธรรมะจริงๆว่าทุกอย่างอยู่ที่เจตนาไม่กระทำเนื่องๆ กระทำเพราะเหตุปัจจัยตามบริบทของสังคม






อันนี้ ฮามากๆ

คือ เห็นหลายครั้งละ อาการย้ำคิดย้ำทำ เรื่องในอดีตที่วัลพรเคยกินเจ และการตั้งกระทู้อาหารเจ
ทั้งๆที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย ช่างขอดช่างค่อนอยู่อย่างนั้น

หาหลักฐานมาด้วยนะว่า วลัยพรเขียนไว้ตรงไหนว่า กินเจแล้วดีกว่ากินเนื้อสัตว์


วลัยพรกินเจ เพราะมีเหตุสงสารเพื่อนร่วมงาน ที่เขาคิดว่า หากไปเข้ากลุ่มกินเจ เขาจะได้บุญ จะช่วยแม่ที่ป่วยอยู่ อาการอาจทุเลาลงได้ เขามาขอความช่วยเหลือ ก็ช่วยเขา มันไม่เห็นเสียหายตรงไหน

ที่กินเจต่อเนื่อง เพราะชอบกิน ก็อร่อยดี แล้วก็ไม่เคยไปว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ด้วย

ที่เลิกกินเจ เพราะมันดันผ่าไปเหม็นกลิ่นตัวชาวบ้าน
ในเมื่อต้องทำงาน ใครเข้ามาหา ก็ดันไปเหม็นตัวเขา จึงเลิกกิน

ไม่ใช่เลิกกินเพราะ เข้าใจธรรมะอะไร
แหม ช่างคาดเดาแบบติดดีซะเหลือเกิน

ตอนนั้นน่ะ ชีวิตวลัยพรยังเที่ยวเทคเที่ยวบาร์อยู่เลย


"หันไปกินได้ทุกอย่าง"
จะบอกอะไรให้นะ ฉันเป็นคนไม่กินเนื้อ เพราะระบบการย่อยไม่ดี จึงไม่กิน


หวังว่า คงจะช่วยบรรเทาอาการย้ำคิดย้ำทำในการกล่าวเพ่งโทษผู้อื่นนะ ตาทู่ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:

วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา) นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตาม
รักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถาม
พระโคดมผู้เจริญถึงวิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษา ไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....

ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน...
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น ของบุรุษ
มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น
อย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล
การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง.







รู้จักไหมตาทู่ สักแต่ว่าน่ะ
ควรใช้พระสูตรนี้เนืองๆนะ จะได้ค่อยๆละการกล่าวเพ่งโทษนอกตัวที่มีอยู่ ให้เบาบางลงไปได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
บางคนตอนแรกคิดว่ากินเจดีกินอยู่หลายปีพอเริ่มเข้าใจธรรมะก็เลิกกินเจหันไปกินได้ทุกอย่าง. ตอนแรกคิดว่าอะไรๆก็ห้ามทำ. พอเจ้าใจธรรมะจริงๆว่าทุกอย่างอยู่ที่เจตนาไม่กระทำเนื่องๆ กระทำเพราะเหตุปัจจัยตามบริบทของสังคม






อันนี้ ฮามากๆ

คือ เห็นหลายครั้งละ อาการย้ำคิดย้ำทำ เรื่องในอดีตที่วัลพรเคยกินเจ และการตั้งกระทู้อาหารเจ
ทั้งๆที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย ช่างขอดช่างค่อนอยู่อย่างนั้น

หาหลักฐานมาด้วยนะว่า วลัยพรเขียนไว้ตรงไหนว่า กินเจแล้วดีกว่ากินเนื้อสัตว์


วลัยพรกินเจ เพราะมีเหตุสงสารเพื่อนร่วมงาน ที่เขาคิดว่า หากไปเข้ากลุ่มกินเจ เขาจะได้บุญ จะช่วยแม่ที่ป่วยอยู่ อาการอาจทุเลาลงได้ เขามาขอความช่วยเหลือ ก็ช่วยเขา มันไม่เห็นเสียหายตรงไหน

ที่กินเจต่อเนื่อง เพราะชอบกิน ก็อร่อยดี แล้วก็ไม่เคยไปว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ด้วย

ที่เลิกกินเจ เพราะมันดันผ่าไปเหม็นกลิ่นตัวชาวบ้าน
ในเมื่อต้องทำงาน ใครเข้ามาหา ก็ดันไปเหม็นตัวเขา จึงเลิกกิน

ไม่ใช่เลิกกินเพราะ เข้าใจธรรมะอะไร
แหม ช่างคาดเดาแบบติดดีซะเหลือเกิน

ตอนนั้นน่ะ ชีวิตวลัยพรยังเที่ยวเทคเที่ยวบาร์อยู่เลย


"หันไปกินได้ทุกอย่าง"
จะบอกอะไรให้นะ ฉันเป็นคนไม่กินเนื้อ เพราะระบบการย่อยไม่ดี จึงไม่กิน


หวังว่า คงจะช่วยบรรเทาอาการย้ำคิดย้ำทำในการกล่าวเพ่งโทษผู้อื่นนะ ตาทู่ :b32:

พี่วลัยพรรู้ไหม ตาทู่เมื่อก่อน ถกเถียงกันเรื่องไม่นอนกับภรรยา555 เอาเรื่องตนเองไปข่มพี่โฮฮับว่าตนอดทนได้..มีการไปคาดคั้นคนอื่นว่า คนอื่นทำได้เหมือนตนไหม..เมียผมทั้งสาวทั้งสวย..แต่ผมไม่นอนกับภรรยา6 เดือน..(แต่ผมยังมโนสำเร็จความใคร่เพราะนึกถึงสาวอื่น) ผมบรรลุแล้ว อีกสามปี บวชแน่ 5555 ฮาปาจิงโก๊ะ :b32: ว่าคนอื่นติดดี..แต่ตนเองนั่นดิ หลงว่าตนดี..จนเห็นความจริงเมื่อเวลาผ่านไปครบ3 ปี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 22:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตอนแรก.....ก็ให้เอาอริยะออกไปก่อน...

ผมไม่แปลกใจหรอก...จะเป็นอบายมุกมันก็ต้องทำบ่อยๆ..ติดง่อมแง่มเป็นธรรมดา

bigtoo เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
การเล่นการพนันไม่ได้บัญญัติไว้ในศีล ๕ ก็จริง แต่บัญญัติไว้ใน อกุศลกรรมบท ๑๐ ว่าด้วย
การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของๆตน และ ตรัสไว้ในอริยะสัจจ์ ๔ ซึ่งเป็นตัว สมุทัย และยังกล่าวว่า
หนทางแห่งความเสื่อมของชีวิต....อบายมุข ๖ เราจะต้องเข้าใจคำสอนด้วย จะเอาศีลมาเป็นตัวตั้ง
นั้นคงไม่ถูกต้องทั้งหมด

ถ้าเป็นหลักคำสอน ที่จัดอยู่ในสมุทัย (คือ "ตัณหา" ธรรมที่ควรละ) หมายถึง หนทางหรือช่องทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศของทรัพย์สมบัติและตนเอง พระพุทธศาสนาได้แสดงหนทาง
แห่งความเสื่อมและความพินาศไว้ ๖ ประการ

๑. การชอบเที่ยวกลางคืน หมายถึง การเที่ยวผับ บาร์ หรือสถายเริงอารมณ์อื่นๆในเวลาวิกาล
หรือเวลากลางคืน

๒. การชอบเที่ยวดูการละเล่น หมายถึง มีการละเล่นอะไร ที่ไหน เป็นต้องไปดูทุกครั้ง
ดูอย่างพร่ำเพรื่อ เกินความจำเป็น

๓. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึง การติดสุราและของมึนเมาต่างๆ ผู้ที่ติสิ่งเหล่านี้จะต้องดื่มและเสพ
เป็นประจำ ถือว่าเป็นภัยร้ายแรง เท่ากับตกนรกทั้งเป็น

๔. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง การชอบเล่นการพนันขันต่อมีได้เสีย เช่น เล่นไพ่
เล่นหวย จนถึงขั้นที่เรียกว่า ผีพนันเข้าสิง การเป็นนักเลงการพนัน


๕. การเกียจคร้านทำการงาน หมายถึง การไม่ขยันทำงานตามเวลาและหน้าที่รับผิดชอบ
ปล่อยการงานให้คั่งค้าง เหมือน ดินพอกหางหมู คนเกียจคร้านการงาน ได้ชื่อว่าเป็น คนไม่เอา. ไหน
หาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้

๖. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเที่ยว ร่วมพวกหรือไปหาสู่กับคนชั่ว
ผู้ที่คบคนชั่วมิตรจึงเป็นผู้ที่ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย อีกทั้งอาจจะนำความเดือดร้อนอื่นๆ
มาสู่ตนเองและครอบครัวได้

อบายมุข6. จะเป็นอบายมุข6นั้นจะต้องทำประจำดั่งที่พระองค์กล่าวไว้ถึงเรียกว่าอบายมุข6. อะไรที่เป็นบางครั้งครั้งคราวไม่ถือเป็นอบายมุข


แล้ว..บิ๊กทู...ก็โพสต์อันนี้

bigtoo เขียน:
[๑๗๘] อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ. อ่านตรงที่เน้นๆจะเข้าใจว่าคืออะไร


คุณบิ๊กทูครับ....คุณมาเน้นว่าต้องประกอบเนืองๆ....งั้น...อริยะสาวกก็ดื่มสุรา ปีละครั้ง...จะได้มั้ยละท่าน....ไม่ได้ทำเนืองๆ..ซะหน่อย...:b32:

มันไม่ใช่..ใช่มั้ยละท่านบิ๊กทู

ตรงนี้....ผมเห็นว่า...มีสอง..คือ..
1. บอกอาการของอริยะว่า...อริยะสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ 6
2. บอกรายละเอียดของทางเสื่อมของโภคะ 6 อันเป็นธรรมของปุถุชน

อริยะสาวก...ไม่เสพ..ก็คือ..ไม่เสพ...
ส่วนปุถุชน..นานๆเสพที..ก็ดีถ่มไปแล้ว...ไม่ติดง่อมแง่มก็ดีมากแล้วสำหรับปุถุชน

จบป๊ะ..บิ๊กทู :b12: :b12:

bigtoo เขียน:
ท่านยังเข้าใจผิดนะ. มีคนไปถามพระองค์ว่า. อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อม6ประการเป็นไฉน?(นี่คือคำถาม)
พระองค์ตรัสตอบว่า. ดูกรคหบดี. การประกอบเนื่องๆ.....(.ทั้ง6อย่างนั้น เป็นคำตอบ). ท่านจะเห็นคำตอบของพระองค์ชัดเจน. ว่าคือการประกอบเนืองๆถึงเรียกว่าทางเสื่อม6ประการ
อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ[/color] ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ.


ถ้าท่านไม่เข้าใจคำตอบที่พระองค์ตอบไว้. ก็ผ่านเลยเรื่องนี้


จะด่วนชิ่งหนี..ไปไหน.. :b32:

กระผมอุตส่าหาทางออกให้แล้วว่า....
อ้างคำพูด:
ตรงนี้....ผมเห็นว่า...มีสอง..คือ..
1. บอกอาการของอริยะว่า...อริยะสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ 6
2. บอกรายละเอียดของทางเสื่อมของโภคะ 6 อันเป็นธรรมของปุถุชน

อริยะสาวก...ไม่เสพ..ก็คือ..ไม่เสพ...
ส่วนปุถุชน..นานๆเสพที..ก็ดีถ่มไปแล้ว...ไม่ติดง่อมแง่มก็ดีมากแล้วสำหรับปุถุชน


กระผมก็แค่ตั้งข้อสังเกตุ...ซึ่งก็อาจผิดก็ได้...
งั้นตอบผมหน่อยดิ....ไม่เห็นตอบเลย..ว่า...
อ้างคำพูด:
คุณบิ๊กทูครับ....คุณมาเน้นว่าต้องประกอบเนืองๆ....งั้น...อริยะสาวกก็ดื่มสุรา ปีละครั้ง...จะได้มั้ยละท่าน....ไม่ได้ทำเนืองๆ..ซะหน่อย...:b32:


ช่วยตอบหน่อยนะ.... :b9: :b9:

คิดว่าคงไม่ตอบหรอก...เพราะอาจไปทำลายอะไรอะไรที่ซ้อนอยู่..เช่น... :b21: :b21: :b21:

จริงๆเร้ย....เห็นมาเยอะเลยที่อ้างพุทธพจน์..พุทธพจน์...แต่มักไม่ทันว่า..ที่เข้าใจนั้นมันผ่านความคิดปรุงของตัวเองอีกที...

ผมก็ปรุง...และอาจผิดก็ได้..แต่ช่วยตอบหน่อยดิ... :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 มิ.ย. 2015, 22:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:

วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
(สจฺจานุรกฺขณา) นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตาม
รักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถาม
พระโคดมผู้เจริญถึงวิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน ...
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ ตามรักษา ไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....

ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน...
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษมีอยู่
และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน....
ภารท๎วาชะ !
ถ้าแม้ ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น ของบุรุษ
มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า
“ข้าพเจ้ามีข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น
อย่างนี้” ดังนี้,
เขาก็ อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า
“อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.

ภารท๎วาชะ !
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล
การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง.







รู้จักไหมตาทู่ สักแต่ว่าน่ะ
ควรใช้พระสูตรนี้เนืองๆนะ จะได้ค่อยๆละการกล่าวเพ่งโทษนอกตัวที่มีอยู่ ให้เบาบางลงไปได้

ฮาอะไร. ผมเห็นคุณพยามยกธรรมะอยู่ในบริบทเดียว ทั้งๆสาวกที่บรรลุธรรมนั้นมีตั้งหลายประเภท ทั้งนุ่งเหลืองโกนศรีษะ. นุ่งขาวห่มขาว. ทั้งละกามแล้ว ทั้งที่ยังบริโภคกามอยู่แต่เขารู้วิธีที่จะกระโดดออกจากบ่วงได้ยามภัยมา. ผมไม่ได้กล่าวตำหนิคุณหรอกนะเพียงแค่อยากให้มุมมองในบริบทอื่นบ้าง. จะได้ตรงธรรมแท้ๆจริง. การกล่าวในบริบทเดียวนั่นมันมองไม่กว้างทั่วถึงในความเป็นจริงเพราะชีวิตมนุษย์หลากหลายมากสะสมมาต่างกัน. และที่ผมกล่าวมีอะไรก็เอาเหตุผลมาหักล้างกัน ผมก็เอาแต่ที่พระองค์กล่าวมาทั้งนั้นซึ่งมีอยู่จริง. และที่กล่าวเรื่องคนกินผักกินหญ้านะ คุณจะมีเหตุผลอะไรอย่างไรห็แล้วแต่เถอะผมไม่ได้ติดใจหรอก. แค่เพียงอยากให้เข้าใจในเรื่องธรรมะในบริบทอื่นดูบ้าง ในเรื่องของอบายมุข6เดี๋ยวจะกลายเป็นวัตรเพื่อการรังเกลียดไปก็แค่นั้น เห็นพยามยกธรรมะในฝ่ายที่พระองค์แสดงแก่ภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นธรรมะที่จะต้องเข้มงวด. เราเป็นฆราวาสก็ให้ผ่อนลงมาบ้าง. เดี๋ยวจะไม่ตรงธรรมที่ประสงค์อยากให้ทราบ ตามพุทธวจน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร