วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2014, 22:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิอิ... :b32:

ขจัดความหลงผิด...ออกไปจากความเข้าใจเดิมๆ

ไม่ได้หยิบจับอะไร..จากไหนไปใว้ตรงไหน...นิ

:b19: :b19: :b11:

:b1:
ขจัดยังไง?..ความหลงผิด......

ตรงนี้สำคัญมากนะ

ถ้าเอาเราไปขจัด เรา นั้นเสร็จแน่..เหมือนการเล่นยี่เกคนเดียวเลยเชียวแหละ

จะเอาอะไรมาขจัดเรา ตรงนี้ต้องพูดให้ชัดๆ เป็นรูปธรรม นำมาปฏิบัติได้จริง ไม่ใเลื่อนลอยเป็นหลักทฤษฎีหรือสมมุติฐาน ให้ไปตีความเอาเองหาทางเอาเองอย่างที่พูดไว้
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไปว่าจะไปไหน ทำอะไร ที่บอร์ดไหนๆ ส่วนมากจะเป็นถาม-ตอบกันทำนองว่า นั่นนี่ก็ไม่ใช่ของเรา กายใจก็ไม่ใช่ของเรา :b1: ชีวิตก็ไม่ใช่ของเรา แล้วมันมีอะไรบ้างไหมที่เป็นของเรา ความดี (ความชั่ว) เป็นของเราไหม ? :b10: :b14:

ไปเห็นมาอีก คือ เขาถามว่า


อ้างคำพูด:
เรียนถามผู้รู้นะคะ
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ เช่น ความดี รบกวนผู้รู้ค่ะ


tongue

ตอบแบบนี้พอจะได้ไหมคะ

ถ้าว่าโดยบุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง หรือการกล่าวอ้างอิงถึงบุคคล เรา เขา หรือเป็นสมมติบัญญัติ
ถ้าว่าโดยธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้งเป็นการกล่าวถึงสภาวะธรรมเพียงอย่างเดียว

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับความสงสัยนี้

อ้างคำพูด:
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ เช่น ความดี


มาเทียบกับความสงสัยของภิกษุ (ครั้งพุทธกาล) รูปหนึ่งนี้


อ้างคำพูด:
“ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร?”



คือเขาเอาความรู้ตามสภาวะไปปนกับสมมติ


คือการพูดถึงตัวสภาวะ (ปรมัตถ์) เป็นการพูดถึงแต่ตัวความจริงล้วนๆ โดยไม่พอกเพิ่มถ้อยคำหรือภาพสมมติซ้อนขึ้นมาบนตัวความจริงนั้น

ลองพิจารณาดู ว่าความท่อนไหนเป็นปรมัตถ์ (จะพูดปรมัตถสัจจะก็ได้) ท่อนไหนเป็นสมมติ (จะพูด สมมติสัจจะก็ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2014, 02:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ


ไอ้ที่ว่า "เป็นของเรา" เนี่ย แต่ละคนนิยามมันว่ายังไงล่ะ

กรณีร่างกาย ถ้าคนหนึ่งบอกว่า มันเป็นของเรา เพราะว่าเราผูกติดอยู่กับกายนี้ คนอื่นไม่ผูกติดกับกายเรา และเราไม่ผูกติดกับกายคนอื่น เราเป็นผู้รับผิดชอบกายนี้ อย่างนี้เขามองว่ากายเป็นของเขา เขามองผิดเหรอ

กรณีร่างกายอีกเหมือนกัน ถ้าอีกคนบอกว่า มันไม่เป็นของเขา เพราะมันเกิดมาแล้วเอาแต่จะเจ็บจะป่วย จะแก่จะตายกายนี้ไม่เป็นไปตามใจเขา เลยบอกว่ากายไม่เป็นของเรา เขาพูดแบบนี้ผิดไหม

มันจะสำคัญอะไรล่ะกับคำว่า "เป็น หรือไม่เป็นของเรา" มันก็แค่คำ มันแล้วแต่ใครจะกำหนดนิยามอย่างไรไม่ใช่เหรอ

คำเดียวกัน แต่เวลาใช้ คนหนึ่งคิดไปเรื่องหนึ่ง อีกคนคิดไปอีกเรื่อง แล้วก็มาเถียงกันว่าแกผิดฉันถูก แกถูกฉันผิด มันน่าเศร้าใจนะ

ไม่รู้จะเถียงไปทำไม ก็มันพูดถึงคนละเรื่องกัน มันก็ต้องเข้าใจต่างกัน นี่ถูกต้องตามความจริงอยู่แล้ว คนหนึ่งบอกว่า A ไม่ใช่ B อีกคนบอกว่านี่ B นะ ไม่ใช่ A จะบอกว่าถูกก็ถูกทั้งคู่ จะบอกว่าผิด ก็ผิดทั้งคู่ น่าเศร้าใจ

มุ่งมองที่ความจริง อาการจริงๆของสิ่งที่เราสนใจ และตรวจสอบว่าเราเข้าใจถูกต้องตรงความจริงหรือไม่ จะไม่ดีกว่าเหรอ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2014, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คนธรรมดาๆ เขียน:
โค้ด:
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ


ไอ้ที่ว่า "เป็นของเรา" เนี่ย แต่ละคนนิยามมันว่ายังไงล่ะ

กรณีร่างกาย ถ้าคนหนึ่งบอกว่า มันเป็นของเรา เพราะว่าเราผูกติดอยู่กับกายนี้ คนอื่นไม่ผูกติดกับกายเรา และเราไม่ผูกติดกับกายคนอื่น เราเป็นผู้รับผิดชอบกายนี้ อย่างนี้เขามองว่ากายเป็นของเขา เขามองผิดเหรอ


ที่ว่ามองผิด ผิดที่ว่านี้คือผิดแบบไหนครับ มองผิดคงไม่ผิด แต่ผมว่าเขามองไม่ละเอียด มองตื้นเขินเกินไป มองลวกๆ ผมว่าเขาเข้าไปหลงยึด หลงมัวเมา คำว่าของเราในโลกนี้ไม่มีอะไรเลยที่เป็นของเรา เพราะหากมันเป็นของเรา มันต้องซื่อสัตย์และมั่นคงต่อเรา อยู่กับเราไปตลอดชั่วกัลปวสาน ไม่จากเรา ไม่ทิ้งเราไป แต่ความจริงทุกคนต้องตาย ไม่มีอะไรทั้งนั้นที่อยู่กับเรา วันนึงก็จากเราไป ทุกอย่างไม่มั่นคงต่อเรา มันทิ้งเราไปเมื่อถึงเวลาของมันหรือของเรา

คนธรรมดาๆ เขียน:
กรณีร่างกายอีกเหมือนกัน ถ้าอีกคนบอกว่า มันไม่เป็นของเขา เพราะมันเกิดมาแล้วเอาแต่จะเจ็บจะป่วย จะแก่จะตายกายนี้ไม่เป็นไปตามใจเขา เลยบอกว่ากายไม่เป็นของเรา เขาพูดแบบนี้ผิดไหม


ก็ถูกแล้ว เพราะมันไม่มั่นคง ร่างกายก็อุปมาเหมือนสะพานที่สร้างให้คนข้ามไปข้ามมา เวลามันผุพังต่อให้ซ่อมกี่ครั้งแต่พอถึงเวลาเข้าจริงๆเขาก็ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ มันไม่มั่นคง ไม่จีรัง

คนธรรมดาๆ เขียน:
มันจะสำคัญอะไรล่ะกับคำว่า "เป็น หรือไม่เป็นของเรา" มันก็แค่คำ มันแล้วแต่ใครจะกำหนดนิยามอย่างไรไม่ใช่เหรอ

คำเดียวกัน แต่เวลาใช้ คนหนึ่งคิดไปเรื่องหนึ่ง อีกคนคิดไปอีกเรื่อง แล้วก็มาเถียงกันว่าแกผิดฉันถูก แกถูกฉันผิด มันน่าเศร้าใจนะ

ไม่รู้จะเถียงไปทำไม ก็มันพูดถึงคนละเรื่องกัน มันก็ต้องเข้าใจต่างกัน นี่ถูกต้องตามความจริงอยู่แล้ว คนหนึ่งบอกว่า A ไม่ใช่ B อีกคนบอกว่านี่ B นะ ไม่ใช่ A จะบอกว่าถูกก็ถูกทั้งคู่ จะบอกว่าผิด ก็ผิดทั้งคู่ น่าเศร้าใจ

มุ่งมองที่ความจริง อาการจริงๆของสิ่งที่เราสนใจ และตรวจสอบว่าเราเข้าใจถูกต้องตรงความจริงหรือไม่ จะไม่ดีกว่าเหรอ

ถูกแล้วครับ นิยามก็ส่วนนิยาม ความจริงก็ส่วนความจริง หากคุยกันคนละเรื่องก็ควรหยุดคุยครับ เพราะคุยไปก็ไม่รู้เรื่องกัน บางครั้งอีกฝ่ายผิดแต่พยายามจะเถียงเพื่อให้ตัวเองชนะ จริงๆแล้วเขาก็รู้ว่าเขาผิด คนทำผิดย่อมรู้ตัวว่าผิด แต่ที่ต้องเถียงให้ชนะก็เพราะไม่อยางเสียหน้า ไม่อยากอาย จึงต้องเถียงข้างๆคูๆก็มี แต่ถ้าฝ่ายที่ถูกไม่ยอมลดละ ยังพยายามยืนกรานว่าตนเองถูกไม่ยอมลงให้ฝ่ายที่ผิด เพราะคิดว่าตัวเองถูก พยายามหาเหตุผลที่ถูกต้องมาเอาชนะฝ่ายผิดที่ต้องการเอาชนะเหมือนกัน คือต่างฝ่ายต่างอยากเอาชนะ แบบนี้ก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน เถียงกันไปเถียงกันมา ไปๆมาๆกลายเป็นว่าฝ่ายที่ถูกกลับกลายเป็นฝ่ายผิดพอๆกัน บางครั้งเราเป็นฝ่ายถูก แต่ถ้าเถียงกันไปมามันไม่จบ หาที่ลงไม่ได้ เหนื่อยใจเขา ลำบากใจเรา เขาก็เถียงคอเป็นเอ็น เราก็เถียงปากเป็นเข็ม เหนื่อยทั้งเขา เหนื่อยทั้งเรา ไม่ได้อะไรเลย บางครั้งเรายอมให้ฝ่ายผิดเขาเถียงชนะบ้างก็ได้ ปล่อยให้เขาได้หน้าบ้างก็ไม่เป็นไร เพื่อรักษามิตรภาพดีๆ บรรยากาศดีๆ ไม่มีใครเป็นผู้ชนะตลอดไปและไม่มีใครแพ้ตลอดกาล จริงมั้ย เป็นเพื่อนกันย่อมดีที่สุด ผมพูดถูกมั้ย

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2014, 04:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไปว่าจะไปไหน ทำอะไร ที่บอร์ดไหนๆ ส่วนมากจะเป็นถาม-ตอบกันทำนองว่า นั่นนี่ก็ไม่ใช่ของเรา กายใจก็ไม่ใช่ของเรา :b1: ชีวิตก็ไม่ใช่ของเรา แล้วมันมีอะไรบ้างไหมที่เป็นของเรา ความดี (ความชั่ว) เป็นของเราไหม ? :b10: :b14:

ไปเห็นมาอีก คือ เขาถามว่า


อ้างคำพูด:
เรียนถามผู้รู้นะคะ
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ เช่น ความดี รบกวนผู้รู้ค่ะ


ในวัฏฏสงสารนี้
กาย เป็นของเรา
ชีวิตเป็นของเรา
สิ่งต่างๆ ล้วนเป็นของเรา
กรรม ก็เป็นของเรา
ความดี ความเลว ก็เป็นของเรา
บุญ บาป ก็เป็นของของเรา

เพราะในวัฏฏสงสารนี้ ความเป็นของๆ เรา เป็นที่ตั้งของความทุกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2014, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไรครับ แสดงความคิดความเห็นกันตามอัธยาศัย ใครคิดเห็นยังไงก็ว่าไป :b32: แต่ขอแทรกข้อคิดหน่อย คือ เมื่อมองโดยความเป็นธรรมชาติแล้ว คือ จิต,ความคิด หรือวิญญาณ มันพิสดารจริงๆ :b1: การเห็น, ได้ยิน ฯลฯ สิ่งของเดียวกัน แต่จิตวิญญาณคิดต่างกัน...

พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลกจริงๆที่รู้เข้าใจชีวิต จิตวิญญาณนี้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2014, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางแบบเทียบเคียง ^


วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐาน และเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม


ที่ว่าเป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น (เกิดวิญญาณขึ้น) จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือบีบคั้นใจ (เวทนา) จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (สัญญา) จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่งไปต่างๆ (สังขาร) เช่น เห็นท้องฟ้า (วิญญาณ) รู้สึกสบายตาชื่นใจ (เวทนา) หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสวย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย (สัญญา) ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่ คิดหาวิธีจะทำให้ได้นั่งดูฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจนและนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)



ที่รู้ตาม คือรู้ตามไปตามกิจกรรมของขันธ์อื่นๆ เช่น รู้สึกสุขสบาย (เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นสุข (วิญญาณ) รู้สึกบีบคั้นใจไม่สบาย (เวทนา) ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ (วิญญาณ) หมายรู้ว่าอย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (สัญญา) ก็รู้ไปตามนั้น เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตจำนงไปอย่างใดๆ (สังขาร) ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกันด้วยโดยตลอด กระแสความรู้ยืนพื้น ซึ่งเกิดดับต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาควบไปกับนามขันธ์อื่นๆ หรือกิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ


ลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ คือ วิญญาณ เป็นการรู้ความต่างจำเพาะ รู้ความหมายจำเพาะ หรือรู้แยกต่าง ความหมายนี้พึงเข้าใจด้วงตัวอย่าง เช่น เมื่อเห็นผืนผ้าลาย ที่ว่าเห็นนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดหมายว่าอะไรเป็นอะไร ก็ย่อมเห็นลักษณะอาการ เช่น สีสัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกันเป็นพื้นอยู่พร้อมด้วยเสร็จ นี้เป็นความรู้ขั้นวิญญาณ เพราะวิญญาณรู้เห็นความแตกต่างนั้นอยู่ สัญญาจึงหมายรู้อาการที่แตกต่างกันนั้นได้ว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่น เป็นเขียว ขาว แดง เป็นต้น หรืออย่างเมื่อรับประทานผลไม้ ถึงจะไม่ได้กำหนดหมายว่าเป็นรสหวาน รสเปรี้ยว ก็รู้รสที่หวาน ที่เปรี้ยวนั้น ซึ่งแตกต่างกัน และแม้ในรสทีเปรี้ยวหรือหวานด้วยกัน แม้จะไม่กำหนดหมายว่า รสเปรี้ยวมะม่วง เปรี้ยวมะปราง เปรี้ยวมะขาม เปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวสับปะรด หรือหวานกล้วยหอม หวานกล้วยน้ำว้า หวานกล้วยไข่ หวานแอปเปิ้ล เมื่อลิ้มก็ย่อมรู้รสที่ต่างจำเพาะนั้น ความรู้อย่างนี้ คือ วิญญาณ เป็นความรู้ยืนพื้น เมื่อรู้แล้ว นามขันธ์อื่นจึงจะทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น รู้สึกอร่อยไม่อร่อย (เวทนา) จำได้หมายรู้ว่ารสหวานอะไร รสเปรี้ยวอะไร (สัญญา) เป็นต้น


ส่วนในแง่ที่ว่า รู้ความหมายจำเพาะนั้น อธิบายสั้นๆว่า เมื่อเกิดวิญญาณขึ้น คือ เห็น ได้ยิน เป็นต้น ว่าที่จริงแล้วจะเป็นการเห็นการได้ยินจำเพาะบางแง่ บางความหมาย ของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะแง่จำเพาะอย่างที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้ สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัยให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น*


ตัวอย่างเช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้นมะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียว เป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้ มีชาย ๕ คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆกัน

คนหนึ่ง วิ่งหนีสัตว์ร้าย

คนหนึ่ง กำลังหิวมาก

คนหนึ่ง ร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้

คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย

คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตนเพราะจะแวะไปธุระในย่านใกล้เคียง



คนทั้ง ๕ นั้น มองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และขอบเขตความหมายต่างๆ กัน วิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกันไปตามเจตนาของตนๆ ต่อต้นมะม่วง ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะต่างๆกันไปภายในขอบเขตแห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็นเครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย

คนที่หิวมากก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง ๓-๔ ลูก ก็จะช่วยให้ตนอิ่มพ้นอดตายได้

คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่ควรจะเป็น

คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ทีน้อย

ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย แค่โล่งใจว่า ไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกทีอื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2014, 07:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะ วัฎจักรนี้ คือ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี สิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ เท่านั้น ....
ตัวกูของกูมี เพราะเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง5 ขึ้น
อุปทานขันธ์5 มีเพราะมี ฉันทะ เป็นรากเง่า
ฉันทะ มี เพราะ กิจที่ต้องทำนั้น มี

ตัวกูของกู เต็มพิกัด เพราะ อุปทานเกิด
อุุปทานเกิด เพราะ ตัณหาเกิด
ตัณหาเกิด เพราะ เวทนาเกิด
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเกิด
ผัสสะเกิดเพราะ อาตยนะเกิด
อาตยนะเกิดเพราะนามรูปเกิด
นามรูปเกิด เพราะ วิญญาณเกิด
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเกิด
สังขารเกิดเพราะ อวิชชาเกิด

ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นประชุมลง ..

ดังนี้แล ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านฝึกจิตขอรับ ขอถามหน่อยนะครับว่า

ขันธ์ 5 กาย-ใจ กายะ-มโน ร่างกาย-จิตใจ รูปนาม นามรูป เหมือนกันหรือต่างกันครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 07:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกแล้ว....นิสัย..
ทำตัวเป็นครูใหญ่...มาออกข้อสอบ...ตรวจข้อสอบ..อีกแล้ว..
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เอาอีกแล้ว....นิสัย..
ทำตัวเป็นครูใหญ่...มาออกข้อสอบ...ตรวจข้อสอบ..อีกแล้ว..


กบอย่าอายครู คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จับความสงสัยนี้

อ้างคำพูด:
กายไม่ใช่ของเรา ชีวิตไม่ใช่ของเรา สิ่งใด ๆ ไม่ใช่ของเรา แล้วในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้างไหมคะ เช่น ความดี


มาเทียบกับความสงสัยของภิกษุ (ครั้งพุทธกาล) รูปหนึ่งนี้


อ้างคำพูด:
“ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร?”



คือเขาเอาความรู้ตามสภาวะไปปนกับสมมติ


คือการพูดถึงตัวสภาวะ (ปรมัตถ์) เป็นการพูดถึงแต่ตัวความจริงล้วนๆ โดยไม่พอกเพิ่มถ้อยคำหรือภาพสมมติซ้อนขึ้นมาบนตัวความจริงนั้น

ลองพิจารณาดู ว่าความท่อนไหนเป็นปรมัตถ์ (จะพูดปรมัตถสัจจะก็ได้) ท่อนไหนเป็นสมมติ (จะพูด สมมติสัจจะก็ได้)


คุณกรัชกาย ให้พิจารณาประโยคนี้ใช่ไหม
อ้างคำพูด:
“ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร?”
"รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา" เป็นปรมัตถสัจจะ เป็นตัวสภาวะเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขา
"กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร" เป็นสมมติสัจจะ มีผู้กระทำกรรมและมีตัวผู้รับกรรม

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฝึกจิตเงียบไป ตอบคำถามนั่นหน่อยครับ :b1:

คุณปลีกวิเวก รอหน่อยนะครับ ฟังคำตอบเพียวๆจากคุณฝึกจิตก่อน :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 09:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ต้องรอฝึกจิตดอก..กรัชกาย...มีอะไรก็พูดเลย...ถ้าหากอีก..5วันฝึกจิตถึงจะมา..มิรอไม่ได้ทำอะไร..รึ?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร