วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2014, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัดสำคัญ ที่พูดถึงกันบ่อยกับที่ถูกลืมให้สังเกตกันดู



สามคำสำคัญในชุดของศีล: ศีล วินัย สิกขาบท


ทำความเข้าใจเกี่ยวกับถ้อยคำเล็กน้อย คือ คำว่า ศีล นี้ เราพูดอย่างชาวบ้านว่าเป็นคำพระคำหนึ่ง และคำพระแทบทุกคำก็มาจากภาษาบาลี

บรรดา คำเหล่านี้ แต่เดิม ในภาษาบาลีเอง หลายคำมีความหมายแยกไปได้หลายนัย ซับซ้อนอยู่แล้ว พอนำมาใช้ในภาษาไทย พูดต่อๆกันไป ความหมายที่เข้าใจก็ผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไปต่างๆ บางคำถึงกับมีความหมายกลายเป็นตรงข้ามจากเดิมก็มี จึงต้องคอยซักซ้อมทบทวนกันไว้ให้ดี


ศีล ที่แปลง่ายๆว่า ความประพฤติที่ดีนี้ มีคำในชุดเดียวกันที่สำคัญ ซึ่งควรเข้าใจให้ชัด และแยกกันให้ถูก รวม ๓ คำ คือ ศีล วินัย และสิกขาบท ทั้ง ๓ คำนี้ ในภาษาบาลีเดิม มีความหมายแยกต่างหากกันชัดเจน แต่บางครั้ง มีการใช้แบบหลวมๆ หรือแบบภาษาชาวบ้าน โดยในบางโอกาสก็ใช้แทนกันบ้าง แต่ถ้าพูดกันเป็นงานเป็นการ อย่างที่เรียกว่าเป็นวิชาการ ก็ใช้ในความหมายที่เคร่งครัด แยกกันออกไป ไม่ให้สับสนปนเป ส่วนในภาษาไทย คำพระจากภาษาบาลีเหล่านี้ ได้ใช้ปนเปและผิดเพี้ยนไปไม่น้อยแล้ว คงแก้ไม่ไหว ผู้ศึกษาควรรู้ตระหนักไว้ และใช้อย่างรู้เท่าทัน โดยมีความเข้าใจในความหมายที่แท้ชัดแจ้งอยู่ภายในของตน


(มีต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2014, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล (บาลี สีล) คือ ความประพฤติที่ดีงามสุจริต ที่แสดงออกทางกาย และทางวาจา เป็นคุณสมบัติของคนที่ประพฤติดีอย่างนั้น เป็นคำรวมๆ เพราะฉะนั้น ตามปกติ จึงใช้เป็นคำเอกพจน์ (ไม่เป็นข้อๆ)


วินัย (บาลี วินย) คือ ระเบียบ หรือ แบบแผนความประพฤติความเป็นอยู่และการประกอบกิจ ดำเนินการต่างๆ ซึ่งจัดตั้งวางไว้โดยเป็นประมวลแห่งข้อบัญญัติ ข้อปฏิบัติ ข้อกำหนด กฎน้อยใหญ่ สำหรับฝึกฝนควบคุมกำกับความประพฤติและการ ปฏิบัติ ให้เป็นไปในแนวทางอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะเกิดความเรียบร้อยดีงาม และความเจริญงอกงามสัมฤทธิ์ความมุ่งหมาย วินัยนี้ก็เป็นคำรวมๆ จึงใช้เป็นคำเอกพจน์


สิกขาบท (บาลี สิกฺขาปท = ข้อศึกษา ข้อฝึกความประพฤติ) คือข้อบัญญัติ โดยเฉพาะข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นข้อปฏิบัติ ที่จะต้องทำหรือต้องเว้นการใดๆ ตามที่บัญญัติไว้นั้น เพื่อให้มีความประพฤติและการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม จะเห็นว่า สิกขาบทเป็นข้อๆ เมื่อพูดถึงหลายข้อ ก็เป็นพหูพจน์


ตามที่ว่ามานี้ สิกขาบททั้งหลายทั้งหมด รวมกันเป็นวินัย การปฏิบัติตามสิกขาบททั้งหลาย คือตั้งอยู่ในวินัย (หรือความประพฤติที่ถูกต้องตามสิกขาบท เป็นไปตามวินัย) ก็เป็นศีล เช่นว่า

สิกขาบท ๒๒๗ ข้อ เรียกรวมกันว่า วินัยของภิกษุ ภิกษุที่ตั้งอยู่ในวินัยของภิกษุ (ประพฤติถูกต้องตามสิกขาบทสำหรับภิกษุ) ก็เป็นผู้มีศีล


สิกขาบท ๓๑๑ ข้อ เรียกรวมกันว่า วินัยของภิกษุณี ภิกษุณีที่ตั้งอยู่ในวินัยของภิกษุณี (ประพฤติถูกต้องตามสิกขาบทสำหรับภิกษุณี) ก็เป็นผู้มีศีล


สิกขาบท ๕ ข้อ สำหรับคฤหัสถ์ คือชาวบ้านทั้งหลาย มีเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น (ปัญจสิกขาบท หรือเบญจสิกขาบท) เมื่อคฤหัสถ์ประพฤติถูกต้องตามสิกขาบท ๕ นี้ ก็เป็นผู้มีศีล (บางทีเรียกเป็นศัพท์ว่า เบญจสิกขาบทศีล) *


ที่ว่ามานี้เป็นความหมาย หลัก หรือเป็นการใช้คำอย่างเคร่งครัด แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า มีการใช้คำเหล่านี้อย่างหลวมๆ ด้วย คือบางทีเรียกแทนกันได้ ที่คุ้นกัน ก็ได้แก่ สิกขาบท ๕ หรือเบญจสิกขาบท ซึ่งนิยมเรียกกันว่า ศีล ๕ หรือเบญจศีล ในพระไตรปิฎกมีเรียกว่า ศีล ๕ หรือเบญจศีล น้อยอย่างยิ่ง เหตุที่เรียก คงเป็นเพราะคำว่าเบญจสิกขาทบยาว เรียกยาก เวลาพูดอย่างไม่เคร่งครัด โดยเฉพาะในคาถา ซึ่งต้องการคำสั้นๆ ก็เลยเรียกเป็นเบญจศีล แต่ในสมัยอรรถกถา เรียกเบญจศีล (ปญฺจสีล) กันมาก

ครั้นมาเมืองไทย คนทั่วไปเรียกสิกขาบท ๕ นั้น ตามนิยมของยุคหลังนี้ว่า ศีล ๕ หรือเบญจศีล จนไปๆมาๆ แทบไม่รู้จักคำว่าสิกขาบท (แต่เวลาสมาทาน ถ้าสังเกต จะเห็นชัด)


เมื่อ ศีลมาใช้แทนสิกขาบท ศีลก็เลยกลายเป็นตัวข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง เป็นข้อๆได้ ใช้เป็นพหูพจน์ได้ ไม่ใช่แค่เป็นคุณสมบัติของคน ไม่ใช่แค่เป็นภาวะของคนที่ประพฤติถูกต้องตามวินัย เป็นไปตามสิกขาบท


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* สิกขาบท สำหรับคฤหัสถ์ ๕ ข้อ เป็นหลักปฏิบัติที่ถือกันมาในสังคมสืบแต่โบราณ พระพุทธศาสนายอมรับตามนั้น และก็มิได้มีข้อบัญญัติมากหลายที่จะประมวลขึ้นเป็นวินัย ดังนั้น ตามปกติ จึงไม่พูดถึงวินัยของคฤหัสถ์ (เหมือนรู้กันว่าก็คือศีล ๕ นั่นเองแหละ) แต่บางที พระอรรถกถาจารย์บางท่าน จัดหลักธรรมบางชุดให้เรียกว่าเป็นวินัยของคฤหัสถ์ ดังที่คัมภีร์สุมังคลวิลาสินีบอกว่า สิงคาลสูตร เป็นคิหิวินัย คือวินัยของคฤหัสถ์ และปรมัตถโชติกาจัดให้ว่า การเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอาคาริยวินัย คือวินัยของครองเรือน


(มีต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 มี.ค. 2014, 20:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2014, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



ส่วนวินัยนั้น ในภาษาบาลีเดิม เป็นคำใหญ่มาก และมีความหมายกว้างขวางมากหลายนัย เช่นเป็นระบบใหญ่คู่กับธรรม ในคำว่า ธรรมวินัย ความหมายหลายอย่างของวินัยอยู่นอกชุด ๓ ที่รวมกับศีลและสิกขาบทนั้น พอเข้ามาในภาษาไทย เพราะ เป็นคำที่มีความหมายกว้างอย่างที่ว่า และในชุดนี้เอง ก็เป็นคำที่อยู่กลาง ระหว่างศีล กับ สิกขาบท ในเมื่อคำเหล่านี้ เวลาใช้อย่างหลวมๆ ก็พอแทนกันได้อยู่แล้ว คนจับที่คำต้นคือศีล กับคำท้ายคือสิกขาบท คงรู้สึกว่าพอแล้ว ก็เลยหยุดเอาแค่นั้น คำว่า วินัย ก็เลยมีความหมายค่อนข้างพร่าๆคลุมๆ


ยิ่ง กว่านั้น ขณะที่ในวัดหรือในพระศาสนา วินัยใช้กันในความหมายแบบกว้างๆคลุ่มๆ และพร่าด้วย คำนี้กลับออกไปเป็นคำที่ใช้มากในสังคมของชาวบ้านชาวเมือง ตลอดจนในวงงานกิจการสมัยใหม่ แต่มีความหมายแคบลงไปมาก กลายเป็นเรื่องของการควบคุมตัวและควบคุมกันให้อยู่ในระเบียบ ให้ทำตามข้อบังคับ ให้เป็นไปตามกติกา เช่น วินัยจราจร และแถมว่า ในแง่หนึ่ง วินัยมีความหมายกลายเป็นคุณสมบัติของคน คือความเข้มแข็งที่สามารถบังคับควบคุมตนให้อยู่ให้ทำได้ตามหลักการ ตามกฎกติกา (ตรงนี้ก็สับสนกับศีลด้วย)


ถึงตอนนี้ เหมือนมีการแบ่งแยกกันออกไป คือ ทางฝ่ายวัด หรือทางพระศาสนา ใช้คำว่า ศีล ส่วนทางฝ่ายคนนอกวัด หรือทางบ้านเมือง และสังคมภายนอก ใช้คำว่า วินัย ดังที่ว่า เวลาพูดคำว่า ศีล ขึ้นมา คนไทยทั่วไปก็จะนึกว่าเป็นเรื่องไปที่วัด หรือทางศาสนา ทั้งที่ว่า ทั้งศีล และวินัย เป็นคำสำคัญทั้งคู่ในพระพุทธศาสนา


ทีนี้เรื่องมิใช่แค่นั้น หันกลับมาดูที่วัด เมื่อคน (รวมทั้งพระ) ห่างเหินเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยออก ไปๆ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถ้อยคำทางธรรมวินัยนั้น ก็รางเลือนลงๆ แม้แต่สามคำในชุดที่พูดถึงนี้ ก็เสื่อมถอยจากวิถีชีวิตลงไปอีก กล่าวคือ ใน ๓ คำนั้น จะเห็นว่า คำแรกคือศีล ที่เป็นคุณสมบัติในตัวคน หรือเป็นภาวะของคนนั้น ก็คือเป็นจุดหมายของ ๒ คำหลัง เพราะที่ฝึกบุคคลด้วยสิกขาบท โดยควบคุมตรวจสอบให้เป็นไปพร้อมด้วยวินัยนั้น ก็คือเพื่อให้เขาเป็นคนมีศีล หรือเพื่อให้ศีลเกิดขึ้นในตัวคน ไปๆมาๆ ในที่สุด คำว่าศีลคำเดียว กลายเป็นใช้แทนได้หมด ทั้งแทนสิกขาบทก็ได้ แทนวินัยก็ได้ เลยเหลือแต่ศีลคำเดียว วินัย กับ สิกขาบทเหมือนอยู่แค่หลังฉาก แต่พร้อมกับที่ศีลมีความหมายคลุมหมด ก็พร่ามัวไปด้วย


แต่เรื่องก็มิใช่เท่านั้นอีก ที่ว่าศีลเป็นจุดหมายนั้น หมายถึงเป็นจุดหมายในการพัฒนาคน ดังที่ในหลักการศึกษา คือ ไตรสิกขา มีศีลเป็นข้อต้นในชุด ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกให้เต็มว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา แปลง่ายๆรวบรัดว่า ศึกษาคือฝึกฝนพัฒนาให้มีศีลยิ่งขึ้นไป ให้จิตใจมีคุณภาพยิ่งขึ้นไป และให้มีปัญญายิ่งขึ้นไป ตรงนี้เป็นเรื่องของการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องของคน ที่ว่าชีวิตคนจะดีได้ โลกมนุษย์จะดีได้ ก็ต้องพัฒนาคนให้ดี ให้สมบูรณ์ ให้มีคุณภาพสูงสุด อย่างน้อยก็เป็นผู้ไปทำกิจกรรมแม้แต่ในสังคม ศีลก็จึงมาอยู่ที่ตัวคน แล้วก็แยกเป็นแต่ละบุคคล


แต่ เมื่อมองย้อนออกไปดูในกระบวนการฝึกคนนั้น จะเห็นชัดว่า ในการพัฒนาคนแม้แต่ละคนๆ ให้เจริญงอกงามนั้น ต้องมีการรู้จักอยู่ร่วมสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคม มีการทำกิจกรรมในสังคมนั้น ทั้งแต่ละคนและร่วมกัน ตั้งแต่กิจกรรมเพื่อเจริญกาย จนถึงกิจกรรมเพื่อเจริญปัญญา มีการจัดสภาพแวดล้อม การจัดสรรแบ่งปันปัจจัยสี่และสรรพอามิส การกินอยู่ การประกอบอาชีพ การปกครอง ฯลฯ สารพัด นี่คือ วินัย


แม้วินัยจะเพื่อศีล อยู่ในชุดร่วมกันกับศีลก็ตาม แต่วินัยก็มีขอบข่ายเขตแดนแตกต่างจากศีล มิใช่เป็นเพียงคำที่ใช้แทนกันได้ หรือสับสนปนเป หรือพร่ามัว อย่างที่ความเข้าใจของคนได้เลือนลงไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ได้อธิบายมาถึงเพียงนี้ พอให้เข้าใจความหมายของถ้อยคำที่สำคัญ เพื่อเป็นฐานของการที่จะพูดเรื่องศีลกันต่อไป ในด้านหนึ่ง ก็จะได้รู้เข้าใจความหมายที่แท้จริงให้ชัดเจน แต่พร้อมกันนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ก็จะได้ตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน ที่มีความเข้าใจความหมายของถ้อยคำเหล่านี้ไม่เพียงพอ โดยมองเห็นว่าความหมายได้คับแคบคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปอย่างไร แล้วศึกษาอย่างรู้เท่าทันที่จะให้ได้ผลตามที่มุ่งหมาย

ขอแทรกเล็กน้อยว่า ในเรื่องวินัย ในความหมายเชิงสังคมนั้น ได้กล่าวไว้ในบทว่าด้วยเรื่องกรรมบ้างแล้ว ควรจะศึกษาอย่างโยงถึงกันด้วย


เมื่อทำความเข้าใจกันอย่างนี้แล้ว ก็จะพูดถึงเรื่องศีลในเชิงสังคม โดย ถือความหมายของคำตามที่เข้าใจกันแบบคลุมๆ ในปัจจุบัน เช่นเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ และใช้ปนกันไปกับคำในชุดเดียวกัน ครั้นแล้ว พร้อมด้วยความรู้เท่าทันนั้น ก็ศึกษาจับสาระของเรื่องราวให้ชัดเจน


(พุทธธรรมหน้า 914)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2014, 21:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
:b27:
:b11:
อนุโมทนากับความเพียรพยายามของกรัชกายที่นำเอาเรื่องราวรายละเอียดของศีลมาอรรถาธิบายขยายความแบ่งปันสู่กันฟัง

เพราะเรียนรู้ศึกษาเรื่องศีล 5 มาดี ถูกต้อง ศีล 5 จึงดี (สุตตมยปัญญา)

เพราะศีล 5 ดี สมาธิและสัมมาสมาธิจึงเกิด

เพราะสัมมาสมาธิเกิด สัมมาปัญญาจึงเกิด

เพราะสัมมาปัญญาเกิด ความเห็นธรรมตามความเป็นจริงจึงเกิด

เพราะความเห็นธรรมตามความเป็นจริงเกิด ความเบื่อหน่ายคลายจางละวางจึงเกิด

เพราะความเบื่อหน่ายคลายจางละวางเกิด ความเห็นผิดจึงดับ

เพราะความเห็นผิด (สักกายทิฏฐิ)ดับ โสดาปัตติมรรคญาณ โสดาปัตติผล นิพพาน จึงเกิด

ศีล 5 ที่ประพฤติไว้ดีแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ถึงโสดาบัน ดังนี้แล

:b39:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b39:
โสดาบันบุคคล แปลว่า "ผู้ไม่ถอยหลังกลับมา"

ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์หรืออบายภูมิทั้ง 4 มีสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
ประตูอบายจะปิดสนิทสำหรับโสดาบันบุคคล

เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้นั่งแท่นทางธรรม
:b40: :b40:
ผู้นั่งแท่นทางโลกที่เราเห็นได้ง่ายในปัจจุบันเช่น ข้าราชการบำนาญ ซึ่งไม่ต้องเดือดร้อนอีกแล้วในการหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

พระโสดาบันก็ไม่เดือดร้อนอีกแล้ว ที่จะต้องมาทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิทั้ง 4 หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์

สบายแท้หนอ น่าไปให้ถึงกันได้จริงๆเร็วๆหนา
มาเร่งขวันขวายกันเถอะ

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b39:
โสดาบันบุคคล แปลว่า "ผู้ไม่ถอยหลังกลับมา"

ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์หรืออบายภูมิทั้ง 4 มีสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
ประตูอบายจะปิดสนิทสำหรับโสดาบันบุคคล

เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้นั่งแท่นทางธรรม
:b40: :b40:
ผู้นั่งแท่นทางโลกที่เราเห็นได้ง่ายในปัจจุบันเช่น ข้าราชการบำนาญ ซึ่งไม่ต้องเดือดร้อนอีกแล้วในการหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

[b]พระโสดาบันก็ไม่เดือดร้อนอีกแล้ว ที่จะต้องมาทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิทั้ง 4 หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์


สบายแท้หนอ น่าไปให้ถึงกันได้จริงๆเร็วๆหนา
มาเร่งขวันขวายกันเถอะ[/b]

:b37:

ไม่ค่อยเข้าใจที่อโสกะพูด เป็นพระโสดาบัณไม่ต้องทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิ หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์ :b10: งงอ่ะเป็นพระโสดาบัณนี่ต้องทำไรมั่ง คุนน้องกำลังวาดฝันอยู่อยากเป็นอ่ะจะได้สบาย เป็นพระโสดาบัณ ไม่ต้องดิ้นรนขนขวายมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์ ทำไงบอกหน่อย อย่าบอกนะว่าให้คุนน้องไปบวชหรือไม่ก็ไปกระโดดน้ำตาย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




index.jpg
index.jpg [ 4.21 KiB | เปิดดู 3148 ครั้ง ]
asoka เขียน:

โสดาบันบุคคล แปลว่า "ผู้ไม่ถอยหลังกลับมา"

ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์หรืออบายภูมิทั้ง 4 มีสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
ประตูอบายจะปิดสนิทสำหรับโสดาบันบุคคล

เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้นั่งแท่นทางธรรม

ผู้นั่งแท่นทางโลกที่เราเห็นได้ง่ายในปัจจุบันเช่น ข้าราชการบำนาญ ซึ่งไม่ต้องเดือดร้อนอีกแล้วในการหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

พระโสดาบันก็ไม่เดือดร้อนอีกแล้ว ที่จะต้องมาทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิทั้ง 4 หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์

สบายแท้หนอ น่าไปให้ถึงกันได้จริงๆเร็วๆหนา
มาเร่งขวันขวายกันเถอะ



ประมาทแระอโศก :b1:

อ้างคำพูด:
เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น "ผู้นั่งแท่นทางธรรม"



นั่นท่า มณโฑนั่งแท่น :b32:

อ้างคำพูด:
ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์



ไม่ถอยหลังมาเป็นมนุษย์แล้วจะเดินหน้าไปไหน ไปเป็นอะไรล่ะขอรับ คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 21:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความยินดี..กับ อโสกะด้วย...
เพราะ...โสดาบัน....ยังหลงได้..ยังโกรธอยู่...ยังเกลียดยังเสียใจ...ยังอยากรวย....อยู่
แต่...อยู่ภายในศีล

โดยเฉพาะ..ที่ว่า..โสดาบัน...ยังหลงได้อยู่....ไม่รู้ได้อยู่

ที่กระผมว่า อโสกะในกระทู้โน้นว่า...แค่นี้ไม่รู้.ระวังจะเป็นอริยะไม่ได้..เน้อ

แต่..โสดาบัน..เขาจะเงี่ยหูฟัง...อ่อนน้อม...นะ....หยิ่งๆ...แล้วละก้อ....ไม่ใช่แล้ว

อิอิ.. :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
asoka เขียน:
:b39:
โสดาบันบุคคล แปลว่า "ผู้ไม่ถอยหลังกลับมา"

ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์หรืออบายภูมิทั้ง 4 มีสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
ประตูอบายจะปิดสนิทสำหรับโสดาบันบุคคล

เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้นั่งแท่นทางธรรม
:b40: :b40:
ผู้นั่งแท่นทางโลกที่เราเห็นได้ง่ายในปัจจุบันเช่น ข้าราชการบำนาญ ซึ่งไม่ต้องเดือดร้อนอีกแล้วในการหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

[b]พระโสดาบันก็ไม่เดือดร้อนอีกแล้ว ที่จะต้องมาทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิทั้ง 4 หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์


สบายแท้หนอ น่าไปให้ถึงกันได้จริงๆเร็วๆหนา
มาเร่งขวันขวายกันเถอะ[/b]

:b37:

ไม่ค่อยเข้าใจที่อโสกะพูด เป็นพระโสดาบัณไม่ต้องทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิ หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์ :b10: งงอ่ะเป็นพระโสดาบัณนี่ต้องทำไรมั่ง คุนน้องกำลังวาดฝันอยู่อยากเป็นอ่ะจะได้สบาย เป็นพระโสดาบัณ ไม่ต้องดิ้นรนขนขวายมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์ ทำไงบอกหน่อย อย่าบอกนะว่าให้คุนน้องไปบวชหรือไม่ก็ไปกระโดดน้ำตาย :b32:

s004
เออ......ต้องขออภัยน้องคง พอดีพูดลัดไปหน่อย
ความหมายของการนั่งแท่นทางธรรมนั้นหมายความว่า เมื่อได้ความเป็นโสดาบันแล้วหากต้องตายลงไป ก็จักไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 หรือกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ให้เหน็ดเหนื่อยทำมาหากินอีก มีแต่จะไปเกิดในสวรรค์หรือชั้นพรหมแล้วนิพพานบนนั้น ภายในเวลาอีกไม่เกิ น 7 ชาติ 3 ชาติหรือชาติเดียว ขึ้นแล้วแต่ชั้นของโสดาบันที่เข้าถึง ครับ

ส่วนพระโสดาบันที่ยังไม่ตาย ก็คงยังต้องเสวยวิบากในชั้นมนุษย์ไปตามกรรมที่ตนเองแต่งสร้าง อาจทำมาหากินต่อไป หรือได้ทำความเพียรจนบรรลุธรรมที่สูงชั้นขึ้นไปอีก
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

โสดาบันบุคคล แปลว่า "ผู้ไม่ถอยหลังกลับมา"

ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์หรืออบายภูมิทั้ง 4 มีสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
ประตูอบายจะปิดสนิทสำหรับโสดาบันบุคคล

เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ผู้นั่งแท่นทางธรรม

ผู้นั่งแท่นทางโลกที่เราเห็นได้ง่ายในปัจจุบันเช่น ข้าราชการบำนาญ ซึ่งไม่ต้องเดือดร้อนอีกแล้วในการหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

พระโสดาบันก็ไม่เดือดร้อนอีกแล้ว ที่จะต้องมาทำความเพียรเพื่อปิดกั้นตนไม่ให้ตกอบายภูมิทั้ง 4 หรือมามีชีวิตทำมาหากินในโลกมนุษย์

สบายแท้หนอ น่าไปให้ถึงกันได้จริงๆเร็วๆหนา
มาเร่งขวันขวายกันเถอะ



ประมาทแระอโศก :b1:

อ้างคำพูด:
เปรียบได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น "ผู้นั่งแท่นทางธรรม"




นั่นท่า มณโฑนั่งแท่น :b32:

อ้างคำพูด:
ไม่ถอยหลังกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์



ไม่ถอยหลังมาเป็นมนุษย์แล้วจะเดินหน้าไปไหน ไปเป็นอะไรล่ะขอรับ คิกๆๆ :b32:

:b12: :b12:
เมื่อเข้าถึงโสดาปัตติผลแล้ว เวลาตายจะไม่มีหลงทำกาลกิริยา คำว่าประมาทจึงใช้ไม่ได้กับท่าน
ไม่ถอยหลังกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เหลืออีก 2 ภพภูมิที่จะไปเกิดได้ก็คือ เทวดา 6 ชั้น และพรหม 20 ชั้นไง

ไปไม่เป็นหรือ กรัชกาย
cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 22:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ...เอาตำราไหนมาหน่อ...ถึงว่าโสดาบันไม่กลับมาเป็นมนุษย์อีก...

โสดาบัน มี3
1. อย่างขี้เร่...เกิดเป็นคนหรือเทวดา...เทวดากับพรหม..อีก7 ครั้ง..ครั้งที่7 เกิดเป็นคนก็บรรลุเป็นอรหันต์..เรียก..สัตตคักตุง
2. อย่างกลาง..เกิดอีก3 ครั้ง..เป็นคนกับเทวดา..หรือเทวดากับพรหม..ครั้งที่3 เป็นคนก็บรรลุเป็นอรหันต์..เรียก..โกลังโกละ
3. อย่างปราณีต..ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม....กลับมาเป็นมนุษย์อีก1ครั้ง...ก็ตัดใจไปนิพพานได้..เรียก..เอกพีซี

จะเห็นว่า....ชาติสุดท้ายจะเป็นคนก่อนจึงบรรลุ

นี้ถ้าปล่อยไปตามบุญตามกรรมนะ..แสดงว่า...ยังมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์..อยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อโสกะ...เอาตำราไหนมาหน่อ...ถึงว่าโสดาบันไม่กลับมาเป็นมนุษย์อีก...

โสดาบัน มี3
1. อย่างขี้เร่...เกิดเป็นคนหรือเทวดา...เทวดากับพรหม..อีก7 ครั้ง..ครั้งที่7 เกิดเป็นคนก็บรรลุเป็นอรหันต์..เรียก..สัตตคักตุง
2. อย่างกลาง..เกิดอีก3 ครั้ง..เป็นคนกับเทวดา..หรือเทวดากับพรหม..ครั้งที่3 เป็นคนก็บรรลุเป็นอรหันต์..เรียก..โกลังโกละ
3. อย่างปราณีต..ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม....กลับมาเป็นมนุษย์อีก1ครั้ง...ก็ตัดใจไปนิพพานได้..เรียก..เอกพีซี

จะเห็นว่า....ชาติสุดท้ายจะเป็นคนก่อนจึงบรรลุ

นี้ถ้าปล่อยไปตามบุญตามกรรมนะ..แสดงว่า...ยังมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์..อยู่

s006
มีหลักฐานไหมครับที่พระโสดาบันกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 05:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว..อโสกะ..มีหลักฐานไหมครับที่พระโสดาบันไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก... s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน :b8:
คุยกันเรื่องอจินตรัย...คุยกันจนแก่จนตายก็ไม่จบนะ
แต่คุยกับตัวของตัวเอง...เรื่องศีลของตัวเองว่ามีว่าบกพร่องตรงไหน...มันจบได้ที่ตัวเราเองนะครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 11:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน :b8:
คุยกันเรื่องอจินตรัย...คุยกันจนแก่จนตายก็ไม่จบนะ
แต่คุยกับตัวของตัวเอง...เรื่องศีลของตัวเองว่ามีว่าบกพร่องตรงไหน...มันจบได้ที่ตัวเราเองนะครับ
:b8:

smiley
ขอบคุณคุณลูกพระป่า ที่มีเมตตาเป็นห่วง

ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นเรื่องอจินไตย ในเรื่องคุณสบบัติของพระโสดาบัน มันยังพอมีเหตุผลบอกได้คุยได้อยู่นะครับ พอดีคุณกบเขาพูดเองสรุปเองว่าพระโสดาบันที่ตายไปชาติสุดท้ายต้องกลับมาทำความเพียรในโลกมนุษย์ จึงต้องถามหาพยานหลักฐานกันหน่อย

แต่ในส่วนที่ได้นั่งแท่นเป็นโสดาบันบุคคลแล้ว จะไม่หวนกลับมาเกิดในอบายภูมิและมนุษย์ภูมินั้นมีหลักฐานอ้างอิงได้ใน กรณียเมตตาสูตรครับ
tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร