วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อิอิ
ก็เพราะ....ไม่มีโสดาบันไหน...นั้งแท่นสบายใจ....นอนใจ...ชิว..ชิว....อย่างอโสกะว่า..นี้นา
จึงไม่มีโสดาบันค้าง..ข้ามพุทธันดร....มาได้...

รู้มั้ย...ว่าทำไม??...
คนเรา..มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์...มีกรรมเป็นแดนเกิด..
จิตอวิชชา...ไม่เคยยอมใคร...นอกเสียจากว่า...ผู้นั้น...จะยอมเสีย..อะไรก็แล้วแต่เพื่อ.จิตอวิชชานั้น.รู้จักชื่อกิเลส...มานะ..มั้ย
ดังนั้น...คำว่า..เราเสียหัวมากกว่ามนุษย์บนโลก...เราเสียดวงตามากกว่าเดือนดาราในท้องฟ้า....
จึงไม่ใช่คำพูดให้ดูเท่ๆ
แต่เพื่อให้จิตอวิชชาอื่นยอมรับฟัง....จึงตั้งใจเสียสละชีวิต....นี้เฉพาะช่วงปรมัตถบารมี..นะ
จึงมีคำว่า...
....บำเพ็ญบุญบารมีมาด้วยกัน....
....กัลยาณมิตรเป็นบุพนิมิตของการตรัสรู้ของสาวก....

:b16:

คำพูดนี้เอาหลักฐานมาจากไหน กบ ตู่เอาเองหรือเปล่า

1 พุทธันดรของพระพุทธเจ้า ไม่ยาวเป็นหลายๆกัปป์มั้ง ของพระสมณโคดมพุทธเจ้ายังแค่ 5,000 ปีเองไม่ใช่หรือ อายุเทวดาและพรหมบางพวกที่อาจเป็นโสดาบันหรือสกิทาคามีบุคคล นี่ยาวนานมากกว่ากระมังครับ
s004 s004 s004


อโสกะ..นี้...เป้นอะไรก็ไม่รู้...เรื่องพื้นฐานแท้ๆ...ไม่น่าจะลืม...สงสัยบาปที่ชอบไปว่ากรัชกาย..ว่าพ่อนักวิชาการใหญ่...กรรมจึงส่งผลให้ลืมวิชาการพื้นๆ..ซะได้....

กล่าวตู่...ก็ใช้ผิด...ถ้าจะบอกว่าผม..มโนไปเอง..ยังจะถูกกว่า
การกล่าวตู่...เป็นได้ดังนี้...จึงจะเรียก..กล่าวตู่

กล่าวตู่
       กล่าวตู่ กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง,
       ในคำว่า “กล่าวตู่พระพุทธเจ้า” หรือ “ตู่พุทธพจน์” หมายความว่า  อ้างผิดๆ ถูกๆ,  กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้,  พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส,  พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่,  พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ
(พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก)
 




พุทธันดร....เขาหมายถึง..ช่วงว่างพระศาสนาจากพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง..ถึง..พระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง
อายุศาสนาของสมณโคตมของเรา.คือ.5,000 ปี...ตอนนี้ยังไม่ใย่ช่วงว่างจากพระศาสนานะจ๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 23:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาก็แจ่ม ...

Quote Tipitaka:
อรรถกถาชัมพาลีสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในชัมพาลีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สนฺตํ เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า สกฺกายนิโรธํ ได้แก่ ดับสักกายะอันได้แก่วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓. อธิบายว่า นิพพาน.
บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่ ไม่แล่นไปด้วยอำนาจอารมณ์. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า น ปาฏิกงฺโข ได้แก่ ไม่พึงหวังได้.
บทว่า ลปคเตน ได้แก่ เปื้อนยางเหนียว.
ก็และในความนี้ ควรนำมาเปรียบด้วยบุรุษผู้ประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้น. เขาว่าบุรุษผู้หนึ่งประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้นของแม่น้ำ ซึ่งมีกระแสเชี่ยวจัดมาก เต็มไปด้วยปลาร้าย คิดว่า ฝั่งในน่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งนอกเป็นที่เกษมปลอดภัย เราจะทำอย่างไรดีหนอ จึงจักข้ามไปฝั่งโน้นได้ เห็นต้นกุ่ม ๘ ต้นตั้งอยู่เรียงกัน จึงแน่ใจว่าเราน่าจะไปตามลำดับของต้นไม้นี้ได้ ขึ้นชื่อว่าต้นกุ่มมีกิ่งเลี้ยง มือจะจับกิ่งยึดไว้ไม่ได้ จึงเอายางของต้นไทรและต้นเลียบเป็นต้น ต้นใดต้นหนึ่งทามือและเท้า เอามือขวาจับกิ่งหนึ่งไว้. มือก็ติดทีกิ่งนั้นเอง เอามือซ้าย เท้าขวา เท้าซ้ายจับเกาะก็ติดอีก เพราะเหตุนั้น มือและเท้าแม้ทั้ง ๔ ก็ติดอยู่ที่กิ่งนั้นนั่นเอง. เขาห้อยหัวลง เมื่อฝนตกลงบนแม่น้ำ เขาก็จมลงในกระแสแม่น้ำที่เต็ม กลายเป็นเหยื่อจระเข้เป็นต้น.
ในข้อนั้น กระแสแห่งสงสารพึงเห็นดุจกระแสน้ำ. พระโยคาวจรดุจบุรุษประสงค์จะข้ามฝั่งกระแสน้ำ สักกายะดุจฝั่งใน นิพพานดุจฝั่งนอก สมาบัติ ๘ ดุจต้นกุ่ม ๘ ต้นที่ตั้งเรียงอยู่ การไม่ชำระธรรมที่เป็นอันตรายต่อฌานและวิปัสสนาให้หมดจดแล้ว เข้าสมาบัติดุจเอามือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ เวลาที่ถูกความติดใจคล้องไว้ในปฐมฌาน ดุจเอามือและเท้าเกี่ยวติดไว้ที่กิ่งไม้ห้อยหัวลง เวลาที่กิเลสเกิดในทวาร ๖ ดุจฝนตกบนกระแสน้ำ เวลาที่ผู้จมอยู่ในกระแสสงสาร เสวยทุกข์ในอบาย ๔ ดุจเวลาที่ผู้จมลงในกระแสแม่น้ำที่เต็ม เป็นเหยื่อของจระเข้เป็นต้น.
บทว่า สุทฺเธน หตฺเถน ได้แก่ ด้วยมือที่ล้างสะอาดดีแล้ว แม้ในความข้อนี้ก็พึงเปรียบเทียบเช่นนั้นเหมือนกัน. บุรุษผู้ประสงค์จะข้ามฝั่งคิดว่า ขึ้นชื่อว่าต้นกุ่มกิ่งเกลี้ยง ผู้ที่จับด้วยมือที่สกปรกมือก็พึงติด จึงล้างมือและเท้าให้สะอาด แล้วจับกิ่งหนึ่งขึ้นต้นที่ ๑ ลงจากต้นที่ ๑ ขึ้นต้นที่ ๒ ฯลฯ ลงจากต้นที่ ๗ ขึ้นต้นที่ ๘ ลงจากต้นที่ ๘ แล้วก็ถึงพื้นที่ปลอดภัย ณ ฝั่งโน้น.
ในข้อนั้น เวลาที่พระโยคีคิดว่า เราจักเข้าสมาบัติ ๘ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วจักยึดเอาพระอรหัตให้ได้ดังนี้ พึงทราบดุจเวลาที่บุรุษนั้นคิดว่า เราจักข้ามไปฝั่งโน้นด้วยต้นไม้เหล่านี้ การชำระธรรมอันเป็นอันตรายต่อฌานและวิปัสสนาแล้วเข้าสมาบัติ ดุจการยึดกิ่งไม้ด้วยมือสะอาด เวลาเข้าปฐมฌาน ดุจเวลาขึ้นต้นไม้ต้นที่ ๑ ในต้นไม้เหล่านั้น เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ในปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานนั้นแล้วเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ดุจเวลาลงจากต้นไม้ต้นที่ ๑ แล้วขึ้นต้นที่ ๒ ฯลฯ เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ดุจลงจากต้นไม้ต้นที่ ๗ แล้วขึ้นต้นที่ ๘ เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารบรรลุพระอรหัต ดุจเวลาที่บุรุษลงจากต้นไม้ต้นที่ ๘ แล้วก็ไปถึงฝั่งโน้นอันเป็นพื้นที่มีความปลอดภัย.
บทว่า อวิชฺชาปฺปเภทํ มนสิกโรติ ได้แก่ ภิกษุมนสิการพระอรหัต กล่าวคือธรรมเครื่องทำลายอวิชชาใหญ่หนาทึบ อันเป็นความไม่รู้ในฐานะ ๘ อวิชชา ๘.
บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่ ไม่แล่นไปโดยอารมณ์.
บทว่า ชมฺพาลี ได้แก่ บ่อน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ขังน้ำซึ่งไหลออกจากหมู่บ้าน.
บทว่า อเนกวสฺสคณิกา ได้แก่ บ่อน้ำชื่อว่า อเนกวสฺสคณิกา เพราะมีบ่อน้ำเกิดขึ้นนับได้หลายปี เพราะบ่อน้ำนั้นเกิดขึ้นในเวลาที่หมู่บ้านหรือนครเกิดขึ้น.
บทว่า อายมุขานิ ได้แก่ ลำรางไหลเข้า ๔ แห่ง.
บทว่า อปายมุขานิ ได้แก่ ช่องไหลออก.
บทว่า น ปาลิปฺปเภโท ปาฏิกงฺโข ได้แก่ ไม่พึงหวังที่จะมีน้ำล้นขอบออกไปได้ เพราะว่าน้ำที่เอ่อขึ้นจากนั้น หาทำลายขอบเขตแล้วพัดเอาหยากเยื่อไปลงสู่มหาสมุทรได้ไม่ เพื่อไขความนี้ให้แจ่มแจ้ง ควรนำเรื่องตนแสวงหาสวนมาเปรียบ.
มีเรื่องเล่าว่า กุลบุตรชาวเมืองคนหนึ่งแสวงหาสวน ได้เห็นบ่อใหญ่ไม่ไกลไม่ใกล้จากเมืองนัก. เขาเข้าใจว่า ณ ที่นี้จักเป็นสวนน่ารื่นรมย์ จึงถือเอาจอบปิดทาง ๔ ด้านแล้ว เปิดช่องให้น้ำไหล. ฝนไม่ตกเพิ่ม น้ำที่เหลือก็ไหลไปตามช่องน้ำไหล ชิ้นหนังและผ้าขี้ริ้วเป็นต้น ก็เกิดเน่าในที่นั้นเอง. ชนทั้งหลายก็หยุดอยู่รอบๆ ไม่ยอมเข้าไป. แม้ที่เข้าไปก็ต้องปิดจมูกเดินหลีกไป. ล่วงไป ๒-๓ วัน เขามาถอยไปฝืนแลดู ไม่อาจเข้าไปได้แล้ว ก็หลีกไป.
ในข้ออุปมานั้น โยคาวจรพึงเห็นดุจกุลบุตรชาวเมือง. กายคือมหาภูตรูป ๔ ดุจเวลาที่กุลบุตรผู้แสวงหาสวนเห็นบ่อน้ำใหญ่ ใกล้ประตูบ้าน. เวลาที่ตนไม่ได้น้ำคือการฟังธรรม ดุจเวลาที่ปิดทางน้ำไหลเข้า. เวลาที่สละความสำรวมในทวาร ๖ ดุจเวลาที่เปิดทางน้ำไหลออก. เวลาที่ไม่ได้กรรมฐานเป็นที่สบาย ดุจเวลาที่ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล. เวลาที่คุณภายในเสื่อม ดุจเวลาที่น้ำที่เหลือไหลไปทางน้ำไหลออก เวลาที่ไม่สามารถทำลายขอบคันคืออวิชชาได้ด้วยอรหัตมรรคแล้ว กำจัดกองกิเลสเสียทำพระนิพพานให้แจ้ง ดุจเวลาที่น้ำเอ่อแล้วไม่สามารถทำลายขอบคันพัดพาหยากเยื่อลงไปมหาสมุทรได้ เวลาที่เต็มไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นภายใน ดุจชิ้นหนังและผ้าขี้ริ้วเป็นต้นเน่าอยู่ในบ่อน้ำนั่นเอง เวลาที่บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงในวัฏฏะ เพลิดเพลินในวัฏฏะ ดุจเวลาที่เขามาเห็น (บ่อน้ำ) แล้วมีความร้อนใจกลับไป.
บทว่า ปาลิปฺปเภโท ปาฏิกงฺโข ได้แก่ พึงหวังน้ำล้นขอบบ่อไปได้. อธิบายว่า จริงอยู่ น้ำที่เอ่อจากนั้นจักสามารถทำลายขอบบ่อแล้วพัดหยากเยื่อลงไปสู่มหาสมุทรได้.
แม้ในข้อนี้ก็พึงนำข้อเปรียบเทียบนั้นมาได้. เวลาที่ได้ฟังธรรมเป็นที่สบาย พึงทราบดุจเวลาที่เปิดทางน้ำไหลออกในบ่อน้ำนั้น เวลาสำรวมในทวาร ๖ ตั้งมั่นแล้ว ดุจเวลาที่ปิดทางไหลออก เวลาที่ตนได้กรรมฐานเป็นที่สบาย ดุจเวลาที่ฝนตกต้องตามฤดูกาล เวลาตนทำลายอวิชชาเสียได้ด้วยอรหัตมรรคแล้วกำจัดกองกิเลส ทำนิพพานให้แจ้ง ดุจเวลาน้ำไหลเอ่อขึ้นทำลายขอบคันพัดเอาหยากเยื่อลงไปสู่มหาสมุทร เวลาที่เต็มเปี่ยมด้วยโลกุตรธรรมในภายใน ดุจเวลาที่สระเต็มเปี่ยมด้วยน้ำที่เข้าไปทางน้ำไหลเข้า เวลาที่ขึ้นสู่ธรรมปราสาท นั่งเอิบอิ่มผลสมาบัติมีนิพพานเป็นอารมณ์ ดุจการที่บุคคลสร้างรั้วไว้โดยรอบ แล้วปลูกต้นไม้ สร้างปราสาทในท่ามกลางสวน หานักฟ้อนมาบำรุงบำเรอแล้วนั่งบริโภคอาหารที่ดี.
คำที่เหลือในบทนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
ก็เทศนาตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาชัมพาลีสูตรที่ ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อย ๆ อ่านแบบเพลิน ๆ ไปเน๊อะ

Quote Tipitaka:
สัญเจตนิยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาเจตนาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเย ได้แก่ เมื่อกายทวาร. อธิบายว่า เมื่อความเคลื่อนไหวทางกายมีอยู่.
ในบทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ เป็นต้น ความสำเร็จแห่งเจตนาในกายทวารชื่อว่า กายสัญเจตนา (ความจงใจทำทางกาย) กายสัญเจตนานั้นมี ๒๐ อย่าง คือ กามาวจรกุศล ๘ อย่าง อกุศล ๑๒ อย่าง. วจีสัญเจตนา (ความจงใจทำทางวาจา) ก็เหมือนกัน. มโนสัญญเจตนา (ความจงใจทำทางใจ) ก็เหมือนกัน. อนึ่ง แม้มหัคคตเจตนา ๙ ก็ได้ในบทนี้.
บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ ได้แก่ เพราะกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย.
บทว่า อุปฺปชฺชติ อชฺฌตฺตํ สุขทุกฺขํ ได้แก่ สุขเกิดขึ้นภายในตนเพราะกุศลกรรม ๘ เป็นปัจจัย ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอกุสลกรรม ๑๒ เป็นปัจจัย.
แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา วา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ.
จริงอยู่ ถ้าว่าอวิชชาที่ถูกปกปิดไว้เป็นปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนั้น เจตนาอันเป็นปัจจัยแห่งสุขและทุกข์ในทวาร ๓ ย่อมเกิดขึ้น. นี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจปัจจัยอันเป็นมูล ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า อวิชฺขาปจฺจยา วา สามํ วา เป็นต้น บุคคลอันคนอื่นไม่ได้ใช้ เมื่อปรุงแต่งด้วยตนเอง ชื่อว่าปรุงแต่งกายสังขารเอง. ชักชวนคนอื่นให้ปรุงกายสังขารใด คนอื่น ชื่อว่าปรุงกายสังขารนั้นของเขา.
ก็บุคคลใดรู้กุศลว่าเป็นกุศล รู้อกุศลว่าเป็นอกุศล รู้กุศลวิบากว่าเป็นกุศลวิบาก รู้อกุศลวิบากว่าเป็นอกุศลวิบาก ย่อมปรุงสังขาร ๒๐ อย่างในกายทวาร บุคคลนี้ชื่อว่ารู้ปรุงสังขาร บุคคลใดไม่รู้อย่างนี้ปรุงสังขาร บุคคลนี้ชื่อว่าไม่รู้ปรุงสังขาร.
แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในข้อนั้นพึงทราบการกระทำโดยไม่รู้ตัวดังนี้.
พวกเด็กรุ่นคิดว่า เราจะทำกิจที่มารดาบิดาทำไว้ จึงไหว้เจดีย์ บูชาด้วยดอกไม้ ไหว้หมู่ภิกษุสงฆ์ แม้ทั้งที่เขาไม่รู้ว่าเป็นกุศล การกระทำนั้นก็เป็นกุศลทั้งนั้น. สัตว์เดียรัจฉานมีเนื้อและนกเป็นต้นก็เหมือนกัน ฟังธรรม ไหว้สงฆ์ ไหว้เจดีย์ ทั้งที่มันรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง การกระทำนั้นก็เป็นกุศลเหมือนกัน. แต่พวกเด็กรุ่นเอาและมือและเท้า เตะตีมารดาบิดา ยกมือขู่ตะคอกขว้างก้อนดินด่า. แม่โคไล่ตามหมู่ภิกษุ. เหล่าสุนัขไล่ตามกัด. สีหะและพยัคฆ์เป็นต้นไล่ตามฆ่า. ทั้งที่มันรู้บ้างไม่รู้บ้าง พึงทราบว่าเป็นอกุศลกรรม.
บัดนี้ พึงรวบรวมเจตนาอันประมวลลงในทวารแม้ทั้ง ๓.
ถามว่า อย่างไร.
ตอบว่า ในกายทวาร เจตนาที่ทำด้วยตนเองเป็นมูล ๒๐ ที่คนอื่นใช้เป็นมูล ๒๐ ที่รู้ตัวเป็นมูล ๒๐ ที่ไม่รู้ตัวอยู่เป็นมูล ๒๐ รวมเป็นเจตนา ๘๐. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร วิกัปหนึ่งๆ วิกัปละ ๒๙ (๔ วิกัป) รวมเป็น ๑๑๖. ดังนั้น เจตนาแม้ทั้งหมดในทวาร ๓ มีสองร้อยเจ็ดสิบหก (๒๗๖)
เจตนาแม้ทั้งหมดนั้นย่อมนับได้ว่าเป็นสังขารขันธ์ทั้งนั้น การเสวยอารมณ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์นั้นเป็นเวทนาขันธ์ อาการรู้จำเป็นสัญญา จิตเป็นวิญญาณขันธ์ กายเป็นอุปาทารูป ธาตุ ๔ ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทารมณ์เป็นภูตรูป ๔ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวมาเหล่านี้ ชื่อว่าทุกขสัจ.
บทว่า อิเมสุ ภิกฺขเว ธมฺเมสุ อวิชฺขานุปติตา ความว่า อวิชชาตกไปแล้วในเจตนาธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย. เป็นอันท่านแสดงถึงวัฏฏะและอวิชชาที่เป็นมูลแห่งวัฏฏะ ด้วยอาการอย่างนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การเกิดเป็นมนุษย์ของพระโสดาบันย่อมเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่พบตัวอย่างในสมัยครั้งพุทธกาล

หรือแม้แต่ในยุคสมัยหลังพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีหลักฐานแสดงไว้ถึงพระโสดาบันที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

ท่านใดมีหลักฐาน กรุณานำมาแสดงให้ทราบด้วยครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง


smiley smiley
เรื่องพระโสดาบันกลับมาเกิดในโลกมนุษย์นี้ จึงโปรดทราบไว้ด้วยว่า มีคนดื้อคนหนึ่งที่ยังไม่ยอมเชื่อ แต่ก็ไม่คัดค้าน ทัดทาน ห้ามปรามใคร พิสูจน์ธรรมกันต่อไปนะครับ
smiley smiley
:b38:

พระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันนั้น ท่านมีปัญญาพอตัว ตามขั้นภูมิของท่าน
สิ่งใดเป็นคุณเป็นโทษ สิ่งใดควรไม่ควร ท่านย่อมแยกแยะได้

พ้นวิสัยของ ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราท่าน ที่จะไปชี้ว่า ท่านต้องทำอย่างนั้น
ต้องเป็นอย่างนี่ ต้องอวดตนแสดงตน เป็นต้น

เหมือนเศรษฐีผู้มีปัญญา ย่อมประจักษ์ใจว่า การอวดตนนั้น มีแต่โทษมากกว่าคุณ

ฉันใดก็ฉันนั้น ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 15:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
asoka เขียน:
การเกิดเป็นมนุษย์ของพระโสดาบันย่อมเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่พบตัวอย่างในสมัยครั้งพุทธกาล

หรือแม้แต่ในยุคสมัยหลังพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีหลักฐานแสดงไว้ถึงพระโสดาบันที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

ท่านใดมีหลักฐาน กรุณานำมาแสดงให้ทราบด้วยครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง


smiley smiley
เรื่องพระโสดาบันกลับมาเกิดในโลกมนุษย์นี้ จึงโปรดทราบไว้ด้วยว่า มีคนดื้อคนหนึ่งที่ยังไม่ยอมเชื่อ แต่ก็ไม่คัดค้าน ทัดทาน ห้ามปรามใคร พิสูจน์ธรรมกันต่อไปนะครับ
smiley smiley
:b38:

พระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันนั้น ท่านมีปัญญาพอตัว ตามขั้นภูมิของท่าน
สิ่งใดเป็นคุณเป็นโทษ สิ่งใดควรไม่ควร ท่านย่อมแยกแยะได้

พ้นวิสัยของ ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราท่าน ที่จะไปชี้ว่า ท่านต้องทำอย่างนั้น
ต้องเป็นอย่างนี่ ต้องอวดตนแสดงตน เป็นต้น

เหมือนเศรษฐีผู้มีปัญญา ย่อมประจักษ์ใจว่า การอวดตนนั้น มีแต่โทษมากกว่าคุณ

ฉันใดก็ฉันนั้น ..


:b1:

tongue
ถูกต้องแล้ว พระโสดาบันท่านไม่อวดตัวหรอก

การจะได้รู้ว่าใครท่านใดเป็นอริยบุคคลชั้นใดนั้นเป็นเมตตาของพระอริยเจ้าองค์อื่นกรุณาบอกกล่าวให้ทราบ

อย่างในครั้งพุทธกาลก็มีพระบรมศาสดาทรงเมตตาบอกกล่าว

กาลเวลาถัดมาตลอดเวลา 2557 ปีจนถึงบัดนี้ มีพระอริยเจ้าเกิดขึ้นอีกมากมาย คงมีสักหลายองค์หลายรูปที่ท่านมีเมตตาชี้บอกให้อย่างเมื่อไม่กี่ปีเร็วๆนี้ก็มีหลวงตารูปหนึ่งที่คนเคารพเชื่อถือได้พยากรณ์อริยเจ้าเมืองไทยไว้หลายองค์

แต่ทำไมจึงยังไม่มีสัก 1 ตัวอย่างที่กล่าว่า ท่านองค์นี้ คนผู้นั้น เป็นพระโสดาบันกลับมาเกิดในโลกมนุษย์

ฤาชะรอยคำบอกที่ว่า พระโสดาบันกลับมาเกิดในสกุลได้อีกนั้นอาจมีความคลาดเคลื่อนในช่วงการสังฆายนาพระไตรปิฎกในยุคปลายๆ ที่หาพระอรหันต์ร่วมสังฆายนาได้น้อยหรือไม่มีเลย

มีสิทธิ์ไหมครับที่จะสงสัยเช่นนี้ได้ เพราะนี่ไม่ใช้่เนื้อสัจจะคำสอนของพระบรมศาสดา แต่เป็นเรื่องของส่วนประกอบธรรม
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
tongue
ถูกต้องแล้ว พระโสดาบันท่านไม่อวดตัวหรอก

การจะได้รู้ว่าใครท่านใดเป็นอริยบุคคลชั้นใดนั้นเป็นเมตตาของพระอริยเจ้าองค์อื่นกรุณาบอกกล่าวให้ทราบ

อย่างในครั้งพุทธกาลก็มีพระบรมศาสดาทรงเมตตาบอกกล่าว

กาลเวลาถัดมาตลอดเวลา 2557 ปีจนถึงบัดนี้ มีพระอริยเจ้าเกิดขึ้นอีกมากมาย คงมีสักหลายองค์หลายรูปที่ท่านมีเมตตาชี้บอกให้อย่างเมื่อไม่กี่ปีเร็วๆนี้ก็มีหลวงตารูปหนึ่งที่คนเคารพเชื่อถือได้พยากรณ์อริยเจ้าเมืองไทยไว้หลายองค์

แต่ทำไมจึงยังไม่มีสัก 1 ตัวอย่างที่กล่าว่า ท่านองค์นี้ คนผู้นั้น เป็นพระโสดาบันกลับมาเกิดในโลกมนุษย์

ฤาชะรอยคำบอกที่ว่า พระโสดาบันกลับมาเกิดในสกุลได้อีกนั้นอาจมีความคลาดเคลื่อนในช่วงการสังฆายนาพระไตรปิฎกในยุคปลายๆ ที่หาพระอรหันต์ร่วมสังฆายนาได้น้อยหรือไม่มีเลย

มีสิทธิ์ไหมครับที่จะสงสัยเช่นนี้ได้ เพราะนี่ไม่ใช้่เนื้อสัจจะคำสอนของพระบรมศาสดา แต่เป็นเรื่องของส่วนประกอบธรรม
s006

เรื่องใดที่เกิดประโยชน์ ท่านก็พยากรณ์
เรื่องใดไม่เกิดประโยชน์ ท่านก็นิ่งเสีย

เรียกว่าเป็นเรื่องของ "ญาณวิสัย" และ "พุทธวิสัย"
สองในสี่ "อจินไตย"

สงสัยได้ครับ แต่อย่าคิดมาก ..

:b1:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 20:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ทรงห้าม..สาวกทำการพยากรณ์..นะ..อโสกะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
พระองค์ทรงห้าม..สาวกทำการพยากรณ์..นะ..อโสกะ

:b12: :b12: :b12:
กบหนอกบ พยากรณ์ คนละพยากรณ์ของหมอดูนะกบ....นี่เป็นภาษาทางพระทางธรรม
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2014, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ.หนอ...อิอิ....ใครเขาพูดถึงหมอดู...กันละ

ถ้าผมบอกว่า..อโสกะเป็นโสดาบันแล้ว...นี้ผมกำลังพยากรณ์แล้ว
นี้แหละความหมายของพยากรณ์..ละ
หน้าที่อย่างนี้....มีแต่พระพุทธเจ้า..นะขอรับ.. ท่านอโสกะ...
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2014, 18:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อโสกะ.หนอ...อิอิ....ใครเขาพูดถึงหมอดู...กันละ

ถ้าผมบอกว่า..อโสกะเป็นโสดาบันแล้ว...นี้ผมกำลังพยากรณ์แล้ว
นี้แหละความหมายของพยากรณ์..ละ
หน้าที่อย่างนี้....มีแต่พระพุทธเจ้า..นะขอรับ.. ท่านอโสกะ...
:b32:

s004
แล้วที่พากันบอกกล่าวเล่ากันไปทั่วทุกวันนี้ว่าพระรูปนั้น หลวงพ่อองค์นี้เป็นพระอรหันต์แล้ว
ไปได้พยากรณ์มาจากไหนกันล่ะครับ
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2014, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ของจริง..ไม่ออกสื่อครับ...เดียวมีคนตกนรก...ลาภสักการะมามาก...ลูกศิษย์ลูกหาจะพากันตกกะโถ่นตกนรกกัน

และเขาไม่พูด..ตรงๆ..ครับ...และพูด..เพื่อประโยชน์ของลูกศิษย์ตน
(เพราะดูท่าทางจะมีโอกาสไปปรามาสเอา)เท่าที่สังเกตนะครับ...

มีครูบาอาจารย์ที่สุดยอดแล้ว..มันก็สบายอย่างนี้แหละอโสกะ...เรื่องดอกไม้ข้างทางไม่ต้องเสียเวลาหาเอง...ทำแต่เรื่องออกจากทุกข์..อย่างเดียว..อิอิ

สบายดีมั่ยละ.. s007


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2014, 20:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วเลิกเสียดสี...กรัชกาย..หรือใครๆ...ว่า...พ่อนักวิชาการ...ซะด้วยนะ..อย่าลืม...มันจะส่งผลให้ตัวหลงลืมวิชาการง่ายๆ..ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การจะได้รู้ว่าใครท่านใดเป็นอริยบุคคลชั้นใดนั้นเป็นเมตตาของพระอริยเจ้าองค์อื่นกรุณาบอกกล่าวให้ทราบ

คุนน้องจำได้ว่า คุนน้องเคยบอกว่าพระอาจารย์เกษมเป็นพระอริยะแล้ว แต่ก็มีท่านผู้นึงมาบอกว่า อย่าไปเที่ยวชี้ว่าคนโน้นคนนี้เป็นอริยะ มันจะบาปเปล่าๆ 555+(เคยเห็นคุนน้องชี้ว่าใครเป็นอริยะมั่งนอกจากพระเกษมและที่ต้องบอกก็เพราะเห็นพวกที่เข้ามาเว็ปธรรมมะเคยจาบจ้วงท่านคุนน้องก็ต้องบอกสิผิดตรงไหน s004 ) คนที่ไม่รู้ว่าท่านเป็นแล้วไปด่าท่าน ไม่รู้เจตนาท่าน ดุด่าท่านแช่งด่าท่านในเรื่องที่ท่านไปเหยียบพระพุทธรุป กรรมมันหนักนะ คุนน้องว่าไปอ่านที่คุนน้องเอามาลงว่าบุคคลที่จะลงไปสู่ภพภูมิเปรตทำอะไรยังไงมั่ง 1 ในนั้นก็คือ แช่งด่าพระสงค์ที่กำลังทำดีต่อสังคม แล้วนี่เป็นถึงอริยะเจ้า :b8: โดยเจตนาหรือไม่รู้ก็ช่าง คุนน้องกลัวว่าจะเป็นเปรตกันทั้งประเทศไทย แต่ด้วยวิสัยของคุนน้องที่ได้ปัญญาเป็นบารมีเก่าติดตัวมาทำให้คุนน้องมองออกในสิ่งที่กระทำ อะไรผ่านเข้าตา เราก็ต้องพิจารณาก่อนว่า เหตุใด ท่านถึงได้กระทำในสิ่งที่พิศดารประหลาดเช่นนี้เจตนาของท่านคืออะไรกานแน่ ไม่ใช่ไปด่าว่าท่านทำตัวเสื่อม กิริยาไม่สมเป็นพระ คุนน้องน่ะหวังดีกุศลจิตถึงได้มาบอกคนอื่นว่า อย่าไปด่าท่านเชียวนะภูิมธรรมท่านเลยพระโสดาบัณไปแล้วแต่เป็นอรหันต์หรือไม่คุนน้องดูไม่ออก เพราะคุนน้องภูมิต่ำกว่า คุนน้องเตือนแค่นี้แหละ ถ้าไม่เชื่อก็แล้วแต่เชิญโง่กานต่อไป ตามทิฐฐิมานะของตน :b34:
ปล.ดูในคลิป คนเราถ้ากำลังมีอารมณืโกรธ เหตุฉไหนถึงได้ เอามือจับจีวรก่อนแล้วค่อย ถีบเก้าอี้ เป็นคุนน้องไม่มาสนเรื่องการสำรวมเครื่องนุ่มห่มตนเองหรอก โชกายกรรมแบบเต็มเหนี่ยวแล้วถ้าอยู่ในอารมณ์โกรธ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


แล้วที่พากันบอกกล่าวเล่ากันไปทั่วทุกวันนี้ว่าพระรูปนั้น หลวงพ่อองค์นี้เป็นพระอรหันต์แล้ว
ไปได้พยากรณ์มาจากไหนกันล่ะครับ



ไปเห็นที่เขาพยากรณ์อริยบุคคลกันนี่

อ้างคำพูด:
สีทองในนิมิต เท่าที่ผมได้เจอด้วยตนเอง และจากเรื่องราวของผู้ที่รู้จักกันโดยส่วนตัวทุกคน สื่อถึงความหมายเดียว คือ จิตของอริยบุคคลครับ



....ว่าเป็นปัจจัตตังว่างั้น คิกๆๆ :b13:


หลงกันอยู่ในป่าความฟุ้งซ่านธรรม (ธรรมุทธัจจ์) ที่อรรถกถาจารย์เรียกวิปัสสนูปกิเลส ผู้ฝึกอบรมจิตทำถึงตรงนี้นับว่ามีความเพียรพยายามพอใช้ได้ แต่ส่วนมากติดแถวๆนี้ เพราะไม่กำหนดรู้สภาวะนั้นๆตามที่มันเป็นของมัน จึงติดหล่มธรรมมุทธัจจ์ฉะนี้แล :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อดูธรรมุทธัจจ์แต่ละข้อๆแล้วนะว่า เป็นอารมณ์ประณีตสุดซึ้ง ทั้งญาณ ทั้งสุข....แต่ทางปฏิบัติเพื่ออบรมจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นเนี่ย ท่านว่า ทำให้จิตเศร้าหมอง :b1: ดูซี่


ธรรมุทธัจจ์ (วิปัสสนูปกิเลส) ๑๐ คือ

๑. โอภาส - แสงสว่าง ซึ่่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

๒. ญาณ - ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๓. ปีติ - ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

๔. ปัสสัทธิ - ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

๕. สุข - มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ - เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ - ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

๘. อุปัฏฐาน - สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา - ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ - ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส

...........

วิธีปฏิบัติที่จะให้ จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย


คัมภีร์ชั้นอรรถกถาเรียกธรรมุทธัจจ์นี้ว่า วิปัสสนูปกิเลส คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ อย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่ผู้ได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา)


ภาวะ ทั้ง ๑๐ นี้ เป็นสิ่งน่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็เป็นอันคลาดออกนอกวิปัสสนาวิถี คือพลาดทางวิปัสสนาแล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่มชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง


วิธี ปฏิบัติที่ถูกต้อง คือให้รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอกาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เขา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นต้น จนมองเห็นว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วไม่่ตื่นเต้นหวั่นไหวไปกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น เป็นอันสางอุปกิเลสเสียได้ ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคาที่ถูกต้องต่อไป จนบรรลุมรรคผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron