วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน
แต่รับวิบากกรรมต่างกัน


ภิกษุทั้งหลาย! ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทาง ที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของ กรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ก็ย่อมปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่ บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน) ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย.

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำแล้ว บาปกรรมนั้น จึงนำเขาไปนรกได้?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุ เล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดน้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้.

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไร ทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรม แล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา ประมาณมิได้คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้ เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำ เล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำอันน้อย ในถ้วยน้ำนั้น จะกลายเป็นน้ำเค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือ ก้อนนั้นใช่ไหม?

“เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า!”. เพราะเหตุไร?

เพราะเหตุว่าน้ำในถ้วยน้ำนั้นมน้อย มันจึงเค็มได้... เพราะเกลือก้อนนั้น.
ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปใน แม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำในแม่น้ำ คงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้เพราะเกลือก้อนนั้น หรือ?
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า!”. เพราะเหตุไร?

เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีมาก น้ำนั้นจึง ไม่เค็ม...เพราะเกลือก้อนนั้น.
ฉันนั้นนั่นแหละ.

ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคน ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย! คนบางคนย่อมผูกพันเพราะ ทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ... แม้ ๑ กหาปณะ... แม้ ๑๐๐ กหาปณะ ส่วนบางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนบางคนในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ

คนอย่างไรไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น?
คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก คนอย่างนี้ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ฉันนั้นนั่นแหละ.

ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลบางคน
ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย! พรานแกะหรือคนฆ่าแกะ บางคนอาจฆ่า มัด ย่างหรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ ขโมยเขามาได้ บางคนไม่อาจทำอย่างนั้น พรานแกะหรือ คนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตามประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้?
บางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ ขโมยเขามาได้.
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำ อย่างนั้น?
บางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำามาตย์ พรานแกะหรือ คนฆ่าแกะเช่นนี้ไม่อาจทำอย่างนั้น มีแต่ว่าคนอื่นจะ ประณมมือขอกะเขาว่าท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะ หรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้ฉันใด ฉันนั้น เหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นนำเขาไปนรกได้ ส่วน บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย! ใครกล่าวว่า คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ
ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม

ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า?
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายยมะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำาเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสังกัปปะ (ความดาริชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ ไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา เป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมากัมมันตะ (การทำาการงาน ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วย การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาวายามะ(ความเพียรชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปท้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการ บังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิด; ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน

ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นมีปกติผู้พิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก ออกเสียได้; เป็นผู้ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำาความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว จากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแล อยู่;

เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด จากสมาธิ แล้วแลอยู่;

อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;

เพราะละสุขและทุกข์ เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน
แต่รับวิบากกรรมต่างกัน

ถ้าจะมองให้ลึกซึ้งนั้นถ้าบุคคลใดทำกรรมอย่างเดียวกัน ผลของกรรมก็ต้องเหมือนกันแน่นอน
แต่ที่มันไม่เหมือนกันมันต่างกันที่จิตคิดจะทำต่างหากที่ไม่เหมือนกัน ผลกรรมจึงไม่เหมือนกัน

จะยกข้อให้เห็น คือ คน ๒ คนไปทำบุญมีอาหารก็อย่างเดียวกัน
ปัจจัยในการทำบุญคนละ ๑๐๐ บาท ก็เหมือนกัน
จะถามว่า ๒ คนนี้จะได้บุญเหมือนกันไหม
ก็ต้องตอบว่าบุคคล ๒ คนนี้ต้องรับผลของบุญที่ไม่เหมือนกันแน่นอน

เพราะอะไรทราบไหม?
ก็เพราะว่าขึ้นอยู่ในขณะที่จิตคิดทำบุญต่างหาก อีกคนหนึ่งอาจทำบุญประกอบด้วยปัญญา
แต่อีกคนหนึ่งทำบุญไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็หมายถึงทำบุญตามๆกันไป หรือตามประเพณี
หรือทำบุญเพราะอยากได้บุญ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2014, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน
แต่รับวิบากกรรมต่างกัน


บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่ บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน) ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย.


เหตุปัจจัย เกิดจาก ตรงนี้ บุคคลสองจำพวก

พวกหนึ่ง

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำแล้ว บาปกรรมนั้น จึงนำเขาไปนรกได้?

บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย
เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม)
เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุ เล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์)
บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดน้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้.


กับอีกพวกหนึ่ง

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไร ทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย?

บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรม แล้ว มีคุณความดีมาก
เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง)
เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา ประมาณมิได้คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้ เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน)

บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น
บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.


ทำไมถึงต่างกัน

เหตุจาก อวิชชาที่มีอยู่

ทำไม บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนั้นทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการกล่าวโทษต่อกัน โดยที่ต่างฝ่าย ต่างคิดว่า ตนไม่ผิด

พวกแรก เป็นผู้หนาแน่น ด้วยอวิชชา
เป็นผู้มีกายมิได้อบรม
มีศีลมิได้อบรม
มีจิตมิได้อบรม
มีปัญญามิได้อบรม
เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม)
เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุ เล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์)

เมื่อถูกกล่าวโทษ แล้วตนคิดว่า ตนไม่ผิด
ย่อมมีการตอบโต้ออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
และอาจมีเหตุอื่นๆ ให้เกิดขึ้นมากกว่านี้
เนื่องจาก ไม่ยอมหยุด การกระทำของตนเอง
(เหตุของอวิชชาที่มีอยู่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น)

หลังจากนั้น มีการผูกใจเจ็บ กลายเป็นความพยาบาท อาฆาต จองเวร
ขณะจิตจุติ จิตไปนึกคิดถึงความพยาบาทตรงนี้ ย่อมมี ทุคติ เป็นที่หมาย

เพราะเหตุนี้ บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้




กับอีกพวก เป็นเป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว
มีศีลได้อบรมแล้ว
มีจิตได้อบรมแล้ว
มีปัญญาได้อบรม แล้ว
มีคุณความดีมาก

เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง)
เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา ประมาณมิได้
คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้ เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน)

เมื่อรู้ชัดด้วยตนเองว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
แม้อาจจะมีพลั้งเผลอ หลงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อมีเหตุ(ผัสสะ)แบบนั้น เกิดขึ้นอีก
ย่อมรู้ว่า เพราะ อะไร เป็นเหตุปัจจัย จึงไม่คิดสานต่อ หรือ สร้างเหตุกับอีกฝ่าย
เพราะเหตุนี้ บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.

เหตุนี้ บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บางคน ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 92 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร